รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

รวมข้อดีและข้อเสียของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของคนจำนวนมาก

ปัจจุบันรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอยู่ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะต้องทำการศึกษาข้อมูลประกอบการตัดสินใจโดยละเอียด


ข้อดีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า


การบำรุงรักษาง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการดูแลรักษารถยนต์พลังงานน้ำมัน เนื่องจากใช้เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าทำให้มีชิ้นส่วนภายในตัวรถยนต์ที่น้อยและไม่จำเป็นต้องมีการถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่สูงกว่ารถยนต์พลังงานน้ำมัน


รถยนต์พลังงานไฟฟ้าใช้พลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการปล่อยมลพิษเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับ 0% อย่างไรก็ตาม พลังงานไฟฟ้าที่ถูกนำมาใช้งานในรถยนต์จำเป็นต้องมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อเป็นการลดมลพิษทางอากาศอย่างแท้จริง


สร้างเสียงรบกวนจากรถยนต์พลังงานไฟฟ้าน้อยจนมีกฎหมายบางประเทศกำหนดให้รถยนต์ไฟฟ้าต้องมีเสียงเพื่อเป็นสัญญาณแจ้งเตือนให้กับรถยนต์คันอื่น ๆ หรือผู้เดินทางใช้ถนนทั่วไปได้รับรู้ถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังวิ่งเข้ามาใกล้


ชาร์จแบตเตอรี่ได้ที่บ้านจุดเด่นของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า แม้จะใช้ระยะเวลาในการชาร์จพลังงานไฟฟ้านานเป็นชั่วโมง ซึ่งอาจเหมาะสำหรับคนที่ทำงานในเมืองและใช้รถเดินทางไปทำงานในเวลากลางวันในระยะที่อยู่ภายในตัวเมืองไม่ไกลมากนัก


จุดเด่นสำคัญของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าหลายรุ่นในตลาดเริ่มมีการติดตั้งระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจไม่ใช่ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ 100% แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ง่ายมากขึ้น


ข้อเสียของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า


สาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนยังไม่ตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เนื่องมาจากความกังวลด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ตัวรถยนต์แต่อาจรวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของเมืองหรือประเทศที่รองรับเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า


ราคาของรถยนต์พลังงานไฟฟ้ายังอยู่ค่อนข้างแพงสำหรับในบางประเทศที่มีการเก็บภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เมื่อเทียบกับรถยนต์พลังงานน้ำมันในรุ่นที่ใกล้เคียงกัน การซื้อรถยนต์พลังงานน้ำมันอาจมีราคาที่ต่ำกว่าและกลายเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเลือกรถยนต์พลังงานน้ำมันอยู่


ในตอนนี้เทคโนโลยีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหลายรุ่นได้มีการพัฒนาให้สามารถขับระยะทางไกลกว่า 500 กิโลเมตร หรือบางรุ่นอาจมากถึง 900 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามรถยนต์พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงถูกออกแบบมาให้ขับได้ในระยะใกล้ ๆ ภายในเมืองยังไม่รองรับการขับระยะทางไกลได้


ศูนย์ซ่อมบำรุงหนึ่งในความกังวลของผู้ที่มีแผนการซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หากมีศูนย์ซ่อมบำรุงน้อยหรือนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ถ้าหากรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีปัญหาเกิดขึ้น ผู้เป็นเจ้าของรถอาจต้องใช้ความพยายามในการหาศูนย์ซ่อมบำรุงพอสมควร


สถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าและระยะเวลาในการชาร์จพลังงานไฟฟ้านาน กลายเป็นความกังวลมากที่สุดของผู้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า แม้ว่าปัจจุบันปั๊มน้ำมันหลายแห่งเริ่มมีการติดตั้งจุดบริการชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับรถยนต์แต่ยังดูเหมือนมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณรถยนต์และเส้นทางการเดินทางโดยรถยนต์ทั้งประเทศ


อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันสามารถแก้ไขข้อจำกัดข้างต้นได้เป็นส่วนใหญ่

โรงงานทั้งหกแห่งของเราครอบคลุมสามทวีป ได้แก่ โรงงานในฟรีมอนต์, Gigafactory สาขาเนวาดา, Gigafactory สาขานิวยอร์ก, Gigafactory สาขาเซี่ยงไฮ้, Gigafactory สาขาเบอร์ลิน-บรันเดินบวร์ค และ Gigafactory สาขาเท็กซัส

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

สรุปโดย วาสนา ลำดี

            วันพฤหัสบดีที่  3 ตุลาคม 2562 ห้องบอลรูม B โรงแรม เมเปิล ถ. ศรีนครินทร์ บางนา ได้มีสัมมนา เรื่อง รถยนต์ไฟฟ้า – ผลกระทบต่อการจ้างงาน ? จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย  ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

โดยได้สรุปการนำเสนอรายงานโครงการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีต่อแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ข้อเสนอแนะต่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในประเทศไทย โดยรศ. ดร. กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้นำเสนอ “ผลกระทบจากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีต่อแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ว่า โครงการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีต่อแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ข้อเสนอแนะต่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในประเทศไทย มีที่มาและความสำคัญคือปัญหาโลกร้อนที่มีผลกระทบในการดำรงชีวติของเราอย่างมากภัยธรรมชาติต่างๆเกิดขึ้นเนื่องจากโลกมีอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น รวมถึงความมั่นคงทางอาหารด้วย เช่นผลผลิตจากภาคเกษตรก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งประเทศต่างๆก็เห็นร่วมกันถึงปัญหาโลกร้อน ซึ่งได้มีการพูดคุยร่วมกัน และมีความตกลงร่วมกันที่จะร่วมมือกันในการลดภาวะโลกร้อน ไม่ ให้อุณหภูมิสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทั้งเรื่องการผลิตไฟฟ้า หรือความร้อนที่ใช้ในบ้าน ทั้งเรื่องของการคมนาคมขนส่ง เรื่องของอุตสาหกรรมการผลิต และเรื่องของเกษตรกรรมด้วย โดยหลายส่วนนั้นมีผลกระทบต่อโลกร้อนจึงต้องมีความร่วมมือกัน

ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องฝุ่นจิ๋วPM2.5 ที่มีผลกกับคนกรุงเทพฯ และภาคเหนือที่มีปัญหาทำให้ตรหนักมากขึ้นว่าสิ่งแวดล้อมมีปัญหามากขึ้นแล้ว มีการพูดคุยที่จะนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ ซึ่งอยากให้รัฐบาลนำมาใช้เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อกล่วถึงโลกร้อนแล้วภาคแรงงานมีความคิดเห้นอย่างไรบ้าง ซึ่งภาคแรงงานก้มองว่าเราสามารถช่วยกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันได้ โดย ชาแรน บูโรว์เลขาธิการทั่วไป สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล กล่าวว่า สำหรับแรงงานคือ “ไม่มีงานบนโลกที่ตายแล้ว” ดังนั่นภาคแรงงานก็เห็นด้วยกับเรื่องสิ่งแวดล้อม พร้อมเข้าไปมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนด้วย แต่ก็มีความกังวลใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อการมีงานทำหรือไม่ และเข้าใจว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านตรงนี้ด้วยเพื่อความเป็นธรรมต่อแรงงาน หากมาดูของ อัลเบอรโท บุมบัสเซ ผู้นำธุรกิจชาวอิตาลี มหาเศรษฐี และอดีตรองผู้อำนวยการพรรคทางเลือกพลเมือง ฝ่ายกลางขวากล่าวว่า “วันนี้มีควำมกระตือรือร้นอย่างมากสำหรับ ยานพาหนะไฟฟ้าแต่ไม่มีใครพิจารณาถึง ผลกระทบทางสังคม ในยุโรปหากเราหยุดผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยดีเซลหรือเบนซิน และผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เราจะ สูญเสียงานหนึ่งในสามชาวยุโรปนับล้านจะ ไม่มีงานทำอีกต่อไป” เรามีการพูดถึงผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่ว่าเสียงตอบรับกลับมาค่อนข้างเบามาก

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยก็มีความสำคัญอย่างมาก เป็นสินค้าที่ส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ ทั้งรถยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ด้วย หากเทียบสินค้าส่งออกทั่วโลก และเอเชีย หรืออาเซียนของไทยถือเป็นอับดับหนึ่งของอาเซียน เป็นอันดับห้าของเอเชีย และอันดับ สิบสองของโลก พูดถึงการส่งออกชิ่นส่วนรถจักรยานยนต์ ก็เป็นอันดับสี่ของโลก ยานพาหนะอันดับห้าของโลก ส่งออกเครื่องยนต์อันดับสิบเอ็ด ของโลกและการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆที่ไม่นับอยู่ในอันดับสิบสี่ของโลก ฉะนั้นอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจึงมีความสำคัญกับเศรษฐกิจของไทย โดยวัติถุประสงค์ของการทำงานวิจัยมี 3 ข้อ คือ

