เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

เรื่องของ “ทะเบียนบ้าน” เป็นสิ่งที่คนซื้อบ้าน ซื้อคอนโดทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายทะเบียนบ้าน หรือแม้แต่การแจ้งสมาชิกเข้ามาอยู่บ้าน ซึ่งแน่นอนบางคนอาจกำลังสงสัยความแตกต่างระหว่างเจ้าบ้านและเจ้าของบ้านนั้นมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงเรื่องของเอกสาร ขั้นตอนทางกฎหมายที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดความสำคัญของทะเบียนบ้านได้ 5 ข้อดังนี้

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

เจ้าบ้าน และ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร

หากใครสังเกตในทะเบียนบ้านมักจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฎอยู่ แน่นอนว่ายังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจหน้าที่ที่แท้จริงของเจ้าบ้านนั้นคืออะไร แตกต่างอย่างไรกับเจ้าของบ้าน โดยสามารถแยกบทบาทและสิทธิทางกฎหมายได้ดังนี้

ความหมายเจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย

หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้

  • แจ้งคนเกิดในบ้าน
  • แจ้งคนตายในบ้าน
  • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
  • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
  • ขอเลขที่บ้าน

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดินหลังนั้น ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้


เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

ซื้อบ้านหลายหลัง ชื่อในทะเบียนบ้านทำอย่างไร

เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอสังหาฯ แน่นอนว่าคนเหล่านี้จะมีทะเบียนบ้านหลายฉบับ แต่ทางกฎหมายจำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้านหรือผู้ดูแลบ้านได้ เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้นนักลงทุนอสังหาฯ หรือกลุ่มคนทำงานที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถใช้วิธีนำชื่อของญาติ พ่อแม่ พี่น้องมาใส่ในทะเบียนบ้านหลังอื่นๆ ได้

นักลงทุนที่มีบ้านหลายหลัง คอนโดหลายห้อง รู้วิธีการแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว หากอยากเพิ่มจำนวนห้องชุดให้มากกว่านี้ กับโปรโมชันแสนสิริ ที่มอบให้สำหรับผู้ที่จองผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่
เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่


เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

ชื่อในทะเบียนบ้านสามารถปล่อยว่างได้หรือไม่

หลายคนอาจสงสัยว่าจากกรณีข้อที่ 2 หากไม่สามารถหาชื่อญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถทำให้ชื่อในทะเบียนปล่อยว่างได้หรือไม่ กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งอยากขายบ้าน ขายคอนโดขึ้นมาและถือครองอสังหาฯ นั้นไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด คือ "พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันได้มา ดังนั้นหากท่านที่ขายอสังหาฯ ไปโดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ"

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ จากกรมสรรพากร 


เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

วิธีแจ้งชื่อย้ายเข้า-ย้ายออกทะเบียนบ้านทำอย่างไร

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนที่ซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ และกำลังมีแผนย้ายบ้านต่างตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสาร รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

แจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้าน การแจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้านจะเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องย้ายออกภายใน 15 วัน หากเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ตามกฎหมายกำหนดให้มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเจ้าบ้านสามารถยื่นเอกสารกับนายทะเบียนท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบเอกสารจากนายทะเบียนก่อนมีการประทับ “ย้าย” หน้าเอกสาร พร้อมมอบเอกสารแจ้งย้ายเข้าต่อไป สำหรับเอกสารที่ใช้ย้ายออกทะเบียนบ้านมีดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

รู้วิธีการย้ายเข้า ย้ายออกทะเบียนบ้านแล้ว หากใครสนใจอยากย้ายทะเบียนบ้านเข้าโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝดน่าอยู่ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการใหม่ อณาสิริ กรุงเทพ-ปทุมธานี และ อณาสิริ ชัยพฤกษ์-วงแหวน ได้

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

แจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้าน หลังจากเจ้าบ้านแจ้งเรื่องย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังเดิมแล้ว เจ้าบ้านจำเป็นต้องแจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยต้องยื่นเอกสารให้กับนายทะเบียนท้องที่ที่ย้ายเข้า หลังจากนายทะเบียนตรวจสอบแล้วจะทำการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ซึ่งมีเอกสารสำหรับย้ายเข้าทะเบียนบ้านดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 โดยเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว


เปลี่ยนเล่มทะเบียนบ้านใหม่

ทะเบียนบ้านหายต้องทำอย่างไร

สำหรับกรณีของทะเบียนหาย น่าจะเป็นสถานการณ์ที่พบบ่อยสำหรับนักลงทุนที่มีคอนโดหลายห้อง หรือคนที่ซื้อบ้านไว้ให้เช่าหลายหลัง และถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นสามารถยื่นคำร้องกับฝ่ายทะเบียน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานได้ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
  • กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย หนังสือผู้มอบหมาย ค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ฉบับละ 20 บาท

แหล่งข้อมูล: bora.dopa.go.th

ได้ความรู้เกี่ยวกับทะเบียนบ้านที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังซื้อบ้านในตอนนี้ไปแล้ว สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงนี้ แนะนำให้รีบคว้าโครงการเด่นทำเลดังกับแสนสิริโปรโมชันดีๆ อย่างโปรโมชันบ้านและทาวน์โฮมพร้อมอยู่พร้อมพบประสบการณ์ซื้อบ้าน แสน Smoothในทุกขั้นตอน  

ทะเบียนบ้านเปลี่ยนเล่มใหม่ได้ไหม

1. กรุงเทพฯ สามารถเข้ารับการยื่นทำทะเบียนบ้านเล่มใหม่ได้ที่สำนักงานเขต ที่เจ้าบ้านมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน 2. ต่างจังหวัด ท่านจะสามารถเข้าไปยื่นคำร้องได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ ที่เจ้าบ้านมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน

ทําทะเบียนบ้านใหม่ กี่บาท

ทั้งนี้ ในการขอทะเบียนบ้านกรณีทะเบียนบ้านเก่าหายหรือทะเบียนบ้านชำรุด จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท หรือสอบถามข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครองเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1548. วิธีขอทะเบียนบ้านออนไลน์

คัดทะเบียนบ้านใหม่ ใช้อะไรบ้าง

สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)

ทะเบียนบ้านใหม่ กี่วันได้

หากเป็นไปตามข้อกำหนด เจ้าหน้าที่จะกำหนดเลขที่ประจำบ้านและสมุดทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาล ไปจนถึงระยะเวลา 30 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล ค่าใช้จ่ายในการขอทะเบียนบ้าน สามารถสอบถามได้ที่สำนักทะเบียนท้องที่ หรือ Call Center 1548.