ลักษณะของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

����������� ���ླ� �Ѳ����� ���¸��� >>

��ºح����� �蹻�Сͺ ��� �ç���¹��ҹ���

����觻������ͧ�ŧ��鹺�ҹ

�ŧ��鹺�ҹ�Ҥ��ҧ �ա�����͡�� 4 �ѡɳФ��

1.�ŧ��������ͧ�����

 ���� �ŧ෾�ͧ �ŧ�ú�� �ŧ���� �ŧ�Ҵ�����ŧ�ͷҹ �ŧ���� �ŧ�ç����ͧ �ӵѴ �ŧ�кӺ�ҹ�� �ŧ�������ҫ� �ŧ�ͷҹ�ŧ���� �ŧ���Ҥ

2.�ŧ�����������ȡ��

���� �ŧ�Ǫ�Ҥ �ŧ���ҧ��� �ŧ��Ҽ� �ŧ�ѡ���� �ŧ���� �ŧ��������� �ŧ���ͧ��ҧ �ŧ����� �ŧ������˧�� �ŧ�кӪ������ŧ�ǧ����� �ŧ��ɰҹ

3.�ŧ����������˹������Ǣ��� �Ǵ����

���� �ŧ����Ǣ��� �ŧʧ�ҧ �ŧ�͡ �ŧ�鹡������� �ŧ�ҹ�ҧ �ŧʧ���Ӿǹ ����ŧ�ѡ��дҹ

4. �ŧ���������㹹�

���� �ŧ���� �ŧ˹���� �ŧ���觷�͹ �ŧ���¾��������Ѻ��Ҥ��ҧ�Ҩ����Ǵ���� ������觷���Ңͧ�ŧ��鹺�ҹ��ѧ���

�ŧ˹�ҹ�� ��Թ ��һ��

1.�ŧ���� �ѧ��Ѵ��ҧ�ͧ �ѧ��Ѵ��ظ�� �ѧ��Ѵ�ԧ����� �ѧ��Ѵ�ؾ�ó����
2.�ŧ˹���� (�ŧ��) �ѧ��Ѵ��ù�¡
3.�ŧ���Ң������ �ѧ��Ѵ�����ҹ�
4.�ŧ���¾���� ����;���ǹ �ѧ��Ѵ�ҭ������

�ŧ˹���������йǴ����

1.�ŧ�鹡� �ѧ��Ѵ��ҧ�ͧ �ѧ��Ѵ�ؾ�ó���� �ѧ��Ѵ������ä�
2.�ŧ����Ǣ���(�ŧ���)
3.�ŧʧ�ҧ �ѧ��Ѵ��ҧ�ͧ �ѧ��Ѵ�ؾ�ó����
4.�ŧʧ���Ӿǹ �ѧ��Ѵ�ҭ������ �ѧ��Ѵ�Ҫ����
5.�ŧ�ѡ��дҹ �ѧ��Ѵ�ҭ������ �ѧ��Ѵ�Ҫ���� �ѧ��Ѵ���ԧ���
6.�ŧ�ҹ�ҧ �ѧ��Ѵ��ҧ�ͧ �ѧ��Ѵ�ؾ�ó���� �ѧ��Ѵ�ҭ������
7.�ŧ�͡ ����ͺҧ� �ѧ��Ѵ�Ҫ����

˹��ʧ��ҹ��

1.�ŧ�ǧ����� �ѧ��Ѵྪú��� �ѧ��Ѵ��û�� �ѧ��Ѵ�ҭ������
2.�ŧ�кӺ�ҹ��� �ѧ��Ѵ��ظ�� �ѧ��Ѵ��ҧ�ͧ �ѧ��Ѵ�ؾ�ó����
3.�ŧ�Թ���� �ѧ��Ѵ������ä� �ѧ��Ѵ��⢷�� �ѧ��Ѵ��ظ��
4.�ŧ��������� �ѧ��Ѵ�ط�¸ҹ� �ѧ��Ѵ������ä�
5.�ŧ��ɰҹ �ѧ��Ѵ�ؾ�ó���� �ѧ��Ѵ�ط�¸ҹ� �ѧ��Ѵ������ä� �ѧ��Ѵ��ظ��
6.�ŧ�к� �ѧ��Ѵ��ù�¡
7.�ŧ����� �ѧ��Ѵ�ҭ������
8. �ŧ���ҧ��� �շ����
9 �ŧ������˧�� �ѧ��Ѵ��ظ��
10.�ŧ��ҷç������ �ԧ�� �շ����
11.�ŧ��ͧ����(�ŧ�ѧ��ҹ��)

��蹷���� ���ӡѴ�ȡ��

1.�ŧ����Ѻ��
2.�ŧ���� �ѧ��Ѵ�ؾ�ó����
3.�ŧ�кӺ�ҹ�� �ѧ��Ѵ��ù�¡ �ѧ��Ѵ���ԧ��� �ѧ��Ѵ��Ҩչ����
4.�ӵѴ �ѧ��Ѵ��ظ�� �ѧ��Ѵ��ا෾� �ѧ��Ѵ�ҭ������
5. �ŧ�������ҫ�
6. �ŧ�ͷҹ
7.�ŧ���� �ѧ��Ѵ��ҧ�ͧ �ѧ��Ѵ�ؾ�ó���� �ѧ��Ѵ��ظ�� �ѧ��Ѵ�ԧ����ըѧ��Ѵ�ҭ������
8.�ŧ���Ҥ �ѧ��Ѵ��ù�¡ �ѧ��Ѵ������ä�
9.�ŧ�ç����ͧ �ѧ��Ѵ��ҧ�ͧ �ѧ��Ѵ�ؾ�ó����
10.�ŧ���觷�͹
11.�ŧ����
12.�ŧ��

������ҧ�ŧ�� �Ӻźҧ���§ ��������ͧ �ѧ��Ѵ�����ҹ�

�١��� �����ʹ������ ���� �������� �� ��⹪�� ����ѡ����� ��������
��� ����Ҫ�ҧ�Ҵ��� �ѡ˭ԧ�Т;ԧ�Ҵ �Ҵ��������� ���зӺح仴���
����˹� �֧�������͡Ѻ���á��ҹ�� (�١����Ѻ�����)
˭ԧ ����Ҫ�ҧ�Ҵ��� �ѹ�ͧ�ͧ��ͧ�оҴ �Ҵ��������� ���Ӻح���������� ��á����� ��͡�о�ͤá��ҹ��

������ҧ�ŧ�ͷҹ

���� ��� ��� ��….