1. ศึกษาแนวโน้มการเกิดขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า และผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ในประเทศไทย และพยายามดูว่าจะมาถึงเมื่อไร

2.ประเมินผลกระทบของยานยนต์ในการเปลี่ยนผ่านไปเป็นยานยนต์ต่อแรงงานใน อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

3.แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม

เนื่องจากไม่ชอบทิ้งใครไว้ข้างหลังไปต้องไปด้วยกัน โดยวิธีการศึกษามีการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและงานศึกษาต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการศึกาจากต่างประเทศ โดยการรวบรวมสถิติต่างๆ การเข้าร่วมสัมมนาที่เกี่ยวข้องซึ่งมีการจัดขึ้นบ่อยครั้ง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการตัวแทนฝั่งแรงงานมีการสนธนากลุ่มแรงงาน 3 ครั้ง รวมถึงภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้องและผุ้ประกอบการด้วย ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานในการพัฒนาทักษะแรงงานด้วย

แนวคิดเชิงทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หลักๆทฤษฎีว่าด้วยยานยนต์ไฟฟ้ากับตลาดล้มเหลว ยานยนต์ไฟฟ้าก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง เราพูดถึงหลักเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวถึงการชดเชย (Compensation Principle)

ที่สอดคล้องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition)  การเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจใดๆจะมีคนที่ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ในขณะเดียวกัน แต่ก็เป็นไปได้ว่าสังคมโดยรวมได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ด้านความไม่เป็นธรรม ซึ่งเราสามารถที่จะชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมได้ ตัวอย่างเช่นการเก็บภาษี ให้เงินชดเชยผู้ที่เสียประโยชน์

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมบทเรียนจากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน การยกเลิกการใช้ถ่านหิน

วรรณกรรมปริทัศน์ ที่คนพบว่าต่างประเทศได้ทำอะไรกันบ้าง ซึ่งผลการศึกษายังไม่ชัดเจน คือผลกระทบทางลบการจ้างงานที่ลดลงและการสูญเสียงาน

สถาบัน IFO  (2017) และ UBS (2017) พบว่า ร้อยละ 60 ของงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศเยอรมนีจะได้รับผลกระทบทางลบ กล่าวคือ แรงงานจำนวน 1.8 ล้านคนจาก 3 ล้านคน หรือ 2 ใน 3 ของแรงงานมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียงาน เพราะชิ้นส่วนที่ผลิตจะไม่ถูกใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า และมีโอกาสน้อยที่จะโยกย้ายไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพราะขาดทักษะที่เหมาะสม

คณะกรรมาธิการยุโรป (2017) ทำการศึกษาถึงผลกระทบในช่วง 2020-2040 พบว่า มีผลกระทบในระดับมหภาคน้อยมาก โดยจะเพิ่มการจ้างงานเล็กน้อย 0.02%-0.065% เพราะงานที่สูญเสียไปจะถูกชดเชยด้วยงานที่จะเกิดขึ้นใหม่ โดยความเสี่ยงขึ้นกับว่า ยุโรปจะเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่หรือไม่ ถ้าไม่ผลิต จะมีความเสี่ยงสูญเสียงานจำนวน 34,500 คน เป็นการมองเชิงบวกนอกการจ้างงานของยานยนต์

Transport&Environment (2017) พบว่า ในภาพรวมการจ้างงานสุทธิจะเพิ่มขึ้น 500,000-850,000 คน การสูญเสียงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2030 จะไม่มีหรือมีน้อยมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า สหภาพยุโรปจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่ ถ้าไม่ผลิต จะส่งผลลดการจ้างงานในอุตสาหกรรมลง 32% แต่ถ้าผลิตและส่งออกด้วยจะเพิ่มการจ้างงานเป็น 108% เป็นภาพเชิงบวก อยุ่ที่ว่าสหภาพยุดรปจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสู้กับประเทสจีนได้หรือไม่ หากเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้การจ้างงานก็จะไม่สูญเสียมากนัก

เทคโนโลยียานยนต์อนาคต หรือ CASE ย่อมาจาก C คือ Connected Vehicle ยานยนต์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เมื่ออยู่ในรถสามารถจะดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งรถยนต์จะมีวิวัฒนาการใหม่ๆเกิดขึ้น A คือ Autonomous Vehicle ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ต่อไปไม่ต้องมีคนขับรถ ไม่ต้องมีคนขับรถแท็กซี่ รถยนต์จะไม่ชนกันก้ไม่จำเป็นต้องทำประกันภัยรถยนต์แล้ว  S คือ Shared Vehicle ยานยนต์ใช้ร่วมกัน คนไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของรถยนต์ เป็นการขายรถให้กับบริษัทที่ให้เช่ารถ ซึ่งรถก้จะถูกใช้งาน 24 ชั่วโมงแทนที่จะจอดไว้ที่บ้านในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่ใช่เพียง EVอย่างเดียว และE คือ Electric Vehicle ยานยนต์ไฟฟ้า หลักๆแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ HEV ไม่มีสายชาร์ตเป็นระบบพลังงานสะสม เป็นการใช้เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าร่วมกัน ยังสามารถเปลี่ยนพลังงานที่สูญเสียจากการเบรคเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่ , PHEVเป็นการพัฒนาต่อจากยานยนต์ไฟฟ้าแบบะปลักอิน , BEV เป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ 100%, FCEV เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนใช้ไฮโตเจน หากดูการศึกษาของ KPMG สถาบันที่ให้คำปรึกษา เขาได้ทำการมีการทำสำรวจในปี 2019 ซึ่งมีการศึกษาทั่วโลกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ข้อค้นพบผู้ที่ตอบส่วนใหญ่ ว่าปี 2040 หรืออีก 20 ปีข้างหน้า รถยนต์จะเปลี่ยนไป ระบบสันดาบภายในจะมีสัดส่วนที่ 23 %  ระบบปลักอินไฮบริดอยู่ที่ 25% EEV อยู่ที่ 30% FCEV อยู่ที่ 23% และอีก 20%ยังไม่เห็น ซึ่งเห็นว่าในอีก 20 ปีข้างหน้ายังมีรถยนต์ที่หลากหลายวิ่งบนท้องถนนอยู่

ประเด็นรถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องใหม่มีมาก่อนแล้วตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 แล้ว ประมาณปี 1905 ตอนนี้ก็มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นมา และปี 1912 แต่หลังจากนั้นรถยนต์สันดาบภายในได้มีการผลิต และมีราคาทืถูกมาก ตลาดโลกจึงหยุดผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไป ซึ่งหายไปร้อยกว่าปี แต่ปี 2010 กว่าๆก็กลับมาแล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

หากมาดูว่ารถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันมีเท่าไร ปีป 2011 รถยนต์ไฟฟ้าสะสมทั่วโลกประมาณ 5.1 ล้านคัน อยู่ในประเทศจีนเกินครึ่งประมา 2.3 ล้านคัน อยู่ในยุโรปประมาณ 1.2 ล้านคัน อยู่ในสหรับอเมริกา 1.1 ล้านคัน รถยนต์ไฟฟ้า 5.1 ล้านคันจำนวนมากหรือไม่คิดว่าไม่มาก แต่เพิ่มขึ้นมากจากปี 60 เพิ่มขึ้นประมา 2 ล้านคัน ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตค้อนข้างสูง หากมาดูยอดขายของประเทศต่างๆ ยอดขายอยู่ที่ประเทสจีนปี 2560 อยู่ที่ 1.1 ล้านคัน ซึ่งถือว่าค้อนข้างสูง ต่อมาส่วนแบ่งตลาดรถใหม่ที่ประเทศนอร์เวย์มีตลาดรถที่มีสัดส่วนที่สูงที่สุดหสมมุติว่ามีรถยนต์ใหม่ 100 คันจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 46 คัน ฉะนั้นประเทศนอร์เวย์ รถใหม่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเกือบทั้งหมด ประเทศต่อมาคือสวีเดน และสำหรับประเทศไทย รถยนต์ยอดสะสม 40 ล้านคัน ข้อมูลจากขนส่งทางบกเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 รถยนต์ 40 ล้านคันเป็นรถไฟฟ้า (รวมรถจักรยานยนต์ รถโดยสาร ฯลฯด้วย) เป็นรถไฟฟ้า 1,933 คัน มีรถยนต์อยู่เกือบ 400 คัน หากดูที่จดทะเบียนใหม่ปี 2561มีจดทะเบียนใหม่รถยนต์จำนวน 3 ล้านคัน จดใหม่รถยนต์ส่วนบุคคลนั่งได้ไม่เกิน 7 คน ยังเป็นแบบประสม หากเป็นไฟฟ้าเลยจะเป็นรถจักรยานยนต์ หากเป็นรถยนต์ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถโดยสารก็ประมา 100คัน ฉะนั้นรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นเพิ่งจะเริ่มเท่านั้น

