วัดความดัน ท่าน อน ได้ ไหม

วัดความดัน ท่าน อน ได้ ไหม

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตวัดได้อย่างไร

       ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไร วิธีการที่จะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูง คือต้องวัดความดันโลหิต การวัดความดันสูงเพียงครั้งเดียว มิได้หมายความว่าคุณเป็นความดัน แต่เป็นการเตือนว่าคุณต้องเฝ้าระวังว่าความดันโลหิตสูงคุกคามคุณเข้าแล้ว  แพทย์จะวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า sphygmomanometer ร่วมกับหูฟัง ค่าที่วัดได้มีสองค่าคือ systolic/diastolic เช่น 140/80 มม.ปรอท โดยตัวแรกคือค่า systolic เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ค่าหลังคือ diastolic เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว

วิธีการวัดวิธีการวัดมีดังนี้ข้อควรปฏิบัติก่อนการวัดความดันโลหิต

  1. การจัดสิ่งแวดล้อม
    วัดความดัน ท่าน อน ได้ ไหม

สถานที่ใช้ตรวจต้องเงียบและเป็นส่วนตัว และต้องไม่มีปัจจัยที่จะทำให้ความดันโลหิตผันแปร 

  • เครื่องวัดต้องอยู่ในแนวสายตาหากสูงหรือต่ำไป จะทำให้การวัดคลาดเคลื่อน
  • ความสูงของโต๊ะ เมื่อผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้และวางมือบนโต๊ะ แขนควรอยู่ในระดับหัวใจ ควรปรับความสูงของโต๊ะเพื่อให้ได้ตำแหน่งดังกล่าว
  • ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ แขนที่จะวัดอยู่ในระดับหัวใจ
  1. การเตรียมการวัดและการพัก

เพื่อจัดการกับสิ่งที่จะทำให้การวัดความดันโลหิตผิดพลาดควรจะแนะนำผู้ป่วยดังนี้

  • อุณหภูมิห้องต้องไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
  • ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาวขณะวัดความดันโลหิต
  • ขณะวัดไม่ควรมีความเครียด อาการเจ็บปวด ไม่ปวดปัสสาวะ
  • ไม่ควรวัดความดันหลังอาหาร
  • ต้องงดบุหรี่และกาแฟก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที
  • ให้นั่งพัก 5 นาทีห้ามนั่งไข่วห้าง หลังพิงพนัก เท้าอยู่บนพื้น
  1. การเลือกขนาดของผ้าพันรัดแขน

ขนาดของผ้าพันรอบแขนจะมีผลต่อความดันขนาดที่เหมาะสมคือความกว้างต้องประมาณ40% ของเส้นรอบวงแขน ความยาวต้องอย่างน้อย 80% หากขนาดผ้าเล็กไปจะทำให้ค่าความดันโลหิตสูงเกินไป ปกติจะให้วัดแขนขวาเสมอ

  • ขนาดมาตราฐานสำหรับผู้ใหญ่กว้าง 12-13 ซม ยาว 35 ซม
  • รอบแขน 22–26 cm,ใช้ผ้าขนาด "small adult" ขนาด—12 - 22 cm. 
  • รอบแขน 27–34 cm, ใช้ผ้าขนาด"adult" ขนาด—16 - 30 cm. 
  • รอบแขน 35–44 cm, ใช้ผ้าขนาด"large adult" ขนาด—16 - 36 cm. 
  • รอบแขน 45–52 cm,ใช้ผ้าขนาด"adult thigh" ขนาด—16 - 42 cm.
  1. การพันผ้ารัดแขน
  • ควรจะแนะนำให้ผู้ป่วยใส่เสื้อแขนสั่นเมื่อมาวัดความดัน
  • หากจะใส่เสื้อแขนยาวให้เป็นเสื้อคลุมที่สามารถถอดออกได้ง่าย
  • ไม่ควรใช้วิธีรูดแขนเสื้อขึ้นไปเพราะจะทำให้ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ไม่ถูกต้อง
  • ขณะพันต้องพันอย่างสม่ำเสมอไม่พันแน่นหรือหลวมเกินไป ปลายผ้าจะอยู่เหนือข้อศอก 2.5 ซม
  • ผ้าที่พันจะต้องอยู่ในระดับหัวใจเสมอ