�Ժ���ǻ�й�����è�� �١�ѹ����� �����ô �ô�����Դ��ѹ��¹�� �١�ѹ����� �֧���ô �ô�����Դ ��ѹ ��� ��¹�酶���١��訹���������¹ �١�������´��¹�س�����й�� ��������������Һ���Ҥ�������¹ ��Ҩ���ԧ�֧������ ����҅
(��� ��������������Һ蹅)
���� ��� ��� ��….

����ҷӺح�����ѹ����٭���� ���º����͹˹�����ҹ���ǡѹŧ���е�ͧ���ǧ�ǧ����� �͡������������ ��������������з����� ���еѴ���������ҧ�� ��ҷ�ҹ����ô�١���ͧ���õ �з��ء���آ���㹾�������ô�õ������١���������������ѹ���.

���� ��� ���� ��ԧ���
����ҷӷҹ���¨ҹ��� ���������͹���� �����١����¹������С��������ҧ ����ǡ�ҧ�˹������� ���������Һ蹤���������¹ ���ҹ������ ��ԧ��ºح ������� ��ԧ��….

���� ��� ���� ��ԧ���
���¾��ö��� ��������չ����������� ���������Ҥ�������ѡ �������ʹ�ѡ�ͧ����� ��Ǿ�����͹�ͧ����Ҥ�ͧ���� ��Ǿ�������������� �ѧ�����ӹͧ�ͧ�д� ����Ѻ�����ԧ��� ��Ǿ�������������������� ��������Դ�签��Ф��������� ���������������繷�������� �ͧ��������� ������� ������� ��ԧ��…

������ҧ�ŧ���Ҥ

�ҡ�ҧ��ҧ��ͧ�������…(���� � � � ) ����� ���� ��͹Ҥ�кǪ ����ʶ� �е�ͧ�ҷ����� (�Ҵ�ҩ�) ������� �е�᷹ͧ�س �����ô� ��ҹ�������ط� (�Ҵ�ҩ�) �ҹ���� �Ǫ᷹�س �����ô� ��������§�Ҥ�� (�Ѻ ) ��˭� �����ա� ���ա� ���͹Ҥ���� (�Ѻ) �ҹ���� ��ͧ�����ҧ��ѧ����ͧ���㨤�� ���ҧ��觤Դ��Ͷ�� (�Ѻ)��ҧ�� ���˹��� ��˹��� �������ͤ�� (�Ѻ) �Ҥ��� �������Թ�� ����Թ��ǧ ��� � ˹�ǧ � ���������Ҿٴ�١�� ��ͧ��������� ������ �þٴ����ö١�� ��ͧ��������� ������ ����������͹� ���¡ѹ��� �ش�ѡ ���ѡ����� �ش�ѡ���ѡ����� �١������˹��� �˹��…�١������˹����˹��…)

เพลงพื้นบ้านภาคกลางส่วนใหญ่เป็นเพลงโต้ตอบหรือเพลงปฏิพากย์ เป็นเพลงที่หนุ่มสาวใช้ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน มักร้องกันเป็นกลุ่มหรือเป็นวง ประกอบด้วย ผู้ร้องนำเพลงฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่เรียกว่า พ่อเพลง แม่เพลง ส่วนคนอื่นๆ เป็นลูกคู่ร้องรับ ให้จังหวะด้วยการปรบมือ หรือใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เช่น กรับ  ฉิ่ง เพลงโต้ตอบนี้ ชาวบ้านภาคกลางนำมาร้องเล่นในโอกาสต่างๆ ตามเทศกาล หรือในเวลาที่มารวมกลุ่มกัน เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางเพลงก็ใช้ร้องเล่นไม่จำกัดเทศกาล แบ่งได้ ๕ กลุ่ม คือ

๑. เพลงที่นิยมร้องเล่นในฤดูน้ำหลาก เทศกาลกฐินและผ้าป่า ในช่วงเทศกาลออกพรรษา ได้แก่

  • เพลงเรือ (ร้องกันทั่วไปในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี)
  • เพลงครึ่งท่อน เพลงไก่ป่า (ปรากฏชื่อในหนังสือเก่าก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ว่าร้องอยู่แถบพระนครศรีอยุธยา)
  • เพลงหน้าใย เพลงยิ้มใย เพลงโซ้ (นครนายก)
  • เพลงรำพาข้าวสาร (ปทุมธานี)
  • เพลงร่อยภาษา (กาญจนบุรี)
๒. เพลงที่นิยมเล่นในเทศกาลเก็บเกี่ยว เป็นเพลงที่ร้องเล่นในเวลาลงแขกเกี่ยวข้าว และนวดข้าว ได้แก่
  • เพลงเกี่ยวข้าว เพลงก้ม (อ่างทอง สุพรรณบุรี)
  • เพลงเต้นกำ (อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา)
  • เพลงเต้นกำรำเคียว (นครสวรรค์)
  • เพลงจาก (อ. พนมทวน กาญจนบุรี)
  • เพลงสงฟาง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี)
  • เพลงพานฟาง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี)
  • เพลงสงคอลำพวน (กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี)
  • เพลงชักกระดาน (กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สิงห์บุรี อ่างทอง)
  • เพลงโอก (ราชบุรี ใช้ร้องเล่นเวลาหยุดพักระหว่างนวดข้าว)
๓. เพลงที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ เป็นเพลงที่ร้องเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง และบางเพลงเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการละเล่นของหนุ่มสาว ได้แก่
  • เพลงพิษฐาน (พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก)
  • เพลงพวงมาลัย (นครปฐม เพชรบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง นครสวรรค์)
  • เพลงระบำ เพลงระบำบ้านไร่ (พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี)
  • เพลงฮินเลเล (พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สุโขทัย พิษณุโลก)
  • เพลงคล้องช้าง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม)
  • เพลงช้าเจ้าหงส์ (พระนครศรีอยุธยา)
  • เพลงช้าเจ้าโลม (นครสวรรค์ อุทัยธานี)
  • เพลงเหย่อย (กาญจนบุรี)
  • เพลงกรุ่น (อุทัยธานี  พิษณุโลก)
  • เพลงชักเย่อ (อุทัยธานี)
  • เพลงเข้าผี (เกือบทุกจังหวัดของภาคกลาง)
  • เพลงสังกรานต์ (เป็นเพลงใช้ร้องยั่วประกอบท่ารำ ไม่มีชื่อเรียกโดยตรง ในที่นี้ เรียกตามคำของยายทองหล่อ ทำเลทอง แม่เพลงอาวุโสชาวอยุธยา)
๔. เพลงที่ใช้ร้องเวลามารวมกันทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง ได้แก่
  • เพลงโขลกแป้ง (ร้องโต้ตอบกันเวลาลงแขกโขลกแป้งทำขนมจีน ในงานทำบุญ ของชาวอ่างทอง ชาวนครสวรรค์)
  • เพลงแห่นาคหรือสั่งนาค (ร้องกันทั่วไปในภาคกลาง ในงานบวชนาคขณะแห่นาคไปวัดหรือรับไปทำขวัญนาค)
๕. เพลงที่ร้องเล่นไม่จำกัดเทศกาล เป็นเพลงที่ร้องเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในงานบุญประเพณีต่างๆ ร้องรำพันแสดงอารมณ์ความรู้สึก ร้องประกอบการละเล่น หรือร้องโดยที่มีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
  • เพลงเทพทอง (เป็นเพลงพื้นบ้านที่เก่าที่สุด ตามหลักฐานในวรรณคดีและหนังสือเก่าบันทึกไว้ว่า นิยมเล่นตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ จนถึง รัชกาลที่ ๖)
  • เพลงลำตัด
  • เพลงโนเนโนนาด
  • เพลงแอ่วเคล้าซอ
  • เพลงแห่เจ้าบ่าว
  • เพลงพาดควาย
  • เพลงปรบไก่
  • เพลงขอทาน
  • เพลงฉ่อย (มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เพลงวง เพลงเป๋ เพลงฉ่า เพลงตะขาบ)
  • เพลงทรงเครื่อง
  • เพลงระบำบ้านนา
  • เพลงอีแซว
  • เพลงรำโทน
  • เพลงสำหรับเด็ก (เพลงกล่อมเด็ก  เพลงปลอบเด็ก  เพลงประกอบการละเล่นเด็ก)
เพลงพื้นบ้านภาคกลางแม้จะมีหลากหลายประเภทมากกว่าทุกภาค แต่มีเพลงจำนวนน้อยที่ยังคงร้องเล่นกันบ้างในชนบท และส่วนหนึ่งก็เป็นเพลงที่เล่นกันเฉพาะถิ่นเท่านั้น

ลักษณะของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

ศิลปินพื้นบ้านสาธิตการร้องเล่นเพลงสงฟาง ที่นำมาร้องในเวลาลงแขกเกี่ยวข้าว และนวดข้าว


เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่แพร่หลายได้ยินทั่วๆ ไป และมีพ่อเพลงแม่เพลงที่ยังจดจำร้องกันได้ ๘ เพลง คือ

๑.    เพลงเรือ
๒.    เพลงเต้นกำ
๓.    เพลงพิษฐาน
๔.    เพลงระบำบ้านไร่
๕.    เพลงอีแซว
๖.    เพลงพวงมาลัย
๗.    เพลงเหย่อย
๘.    เพลงฉ่อย

เพลงเรือ

เพลงเรือเป็นเพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำหลาก นิยมเล่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และลพบุรี ช่วงเทศกาลกฐิน ผ้าป่า หรืองานนมัสการ งานบุญประจำปีของวัด ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก ชาวนาว่างเว้นจากการทำนา รอน้ำลด และรวงข้าวสุก ก็จะพากันพายเรือมาทำบุญไหว้พระและเล่นเพลง เรือที่ใช้มีเรือมาดสี่แจว เรือพายม้าทุกลำจุดตะเกียงเจ้าพายุ หรือตะเกียงลานไว้กลางลำเรือ ธรรมเนียมในการเล่นมีเรือฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จำนวนผู้เล่นขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมาณ ๙ - ๑๐ คน มีพ่อเพลง แม่เพลง ส่วนที่เหลือเป็นลูกคู่ ใช้กลอนลงสระเสียงเดียวกันไปเรื่อยๆ ที่เรียกว่า "กลอนหัวเดียว" นิยมร้องกลอนลา และกลอนไล เพราะคิดหาคำได้ง่ายกว่าสระเสียงอื่น มีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง และกรับ พ่อเพลงที่นั่งกลางลำเรือ จะเป็นคนตีฉิ่งดังฉับๆ ไปเรื่อยๆ ที่เหลือก็เป็นลูกคู่คอยร้องรับหรือร้องยั่วด้วยคำว่า "ฮ้า ไฮ้" และคอยกระทุ้งว่า "ชะ ชะ" ตามความคะนองปากเป็นจังหวะๆ

เมื่อชาวเพลงพายเรือมาถึงที่หมาย โดยทั่วไปก็จะมองหาเรือจับคู่ว่าเพลงกันแล้ว ฝ่ายชายจะพายเรือไปเทียบจนชิดเรือฝ่ายหญิงและเก็บพายขึ้น ในเรือแต่ละลำจะนั่งเป็นคู่ๆ นอกจากช่วงหัวเรือท้ายเรือจะนั่งคนเดียวเพราะที่แคบ เรือฝ่ายชายจะเริ่มว่าเพลงก่อน เรียกว่า "เพลงปลอบ" เพื่อขอเล่นเพลงกับฝ่ายหญิงตามมารยาท เมื่อว่าไปสัก ๒ - ๓ บท หากฝ่ายหญิงนิ่งไม่ตอบ ก็แสดงว่า ไม่สมัครใจเล่นเพลงด้วย หรือมีคู่นัดหมายอยู่แล้ว เรือฝ่ายชายต้องไปหาคู่ใหม่ แต่ถ้าฝ่ายหญิงเอื้อนเสียงตอบ แสดงว่า ตกลงปลงใจเล่นเพลงด้วย ก็เริ่มว่า "เพลงประ" โต้ตอบกันในเชิงเกี้ยวพาราสีอย่างสนุกสนาน เมื่อว่าเพลงกันสมควรแก่เวลาแล้ว เรือฝ่ายชายจะพายไปส่งเรือฝ่ายหญิง ในระหว่างนั้นก็ว่า "เพลงจาก"เพื่อเป็นการแสดงความอาลัยอาวรณ์

ตัวอย่าง  เพลงเรือ

ชายเกริ่น :    เอย  เลียบเรือเรียง  เข้าเคียงใกล้     หวังจะฝากน้ำใจ (ฮ้า  ไฮ้)  ของข้า (ชะ ชะ)
    น้องจะรีบไปไหน  ขอให้พายเบาเบา        พี่จะได้มาพบเจ้า (ฮ้า  ไฮ้) งามตา
    พี่พายมานาน  ให้แสนเหนื่อยหนัก        พอได้พบนงลักษณ์ (ฮ้า  ไฮ้) โสภา
    ที่เหนื่อยก็หาย  ที่หน่ายก็แข็ง               กลับมีเรี่ยวมีแรง (ฮ้า  ไฮ้) หนักหนา
    ขอเชิญนวลน้อง  มาร้องเล่นดังว่า         ขอจงเผยวาจาสักคำ...เอย
ลูกคู่รับ :      ขอจงเผยวาจาสักคำ เอย
    ขอเชิญนวลน้องมาเล่นร้องดังว่า (ซ้ำ)     ขอจงเผยวาจาสักคำเอย
                                                  ฯลฯ
หญิงตอบ :    เอย  ได้ยินน้ำคำ เสียงมาร่ำสนอง      เสียงใครมาเรียกหาน้อง (ฮ้าไฮ้) ที่ไหนล่ะ
    แต่พอเรียกหาฉัน แม่หนูไม่นานไม่เนิ่น    เสียงผู้ชายร้องเชิญ (ฮ้าไฮ้) ฉันจะว่า
    การจะเล่นจะหัว หนูน้องไม่ดีดไม่ดิ้น    หรอกแม้ว่าไม่ใช่ยามกฐิน (ฮ้าไฮ้) ผ้าป่า
    พอเรียกก็ขาน แต่พอวานก็เอ่ย    หนูน้องไม่นิ่งกันทำเฉย (ฮ้าไฮ้) ให้มันช้า
    แต่พอเรียกหาน้อง ฉันก็ร้องขึ้นร่ำ    ฉันนบนอบตอบคำ (ฮ้าไฮ้) จริงเจ้าขา
    แม่หนูนบนอบตอบคำ    ตอบกันไปเสียด้วยน้ำ (ฮ้าไฮ้) วาจา
    แต่พอเรียกหาน้อง ฉันก็ร้องว่าจ๋า    กันแต่เมื่อเวลา เอ๋ยจวนเอย
ลูกคู่รับ :     กันแต่เมื่อเวลา จวนเอย
    แต่พอเรียกหาน้อง ฉันก็ร้องว่าจ๋า (ซ้ำ)     กันแต่เมื่อเวลา จวนเอย

เพลงเต้นกำ

เพลงเต้นกำมีอยู่ทั่วไปแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมเล่นในจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครนายก ส่วนมากจะร้องเล่นระหว่างช่วงหยุดพักเมื่อเกี่ยวข้าวไปถึงอีกคันนาหนึ่ง หรือมักเล่นตอนเย็นหลังเลิกเกี่ยวข้าวแล้ว ผู้เล่นจะยืนล้อมเป็นวงกลม หรืออาจยืนเป็นแถวหน้ากระดาน หันหน้าเข้าหากัน มือซ้ายถือรวงข้าว มือขวาถือเคียว พ่อเพลงแม่เพลงอาจมีหลายคนช่วยกันร้องแก้ หรือร้องโต้ตอบฝ่ายตรงข้าม ส่วนคนอื่นๆ เป็นลูกคู่รับว่า "เฮ้  เอ้า เฮ้  เฮ้"

ลักษณะของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

การร้องเพลงเต้นกำของภาคกลาง


ตัวอย่าง บทเกริ่น

    ไหว้ครูสำเร็จเสร็จสก    ขยายยกเป็นเพลงปลอบ  (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
    หาไหนไม่เทียมเรียมเร้อ    ไม่มีคนเสมอเหมือนอย่างฟ้าครอบ (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
    ขอเชิญมาเล่นเต้นกันสักรอบ    ลุกขึ้นมาตอบเพลงเอย
ลูกคู่รับ :    ขอเชิญมาเล่น  เต้นกันสักรอบ      ขอเชิญมาเล่น  เต้นกันสักรอบ ลุกขึ้นมาตอบเพลงเอย
    เอิง เอ๊ย ชายเอย  เอ้ากันสักรอบ    ลุกขึ้นมาตอบเพลงเอย
    ขอเชิญมาเล่น  เต้นกันสักรอบ       ลุกขึ้นมาตอบเพลงเอย  (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
    จิตใจเจ้าไม่สมเพช    พี่จะเป่าด้วยเวทย์มหาละลวย (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
    เดชะ  คุณพระขลัง    ปถะมัง  ขมักขมวย (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ลูกคู่รับ :    เดชะ   คุณพระช่วย    ให้เล่นกันด้วยนางเอย
ตัวอย่าง บทประ
หญิง :     ได้ยินสำเหนียกเรียกหญิง    น้องเองไม่นิ่งอยู่ชักช้า (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
    แม่เหยียบหัวซังกะทั่งหัวหญ้า    เดินเข้ามาหาชายเอย  (รับ)
ชาย :     เหยียบหัวซังกะทั่งหัวหญ้า    ไอ้ซังมันแห้งจะแยงเอาขา (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
    ไอ้ตอโสนมันโด่หน้า      จะตำเอาขานางเอย (รับ)

เพลงพิษฐาน

เพลงพิษฐานนิยมเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเล่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และสุโขทัย เมื่อหนุ่มสาวทำบุญตักบาตรที่วัดแล้ว ก็จะพากันเก็บดอกไม้เข้าไปไหว้พระในโบสถ์ หญิงและชายนั่งคนละข้าง มือถือพานดอกไม้ เพลงขึ้นต้นด้วยคำว่า "พิษฐาน" มาจากคำว่า อธิษฐาน เพื่อขอพรพระ ฝ่ายชายเริ่มว่าเพลงก่อน ฝ่ายหญิงร้องแก้ เมื่อฝ่ายใดร้อง ลูกคู่ฝ่ายนั้นร้องรับ ไม่ต้องปรบมือ เกี้ยวพาราสีกันไปในเนื้อเพลงซึ่งเป็นกลอนสั้นๆ เพียง ๔ วรรค และมักยกเอาชื่อหมู่บ้านมาสัมผัสกับชื่อดอกไม้

ตัวอย่าง เพลงพิษฐาน จากชาวบ้านตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ชาย    :    พิษฐานเอย  มือหนึ่งถือพาน    พานเอาดอกพิกุล
ลูกคู่    :    มือหนึ่งถือพาน    พานเอาดอกพิกุล
ชาย     :    เกิดชาติใดแสนใดเอย      ขอให้ลูกได้ส่วนบุญ
ลูกคู่     :    พิษฐานวานไหว้  ขอให้ได้ดังพิษฐานเอย     เอ๋ยเนรมิต  ยอดพระพิษฐานเอย
หญิง     : พิษฐานเอย  มือหนึ่งถือพาน    พานเอาดอกจำปี
ลูกคู่     :    มือหนึ่งถือพาน      พานเอาดอกจำปี
หญิง     :    ลูกเกิดมาชาติใดแสนใด    ขอให้ลูกได้ไอ้ที่ดีๆ
ลูกคู่     :    พิษฐานวานไหว้  ขอให้ได้ดังพิษฐานเอย     เอ๋ยเนรมิต ยอดพระพิษฐานเอย

ตัวอย่าง เพลงพิษฐาน ของ ชาวบ้านอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ชาย    :    พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน    ถือพานดอกจอก
        เกิดชาติใดแสนใด      ขอให้ได้พวกบ้านกระบอก
หญิง    :    พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน    ถือพานปากกระจับ
        เกิดชาติใดแสนใด    ขออย่าให้ได้พวกบางพลับ

เพลงพิษฐานนี้ จุดประสงค์นอกจากเพื่อการขอพรแล้ว แก่นของเพลง คือ การทำให้ผู้อธิษฐาน ซึ่งเป็นหนุ่มสาว จะได้มีความสุขสนุกสนาน ได้แสดงออกเกี้ยวพาราสี กระเซ้าเย้าแหย่ ส่วนมากจะไม่ถือโกรธกัน ถ้าร้องเกินเลยไป เช่น

ชาย   :    พิษฐานเอย    มือหนึ่งถือพาน   พานแต่ดอกบัว
    เกิดชาติใดแสนใด      ขอให้ได้เป็นผัวคนชื่อ......... (ออกชื่อฝ่ายหญิง)
หญิง :    พิษฐานเอย      มือหนึ่งถือพาน  พานแต่ดอกแค
    เกิดชาติใดแสนใด      ขอให้ได้เป็นแม่คนชื่อ......... (ออกชื่อฝ่ายชาย)

เพลงระบำบ้านไร่

เพลงระบำมีอยู่ ๓ แบบ คือ เพลง ระบำบ้านไร่ เพลงระบำบ้านนา และเพลงระบำ

ลักษณะของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

ภาพจากปกหนังสือแสดงการร้องเล่นเพลงระบำชาวบ้านไร่ ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องโต้ตอบระหว่างชายหญิงเพลงระบำบ้านไร่ เล่นในงานเทศกาลสงกรานต์ และงานนักขัตฤกษ์ต่างๆ เป็นเพลงร้องโต้ตอบระหว่างชายหญิง เนื้อเพลงเกี่ยวเนื่องกับการเกี้ยวพาราสี นิยมเล่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยชายและหญิงจะยืนล้อมวง ปรบมือเป็นจังหวะ และผลัดกันเป็นต้นเพลง ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกคู่ร้องรับว่า

"ดงไหนเอย ลำไย    หอมหวนอยู่ในดงเอย
    เข้าดงเข้าดงลำไย    หอมหวนอยู่ในดงเอย"