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

หากมาดูมูลค่าการลงทุนในประเทศไทยอาจดูไม่มากแต่ในอนาคตน่าจะมากกว่านี้ ดูจากค่ายรถที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 5.1 หมื่นล้านบาท โตโยต้า 2  หมื่นล้านบาทตามมาด้วย ฮอนด้า นิสันมาสด้าและแบร์นอื่นๆ ซึ่งแผนการผลิตมีทั้งแบบ HEV,PHEV,BEV มูลค้าการผลิตของค่ายญี่ปุ่น เป็น HEV เป็นส่วนใหญ่ประมาณ 7.4 หมื่นล้านบาท กำลังผลิตรวม 3.2 แสนคัน/ปี หากเป็นPHEVปลักอินมีทั้งค่ายญี่ปุ่น จีน เยอรมนี รวมมูลค่าลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท กำลังผลิตรวม 8.45 หมื่นคัน/ปี  หากเป็น BEV มีค่ายญี่ปุ่น เยอรมนี จีน ไทย รวมมูลค่าลงทุน 4.46 หมื่นล้านบาท กำลังผลิตรวม 2.01 แสนคัน/ปี  หากดูสถานีประจุไฟฟ้า บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ (EA)ได้รับส่งเสริมการลงทุน 1,092 ล้านบาท ซึ่งเห็นรถยนต์ไฟฟ้าจีนมาขายในประเทศไทยแล้ว คันแรกเป็นของ MGZS ใช้ลิเทียมไอออนซาร์ต 30 นาที วิ่งได้337 กม. ราคา 1.19 ล้านบาท อีกญี่ห้อเราเห็นเป็นรถแท็กซี่ ใช้ลิเทียมไอออน ใช้เวลาชาร์ต์ 40 นาที วิ่งได้ 350 กม.ราคา 1.89 ล้านบาท

มาดูที่ต่างประเทศ ว่าเขามีนโยบายอย่างไรบ้าง จะเห็น 12 ปะเทศที่ออกมาห้ามขายรถยนต์สันดาป เร็วที่สุดคือประเทศนอร์เวย์คือปี 2025  ห้ามขายรถใหม่ที่เป็นรถสันดาปภายใน จากนั้นปี 2030มีทั้งไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก และก็มีปี 2040 และปี 2050 ที่ทั้ง 12 ประเทศออกนโยบายมา ประเทศไทยอาจช้าเนื่องจากเป็นประเทศส่งออก นอกจากประเทศก็มี20 เมือง ที่มีการห้ามขายรถยนต์สันดาปและรัฐ  หากสหรัฐอเมริกา คือรัฐลอส์แอนเจลิสที่ห้ามขายในปี 2030

            ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ผลิตปี 2561จำนวน 2,167,694 คัน ขายในประเทศ 47% และส่งออก 53% จำนวนผู้ประกอบการรถยนต์ประมาณ 30 บริษัท ผู้ประกอบหรือแรงงานในกลุ่มนี้ประมาณ 1 แสนคน หากรวมผู้แทนจำหน่ายด้วยอีกราว 2 แสนคน รวมเป็น 3 แสนคน เป็นกลุ่ม Tier 1 มีผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประมาณ 389 บริษัท ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ 130 บริษัท ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 201 บริษัท รวมแรงงานในกลุ่มนี้ 250,000 คน กลุ่ม Tier 2และ3 ผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดกลางและขนาดเล็ก มากกว่า 1,700 บริษัท มีแรงงานในกลุ่มนี้ 340,000 คน

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

ส่วนของนโยบายประเทศ หากดูกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งแต่ 1.0 ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ให้ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ เป็นการสร้างอุตสาหกรรมนี้ภายในประเทศ 2.0 เป็นการส่งเสริมการลงทุนการผลิตเพื่อส่งออกรถกระบ  ต่อมาเป็น 3.5 เป็นฐานการผลิตรถยนต์มาตรฐานสากล เป็นโปร์ดักแชมป์เปียน ซึ่งประเทศไทย กระทรวงต่างๆ ก็มีบทบาทแตกต่างกันอย่างกระทรวง พลังงานก็ทำหน้าที่ดูและและพัฒนาด้านพลังงาน ระบบไฟฟ้าเป็นต้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงาน ก็มีการทำงานคันคว่าวิจัยเรื่องชี้นส่วนแบตเตอรี่เพื่ออนาคต คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI ก็ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงการคลังก็สนับสนุนการผลิตและการบริโภค

หากเราแกะชิ้นส่วนรถยนต์สันดาปภายในจะมีชิ้นส่วนจำนวนมากมีถึง 30,000 ชิ้น ส่วนของรถBEV จะมีชิ้นส่วนที่น้อยลง ประมาณ 1,500 -3,000 ชิ้น หากดูพาวเวอร์เทรนระบบส่งกำลัง หากเป็นรถสันดาปภายในมีชิ้นส่วนเอ็นจิ้น เครื่องยนต์ อย่างท่อไอเสีย ระบบเกียร์ และชิ้นส่วนอื่นๆพวกนี้มีมูลค่ามากในอดีตเป็นมูลค่าค้อนข้างสูงในตลาดอเมริกา พวกนี้กำลังจะหายไปไม่ถูกนำมาใช้BEV ชิ้นส่วนหายมูลค่าการผลิตหาย BEVจะเหลือแค่ราว 200 ชิ้น จะมีแค่มอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ที่สำคัญๆเท่านั้นเป็นการศึกษาของต่างประเทศที่ศึกษามา ซึ่งกล่าวว่าคนงาน 1 คนใน 1ปี สามารถจะผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายในได้ 350 ชิ้น หากเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นBEV มอเตอร์ 1 คนผลิตได้ 1,600 ชิ้น รถแบบใหม่จึงใช้แรงงานน้อยลง

            ความแตกต่างระหว่างยานยนต์เผาไหม้ภายและยานยนต์ไฟฟ้า เขานำรถยนต์สันดาปภายในที่เป็นโฟล์คสวาเก้น มีเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าของเชฟโรเลต ความวับซ้อนของรถยนต์หากเป็นสันดาปภายใน ชิ้นส่วนมาก และกำลังส่งมีมากถึง 6 เท่า แต่BEV จะใช้น้อยกว่า ความซับซ้อนของอิเล็คทรอนิกส์ จพซับซ้อนน้อยกว่า หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าจะซับซ้อนมากกว่า อะไหล่รถยนต์ก็ใช้มากกว่าในรถยนต์สันดาป เครื่องฟอกไอเสียตัวกรองยังใช้อยู่ที่BEV ไม่ต้องใช้ รถยนต์สันดาปภายในดูแลรักษามากกว่า  เช็คระยะครั้งแรก 16,000 กิโลเมตร หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเช็ดที่ 240,000 กิโลเมตร ผ้าเบรคใช้จนลืมนานมากกว่าจะเปลี่ยน อายุการใช้งานยาวขึ้นโดยสรุปจะเห็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงในลักษณะแบบนี้ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้การจ้างงานลดลง ยานยนต์ไฟฟ้าเทคโนโลยีสูงใช้แรงงานในการผลิตน้อย แบตเตอรี่ชิ้นส่วนอาจย้ายไปผลิตที่ประเทศอื่นๆด้วย อาจไม่ได้อยุ่ที่ประเทศไทย แต่ไปอยู่ที่ประเทศจีน เราใช้เครื่องยนต์ไม่ไม่ได้หมายความว่าเราผลิตแบตเตอรี่ อาจย้ายไปประเทศอื่น และการจ้างงานก็น้อยลงด้วย การบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้าคาดว่าจะต่ำกว่าด้วย การนำเข้าพลังงานเราไม่ต้องนำเข้าน้ำมัน การจ้างงานลดลงเล็กน้อย คนงานไม่ต้องอยู่ในโรงกลั่นน้ำมัน การเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าก้จะส่งผลต่อโรงงานกลั่นน้ำมัน และสถานีจ่ายน้ำมันก็ได้รับผลกระทบด้วย

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

จากนั้นได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น

นายณัฎฐวัชช์ รุ่งเสถียรธร ผู้อำนวยการโปรแกรมอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กล่าวว่า รถไฟฟ้านั้นมีมานานแล้วในทางประวัติศาสตร์แต่ปัญหาที่หายไปเป็นเพราะว่า ปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ รถไฟฟ้าที่เกิดง่ายคือการที่สามารถควบคุม สิ่งที่จะทำให้ EV เกิดคือ รถไฟฟ้าต้องมีการใกล้เคียงกับรถน้ำมัน ไปทำงาน และกลับได้ ราคาต้องไม่แพง ยี่ห้อ ที่ชาร์ตแบ็ตเตอรี่ การเปลี่ยนแบ็ตเตอรี่ การส่งออกที่มีการกล่าวถึงคือต้องมองการตลาดที่ส่งออกระหว่างประเทศมีความสำคัญ ปัจจัยการบริโภคที่น้อยลงเพราะปัญหาความร้อนที่เกิดขึ้น หากเราเข้าใกล้รถยนต์ที่วิ่งอยู่ หรือมอเตอร์ไซค์จะร้อนมาก หากเป็นรถไฟฟ้าการทำความร้อนน้อยลงทำให้โลกเย็นลงได้

Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทาน ที่จะมีคือทั้งสถานีการชาร์ตไฟฟ้า และตัวรถตัวการผลิตที่ลดลง หากเศรษฐกิจไม่ดีคนก็ซื้อรถน้อยลง และหากแรงงานได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง กำลังซื้อในตลาดลดลงก็เป็นปัญหาอย่างมาก

หากประเทศไทยสามารถที่จะผลักดันให้เทรนรุ่นใหม่ทำอุตสาหกรรมแบบนี้ให้โตได้ ในประเทศญี่ปุ่นเขาจะพูดถึง Carsharing (คาร์แชร์ริ่ง) คือ การบริการรถเช่ารูปแบบหนึ่งที่ผู้เช่าสามารถเช่าเป็นรายชั่วโมงได้ โดยสมาชิกของผู้ให้บริการ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงรถไฟฟ้าเลย ประเทศไทยสามารถที่จะสร้างและลดรถบนถนนได้เพื่อลดมลภาวะที่เป็นพิษบนท้องถนน มีการสนับสนุนงบประมาณให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับตัวด้านธุรกิจ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)มีงบในการต่อยอด และมีงบของรัฐบาลด้านในการสนับสนุนด้วย

รศ.ดร. ยงยทุธ แฉลม้วงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายทรัพยากรมนุษย์, TDRI ได้นำเสนอเรื่อง นโยบายและบริการรองรับการปรับตัวของแรงงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน เทคโนโลยี: ตัวอย่างที่ดีจากต่างประเทศในการรองรับการปรับตัวของแรงงาน โดยมองว่า ไม่มีใครทจี่ะไม่ถูกกระทบโดยนโยบายยานยนต์อัจฉริยะ  ด้วยการใช้“การใช้ระบบอัตโนมัติได้ทำลายต แหน่งงานเดิมๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมไปแล้ว ส่วน การผงาดขึ้นของปัญญาประดษิฐ์(AI) ก็คงจะทำลายงานที่เป็นของชนชั้นกลางด้วย ที่จะเหลือรอดคงมีแต่งานด้านการดูแล งานสร้างสรรค์และงานจัดการ – Stephen Hawking นักฟิสิกส์ทฤษฎี และศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

กระแสมาจากนโยบายไทยแลนด์4.0 กระแสของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีกำลังมาแรง และ ภาครัฐมองเห็นโอกาสที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอตุสาหกรรมทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก และการแพทย์ จนหุ่นยนต์ กลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ของไทย อาจจะก่อให้เกิดผลดีและผลเสียไปพร้อมๆกัน ทางบวก เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ก่อให้ เกิดงานใหม่ ทางลบ ทดแทนแรงงานจนเกดิปัญหาว่างงาน

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ
  

          ปัจจัยที่ทำให้ต่างประเทศชั้นนำใช้หุ่นยนต์ได้หลักๆ 3ประการ 

ปัจจัยที่หนึ่งมีหลายประเทศที่เป็นฐานการผลติ รถยนต์หรืออิเล็กทรอนิกส์เช่น เยอรมัน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐ…ไทย ?

ปัจจัยที่สอง ประเทศที่มีแรงงานทักษะสูงจะช่วย ให้แรงงานสามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ดี  และมีธุรกิจที่สามารถผลิตหุ่นยนต์ได้เอง..ไทย?

ปัจจัยที่สาม แรงกดดันจากปัญหาขาดแคลน แรงงาน และค่าแรงที่ปรับสูงขึ้นมากและ ความสามารถในการแขง่ขันลดลง (ไทย?)

ปัจจัยผลักดันให้หันมาใช้หุ่นยนต์และ ระบบอัตโนมัติ

อุตสาหกรรมมีบางส่วนของงานที่แบ่งแยกกันชัดเจน งานที่ทำ หน้าที่ซ้ำๆเอื้อต่อการปรับมาใช้หุ่นยนต์

  • กฎระเบยีบ กตกิาที่ดูแลแรงงานมีมากมาย จุกจิก มีปัญหามาก
  • งานที่เสี่ยงอันตรายต่อมนุษย์ หุ่นยนต์ทำแทนได้เกือบ 100% เช่นงานเชื่อม งานพ่นสี งานขึ้นรูป Mold แถมยังทำงานได้ รวดเร็ว ความแม่นยำ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
  • ทำงานในสิ่งที่คนทำไม่ได้หรือทำด้วยความยากลำบาก เช่น สิ่งที่ ไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า
  • มีต้นทุนถูกกว่า (i.e. , มีประสิทธิภาพสูง มาตรฐานแน่นอน) เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนของไทยเป็นที่ 1ในอาเซียน

ในโลกนี้การเพิ่มขึ้นของการใช้หุ่นยนต์ส่งผลกระทบ โดยตรงต่อแรงงานทั้งบวกและลบ เพราะมีต้นทุนที่ต้องปรับตัวในการพัฒนาทักษะให้เข้ากับ เทคโนโลยีหรืองานใหม่ และมีความเสี่ยงที่อาจตกงานหากมี ทักษะไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นเรื่องของประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้นหรือไม่

(1) หลายประเทศใช้หุ่นยนต์มานานแล้ว และเป็นประเทศ พัฒนาแล้ว (2) มีขอ้บงัคบัหรอืไม่? ที่ทำให้การปลดคนงานเป็นไปได้ ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง (3) สหภาพแรงงานเข้มแข็งและ มีอำนาจต่อรองมากน้อย แค่ไหน

กรณีศึกษาในต่างประเทศ ปัญหาของแรงงานบางส่วนอาจประสบปัญหาในการ ปรับตัวโดยมีความยากลำบากในการ พัฒนาทักษะเพื่อ ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี เช่น ในสิงคโปร์ เกือบ 1 ใน 10 ของแรงงานยอมทจี่ะย้ายงานมากกว่าพัฒนาทักษะของ ตนเองทั้งๆที่รัฐให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

หากมาดูว่า ใครใช้หุ่นยนต์มากกว่ากันวัดที่ความ หนาแน่นในการใช้ ประเทศเยอรมนีที่เป็นตลาดหุ่นยนต์ที่ใหญที่สุดในยุโรปและมีฐานการ วิจัยหุ่นยนต์ที่สำคัญของโลกโดยมีการใช้หุ่นยนต์ในภาคการผลิตมานานไม่ต่ำกว่า 30 ปี และมีความหนาแน่นการใช้หุ่นยนต์ (จำนวนหุ่นยนต์ต่อแรงงาน)เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4 เท่าในเวลา 20 ปี

สิงคโปร์จะเป็นประเทศเล็กที่มีจำนวนหุ่นยนต์น้อยกว่าเยอรมนี แต่เมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานแล้ว สิงคโปร์กลับเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของหุ่นยนต์สูงถึง 488 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน อยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก

ประเทศที่มีความหนาแน่นของการนำหุ่นยนต์มาใช้สูง จะเป็นประเทศ ที่มีสัดส่วนแรงงานระดับปริญญาตรีขึ้นไปจำนวนมาก เพราะแรงงานสามารถทำงานร่วมกับเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ได้  เช่นในประเทศเยอรมนี เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น หรือสิงคโปร์ มีสัดส่วนความหนาแน่นของหุ่นยนต์สูงกว่าไทยมากกว่า 6 เท่าโดยงานวิจัยพบว่าระหว่างปี 1993 – 2007 หุ่นยนต์จะช่วยเพิ่มผลิตภาพของแรงงานได้สูงถึงร้อยละ 0.37 ต่อปี ซึ่งไทยมีความหนาแน่นอยู่ที่ 45 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก 74 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน โดยทั้ง 7 ประเทศตัวอย่างมีแรงงานที่จบปริญญาตรีสูงมาก

