ลักษณะ ของ ปัญหา การ จัดการ เรียน รู้ ที่ ควร นํา มา ทํา การ วิจัย ใน ชั้น เรียน

3.2 กำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง

ในการดำเนินการวิจัย ครูผู้วิจัยจะต้องกำหนดว่าจะต้องใช้นักเรียนกี่คนในการทดลอง ซึ่งครูผู้วิจัยสามารถกำหนดเองได้จากสภาพห้องเรียนที่เป็นจริง เช่น 5 – 50 คน จากสภาพการจัดและแบบของการวิจัยที่กำหนด โดยเฉพาะถ้ารับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพียงห้องเดียว ในการดำเนินการวิจัยครูผู้วิจัยสามารถใช้ประชากร(หมายถึงนักเรียนทั้งหมดเท่าที่มี)ได้เลย ซึ่งลักษณะนี้จะเรียกว่า ได้ทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) แต่ถ้าหากครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนมากกว่า 1 ห้อง สามารถศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเท่ากับขนาดของห้องเรียนปกติ จำนวนประมาณ 30 คนก็ได้ โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ครูผู้วิจัยอาจเลือกกลุ่มตัวอย่างตามกรณีตัวอย่าง ดังนี้

กรณีที่ 1 ครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนนักเรียน 1 ห้อง จำนวนประมาณ 30 คน และเลือกแบบการวิจัยเป็นแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 สามารถใช้นักเรียนทุกคนในการดำเนินการทดลองใช้นวัตกรรม ถ้าอย่างนี้เรียกว่าดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากประชากร แต่อาจจะเรียกว่ากลุ่มตัวอย่างก็ได้ หากผู้วิจัยต้องการสรุปผลการวิจัยอ้างอิงไปสู่นักเรียนที่อื่นด้วยหรือเรียกว่ามีความเที่ยงตรงภายนอก (External validity) ด้วย

กรณีที่ 2 ครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนนักเรียน 3 ห้อง ห้องละประมาณ 30 คน และเลือกใช้นักเรียนห้องใดห้องหนึ่งหรือสุ่มนักเรียนมาเป็นกลุ่มทดลองจากทั้ง 3 ห้อง จำนวน 30 คนในการวิจัยแบบที่ 1 และแบบที่ 2 อย่างนี้เรียกว่า ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 30 คน จากประชากรทั้ง 90 คน

กรณีที่ 3 ครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนนักเรียน 2 ห้อง ห้องละประมาณ 30 คน และเลือกแบบการวิจัยเป็นแบบที่ 3 หรือแบบที่ 4 สามารถใช้นักเรียนห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมและอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองหรือสุ่มตัวอย่างมาเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลอง 30 คน จาก นักเรียนทั้ง 2 ห้อง ถ้าอย่างนี้เรียกว่าดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 60 คน จากประชากร 60 คน

กรณีที่ 4 ครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนนักเรียน 3 ห้อง ห้องละประมาณ 30 คน

สามารถสุ่มใช้นักเรียนห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ถ้าอย่างนี้เรียกว่าดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 60 คน จากประชากร 90 คน

3.3 สร้างเครื่องมือในการวิจัย

เครื่องมือในการวิจัยในชั้นเรียน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลองหรือเป็นนวัตกรรม และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังมีรายละเอียด ดังนี้

1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลองหรือเป็นนวัตกรรม เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนสำเร็จรูป หนังสืออ่านประกอบ ชุดการเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้อาจมีส่วนประกอบอื่นอีก เช่น แผนการสอน ใบงาน แบบฝึก ใบความรู้ สื่อหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เป็นต้น การสร้างเครื่องมือประเภทนี้จะมีขั้นตอนเพื่อให้เกิดคุณภาพของเครื่องมือ ดัง ตัวอย่างขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม ชุดการสอน ต่อไปนี้

ตัวอย่างขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม

ขั้นตอนการสร้างชุดการสอน

1. ขั้นตอนการสร้างชุดการสอน

1.1 ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู เอกสารหลักสูตรอื่น ๆ

1.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ เทคนิคและวิธีสร้างชุดการสอน จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.3 วิเคราะห์หลักสูตร จุดประสงค์การเรียน แบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยหรือคาบเรียน

1.4 เขียนแผนการสอน หรือออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

1.5 สร้างชุดการสอน โดยให้มีส่วนประกอบครบถ้วนตามความเหมาะสม

2. ขั้นพัฒนาชุดการสอน

2.1 ทดลองใช้

2.1.1 นำชุดการเรียนการสอนไปทดลองสอน 1:1 (ครู:นักเรียน) ใช้แบบบันทึกการทดลองใช้นวัตกรรม โดยจะบันทึกพฤติกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข

2.1.2 นำชุดการเรียนการสอนไปทดลองสอน 1:10 (กลุ่มเล็ก) ใช้แบบบันทึกการ

ทดลองใช้นวัตกรรม โดยจะบันทึกพฤติกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไข

2.1.3 นำชุดการเรียนการสอนไปทดลองสอน 1:100 (ภาคสนาม) จะใช้แบบบันทึก

คะแนนจากการทดลองใช้นวัตกรรม โดยจะบันทึกคะแนนจากการประเมินระหว่างเรียนและหลังเรียน เพื่อนำมาหาค่า E1/E2

2.2 นำชุดการสอน ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 3-5 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหา หลักสูตร การสอน เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา การวิจัย วัดผลและประเมินผล พิจารณา โดยอาจใช้แบบประเมิน แล้วจึงปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญ

2.3 นำชุดการสอน ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบทดลอง

2.4 เปรียบเทียบผลการเรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียน เป็นต้น

2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดเจตคติ เป็นต้น

โดยที่เครื่องมือเหล่านี้ต้องอาศัยการสร้างตามหลักวิชา มีขั้นตอนสร้างให้เกิดคุณภาพ ของเครื่องมือ ก่อนนำไปใช้ดังนี้

ตัวอย่างการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตัวอย่างการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ

1. ศึกษาวิธีสร้างแบบทดสอบที่ดี และวิธีวิเคราะห์หลักสูตร

2. ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู เอกสารหลักสูตรอื่น ๆ

3. สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร แล้วนำตารางวิเคราะห์ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์พิจารณา

4. สร้างแบบทดสอบ มากกว่าต้องการจริงประมาณ ร้อยละ 20-50 เช่น ต้องการ 100 ข้อ จะสร้างประมาณ 120-150 ข้อ

5. นำแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาและโครงสร้าง (Content and Construct Validity) โดยที่ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 3-5 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหา หลักสูตร การสอน การวิจัย วัดผลและประเมินผล ในขั้นตอนนี้จะใช้แบบประเมินความสอดคล้องของข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ด้วย

6. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์

7. นำไปแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และได้เรียนเนื้อหาในแบบทดสอบนี้แล้ว

8. นำกระดาษคำตอบมาวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพ ด้านความเที่ยง (Reliability) ความยากและอำนาจจำแนก (อาจทำไปทดลองสอบซ้ำอีก 2-3 ครั้ง และวิเคราะห์ซ้ำอีกก็ได้)

9. คัดเลือกข้อสอบที่เข้าเกณฑ์ คือ ความยาก .20 ถึง .80 ค่าอำนาจจำแนก .20 ถึง 1.00 และให้ได้ข้อสอบครบถ้วนตามต้องการ และคุณภาพด้านความเที่ยง มีค่าตั้งแต่ .70 ขึ้นไปถือว่าใช้ได้

10. พิมพ์ข้อสอบฉบับจริง

ขั้นตอนที่ 4 และขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และสรุปผลการวิจัย

ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยและสรุปผลการวิจัย ตามแบบการวิจัยที่กล่าวข้างต้นเท่านั้น ตามสูตรและใช้สัญลักษณ์ในสูตร ดังนี้

แทน ค่าสถิติทดสอบจากการกระจายแบบที

X แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนนของนักเรียน

S แทน ค่าส่วนเบี่ยวเบนมาตรฐาน

D แทน ค่าความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน

n แทน จำนวนนักเรียน

df แทน ค่าชั้นแห่งความอิสระ

แบบการวิจัยที่ 1 เราจะสรุปผลว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ เกณฑ์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ เราสามารถนำเอาค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาทดสอบกับเกณฑ์หรือเป้าหมาย โดยใช้สูตรการทดสอบทีแบบ t-test one sample group ดังนี้

โดยที่

เมื่อคำนวณได้ค่า t ตามสูตรข้างบนนี้แล้ว ให้นำไปเปรียบเทียบกับค่า t วิกฤติในตารางซึ่งสามารถหาดูได้ในตำราเกี่ยวกับการวิจัยทั่วไป โดยวิธีดูตารางให้ใช้ค่า df ประกอบ และกำหนด นัยสำคัญทางสติถิ หรือความมั่นใจในการสรุปผลการวิจัย เช่น ถ้ามีนักเรียน 30 คน df=30-1=29 กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือมั่นใจร้อยละ 95 ค่า t วิกฤติเท่ากับ 1.699 เกณฑ์การเปรียบเทียบคือ ค่า t จากการคำนวณจะต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ค่า t วิกฤติในกรณีตัวอย่างนี้ ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1.699 ส่วนการสรุป หากค่า t คำนวณมากกว่าหรือเท่ากับค่า t วิกฤติ เราจะสรุปได้ตามตัวอย่าง ดังนี้

ตัวอย่างการสรุปผลการวิจัย

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ด้วยนวัตกรรมสูงกว่าหรือสูงกว่าร้อยละ 70 (เป้าหมายที่กำหนด ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05