ตัวอย่าง เพลงประ ของนายกร่าง แม่อิน จากแผ่นเสียงตราช้างสามเศียร

กร่าง     :    ระบำไหนเอย    แม่ชื่นใจเอ๋ยชาวบ้านไร่
ลูกคู่     :    ช้า...  ระบำที่ไหนเล่าเอย    แม่ชื่นใจเอ๋ยชาวบ้านไร่
กร่าง     :    วันนี้ประสบมาพบพักตร์    มาเจอน้องรักแม่ชื่นใจ
ลูกคู่     :    ดงไหนเอยลำไย
กร่าง    :    จะพูดก็ขามจะถามก็เกรง    พี่จะผูกเป็นเพลงว่าไป    (รับ)
        โอ้แม่บ้านเหนือเชื้อละคร    ให้รำมาก่อนจะเป็นไร    (รับ)
        ให้หล่อนเหยียดแขนออกมาฟ้อน    แขนใครจะอ่อนกว่าแขนใคร
        ดงไหนเอย  เอ่อเอยลำไย
ลูกคู่    :     หอมหวนอยู่ในดงเอย  เข้าดง  เข้าดงลำไย  หอมหวนอยู่ในดงเอย
อิน    :      ช้าระบำที่ไหนเล่าเอย    ชื่นใจเอ๋ยชาวบ้านไร่
ลูกคู่    :     ดงไหนเอยลำไย
อิน      :     ได้ยินสุนทรพี่มาวอนว่า    ได้ยินวาจาพี่ชาย   (รับ)
        ว่าแม่ชาวบ้านเหนือเชื้อละคร    จะรำจะฟ้อนออกไป  (รับ)
        ว่าแม่หนูเต้นโค้งรำโค้ง    เดินเล่นในวงแขนชาย
        ดงไหนเอย   เอ่อเอยลำไย
ลูกคู่     :    หอมหวนอยู่ในดงเอย  เข้าดง  เข้าดงลำไย  หอมหวนอยู่ในดงเอย

ส่วน เพลงระบำบ้านนา และเพลงระบำ จะแตกต่างกันที่การร้องรับของลูกคู่คือ เพลงระบำบ้านนา ลูกคู่ร้องรับว่า "แถวรำเจ้าเอย รำแน่ะๆ ไม้ลาย เขารำงามเอย" สำหรับเพลงระบำ มักขึ้นต้นวรรคว่า "ระบำทางไหนเล่าเอย" แล้วตามด้วยชื่อสถานที่ เช่น

ระบำทางไหนเล่าเอย      ระบำวัดแจ้ง
พี่รักน้องเหลือ       แม่เสื้อสีแดง
ระบำวัดแจ้ง       เขาก็รำงามเอย

เพลงอีแซว

เพลงอีแซวเป็นเพลงพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี เล่นในงานเทศกาลสงกรานต์ หรืองานบุญกุศล เดิมเป็นเพลงร้องโต้ตอบกันสั้นๆ แบบกลอนหัวเดียว ต่อมา ได้ยืมกลอนเพลงฉ่อยไปร้องให้ยาวมากขึ้น ร้องด้วยจังหวะเร็วๆ เดินจังหวะด้วยฉิ่ง กรับ พ่อเพลงแม่เพลงแต่ละฝ่ายมีลูกคู่ ๔ - ๕ คน ร้องโต้ตอบเชิงเกี้ยวพาราสีแฝงคำสองแง่สองง่าม เพื่อสร้างความครึกครื้นให้แก่ผู้ฟัง ส่วนผู้ร้องต้องมีความสามารถในการเลือกถ้อยคำมาร้อยเรียง ที่เรียกกันว่า "ด้นเพลง" ให้ทันจังหวะที่เร็วกว่าเพลงประเภทอื่นๆ ต่อมา เพลงอีแซวได้พัฒนาเป็นวงอาชีพรับจ้างแสดงตามงานต่างๆ และเป็นที่นิยมร้องกันแพร่หลายในจังหวัดใกล้เคียงด้วย

ตัวอย่าง เพลงอีแซว ของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

โอ้มาเถิดหนากระไรแม่มา    สาวน้อยเจ้าอย่าช้าๆ ร่ำไร   (ดนตรี)
หากได้ยินเสียงนี้  เสียงของพี่ไวพจน์    คนสุพรรณเขารู้หมด  ว่าพี่เป็นใคร
พี่นี้เป็นพ่อเพลง ใครๆ ก็เกรงกระทู้    ถ้าหากว่าน้องยังอยู่  พี่จะบอกให้
พี่สืบสายเพลงอีแซว ไปเล่นมาแล้วทุกที่    ศรีประจันต์ดอนเจดีย์  พี่นี้ก็เคยไป
เดิมบางนางบวช  ก็เคยไปอวดอารมณ์    สามชุกก็เคยชม   ว่าคารมพี่คมคาย
บางปลาม้าอู่ทอง  สองพี่น้องอำเภอเมือง    อย่าว่าคุยเขื่อง   พี่เฟื่องนะสายใจ
ชื่อเสียงโด่งดัง   แต่ยังขาดแม่เพลง    แม้ฝีปากเจ้ายังไม่เก่ง จะเกรงไปไย
พี่ขอเชิญให้มาสมัคร ถ้ามีใจรักทางร้อง    อีกหน่อยก็คงจะคล่อง ต้องค่อยหัดค่อยไป
ขอเพียงให้เชื่อฟัง  แม่ร้อยชั่งอย่าเกรง    จะหัดให้เป็นแม่เพลง ให้ร้องเก่งจนได้
คอหนึ่งนั้นเสียงพี่  เสียงโฉมศรีเป็นคอสอง    บกพร่องจะแก้ให้
ถ้าหากน้องเก่งแล้ว  มาร่วมอีแซววงพี่    คงมีแม่เพลงชั้นดี  มาเป็นเพื่อนใจ
จะได้ร่วมกันหากิน ในถิ่นเมืองสุพรรณ        ให้ขึ้นชื่อลือลั่น  ไม่หวั่นใครๆ
ขออย่าได้อิดเอื้อน  ให้พี่เตือนซ้ำสอง    เชิญแม่เกริ่นทำนอง  ร้องเป็นเพลงอีแซวเอย
โอ้มาเถิดมากระไรแม่มาๆ    สาวน้อยเจ้าอย่าช้าๆ ร่ำไร
มาร่วมวงกับพี่ชาย    น้องอย่าอายใครเลย

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัยเป็นเพลงร้องโต้ตอบระหว่างชายและหญิง นิยมเล่นกันแถบภาคกลางทั่วไปแทบทุกจังหวัด ในงานเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ งานโกนจุก งานบวชนาค งานมงคลต่างๆ โดยเลือกสถานที่เล่นเพลง เป็นลานกว้างๆ ยืนล้อมเป็นวงกลม แบ่งเป็นฝ่ายชายครึ่งวงฝ่ายหญิงครึ่งวง มีพ่อเพลง แม่เพลงผลัดกันร้อง ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกคู่ปรบมือเป็นจังหวะ และร้องรับฝ่ายของตน

ลักษณะของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

การร้องเล่นเพลงพวงมาลัย ถ้านำมาเล่นในวันสงกรานต์ จะร้องประกอบการเล่นลูกช่วง


ตัวอย่าง เพลงพวงมาลัย ชาวบ้านอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

แม่เพลง    :     เออระเหยลอยมา    ลอยมาก็ลอยไป
ลูกคู่         :     เออระเหยลอยมา    ลอยมาก็ลอยไป
แม่เพลง    :     ได้ยินผู้ชายมาร้องเชิญ    ไม่นิ่งเนิ่น อยู่ทำไม
        นางหยิบเข็มขัดเข้ามารัดพุง    สองมือแม่ก็นุ่งผ้าลาย
        นางหยิบหวีน้อยเข้ามาสอยเสย    ผมเผ้าแม่เลย กระจาย
        นางมายกเท้าก้าวกระดาก    สวยน้องลงจากกะได
        พวงเจ้าเอ๋ยมาลัย      ไม่ช้าไถลเลยเอย
ลูกคู่     :    พวงเจ้าเอ๋ยมาลัย    ไม่ช้าไถลเลยเอย
แม่เพลง     :     เออระเหยลอยมา    ลอยมาก็ลอยไป
ลูกคู่        :    เออระเหยลอยมา    ลอยมาก็ลอยไป

เพลงนี้ถ้านำมาเล่นในวันสงกรานต์ จะร้องประกอบการเล่นลูกช่วง ฝ่ายใดแพ้ก็ต้องมารำ เพลงพวงมาลัยนั้น เป็นเพลงที่ร้องง่ายและฟังสนุก จึงเหมาะกับการร้องรำมาก

เพลงเหย่อย

เพลงเหย่อยเป็นเพลงพื้นบ้านจังหวัดกาญจนบุรี นิยมเล่นในงานเทศกาล และงานมงคลต่างๆ มักมีกลองยาวมาตีเรียกชาวบ้านก่อน กลองยาวกับเพลงเหย่อยจึงเป็นของคู่กัน แบ่งเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จำนวนฝ่ายละ ๘ - ๑๐ คน มีผ้าคล้องคอคนละผืน ฝ่ายชายเริ่มรำออกไปก่อน สองมือถือผ้าออกไปด้วย จะค่อยๆ รำเข้าไปหาฝ่ายหญิง ซึ่งอยู่ในแถวตรงข้าม แล้วส่งผ้าหรือคล้องผ้าให้ ฝ่ายหญิงที่ได้รับผ้าก็ต้องออกมารำคู่ พลางร้องโต้ตอบเนื้อหาในเชิงเกี้ยวพาราสี เมื่อรำคู่พอสมควรแล้วก็ต้องให้คนอื่นรำบ้าง โดยฝ่ายหญิงเอาผ้าไปคล้องให้ฝ่ายชายคนอื่นๆ ส่วนฝ่ายชายคนเดิมก็ต้องค่อยๆ รำแยกออกมากลับไปยังที่เดิม รำสลับอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนจบเพลง อาจฟ้อนรำกันไปจนดึกด้วยความเพลิดเพลินตลอดทั้งคืน

ตัวอย่าง เพลงเหย่อย

(ลูกคู่จะปรบมือ  และร้องรับเมื่อต้น
เสียงร้องคำว่า "เอย" คือ ร้องซ้ำที่ผู้ร้องร้องทุกครั้ง)

ชาย    :     มาเถิดหนาแม่มา    มาเล่นพาดผ้ากันเอย
        พี่ตั้งวงไว้ท่า    อย่านิ่งอยู่ช้าเลยเอย
        พี่ตั้งวงไว้คอย    อย่าให้วงกร่อยเลยเอย
หญิง    :    ให้พี่ยื่นแขนขวา    เข้ามาพาดผ้าเถิดเอย
ชาย     :    พาดเอยพาดลง    พาดที่องค์น้องเอย
หญิง     :     มาเถิดพวกเรา    ไปรำกับเขาหน่อยเอย
ชาย     :    สวยแม่คุณอย่าช้า    ก็รำออกมาเถิดเอย
หญิง    :    รำร่ายกรายวง    สวยดังหงส์ทองเอย
ชาย     :    รำเอยรำร่อน    สวยดังกินนรนางเอย
หญิง    :    รำเอ๋ยรำคู่    น่าเอ็นดูจริงเอย
ชาย     :    เจ้าเขียวใบข้าว    พี่รักเจ้าสาวจริงเอย
หญิง     :    เจ้าเขียวใบพวง    อย่ามาเป็นห่วงเลยเอย
ชาย     :    รักน้องจริงๆ    รักแล้วไม่ทิ้งไปเอย
หญิง    :    รักน้องไม่จริง    รักแล้วก็ทิ้งไปเอย
ชาย     :    พี่แบกรักมาเต็มอก    รักจะตกเสียแล้วเอย
หญิง    :    ผู้ชายหลายใจ    เชื่อไม่ได้เลยเอย

เพลงฉ่อย เพลงวง เพลงฉ่า หรือเพลงเป๋

เพลงฉ่อยเป็นเพลงที่เล่นกันทั่วไปทุกจังหวัดในภาคกลาง โดยนิยมเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และวันนักขัตฤกษ์อื่นๆ ภายหลังมีการตั้งวงเป็นอาชีพรับจ้างแสดงทั่วไป คณะลำตัดหวังเต๊ะนิยมนำเพลงฉ่อยมาร้องแทรกกับการเล่นเพลงลำตัดเสมอๆ เพลงฉ่อยเป็นเพลงโต้ตอบระหว่างชายหญิง มีเอกลักษณ์ตรงที่ลูกคู่จะร้องรับว่า "เอ่ชา เอ๊ชา ชา ฉาด ชา" บางคณะต่อด้วย "หน่อยแม่" ไม่ต้องมีดนตรีประกอบ ลูกคู่จะปรบมือเท่านั้น

ลักษณะของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

การร้องเล่นเพลงฉ่อย ไม่ต้องมีดนตรีประกอบ ใช้การปรบมือของลูกคู่


ตัวอย่าง เพลงฉ่อย คณะแม่ต่วน

    ฉ่า ฉ่า ชะชา            เอิงเออเออเอิงเงย
มือของลูกสิบนิ้ว              ยกขึ้นหว่างคิ้วถวาย
ต่างธูปเทียนทอง                   ทั้งเส้นผมบนหัว
ขอให้เป็นดอกบัว                ก่ายกอง...เอย...ไหว้...
(อีกทั้งเส้นผมบนหัว (ซ้ำ)  ขอให้เป็นดอกบัวก่ายกอง (ซ้ำ)  เอยไหว้...เอชา...)
ลูกจะไหว้ทั้งพระพุทธที่ล้ำ           ทั้งพระธรรมที่เลิศ
ทั้งพระสงฆ์องค์ประเสริฐ            ขออย่าไปติดที่รู้
ถ้าแม้นลูกติดกลอนต้น           ขอให้ครูช่วยด้น...กระทู้...เอย...ไป.
(ถ้าแม้นลูกติดกลอนต้น (ซ้ำ)          ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้ (ซ้ำ)...ไป...เอชา...)
ลูกไหว้ครูเสร็จสรรพ               หันมาคำนับกลอนว่า
ไหว้คุณบิดรมารดาท่านได้อุตสาห์ถนอมกล่อมเกลี้ยง     ประโลมเลี้ยงลูกมา
ทั้งน้ำขุ่นท่านก็มิให้อาบ               ขมิ้นหยาบมิให้ทา
ยกลูกบรรจงลงเปล               ร้องโอละเห่...ละชา...ไกว
(ยกลูกบรรจงลงเปล (ซ้ำ)        ร้องโอละเห่...ละชา (ซ้ำ)...ไกว...เอชา...)
แม่อุตส่าห์นอนไกว               จนหลังไหล่ถลอก
หน้าแม่ดำช้ำชอก               มิได้ว่า ลูกชั่ว
จะยกคุณแม่เจ้า               วางไว้บนเกล้า ของตัว...ไหว้...
(จะยกคุณแม่เจ้า (ซ้ำ)              วางไว้บนเกล้า ของตัว (ซ้ำ)...ไหว้...เอชา...)

เพลงฉ่อยมีชื่อเรียกหลายชื่อ บางครั้งเรียกว่า เพลงวง มาจากลักษณะที่ยืนร้องเป็นวงกลม หรือเรียกว่า เพลงฉ่า มาจากบทรับของลูกคู่ ซึ่งบางแห่งรับว่า ฉ่า ชา...และที่เรียกว่า เพลงเป๋ เพราะมีพ่อเพลงฉ่อยที่มีชื่อเสียงมากชื่อ เป๋ จึงเรียกตามชื่อพ่อเพลงผู้นั้น

เพลงพื้นบ้านภาคกลางเป็นเพลงลักษณะใด

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นเพลงโต้ตอบหรือเพลงปฏิพากย์ เป็นเพลงที่หนุ่มสาวใช้ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน มักร้องกันเป็นกลุ่มหรือเป็นวง ประกอบด้วย ผู้ร้องนำเพลงฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่เรียกว่า พ่อเพลง แม่เพลง ส่วนคนอื่นๆ เป็นลูกคู่ร้องรับ ให้จังหวะด้วยการปรบมือ หรือใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เช่น กรับ ฉิ่ง เพลงโต้ตอบนี้ ...

ลักษณะเนื้อร้องในบทเพลงของภาคกลางเป็นอย่างไร

เป็นคำร้อง ง่าย ๆ ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทำให้เพลงพื้นบ้านเป็นสมบัติอันมีค่าที่บรรพบุรุษ สั่งสมเพื่อเป็นมรดกที่ลูกหลานไทยต้องดูแล อุปกรณ์การแสดงก็ไม่ยุ่งยาก หาได้ตามชนบททั่วไป เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ ฯลฯ เพลงพื้นบ้านภาคกลาง มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การประกอบอาชีพวิถีการดำเนินชีวิต

เพลงพื้นบ้าน(ฉ่อย)มีลักษณะอย่างไร

ฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงท่าทาง และการร้องคล้ายกับลำตัด โดยมีผู้แสดงประกอบด้วย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ฝ่ายละประมาณ 2-3 คน ในขณะที่พ่อเพลงแม่เพลงร้องโต้ตอบกันผู้เล่นคนอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็นลูกคู่ เนื้อหาที่ร้องส่วนใหญ่มีทั้งเรื่อง ทางโลก ทางธรรม ชิงชู้ และมักจะมีถ้อยคำ ที่มีความหมายสองแง่สองง่าม การแสดงเพลงฉ่อยจะ ...

เพลงพื้นบ้านมีลักษณะเป็นอย่างไร

เพลงพื้นบ้าน คือ เพลงของชาวบ้านที่จดจำสืบทอดกันมาแบบปากเปล่า ใช้ ร้องเล่น เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง ใช้คำที่ง่าย ๆ เน้นเสียงสัมผัสและจังหวะการ ร้องเป็นสำคัญ ใช้เครื่องประกอบจังหวะง่าย ๆ ที่สำคัญต้องมีเสียงร้องรับของลูกคู่ ทำให้เกิดความสนุกสนานมากขึ้น