การมีแรงงานทักษะสูงจะช่วยให้ประเทศนั้นมีศักยภาพ ในการผลิตหุ่นยนต์ใช้เองได้ด้วย เช่น 10 บริษัทที่ผลิต หุ่นยนต์มากที่สุดในโลกเป็นของเยอรมนี 2 บริษัท และอีก 8 บริษัทเป็นบริษัทญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทยก็มีคนจบปริญญาตรีสูงมากเหมือนกัน แต่ปริญญาตรีก็ว่างงานกันเป็นแสนจะเข้าร่วมวงผลิตหุ่นยนต์กับเขา บ้างจะได้ไหม

อนาคตการใช้หุ่นยนต์หนาแน่นในไทย งานศึกษาของ Boston Consulting Group พบว่ารถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์เป็น 2 อุตสาหกรรมที่ สามารถนำหุ่นยนต์มาใช้ในสายการผลิตได้ง่ายที่สุด โดยประเทศเหล่านี้ คือ เยอรมนีญี่ปุ่น เกาหลี่ จีน แต่คำถามคือ ไทยก็มีการส่งออกทั้งรถยนต์และ อิเล็กทรอนิกส์ ก็จะเป็นประเทศที่สามารถนำหุ่นยนต์มาใช้ในสายการผลิตได้ง่ายเช่นกันใช่ไหม ตกลงหุ่นยนต์จะเป็นการสร้างงาน หรือทำให้คนตกงาน

ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะมีข่าวการปลดคนงานในช่วง ปีที่ผ่านมา เช่น บริษัท Foxconn ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รายใหญ่ของโลกได้ปลดพนักงานในจีนออกกว่า 60,000 คน เพื่อหันไปใช้หุ่นยนต์แทน รวมถึงกรณีที่ขาดการเตรียมความพร้อมของแรงงาน ต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น บริษัท Infosys บริษัทด้านไอทีรายใหญ่ ของอินเดียเลิกจ้างวิศวกรที่มีทักษะต่ำถึง 9,000 คน  ซึ่งเป็นงานที่ทดแทนได้ด้วยหุ่นยนต์และคาดว่าแรงงานอินเดียจะมีแนวโน้มตกงานเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนคนในปี 2020 จากการไม่เตรียมตัวัฝึกทักษะใหม่ๆที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

ไทยยังใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมน้อย ทักษะแรงงานของไทยยังไม่เอื้อต่อการใช้หุ่นยนต์ เข้ามาช่วยในการ ผลิตมากนักเพราะจำนวนแรงงานหรือผู้ที่จบการศึกษาในกลุ่ม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์(STEM) ยังมีไม่มาก รวมทั้งมีทักษะด้านภาษาอังกฤษก็ยังไม่ดี มองไปในอนาคต กระแสเทคโนโลยีมาแรง (digital economy) และ นโยบายภาครัฐอาจจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ เกิดการใช้หุ่นยนต์ เพิ่มขึ้นได้ ธุรกิจไม่สามารถรับเทคโนโลยีได้ในทันทีการพัฒนาการในการรองรับ เทคโนโลยีของแต่ละอุตสาหกรรมแตกต่างกันสถานประกอบการภาค การผลิตในไทยถึงร้อยละ 97 เป็นบริษัทขนาดเล็กซึ่งยังมีข้อจำกัดในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิตค่อนข้างมาก การ ตัดสินใจจึงอยู่ที่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีไม่มาก ซึ่งไทยอาจจะต้องเข้าร่วมวงการใช้หุ่นยนต์ถ้า หากไทยจะนำหุ่นยนต์มาใช้ได้เร็วเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ไทยต้องยกระดับทักษะแรงงานอีกมากโดยการพัฒนาทักษะแรงงาน ต้องอาศัยเวลามากกว่า 10 ปี

หุ่นยนต์ช่วยแก้ปัญหาที่ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็ม รูปแบบ เพราะหุ่นยนต์จะช่วยให้แรงงานบางกลุ่ม ทำงานได้นานขึ้น จึงช่วยแก้ปัญหาขาดแคลน แรงงานได้ส่วนหนึ่งเนื่องจากกำลังแรงงานจะหายไปมากกว่า 200,000คน เป็นอย่างน้อย แต่หุ่นยนต์ก็สร้างงานได้ อย่างไรก็ดีนอกจากผลกระทบด้านลบแล้วหุ่นยนต์ ยังช่วยก่อให้เกิดการสร้างงานด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมหุ่นยนต์ อาทิ นักพัฒนาวศิวกรรมด้านซอฟแวร์และนักวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาชีพดังกล่าวมีอัตราการเติบโตที่เร่งขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง และสัดส่วนนักพัฒนาวิศวกรรม ด้านซอฟแวร์ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 18.2 ล้านคนในปี 2013 เป็น 26.4 ล้านคนในปี 2019

ประเทศหลักๆต่างเห็นถึงความสําคัญในการเตรียมรับมือผลกระทบของหุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัตืที่มีต่อแรงงาน มีการแบ่งแรงงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ไม่มีศักยภาพปรับตัวไม่ได้ต้องออกจากงาน โดยได้รับการชดเชยทางกฎหมาย 2.ไม่ถูกให้ออกจากงานเนื่องจากยังมีศักยภาพที่สามารถปรับ Upskills and reskillsได้ 3. รับแรงงานใหม่แต่แรงงานเหล่านั้นต้องปรับทักษะ โดยการเรียนการสอนก็ต้องปรับเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะมาก่อน

กรณีหากต้องตกงาน สิทธิแรกก็ใช้ระบบประกันสังคม (Social Security System) กรณีว่างงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกรมการจัดหางาน จะต้องประสานหาตลาดแรงงานใหม่โดยใหม่ความสามารถที่จะทำงานร่วมกับหุ่นยนต์และระบบ อัตโนมัติที่ตลาดต้องการ ซึ่งเป็นสิทธิของแรงงานในระบบ เพื่อให้สามารถกลับเข้าทำงานก่อนหมดอายุคุ้มครอง ตัวอย่าง เช่น เยอรมัน เกาหลี ญี่ปุ่น ทำให้ไม่เคย พบข่าวว่ามีคนตกงานใน 3 ประเทศนี้เพราะหุ่นยนต์หรือ ระบบอัตโนมัติ

แม้มีศักยภาพแต่ต้องปรับทักษะใหม่ถึงแม้ว่า จะสามารถอยู่ต่อกับบริษัทเดิมได้แต่ก็ต้องปรับทักษะด้วยการ upskills และ/หรือ reskills กันใหม่ โดยภาระอยู่กับหน่วยงาน แต่เท่าที่ทำมาของไทยอาจจะต้องใช้ ระดับ สถาบันฝึกอบรมของ Thai-German หรือ Thai Nishi หรืออาจจะเป็น MARA ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่จริงในสิงคโปร์ก็มีหน่วยงานชื่อว่า CET (Continuing Education and Training) ซึ่งผูกโยงอยู่กับสถาบันฝึกอบรมเทคโนโลยีชั้นสูงของเขา

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

โดยแรงงานจบใหม่มีนโยบายดังนี้

  1. การบรรเทาผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ควรจะต้องมีการ จัดระบบการเรียนรู้ในห้องเรียนควบคู่กับการลงมือทำงานจริง (Dual System of Education) แบบในเยอรมนีที่สามารถจัด Dual System ของทุกวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันได้เพื่อ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานจริงให้กับแรงงานจบใหม่
  2. เน้นสร้าง High Qualified Professionals ในระดับปริญญาทั้งตรีโท และเอก ในสาขาที่สนับสนุนการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ที่ยังขาดแคลน
  3. จัดทำฐานข้อมูลทักษะแรงงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะเข้าสู่ ตลาดแรงงาน โดยเผยแพร่ลักษณะ ทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการในขณะนั้นๆ

ผลกระทบเป็นได้ทั้งสองอย่างคือบวกและลบ จีงอาจสรปุได้ว่า หุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาททั้งช่วย “สร้างงาน” และ“แย่งงาน” แต่อาจ แตกต่างกันในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของแรงงาน และ นโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนให้แรงงาน สามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ ประเทศไทยเราปรับตัวพร้อมแค่ไหน

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะทำอย่างไรที่จะให้มีการเปลี่ยนผ่าน การปรับตัวด้านอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมกับแรงงานด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมแรงงานยานยนต์มีแนวคิดในการปรับตัวโดยตลอดเพื่อต้องการลดภาวะโลกร้อน การปรับจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นระบบไฟฟ้า เป็นแนวคิดการเปลี่ยนเพื่อลดภาวะโลกร้อน แรงงานอย่างเราก็เห็นด้วย ซึ่งหากเราได้ดูสารคดีเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน น้ำแข็งที่ละลาย ส่งผลกระทบกับโลกนั้นภาพของหมีขั่วโลกที่ผอมหากินไม่ได้ สะเทือนใจ และทำให้คนตระหนักต่อภาวะโลกที่ร้อนมากขึ้น

จึงเกิดแนวคิดความตื่นตัวมากขึ้นในการที่จะพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อลดภาวะโลกร้อน ในประเทศต่างๆทั่วโลกได้มีความพยายามที่จะลดภาวะโลกร้อน กระบวนการผลิตรถยนต์ที่มีการปรับตัว ในกระบวนการผลิต จะสร้างผลกระทบกับแรงงานในอนาคตเรื่องการมีงานทำ การเปลี่ยนผ่านที่จะมีการนำโรบอทมาใช้ในกระบวนการผลิต หลายบริษัทได้มีการตั้งปั้มที่ชาร์ตไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าบ้างแล้ว แต่ว่าเราต้องการที่จะให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ดูแลแรงงานด้วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ้างงาน เราสามารถที่จะมีงานทำ และได้รับการชดเชยเพื่อการดำรงชีวิตในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งผู้ใช้แรงงานอย่างเราก็จะได้รับผลกระทบตลอด ซึ่งการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นหลายบริษัทได้มีการเตรียมตัวในการที่จะคัดคนออก มีทั้งเปิดสมัครใจให้ลาออก มีการเลือกให้ออกโดยที่ไม่ได้สนใจว่าแรงงานจะออกไปทำอะไร ทั้งที่แรงงานก็ทำงานมานานให้กับนายจ้าง การจ่ายค่าชดเชยที่มากกว่ากฎหมายแต่ไม่เพียงพอในการดำรงชีพเลย เขายังมีชีวิตอีกนาน อายุก็ไม่ได้อยู่ในวัยเกษียณอายุแ ละก็ไม่ได้อยู่ในวัยที่จะหางานทำได้ง่ายอีกด้วย และคนที่ไม่ได้ไปต่อกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้รัฐมีแนวในการพัฒนาเพื่อให้เขาเข้าถึงงานใหม่ เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างไร ด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานในปัจจุบันทั้งการขายของออนไลน์การทำงานแบบแรงงานนนอกระบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง คนอยู่นอกระบบไม่มีงานทำ และคนงานที่อยู่ในระบบไม่มีงานที่มั่นคง การตกงานรัฐควรต้องมีการหาแนวทางในการป้องกัน และมีแผนในการรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีในอนาคต และรัฐต้องดูแลด้านค่าชดเชยที่เป็นธรรม แม้ว่า จะมีการเพิ่มค่าชดเชยให้สูงขึ้น แต่ว่าไม่เพียงพอด้วยคนไทยมีอายุเฉลี่ยที่สูงขึ้นด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ และการดูแลสุขภาพ ฉะนั้นรัฐบาลควรดูแลมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลมามองว่าจะนำเงินมาจากไหนในการดูแล คิดว่า เมื่อธุรกิจใดมีปัญหาก็นำเงินจากธุรกิจนั้นที่มีผลกำไรมากองรวมกันเพื่อจ่ายให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบ

การเปลี่ยนผ่านพลังาน จากรถยนต์สันดาบเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ก็ต้องมีการทำงานร่วมกัน รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบมาแก้ไข ซึ่งการที่มีการยื่นข้อเสนอทั้ง 5 ข้อมาแก้ปัญหาทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้รับเรื่องไว้ในการพิจารณาและจะนำมาปรึกษากันในอนาคตด้วย และฝ่ายลูกจ้างเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงแน่นอนทั้งกระบวนการผลิต และการผลิต แรงงานก็ต้องเปลี่ยน และยอมรับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการจ้างงาน แต่ว่าต้องทำให้เราสารถมีงานทำ หากว่าเรามีความเป็นอยู่ที่ลำบากลูกหลานก็ลำบากไปด้วย ประเทศจีนเขาวางแผนเพื่อลูกหลาน การเปลี่ยนแปลงต้องมีการพูดคุยกันคนที่มีงานทำและคนที่ต้องตกงานต้องมีการพูดคุยกันหาระบบในการดูแล บางส่วนเราก็ต้องเจรจากับกระทรวงแรงงาน และเราต้องไปยื่นหนังสือกับกรรมาธิการแรงงานด้วย เพื่อให้เขามีการหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ต่อไปการทำงานของแรงงานคงไม่ใช่แค่สู้ๆ แต่ต้องเป็นสมาร์ทแรงงาน ต้องพร้อมในการที่จะเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเป็นธรรม

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

นายถาวร ชลัษเฐียร กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (ส.อ.ท.) กล่าวว่า โลกเปลี่ยน และโลกบีบให้เราต้องเปลี่ยนด้วย จะหยุดอยู่เฉยไม่ได้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก และมีการเปลี่ยนในศรรตวรรษที่ 20 ทุกคนรู้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ซึ่งเกิดผลกระทบกันทั้งโลก และเป็นการใช้ชีวิตในปัจจุบันของทุกคน ทั้งอู UBER และGRAB ที่ใช้บริการ ทั้งการกินอยู่เราใช้บริการITในการบริการ และเราเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมIT รถยนต์สามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการขับเคลื่อน และรถยนต์กับรถยนต์คุยกันเอง โลกเปลี่ยนไวมาก อุตสาหกรรมก็เปลี่ยนไปด้วย

รถยนต์แบบสันดาปยังคงอยู่ในอีก 20 ปีข้างหน้า และการผลิตอาจลดลง ปัญหาที่มีเราจะก้าวทันหรือไม่ และเราจะเป็นฮับในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และรถยนต์ ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดอยู่เป็นเพราะปัญหาประเทศขนาดใหญ่รบกัน ชิ้นส่วนบางส่วนหายไป เบรกไฮดรอลิกอาจไม่มี แน่นอนตัวบอดี้ กระจกยังมีอยู่

สำหรับประเทศไทยโปรดักเปลี่ยน ชิ้นส่วนน้อยลง ปัญหาของกำลังแรงงานก็มี คือ คนเกิดน้อยลง คนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้คิดแบบเราแล้ว ทุกอย่างเปลี่ยนไป ตามโลกที่เปลี่ยนไป คนที่ไม่เรียนเขาก็ไม่ทำงานในโรงงาน เขาไปขับรถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง การปรับจาก 3.0 เป็นอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งคนสูงอายุในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นการเปลี่ยนโพสเซต ด้วยการเปลี่ยนเป็นระบบไอทีในการรองรับกระบวนการผลิต ซึ่งแรงงานก็ต้องปรับทักษะและต้องเปลี่ยนให้ได้ หากปรับตัวไม่ได้ก็Re skillsขึ้นไป วันนี้ประเทศไทยต้องเรียนรู้ ประเทศเวียดนามก้าวข้ามทั้งด้านการศึกษาทักษะเขาปรับแล้ว เรายังไม่ปรับ ซึ่งเราควรต้องปรับskillsกันใหม่ เพื่อเราจะได้ช่วยเหลือคนสูงอายุในอนาคตได้ ซึ่งอนาคตเราจะเป็นภาระของคนรุ่นต่อไปหากเราเปลี่ยนไม่ได้

การดิสรัปการเปลี่ยนแปลงต้องปรับตัว ปีหน้านี้ประเทศไทยจะใช้ระบบ 5 G ทุกอย่างจะเปลี่นนไปไวมาก และเราคงจะทันการเปลี่ยนแปลงแน่ เพราะปัจจุบันประเทศจีนเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ประเทศไทยต้องปรับตัว

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

นางนภสร ทุ่งสุกใส  ผู้ตรวจราชการกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การส่งเสริม และการพัฒนาคนจะทำอย่างไร ระบบที่จะได้รับผลกระทบจาก 699 แห่งนั้น มีการปรับตัวบ้างหรือไม่ ปรับตัวอย่างไร ในกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างในกลุ่มSME ฐานข้อมูลที่ดีจะทำให้เราได้เข้าไปหามาตรการในการรองรับ

คนที่ได้รับผลกระทบนั้นมีอายุเท่าไร วุฒิการศึกษาในกลุ่มเสี่ยงนั้น รวมถึงทักษะที่เขามี ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้การแก้ไขปัญหาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง และการที่นำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตอยู่แล้ว แต่ว่า เมื่อมีการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาผลิตอันนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดแรงงานแน่นอน เมื่อตลาดแรงงานมีการปรับตัว คนที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานรถยนต์น้อยลง แรงงานจะออกสู่นอกระบบมากขึ้น การที่จะปรับงานและการคุ้มครองของกรมจัดหางานนั้นต้องมี ซึ่งตอนนี้แม้ว่า กรมฯจะมีการจัดให้มีกองุทนในการส่งเสริมแรงงานนอกระบบ แต่น้อยมากที่เข้าถึงกองทุน กรมฯเองก็ต้องมีการปรับตัวและจะทำอย่างไรให้แรงงานกลับสู่ท้องถิ่นตนเองอย่างสามารถอยู่ได้จริง

ตอนนี้มีการพัฒนานวตกรรมด้วยการใช้พลาสติกมาทำเส้นใยเพื่อผลิตเสื้อผ้า โดยตอนนี้ก็มีบางส่วนที่นำการแยกขยะขวดพลาสติก เพื่อส่งกลับสู่การผลิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีการรวมกลุ่มรวมตัวของแรงงานที่กลับสู่ชนบท ซึ่งต้องหาแผนรองรับอาชีพใหม่ เราจะมีการปรับSkills เพื่อให้เขากลับเข้าทำงานได้ หรือรีSkillsใหม่ เพื่อให้เขาสามารถทำงานใหม่ได้สำหรับคนที่ไม่ได้ไปต่อในอุตสาหกรรมเก่า

ด้านกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็มีการทำงานในมิติส่งเสริม คุ้มครอง ในส่วนของแรงงานที่โดนกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และมีการเข้าไปทดสอบระบบและการพัฒนาอาชีพ และต้องการทดสอบเพื่อให้เกิดอาชีพใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต้องมีการแนะแนวอาชีพ ซึ่งได้มีการจับมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ดูว่า อาชีพใดที่จะเป็นอาชีพใหม่ๆที่น่าสนใจเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ หรือเลือก

วันนี้มีการส่งเสริมให้แรงงานได้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะได้รับผลกระทบมีการพัฒนาหลักสูตร หรือลดบางหลักสูตรลง อย่างหลักสูตรฝีมือเครื่องยนต์สันดาป เป็นหลักสูตรแรงงานEV และหากกลุ่มคนที่พัฒนาไม่ได้ที่ตกขอบก็ให้ส่งมายังกรมฯเพื่อการพัฒนาหางานรองรับแรงงานกลุ่มนี้ด้วย

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

นายปิยะ พวงเพชร ประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทมีการปรับตัวด้านกระบวนการผลิต และมีการนำเครื่องจักรเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีส่งผลต่อพนักงานบ้างโดยนายจ้างใช้โครงการสมัครใจลาออก ซึ่งสหภาพแรงงานเองก็ไม่ได้นอนใจต่อการที่มีการผลิตรถยนต์EV ด้วยหากพนักงานหายไปเท่ากับสมาชิกสหภาพแรงงานที่หายไป และทำให้อำนาจการต่อรองน้อยลง ซึ่งแรงงานที่หายไปก็ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานข้างนอก หรือจะอยู่ในสังคมข้างนอกอย่างไรก็เป็นข้อกังวล เพราะเดิมเป็นคนที่มีงานทำมีรายได้ที่แน่นอนทุกเดือน การทำงานมายาวนานแรงงานก็มีอาการเจ็บป่วย ด้วยโรคหมอนรองกระดูกบ้าง ซึ่งการที่จะไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในงานใหม่ หรือสถานที่ไม่คุ้นเคยจะอยู่อย่างไร

การเปิดสมัครใจลาออกหากไม่ได้ตามเป้าที่กำหนดนายจ้างจะใช้  Key Performance Indicator หรือ KPI มาประเมิน ทำให้แรงงานที่อยู่ตอนนี้มีความกังวลใจ ตอนนี้รู้สึกอยู่แบบไม่มีอนาคต การนำโรบอทเข้ามาทำงาน 1 ตัวลดคนทำงานได้ 16 คน ส่วนที่กระทบจริงๆคือสวัสดิการต่างๆ และค่าจ้างลดลง และตอนนี้การต่อรองด้านสวัสดิการยากขึ้น โดยนายจ้างก็มองว่า เป็นต้นทุนมีการลดต้นทุนสวัสดิการ และเมื่อสหภาพแรงงานบางบริษัทต่อรองให้มีการจ่ายค่าชดเชยนให้กับแรงงานที่สมัครใจละออกจำนวนกว่า 50 เดือนก็เป็นตัวกดดันการทำงานของสหภาพแรงงานด้วย

ตอนนี้ก็มีการพยายามที่จะรักษากำลังการทำงานไว้เพื่อให้ยังคงมีงานทำ ข้อบังคับที่มีการออกกฎระเบียบใหม่ๆขึ้นมา แรงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการจ้างงานก็ทำให้แรงงานมีความรู้สึกไม่มั่นคงในการมีงานทำ งานที่ทุ่มเทไปก็ส่งผลต่อสภาพร่างกาย และกลุ่มนี้ไม่ค่อยอยากที่จะตกงาน ซึ่งมีการเลิกจ้างระหว่างทาง ปี 2565-2566 การเกษียณระหว่างปี และมีการจ้างงานแบบสัญญาจ้างด้วยเราก็พยายามที่จะให้มีการบรรจุงาน การจ้างงานตามสัญญาจ้างนั้นมีผลกระทบอย่างมากซึ่งไม่ใช่เพียง

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

นายสมเกียรติ เจียดกำจร ประธานสหภาพแรงงานฟอร์ด และมาสด้าประเทศไทย กล่าวว่า การที่จะใช้รถยนต์ไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น แต่ว่า ที่ประเทศญี่ปุ่นยังไม่พร้อมเรื่องไฟฟ้า ทางมาสด้าคิดว่า น่าจะอีก 10 ปีจะมีการปรับตัว ในส่วนของ Auto Alliance (Thailand) Co., Ltd. หรือ AAT นั้น จะมีโรบอทในกระบวนการผลิต ยังไม่ถึงการใช้AI ยอดการผลิตตอนนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาจีนกับสหรัฐอเมริกา การส่งรถไปเวียดนามก็ถูกตีกลับหมด ยอดที่ผลิตเพื่อขายตอนนี้ยอดลดลง ด้วยโมเดลยังเป็นโมเดลเดิม ซึ่งจะปรับให้ปีหน้า

ตอนนี้ทางAAT ได้เปิดสมัครใจลาออก ระดับปฏิบัติการ 300 คน และส่วนของหัวหน้างาน 100 กว่าคน ตอนนี้ก็มีแนวการพัฒนาฝีมือ เพื่อการปรับตัวทั้งในภาคเกษตรกรรม การตัดผม และให้แรงงานมาเสนอตัวว่า ต้องการที่จะออกจากงาน มาแจ้งความต้องการในการพัฒนาฝีมือแรงงานของตนเอง ปัจจุบันยังไม่มีการเปิดสมัครใจลาออกอีก ตอนนี้โครงการที่นายจ้างเปิดให้ไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นแล้ว 100 กว่าคน และตอนนี้กำลังจะส่งไปฝึกงานที่ประเทศอินเดียด้วย ซึ่งการออกจากงานเป็นความสมัครใจลาออกเอง จะไม่มีการชี้ให้ใครออกด้วยเป็นข้อตกลง

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อเทคโนโลยีมามีบทบาท จากรายงานของโครงการOECE ประเมินว่าร้อยละ 14 ต้องเผชิญ ตกงานร้อยละ 30 ที่ต้องมีการปรับตัวด้านแรงงาน ปี 2560-2569 ก็มีแนวทางในการดำเนินการ 4 ช่วง 5 ปีต่อช่วง มีการปรับทางด้านทักษะ ช่วงที่สอง เป็นการสร้างกำลังคนของประเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับไปสู่ 4.0 ด้วยประเทศไทยกำลังกล่าวสู่สังคมสูงวัย ช่วงที่สาม เป็นการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ ความมั่นคงในการมีงาน ช่วงนี้เป็นการสร้างคนให้มีปัญหาเพิ่มรายได้สูงเป็นการนำพาให้ประเทศไปสู่การหลุดพ้นรายได้ปานกลาง

นโยบายกระทรวงแรงงานโดยรัฐมนตรีได้ให้นโยบายมอบหมายปี 2563 นโยบายสำคัญหลายเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อการรองรับสังคมสูงวัย ด้วยผู้สูงอายุถูกละเลยทั้งที่มีศักยภาพ แต่ว่าการทำงานต้องแตกต่างจากแรงงานทั่วไป การจ้างงานจะมีความยืดยุ่นมากขึ้น รูปแบบจะมีความหลากหลาย ทั้งผู้สูงอายุ และคนพิการ

นโยบายส่งเสริมงานที่มีคุณค่าให้กับทุกกลุ่มทุกวัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายงานที่มีคุณค่า มีทั้งค่าจ้างที่เหมาะสม การพัฒนาระบบประกันสังคมให้มีคุณภาพที่ดีต่อคนทำงาน ด้วยระบบประกันสังคมไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์มากหนักกับคนที่มีอาชีพอิสระ ซึ่งปัจจุบันได้มีการรณรรงค์ให้ผู้ที่มีอาชีพอิสระได้รับสิทธิประโยชน์ในการจ็บป่วย หรือเสียชีวิต นโยบาย เครือข่ายให้มีอาชีพ ประกันสังคม และความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเราไม่ได้ละเลยคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบอุตสาหกรรม หรือระบบการจ้างงานแบบปกติ กระทรวงแรงงานให้โอกาสให้มาพัฒนา หรือฝึกอาชีพ เพื่อให้มีอาชีพใหม่ๆที่ดีขึ้น

รัฐมนตรีมองว่า จะทำอย่างไรให้แรงงานที่มีผลได้เสีย กระทรวงแรงงานจะการนำแอพพลิเคชั่นมาใช้เพื่อการเข้าถึงบริการได้หลากหลายช่องทาง และนโยบายเร่งด่วนในการเร่งรัดปฏิรูปกำลังแรงงาน ซึ่งได้มีการนำหุ่นยนต์ AI มาช่วยให้คนงานทำงานมีความสะดวกสะบายมากขึ้น เราจะได้มีการนำหุ่นยนต์มาใช้ทำงานให้เกดความสะดวกสะบายมากขึ้น เราต้องพัฒนาคนให้ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้

หากรถยนต์ไร้คนขับ เมื่อเกิดอะไรขึ้น ใครจะรับผิดชอบคนซื้อ เจ้าของ หรือคนผลิตกฎหมายจะต้องมีการพัฒนาขึ้นมา การพัฒนาอาชีพ รายได้ต้องพอกับการดำรงชีวิต แต่ละจังหวัดค่าครองชีพเท่ากัน แต่รายได้ทำไมไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนในการที่จะทำงานเพื่อให้นโยบายนั้นไปสู่แนวทางปฏิบัติ ยังมีนโยบายในการพัฒนากำลังคนเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้วย

ในการที่จะพัฒนาทักษะของคนมีการใช้ระยะเวลาในการพัฒนา 10 ปีเป็นอย่างน้อย ในวิกฤตินั้นมีโอกาสและทำให้เกิดทักษะเพิ่มขึ้น และการที่จะพัฒนาด้านไหนเพื่อการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ ประเทศไทยอยู่ในประเทศอันดับ 4 ของโลกด้านอัตราการว่างงาน การว่างงานจากการเลิกจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้รับสภาพการจ้างตามกฎหมายคือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่จะเข้าไปพูดคุย การเลิกจ้างเป็นขั้นตอนสุดท้าย จะต้องมีการเข้าไปตั้งแต่แรกเพื่อให้มีการพูดคุยกันก่อน สิทธิต่อมาคือประกันสังคมกรณีว่างงาน กรมพัฒนาฝีมือฯเข้าไปเพื่อฝึกอาชีพ และกรมจัดหางานก็มีตำแหน่งงานในกิจการอื่นๆด้วยประเทศไทยยังมีความต้องการแรงงาน ยังขาดอัตรากำลังแรงงานอยู่อีกมาก

การที่ไม่มีกำลังซื้อด้วยวิกฤติ นายจ้างก็ต้องเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งการจะเลิกควรมีการพูดคุย และมีการฝึกอบรมก่อนที่จะมีการเลิกจ้าง และยังมีการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างไปก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างเพื่อการเปลี่ยนสายงานไปสู่งานใหม่ด้วย วิกฤติข้างหน้าที่จะมียังอยู่อีก 10 ปีข้างหน้า ด้วยเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์มีแค่เพียง 3 อุตสาหกรรมเท่านั้น แต่จะมีปัญหาคืออุตสาหกรรมSME เท่านั้น

รถยนต์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ

ว่าที่ ร้อยตรีสมศักดิ์ พรหมดำ นักวิชาการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การพัฒนาฝีมือแรงงาน และการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการรับรองความรู้ความสามารถในการที่จะทำงาน

การพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นกองทุนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน หากฝึกอบรม การจะเปลี่ยนผ่านในงานอย่างไร การวิเคราะห์ในกลุ่มแรงงานใหม่ ซึ่งเป็นบทบาทของการอุดมศึกษา หรือกระทรวงศึกษาธิการคือ ต้องมีการปรับหลักสูตรใหม่ ในการที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการปรับ เราจึงต้องมีการเข้าไปเสริมให้มีการพัฒนาเพื่อรองรับงานใหม่ด้านเทคโนโลยี

กลุ่มที่มีศักยภาพก็พัฒนาไปสู่งานที่สูงขึ้น และกลุ่มที่ไม่มีก็พัฒนาขึ้นมา ซึ่งหากได้โมเดลที่ชัดเจนเราก็มีการร่วมในการพัฒนาได้ หากเข้าไปทำร่วมกันนายจ้างจะได้นำเงินที่พัฒนารีสกิลนี้เพื่อลดภาษีได้ร้อยละ 200 มีการนำเทคโนโลยีที่ไม่ยากมาใช้กับชาวบ้านประชาชนให้มีความชินกับการใช้ ซึ่งมันใกล้เข้ามาแล้วในการที่ใกล้เข้ามาการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

กรมการพัฒนาฝีมือแรงงานมีรสถาบันต่างๆในการพัฒนาฝีมือแรงงาน มีสำนักงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ที่เชียงใหม่มีการอบรมสปา เชียงรายก็มีศูนย์อบรมการขับรถข้ามแดน

กรมการพัฒนาฝีมือแรงงานสอนการใช้ไม่ใช่การสร้าง ระบบอัตโนมัติมีการพัฒนาถึง 5 สเตชั่น หุ่นยนต์มี 2 อุตสาหกรรม ส่วนของยายนต์สมัยใหม่ กรมฯได้เข้าไปร่วมกับบริษัทในการสร้างช่างซ่อมบำรุงรักษา และการขับที่มีความต่างจากรถยนต์ธรรมดา และมีการอบรมเรื่องการซ่อมบิ๊กไบค์ด้วย คนไทยมีการเข้าถึง และเชื่อมได้ทุกเวลา เป็นการฝึกแบบออนไลน์ การฝึกแบบทิฤษฎีเพื่อการลงปฏิบัติก็จะมีให้เลือกทั้งในกรมพัฒนาฯ หรือเครือข่าย และปี 2563 จะทดลองสักสองถึงสามสาขา ตอนนี้ก็ต้องปรับตัว เพราะมหาวิทยาลัยยังต้องปิดตัว

ผลกระทบด้านลบของเทคโนโลยีรถยนต์คืออะไร

ด้านลบ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนจะปล่อยก๊าซมลพิษออกมาจากท่อไอเสียของรถยนต์ ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมลพิษต่างๆออกมาซึ่งจะทำให้เกิดเป็นก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ด้านลบอย่างไร

เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นวงกว้าง ตั้งแต่ ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบ ไปจนถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องไม่ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง อาจเผชิญปัญหาการผลิตสินค้าไม่ตรงความตอ้งการของตลาด และขาดทุนจนต้องปิด ...

รถยนต์ไฟฟ้า มีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

เมื่อคุณมองด้านความคุ้มค่าทางการเงิน การขับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จะช่วยให้คุณเก็บเงินได้มากขึ้น จากค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่ลดลง เมื่อมองในมุมที่กว้างขึ้นไปอีก การใช้รถยนต์ EV จะช่วยให้ประเทศชาติลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกได้อย่างบรรลุเป้าหมาย และยังช่วยให้เรามีอากาศบริสุทธิ์ให้ได้หายใจมากขึ้นอีกด้วย

ผลกระทบของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า มีผลกระทบ ต่อเศรษกิจในด้านบวกอย่างไร

ข้อดีของรถระบบEV 1.)ปล่อยมลภาวะน้อยกว่ารถที่ใช้น้ำมัน รถยนต์ไฟฟ้านั้นจะทำงานด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ทำให้ไม่มีการปล่อยไอเสียหรือก๊าซเรือนกระจกออกมาและไม่สร้างมลพิษ ต่างจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน ซึ่งการสันดาบภายในเครื่องยนต์ก่อให้เกิดมลพิษขึ้น 2.)ประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง