ยกเลิกพร้อมเพย์ ธกส ไม่มีสมุดบัญชี

พร้อมเพย์ : ลงทะเบียนให้พร้อม จบทุกปัญหาการเพย์ในช่วงโควิด

ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อาจทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ กับธนาคารมีอุปสรรคได้ ไม่ว่าจะเป็นการปิดให้บริการชั่วคราวในบางสาขา การกำหนดจำนวนคนผู้เข้าใช้บริการต่อรอบในสาขา ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่สะดวกและได้รับบริการล่าช้ากว่าสถานการณ์ปกติได้

นอกจากนี้ การรับสวัสดิการจากรัฐบาลจะง่ายขึ้นหากท่านมีบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชนแล้ว ไม่ว่าจะทำธุรกรรมใด จะโอน-รับ-จ่าย หรือรับเงินสวัสดิการจากรัฐบาลก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขาผ่านบริการที่เรียกว่า "พร้อมเพย์"

วันนี้เราจึงจะมาแนะนำวิธีการผูกพร้อมเพย์กับบัญชีเงินฝาก ซึ่งจะให้ทุกธุรกรรมทางการเงินสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ทำได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้ว

พร้อมเพย์ (PromptPay) คืออะไร

พร้อมเพย์ คือ บริการโอนเงินและรับเงินที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินสะดวกและง่ายขึ้น เพียงผูกบัญชีเงินฝากธนาคารที่ท่านมีกับหมายเลขอ้างอิง (proxy ID) เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ดังนั้นแค่รู้หมายเลขบัตรประชาชน หรือจำหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับโอนได้ ก็สามารถทำธุรกรรมได้เลย ไม่จำเป็นต้องจำหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคาร

ที่ผ่านมา พร้อมเพย์มีบริการต่อยอดอื่น ๆ ออกมาเป็นระยะ เช่น พร้อมเพย์ e-Wallet ซึ่งเป็นการผูกพร้อมเพย์กับเลขบัญชี e-Wallet ที่ช่วยให้การโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารและบัญชี e-Wallet ของผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) ทำได้สะดวกขึ้น หรือ Thai QR Payment บริการจ่ายเงินด้วยการสแกน QR Code ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกและความสะดวกในการจ่ายเงินมากขึ้น โดยท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพร้อมเพย์ได้ที่นี่

ประโยชน์ของพร้อมเพย์คืออะไร

  • สะดวก รวดเร็ว สามารถทำธุรกรรมโอน-รับ-จ่ายเงิน ได้ตลอด ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้ พร้อมเพย์ยังเป็นช่องทางสำคัญในการรับเงินสวัสดิการต่าง ๆ จากภาครัฐ รวมถึงการรับคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (กรณีขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขทะเบียนนิติบุคคล) ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจได้รับเงินจากภาครัฐอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
  • ปลอดภัย ในแง่ของการลดการใช้เงินสด ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องพกเงินจำนวนมากติดตัว อีกทั้งระบบกลางพร้อมเพย์ยังมีความมั่นคงปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ

อยากลงทะเบียนพร้อมเพย์ ต้องทำอย่างไร

ก่อนที่จะลงทะเบียนพร้อมเพย์ได้จะต้องมีบัญชีธนาคารใดธนาคารหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงลงทะเบียนผูกบัญชีธนาคารเข้ากับพร้อมเพย์ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขอ้างอิงใด เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ในกรณีที่ต้องการรับเงินสวัสดิการต่าง ๆ จากภาครัฐจะต้องผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน ในขณะที่หากต้องการความสะดวกในการรับโอนเงินจากผู้อื่นได้ง่าย ๆ ไม่ต้องจดจำเลขบัญชีธนาคารอาจเลือกผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ

การลงทะเบียนพร้อมเพย์นั้นสามารถดำเนินการได้ที่ธนาคารทุกสาขา โดยมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารส่วนใหญ่ยังมีช่องทางอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาขาธนาคารด้วย เช่น ลงทะเบียนผ่าน mobile banking, internet banking, ตู้ ATM หรือ call center ซึ่งท่านสามารถศึกษาวิธีการและช่องทางการลงทะเบียนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

ขั้นตอนและช่องทางการลงทะเบียนพร้อมเพย์ของแต่ละธนาคาร

คำถามที่พบบ่อย

  • ขยายทั้งหมด
  • พิมพ์

“พร้อมเพย์” คือ บริการรับและโอนเงินแบบใหม่ ช่วยให้การรับเงินโอนและโอนเงินเป็นเรื่องง่าย เพียงใช้เลขประจำตัวประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์มือถือ แทนเลขที่บัญชีธนาคาร ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง โมบายแบงก์กิ้ง เครื่องเอทีเอ็ม เป็นต้น

บริการพร้อมเพย์ช่วยอำนวยความสะดวกในการรับเงินโอนและโอนเงิน

  • เลขประจำตัวประชาชน สำหรับการรับเงินจากภาครัฐ เช่น เงินคืนภาษี เบี้ยคนชรา และรัฐสวัสดิการอื่นๆ โดยภาครัฐจะมีการโอนเงินผ่านเลขประจำตัวประชาชนที่ผูกกับบัญชีธนาคารไว้ เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการรับเงินของประชาชนยิ่งขึ้น
  • เบอร์โทรศัพท์มือถือ สำหรับการรับ-โอนเงินระหว่างบุคคลโดยที่ไม่ต้องจำเลขที่บัญชี และค่าธรรมเนียมถูกลง โดยผู้โอนไม่จำเป็นต้องถามชื่อธนาคารหรือสาขา เพราะใช้อัตราค่าธรรมเนียมเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินแบบต่างธนาคารหรือข้ามเขต ทำให้สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสด

บริการพร้อมเพย์มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับระบบการ โอนเงินประเภทต่างๆ ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

  • การลงทะเบียน มีความปลอดภัยด้วยการยืนยันตัวตน เช็คเลขประจำตัวประชาชนกับชื่อเจ้าของบัญชี และเบอร์โทรศัพท์มือถือจะต้องเป็นเบอร์ที่ใช้งานกับบริการอื่นของธนาคารอยู่ (ยืนยันด้วยการส่ง One Time Password ผ่าน SMS ทันทีที่ลงทะเบียน) ข้อมูลเลขประจำตัวประชาชนและเบอร์โทรศัพท์มือถือ ใช้สำหรับการผูกบัญชีเท่านั้น ไม่ได้ใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น
  • การโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ ใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร เช่น บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง บัวหลวงเอทีเอ็ม ซึ่งมีความปลอดภัย และยังมีบริการอย่าง SMS Account Alert หรือ mAlert (สำหรับผู้ใช้บริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง) ที่ช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวของบัญชี ทำให้สามารถใช้บริการได้อย่างมั่นใจ

ลูกค้าสามารถขอลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือกระแสรายวันกับเลขประจำตัวประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ผ่าน ช่องทางบริการของธนาคารที่เปิดให้ลงทะเบียน พร้อมด้วยข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงทะเบียนตามที่ธนาคารกำหนด

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ล่วงหน้ากับธนาคารกรุงเทพ ผ่าน 6 ช่องทาง ดังนี้

  • บัวหลวงเอทีเอ็ม
  • บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง
  • บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
  • เว็บไซต์ www.bangkokbank.com/PromptPay
  • สาขาธนาคารทั่วประเทศ
  • บัวหลวงโฟน 1333

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน

กรณีโอนเงินโดยใช้เลขประจำตัวประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ

  • ผู้โอนเงิน ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน และสามารถโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ผ่านช่องทางต่างๆ ที่ธนาคารของผู้โอนเงินกำหนด
  • ผู้รับเงินโอน จะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีเงินฝากกับเลขประจำตัวประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือก่อน

หลักการและเงื่อนไขการลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ มีดังนี้

  • บัญชีเงินฝาก 1 บัญชี สามารถผูกได้ทั้งเลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือ
  • เลขประจำตัวประชาชน สามารถลงทะเบียนผูกกับบัญชีเงินฝากได้เพียง 1 บัญชี และต้องเป็นเจ้าของบัญชีนั้น
  • เบอร์โทรศัพท์มือถือ 1 หมายเลข สามารถลงทะเบียนผูกกับบัญชีเงินฝากได้ 1 บัญชีเท่านั้น แต่ 1 บัญชี สามารถผูกกับเบอร์โทรศัพท์มือถือได้สูงสุด 3 หมายเลข
  • บัญชีที่ใช้ลงทะเบียนผูกบัญชีมีได้เฉพาะบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ หรือบัญชีกระแสรายวัน
  • ไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนผูกกับบัญชีเงินฝากร่วม บัญชีเงินฝากสำหรับนิติบุคคล และบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
  • ในกรณีผูกบัญชีเงินฝากกับเบอร์โทรศัพท์มือถือ ลูกค้าจะได้รับรหัสผ่านครั้งเดียว (OTP: One Time Password) ที่ธนาคารจะส่งให้ทาง SMS เพื่อใช้ในการตรวจสอบและยืนยันการลงทะเบียน
  • เลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ได้มีการลงทะเบียนผูกกับบัญชีใดแล้ว จะไม่สามารถใช้ลงทะเบียนผูกกับบัญชีอื่นได้อีก จนกว่าจะมีการยกเลิกการลงทะเบียนเดิมก่อน

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนสมัครบริการพร้อมเพย์โดยเลือกผูกเลขประจำตัวประชาชนและ/หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือกับบัญชีธนาคารหลักที่ใช้บริการเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเลือกผูกบัญชี ขึ้นอยู่กับความสะดวก บัญชีที่ลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ เป็นบัญชีที่ต้องการใช้ในการรับเงินโอน จึงควรเป็นบัญชีที่ผู้ใช้งานมีช่องทางตรวจสอบความเคลื่อนไหวของบัญชี เช่น เช็คยอดเงิน/เงินโอนเข้าบัญชีผ่านบริการ บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ หากได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไปแล้ว สามารถที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ภายหลัง

ลูกค้ายังสามารถทำรายการโอนเงินรูปแบบเดิมได้ตามปกติ

ช่องทางโอนเงิน

จำนวนเงินที่โอน
(บาท
/รายการ)

ค่าธรรมเนียม
(บาท
/รายการ)

บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง และ
บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

ฟรี ทุกรายการ

บัวหลวงเอทีเอ็ม

ไม่เกิน 5,000 บาท

ฟรี ทุกรายการ

มากกว่า 5,000-30,000 บาท

2 บาท

มากกว่า 30,000-100,000 บาท

5 บาท

มากกว่า 100,000-200,000 บาท

10 บาท

ไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอนเงินต่อวัน สำหรับวงเงินสูงสุดและจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินต่อรายการและต่อวัน ขึ้นกับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด

ผู้รับเงินโอนไม่จำเป็นต้องเปิดใช้บริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง หรือบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง แต่จะต้องลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ สำหรับผู้โอนเงินไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ แต่จะต้องใช้บริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง หรือบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เพื่อทำการโอนเงินให้กับบัญชีผู้รับที่ลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์แล้ว ลูกค้าสามารถสมัครใช้บริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง หรือบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เพื่อเช็คยอดเงิน/เงินโอนเข้าบัญชีได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถสมัครใช้บริการ SMS Account Alert เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของเงินในบัญชีได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย

ลูกค้าจะต้องแจ้งยกเลิกการผูกบัญชีกับเบอร์โทรศัพท์มือถือเบอร์เดิมโดยเร็ว และหากต้องการลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือใหม่ สามารถทำได้ที่ช่องทางที่ธนาคารเปิดให้บริการ

ลูกค้าจะต้องแจ้งยกเลิกการผูกเลขที่บัญชีเดิมก่อน และหากต้องการลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ด้วยเลขที่บัญชีใหม่ สามารถทำได้ที่ช่องทางที่ธนาคารเปิดให้บริการ

บัญชีที่ลงทะเบียนผูกกับเบอร์โทรศัพท์มือถือเพื่อใช้บริการพร้อมเพย์ จะเป็นบัญชีในการรับเงินโอนเท่านั้น ดังนั้น แม้โทรศัพท์มือถือที่ใช้เบอร์ผูกกับบัญชีดังกล่าวหาย ก็ไม่มีผลกระทบกับความปลอดภัยของบัญชี

ลูกค้าชาวต่างประเทศสามารถใช้เอกสารแสดงตน คือหนังสือเดินทางในการแสดงตน และลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ได้เฉพาะเบอร์โทรศัพท์มือถือเพื่อผูกกับเลขที่บัญชีธนาคารเท่านั้น