ท่าที่ใช้วัดความดันโลหิต

ท่าที่ใช้วัดความดันโลหิตมีผลต่อค่าที่วัดได้ดังนี้

  • เมื่อวัดความดันท่านั่ง ความดัน diastolic จะสูงกว่าท่านอน 5 มม.ปรอท
  • เมื่อวัดความดันท่านั่ง ความดัน systolic จะสูงกว่าท่านอน 8 มม.ปรอท
  • ความดันท่านั่งโดยที่ไม่ได้พิงพนักความดัน diastolic จะสูงขึ้น 6 มม.ปรอท
  • การวัดความดันโลหิตเมื่อนั่งไขว้เท้า ความดัน systolic จะสูงขึ้น6-8 มม.ปรอท
  • แขนต่ำกว่าหัวใจ(ระดับกลางหน้าอก) เช่นการห้อยแขน ความดันที่วัดได้จะสูงกว่าปกติ
  • แขนสุงกว่าหัวใจ ค่าความดันโลหิตที่วัดได้จะต่ำกว่าปกติ

ควรจะวัดความดันกี่ครั้งดี

การวัดความดันหลายครั้งจะมีความแม่นยำมากกว่าการวัดความดันเพียงครั้งเดียว ค่าที่วัดได้ครั้งแรกจะสูงสุด ให้วัดซ้ำ อีกหนึ่งนาทีต่อมา หากทั้งสองค่าห่างกันมากกว่า 5 มม.ปรอทก็ให้วัดครั้งที่ 3 แล้วหาค่าเฉลี่ย

การวัดความดันโลหิตที่บ้าน

บางท่านความดันโลหิตสูงไม่มากเช่น 140/90 มิลิเมตรปรอทแพทย์จะแนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้าน หรือกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น white coat hypertension คือความดันโลหิตจะสูง เมื่อพบแพทย์และความดันโลหิตจะปกต ิเมื่ออยู่ที่บ้านแพทย์จะแนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้าน ปัญหาของท่านคือจะเลือกเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดไหนดี เครื่องวัดความดันโลหิตมีอยู่ 3 ชนิดคือ

Mercury sphygmomanometer เครื่องวัดความดันชนิดปรอท

เป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับวัดความดันโลหิต วัดง่ายไม่ต้องมีการปรับแต่ง ใช้หลักการแรงโน้มถ่วงของโลกให้ผลวัดที่แม่นยำ เครื่องมือประกอบด้วยแท่งแก้วที่มีสารปรอทอยู่ภายใน บางท่านไม่แนะนำให้ใช้ตามบ้านเพราะกลัวอันตรายจากสารปรอท แต่รุ่นที่ออกแบบสำหรับใช้ตามบ้านจะมีความปลอดภัยสูง ข้อเสียของเครื่องมือนี้ได้แก่

  • มีขนาดใหญ่พกพาลำบาก หากมีการรั่วอาจจะเกิดพิษต่อสารปรอท เครื่องจะต้องตั้งตรงบนพื้นเรียบ แท่งปรอทจะต้องอยู่ระดับสายตาจึงจะอ่านได้แม่นยำ
  • ผู้ที่สายตาไม่ดีหรือได้ยินไม่ชัดหรือไม่สามารถบีบลมจะทำให้การวัดไม่แม่น

Aneroid equipment เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด

 เป็นเครื่องมือที่ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา และพกพาสะดวกมากกว่าชนิดปรอท

วัดความดัน ท่าน อน ได้ ไหม
วัดความดัน ท่าน อน ได้ ไหม
วัดความดัน ท่าน อน ได้ ไหม

เครื่องวัดชนิดนี้สามารถวางตำแหน่งไหนก็ได้ บางรุ่น มีหูฟังอยู่ในสายพันแขน ข้อด้อยของเครื่องมือนี้คือ<

  • เครื่องมือมีกลไกซับซ้อน ต้องปรับเครื่องมือโดยเทียบกับชนิดปรอท อย่างน้อยปีละครั้งหรือเมื่อมีการทำตก หากผู้ป่วยใช้ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เครื่องชำรุด และต้องส่งไปซ่อม
  • ผู้ที่สายตาไม่ดีหรือได้ยินไม่ชัดหรือไม่สามารถบีบลมจะทำให้การวัดไม่แม่น

Automaticequipment เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอล

เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องมีหูฟังหรือลูกยางสำหรับบีบลมทำให้สะดวดในการใช้งาน สามารถพกพาได้ง่าย ข้อผิดพลาดน้อยเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุสายตาและการได้ยินไม่ดี แสดงผลเป็นตัวเลขที่หน้าจอพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจ บางชนิดสามารถพิมพ์ผลค่าที่วัด สายพันมีทั้งชนิดพันที่แขนและข้อมือ ข้อด้อยคือ

  • เครื่องมือประกอบด้วยกลไกซับซ้อน แตกหักง่าย ต้องมีการตรวจสอบความแม่นยำของการวัดเมื่อเทียบกับชนิดปรอท ผู้ป่วยบางประเภทอาจจะให้ผลการวัดผิดพลาด หากร่างกายเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดการผิดพลาดของการวัด ราคาค่อนข้างแพง และต้องใช้ไฟฟ้า
  • การพันสายรัดแขนต้องพันให้ถูกตำแหน่ง

การเลือกขนาดของสายรัดแขน

ผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีขนาดแขนใหญ่กว่าหรือเล็กกว่ามาตรฐานควรจะเลือกขนาดของสายรัดแขนให้เหมาะ เพราะอาจจะทำให้ผลที่ได้ผิดพลาด และโปรดจำไว้ว่าการวัดเองที่บ้านเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ท่านยังต้องไปพบแพทย์ตรวจเป็นประจำตามแพทย์สั่ง

การวัดความดันโลหิตแบบ Ambulatory BP Monitoring เป็นการวัดความดันโลหิตขณะมีกิจกรรม และขณะนอนหลับเพื่อที่จะได้มีข้อมูลความดันโลหิตหลายค่า

  •  เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่เรียกว่า White coat hypertension ความดันโลหิตของผู้ป่วยเมื่อวัดที่บ้านจะปกติ แต่เมื่อมาพบแพทย์จะมีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตยังสูงแม้ว่าจะให้ยาเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการความดันโลหิตต่ำ
  • ผู้ป่วยที่มีความดันสูงเป็นช่วงๆ

ด้วยการวัดความดันหลายครั้งจะได้ว่าคนที่เป็นความดันโลหิตสูงจะมีค่าความดันสูงกว่า 130/85 มม.ปรอท ในเวลากลางวัน และมากกว่า 120/75 มม.ปรอท ในเวลากลางคืน

ที่มา : http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/bp_reading.html#.VOFx5PmUd34

วัดความดันตอนนอนได้ไหม

1. ก่อนวัดความดันโลหิตควรนั่งพักอย่างน้อยประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะทำการวัด 2. งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ ก่อนวัดความดันโลหิต 3. ควรวัดความดันโลหิตในท่านั่งหรือนอนราบ

ไม่ควรวัดความดันตอนไหน

โดยทั่วไป ความดันโลหิตที่เหมาะสมของคนปกติ จะต้อง ไม่เกิน 120/80 ม.ม.ปรอท (โดยควรวัดความดันหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที และ 1 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ ออกกำลังกาย) แต่ไม่ควรเกิน 140/90 ม.ม.ปรอท และควรลดลงขณะพักหรือนอนหลับ ถ้าค่าเฉลี่ยเกิน 140/90 ม.ม.ปรอท จากการวัดความดันอย่างน้อย 2 ครั้ง ...

การวัดความดันที่ดีที่สุดต้องวัดตอนไหน

ช่วงเช้า วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 - 2 นาที ภายใน 2 ชั่วโมงหลังตื่นนอน และก่อนรับประทานยาลดความดันโลหิต ช่วงก่อนเย็น วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 - 2 นาที

วัดความดันทับเสื้อได้ไหม

การเตรียมการวัดและการพักก่อนวัดความดันโลหิต ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาวขณะวัดความดันโลหิต ขณะวัดไม่ควรมีความเครียด อาการเจ็บปวด ไม่ปวดปัสสาวะ ไม่ควรวัดความดันหลังอาหาร ต้องงดบุหรี่และกาแฟก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที