การดูแล ระบบ สืบพันธุ์ 5 ข้อ

สงกรานต์ที่ผ่านมาหนุ่มๆ หลายคนคงผ่านประสบการณ์เปียก แฉะ อับชื้น กันไม่มากก็น้อย วันนี้ Sanook! Men เลยขอนำวิธีดูน้องชาย จาก Sarikahappymen เพจให้ความรู้เรื่องสุขภาพทางเพศ บอกเลยว่าคราวนี้ผู้ชายอย่างเราจะได้ดูแลกันได้อย่างถูกต้องซะที

1.เลือกใช้สบู่อ่อนๆ

ควรเลือกใช้สบู่อ่อนๆ นะครับ จู๋ไม่ใช่ผ้าขี้ริ้ว ผิวมันบาง ไม่ต้องรุนแรงมาก จะใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์กับแอนตี้แบคทีเรียหรือไม่ก็ได้ หรือถ้าหาไม่ได้ก็สบู่เด็กพอครับ

2.เช็กน้องชายน้ำว่าสกปรกหรือไม่

เวลาอาบน้ำทุกครั้ง ควรดูให้แน่ใจว่ามีสิ่งสกปรกใด ๆ ที่น้องเราหรือไม่ สำหรับหนุ่ม ๆ ที่ยังมีหมวกคลุม ก็ต้องเช็กว่ามีขี้เปียกหมักหมมใต้หมวกหรือไม่ เพราะหากมี จะทำให้น้องชายมีกลิ่นเหม็นและมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งจู๋ ถ้าเปิดหมวกได้ไม่ดีหรืออักเสบบ่อย ก็ไปให้คุณหมอขริบให้ ยอมเจ็บซักนิดเพื่อสุขอนามัยที่ดีของเราและคนที่เรารักครับ

3.ทำให้แห้งอยู่เสมอ

เนื่องจากความชื้น มันจะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ฉะนั้นควรดูแลบริเวณสำคัญให้แห้งอยู่เสมอ หลังอาบน้ำควรใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ หรือจะผ้านาโนไรก็ได้เช็ดน้องชายให้แห้งสนิทก่อนสวมชั้นใน เช็ดให้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความชื้นสะสม ซึ่งเป็นที่มาของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้ครับ

4.เล็มขนรอบๆ น้องชายบ้าง

การเล็มขนที่อยู่บริเวณนั้นให้สั้น จะช่วยลดกลิ่นเหม็นและอาการระคายเคืองได้ เพราะขนบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งสะสมของเหงื่อ เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่าโกนอย่างเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้คันและมีขนคุดอักเสบได้

5.ให้น้องชายได้สูดอากาศบ้าง

เนื่องจากปกติปืนฉีดน้ำเราอยู่ในกางเกงชั้นในและกางเกงชั้นนอกตลอดทั้งวัน นอกจากจะมีเหงื่อสะสมแล้ว ยังก่อให้เกิดเชื้อราบริเวณโดยรอบได้ ถ้าเป็นไปได้ควรปล่อยน้องชายเป็นอิสระอย่างน้อยวันละ 2-3 ชั่วโมงขณะอยู่บ้าน(แค่ใส่บ๊อกเซอร์นะ ไม่ใช่แก้ผ้า)​ เพื่อระบายความอับชื้นนั่นเอง ไม่ก็นอนโดยไม่ใส่ชั้นในก็ได้ครับ แต่อาจจะต้องมัดมือคนข้างๆไว้ ไม่งั้นเค้าอาจมารบกวนเวลาพักของเราได้

6.เลือกใส่กางเกงในบางๆ

การเลือกใส่ชั้นในที่ทำจากผ้าเนื้อบาง จะช่วยระบายความร้อนและลดเหงื่อได้ดีกว่าการใส่ชั้นในหนาๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองที่ง่ามขา อย่าเลือกพวกที่ทำมาจากผ้ายีนส์หรือลูกฟูกนะ

7.ใส่แล้วก็ซักด้วย

กางเกงชั้นในเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มน้องเราตลอดทั้งวัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดสิ่งสกปรกสะสม ดังนั้นควรเปลี่ยนกางเกงในทุกวัน ไม่ใส่ซ้ำ หรือกลับนอกกลับใน และควรซักกางเกงชั้นในให้สะอาดอยู่เสมอครับ ไม่ค่อยปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะอาจมีเชื้อราได้

ได้ทราบวิธีดูแลน้องชายแบบถูกต้องไปแล้ว คราวนี้รับรองว่าไม่มีกลิ่นอับและหมักหมมแน่นอน

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วยรังไข่ ท่อนำไข่ มดลูก ปากมดลูก และช่องคลอด ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะแตกต่างกันออกไป การดูแลสุขภาพของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงอาจทำได้โดยการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็งท่อนำไข่ เป็นต้น

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง คืออะไร

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง คือ ส่วนสำคัญของกระบวนการสืบพันธุ์ ที่มีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ มดลูก โดยมีต่อมใต้สมองที่คอยสร้างฮอร์โมนเพศที่ช่วยกระตุ้นให้รังไข่เกิดการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน และนำส่งไปยังท่อนำไข่ เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิจากฝ่ายชาย จนกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวที่เยื่องบุโพรงมดลูก และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน

ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีดังนี้

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงภายนอก

  • แคมนอก หรือ แคมใหญ่ (Labia Majora) คือ เนื้อเยื่อผิวหนังที่มีลักษณะเป็นกลีบ 2 กลีบ อยู่บริเวณหัวหน่าวจนถึงปากช่องคลอด มีขนอวัยวะเพศปกคลุม
  • แคมใน หรือ แคมเล็ก (Labia Minora) คือ เนื้อเยื่อผิวหนังที่มีลักษณะเหมือนแคมใหญ่แต่มีขนาดที่เล็กกว่า อยู่ด้านในแคมใหญ่ ล้อมรอบบริเวณปากช่องคลอด ทำหน้าที่ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์ด้านใน
  • คลิตอริส หรือ ปุ่มกระสัน (Clitoris) คือ อวัยวะที่ถูกแคมเล็กปกคลุม มีลักษณะเป็นปุ่มเล็ก ๆ ที่ไวต่อความรู้สึก เมื่อสัมผัสอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ทำให้ผู้หญิงไปถึงจุดสุดยอดได้
  • ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Gland) คือต่อมที่อยู่บริเวณปากช่องคลอดทั้งสองด้าน มีหน้าที่ผลิตสารหล่อลื่นภายในช่องคลอด เพื่อช่วยลดการเสียดสีที่อาจส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงภายใน

  • ท่อปัสสาวะ (Urethra) คือ ท่อที่เชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่เป็นทางผ่านให้น้ำปัสสาวะไหลสู่ภายนอก
  • ช่องคลอด (Vagina) คือ ช่องกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อกับปากมดลูก ไปจนถึงมดลูก มีหน้าที่เป็นทางผ่านให้อสุจิไปผสมกับไข่ เป็นทางออกของประจำเดือนและทารกในครรภ์ ช่องคลอดเป็นอวัยวะที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถขยายได้ใหญ่พอให้ศีรษะและลำตัวของทารกในครรภ์ผ่านได้
  • มดลูก (Uterus) คือ อวัยวะที่อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน มีลักษณะคล้ายลูกแพร์ มีท่อยาว 2 ทางที่เชื่อมต่อกับปีกมดลูกซ้ายและปีกมดลูกขวา และอีกส่วนหนึ่งเชื่อมต่อกับช่องคลอด มดลูกมีบทบาทสำคัญต่อวงจรการเจริญพันธุ์ การสืบพันธุ์ และการคลอดบุตร นอกจากนี้ กล้ามเนื้อมดลูกยังสามารถขยายออกได้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และสามารถหดกลับสู่ขนาดปกติได้หลังคลอด
  • รังไข่ (Ovaries) มีลักษณะเป็นวงรี ติดกับปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศให้สมดุล โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่กระตุ้นให้ประจำเดือนมาปกติ อีกทั้งยังมีหน้าที่ผลิตไข่ออกมาและลำเลียงผ่านท่อนำไข่ เพื่อเตรียมผสมกับอสุจิ
  • ท่อนำไข่ (Fallopian tubes) คือ ท่อขนาดเล็กที่เชื่อมติดกับมดลูกส่วนบน เป็นทางผ่านให้ไข่ที่สุกแล้วจากรังไข่ เคลื่อนผ่านออกมายังมดลูก เพื่อรอผสมกับตัวอสุจิ

โรคที่พบบ่อยในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

โรคที่พบบ่อยในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีดังต่อไปนี้

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคหูดหงอนไก่ โรคซิฟิลิส การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papillomavirus: HPV) โรคเอดส์ โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต ซึ่งอาจได้รับผ่านทางสารคัดหลั่งในช่องคลอดหรือน้ำอสุจิ ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรืออาจได้รับผ่านทางเลือดจากการบริจาคเลือด หรือถ่ายทอดทางแม่สู่ทารกในครรภ์
  • โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease) คือ ภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ส่วนบน เช่น มดลูก ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน รังไข่ ที่อาจส่งผลให้มีอาการปวดท้องรุนแรง และอาจนำไปสู่ภาวะปากมดลูกอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดผังพืดภายในโพรงมดลูกที่อาจทำให้มีบุตรยากได้ในอนาคต
  • เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ (Endometriosis) คือ ภาวะที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นในบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ในโพรงมดลูก เช่น อุ้งเชิงกราน รังไข่ ท่อนำไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ ส่งผลให้มีอาการปวดท้อง เลือดออกในช่องท้อง รอบเดือนเปลี่ยนแปลง
  • มดลูกหย่อน (Prolapsed uterus) คือ ภาวะที่เกิดจากกล้ามเนื้อกระบังลมอุ้งเชิงกรานและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ช่วยยึดมดลูกอ่อนแอลง ส่งผลให้มดลูกหย่อน และอาจยื่นออกมาทางช่องคลอด สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกช่วงวัย แต่อาจพบได้บ่อยในผู้หญิงหลังจากคลอดบุตรและผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจทำให้ปัสสาวะหรือขับถ่ายลำบาก
  • โรคมะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดที่ก่อให้เกิดโรคเหล่านี้ แต่อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น โรคอ้วน การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก หรือเกิดจากการใช้ยาบางชนิด การทำฮอร์โมนบำบัด ภาวะไข่ไม่ตกเรื้งรัง ที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดสูง ที่ส่งผลให้ฮอร์โมนร่างกายไม่สมดุล และอาจส่งผลให้มดลูกไม่สามารถลอกตัวได้ ทำให้เนื้อเยื่อหนาขึ้นผิดปกติจนพัฒนาเป็นมะเร็ง

การดูแลระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

การดูแลระบบสืบพันธุ์เพศหญิง อาจทำได้ดังนี้

วิธีการดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์มีอะไรบ้าง

1. ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายให้ดีโดยในการอาบน้ำควรทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยสบู่ หลังอาบน้ำควรเช็ดให้แห้ง 2. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนาน ๆ 3.ควรใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะผู้หญิง

วิธีการสร้างเสริมและดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์อย่างไร

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบสืบพันธุ์ 1.การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาและดุแลสุขอนามัยทางเพศ 2.ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ 3.พบแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์

Reproductive System มีอะไรบ้าง

อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ประกอบด้วย 1. ช่องคลอดหรือวาไจน่า (Vagina) 2. มดลูกหรือยูเตอร์ส (Uterus) 3. ท่อนำไข่หรือปีกมดลูกหรือยูเตอรีน ทิวส์ (Uterine Tubes) 4. รังไข่หรือโอวารี (Ovary) Page 5 Urinary bladder PE 244 Vesicouterine nouch. Pubic symphysis. PE 244 Urethra. Paraurethral glands Glans of clitoris.

ข้อใดเป็นการดูแลสุขภาพทางเพศที่เหมาะสม

การออกกำลังกายและตรวจสุขภาพประจำปี การพักผ่อนและรักษาความสะอาดของร่างกาน การับประทานอาหารที่ดีและแต่งกายที่ดี การหลีกเลี่ยงสารเสพติด