รถติดไฟแนนซ์สามารถเปลี่ยนชื่อได้ไหม

อยาก รีไฟแนนซ์รถ จากชื่อคนอื่นมาเป็นชื่อเรา ทำยังไงดี

สำหรับกรณีของคนที่นิยม รีไฟแนนซ์รถ จากชื่อของคนอื่นมาเป็นชื่อของตนเองเพื่อทำการผ่อนชำระต่อนั้นส่วนมากต้องเป็นคนที่รู้จักกันมาก่อน เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง เป็นต้น โดยเหตุผลหลักของคนที่เป็นเจ้าของเดิมก็มีด้วยกันหลายประเด็นที่ยินดีจะขายรถให้กับเจ้าของใหม่ เช่น ต้องการได้รถยนต์คันใหม่, ผ่อนต่อไม่ไหว, ต้องย้ายไปต่างประเทศ ฯลฯ แต่การจะ รีไฟแนนซ์รถ จากชื่อคนอื่นมาเป็นชื่อเราก็ต้องมีขั้นตอนดำเนินงานให้ถูกต้องด้วยไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้

  1. เอกสารต่าง ๆ ต้องมีการจัดเตรียมพร้อมยื่นอย่างถูกต้อง – มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรกสำหรับการ รีไฟแนนซ์รถ พร้อมเปลี่ยนชื่อเจ้าของใหม่ ให้เจ้าของรถคนเก่าไปยื่นเรื่องเพื่อเป็นการแจ้งความต้องการเปลี่ยนชื่อรถกับธนาคารที่เป็นผู้ดูแลสินเชื่อตั้งแต่แรก ธนาคารจะให้เอกสารมาก็ทำการกรอกเอกสารนั้น ๆ ลงไปให้ครบถ้วนพร้อมกันนี้อย่าลืมเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้ในการดำเนินงานด้วย เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน, สัญญากู้ยืมสินเชื่อรถ และอื่น ๆ ตามที่ธนาคารได้แนะนำเอาไว้
  2. มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้กู้รายเดิมก่อน – พอผู้กู้รายเดิมทำการยื่นเรื่องในข้อแรกเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วนะครับ ทางธนาคารจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบว่าเจ้าของเดิมเองมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการจะเปลี่ยนชื่อคู่สัญญาเพื่อให้กลายเป็นชื่อคนอื่นได้หรือไม่ มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ของตัวสินเชื่อเอาไว้เคร่งครัดมากน้อยแค่ไหน เป็นการวิเคราะห์ตัวผู้กู้เดิมล้วน ๆ ครับ เพื่อให้มั่นใจว่าการ รีไฟแนนซ์รถ ที่จะเกิดขึ้นเป็นเรื่องโปร่งใส พอการตรวจสอบทุกขั้นตอนเสร็จสิ้นจะมีการดำเนินการต่อไปด้วยฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  3. มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้กู้รายใหม่ – เมื่อทำการตรวจสอบคุณสมบัติผู้กู้รายเดิมเรียบร้อยคราวนี้ก็ต้องพูดถึงการตรวจสอบของผู้กู้รายใหม่ด้วยครับ กรณีจะมีบุคคลทั้งหมด 3 ฝ่าย คือผู้กู้รายเดิม, รายใหม่ และบุคคลค้ำประกัน ทั้งหมดต้องจัดการด้านเอกสารมาให้พร้อมเพื่อยื่นให้กับธนาคารตรวจสอบผู้ที่จะกู้ว่ามีคุณสมบัติดีพอกับการอนุมัติ รีไฟแนนซ์รถ หรือไม่ มีการติดเครดิตบูโร, มีการขาดผ่อนชำระ หรือไม่ มีประวัติดีไม่ดีในการผ่อนชำระ เป็นต้น
  4. จัดการเซ็นเอกสาร – เมื่อทุกอย่างลงตัวเรียบร้อยก็ทำการเซ็นเอกสารต่าง ๆ อาจมีค่าใช้จ่ายหลักพันแต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารด้วย

ใครอยาก รีไฟแนนซ์รถ จากชื่อคนอื่นมาเป็นชื่อตนเองสามารถทำได้นะครับ ไม่ต้องกังวลไป ส่วนใครที่อยากได้ข้อมูลหรือคำแนะนำต่าง ๆ เพิ่มเติมก็เข้ามาเลยที่ www.refinn.com/รีไฟแนนซ์รถ

เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2562

ถ้าหากคิดจะขายรถในขณะที่ติดไฟแนนซ์ หรือรถที่ยังผ่อนไม่หมด มีวิธีและขั้นตอนแบบไหนบ้าง รวมถึงขายไปแล้วผิดกฎหมายหรือไม่ เรามีคำตอบเหล่านั้นมาบอก

รถติดไฟแนนซ์สามารถเปลี่ยนชื่อได้ไหม

ด้วยพิษเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาจากการระบาดของไวรัสโควิด19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วทุกระบบ อาจทำให้สภาพคล่องทางการเงินของใครหลายคนต้องสะดุด ชักหน้าไม่ถึงหลัง ของบางอย่างที่ผ่อนอยู่จะกระทบกระเทือนไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใครที่กำลังผ่อนรถอยู่ กับสถาบันการเงินต่าง ๆ อาจจะไม่มีเงินมาส่งค่างวดได้แต่ละเดือนได้ จนจำเป็นต้องขายรถ เพื่อให้หมดภาระ แต่ว่าการขายรถที่ยังผ่อนไม่หมด หรือที่เราเรียกว่า “รถติดไฟแนนซ์” สามารถขายได้หรือไม่ ดังนั้นวันนี้เรามีวิธีการขายรถแบบถูกต้องและปลอดภัยมาบอก ส่วนจะเป็นอย่างไรมีขั้นตอนแบบไหนบ้างไปดูกันเลย

ขายรถติดไฟแนนซ์ ผิดกฎหมายหรือไม่?

สำหรับผู้ใช้รถ การขายรถยนต์ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าในขณะนั้นรถของคุณยังอยู่ในไฟแนนซ์ หรือที่เรียกว่า “ยังผ่อนไม่หมด” แต่อยากจะขาย เลยเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า ขายรถติดไฟแนนซ์ผิดกฎหมายหรือไม่ ต้องขอชี้แจ้งก่อนว่า รถยนต์ที่ติดสถานะไฟแนนซ์ ยังไม่ใช้รถของเจ้าของเอง 100% ซึ่งไม่สามารถนำไปขายต่อได้ เพราะคุณจะอยู่ในสถานะเป็นเพียงผู้เช่าซื้อเท่านั้น กรรมสิทธิ์ของตัวรถยังคงเป็นของไฟแนนซ์จนกว่าจะผ่อนหมด หรือครบทุกงวด แต่สามารถขายได้ถ้าคุณทำให้ถูกวิธี และถูกต้อง

แต่ถ้าทำการขายรถขณะติดไฟแนนซ์ให้กันคนอื่นโดยพลการ อาจเข้าข่ายความผิดยักยอกทรัพย์ ถือว่าผิดกฎหมายทั้งทางแพ่ง และอาญา และผู้ที่ซื้อรถต่อก็จะมีความผิดด้วยเช่นกัน หากเจ้าของรถนำรถที่ยังผ่อนไม่หมดไปขายทอดตลาดหรือเปลี่ยนมือโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางบริษัทไฟแนนซ์ จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

ขายรถติดไฟแนนซ์ ต้องทําอย่างไร ?

หากรถติดไฟแนนซ์ของสถาบันทางการเงินไหนก็ตาม เจ้าของรถจะ “ไม่มีสิทธิ์” นำไปขายทอดตลาดได้ไม่ว่าจะวิธีไหน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพิษเศรษฐกิจ ขาดสภาพคล่อง หากเจ้าของรถไม่ต้องการให้รถถูกยึด และยังคงสถานะเป็นเจ้าของรถอยู่ จะต้องเจรจาขอผ่อนปรนสัญญาเช่าซื้อกับทางไฟแนนซ์ โดยควรทำการปรึกษาทางไฟแนนซ์ ก่อนที่จะค้างชำระถึง 3 งวดติดต่อกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่เกิดปัญหาในภายหลัง 

แต่ถ้าหากคิดว่าผ่อนไม่ไหว รวมถึงไม่อยากเก็บรถไว้เพื่อเป็นภาระ ก็ควรหาทางขายรถออกไปโดยมีการเปลี่ยนสัญญากับไฟแนนซ์ให้ถูกต้อง ซึ่งจะมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. จ่ายเงินสดปิดไฟแนนซ์ก่อนขายรถ วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยการจ่ายเงินก้อนที่เหลือเพื่อปิดไฟแนนซ์ ซึ่งจะทำให้คุณกลายเป็นเจ้าของรถอย่าง 100% และสามารถนำรถไปใช้ต่อ หรือขายทอดตลาดได้ นอกจากนั้นยังมีข้อดี ตรงที่ได้ส่วนลดค่าดอกเบี้ย จากทางบริษัทไฟแนนซ์ด้วย

2. ขายดาวน์ให้กับผู้อื่น หากไม่สามารถหาเงินสดก้อนใหญ่มาปิดไฟแนนซ์ การขายดาวน์รถ ก็เป็นอีกทางเลือกที่นิยมใช้กันมาก แต่ขั้นตอนจะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก เพราะจะต้องหาผู้ซื้อที่ยอมรับเงื่อนไขการขายดาวน์ รวมถึงจะต้องมีเงินก้อนมาปิดบัญชีไฟแนนซ์แทนเรา ถ้าตกลงกันได้กรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ก็จะตกเป็นของผู้ที่มาซื้อรถต่อจากเราทันที ซึ่งหากเราตั้งราคาขายไว้สูง ก็อาจจะได้ส่วนต่างที่เหลือเก็บเข้ากระเป๋า 

3. ขายดาวน์รถแบบเปลี่ยนมือผู้ถือสัญญา หากผู้ขายรถได้จ่ายค่างวดไปบางส่วนแล้ว ขณะเดียวกันผู้ซื้อรถคนใหม่ยังคงมีความจำเป็นต้องผ่อนงวดรถในส่วนที่เหลือเนื่องจากไม่สามารถปิดยอดทั้งหมดได้ ผู้ขายสามารถพาผู้ซื้อไปติดต่อที่บริษัทไฟแนนซ์ เพื่อทำการเปลี่ยนสัญญาให้ผู้ซื้อคนใหม่รับหน้าที่ผ่อนต่อ ซึ่งทางบริษัทไฟแนนซ์เองจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการผ่อนจ่ายของผู้ซื้อต่อด้วย ว่าจะสามารถผ่อนยอดต่อได้หรือไม่

4. ขายผ่านเต็นท์มือสอง ในกรณีที่ผู้ขายรถต้องการรีบขายด่วน แต่ไม่สามารถหาผู้ซื้อได้ การขายผ่านเต๊นท์รถมือสองก็เป็นอีกทางเลือกที่รวดเร็ว โดยทางเต๊นท์สามารถทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับทางไฟแนนซ์ได้โดยตรง และสามารถจ่ายปิดไฟแนนซ์ได้ทันที แต่จะมีข้อเสียตรงที่อาจจะโดนทางเต๊นท์รถกดราคาของตัวรถต่ำกว่าราคากลางตามท้องตลาด และยิ่งถ้าเป็นรถที่ไม่ได้รับความนิยมก็จะถูกลงไปอีกหรือบางที่อาจจะกลายเป็นการรับฝากขายแทนด้วยซ้ำไป

รถติดไฟแนนซ์สามารถเปลี่ยนชื่อได้ไหม

ถือได้ว่าคลายความกังวลไม่น้อย สำหรับการขายรถยนต์ที่ติดไฟแนนซ์ ถึงแม้จะดูยุ่งยากแต่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้ แม้วิธีการดังกล่าวจะมีความซับซ้อน และต้องใช้เวลา แต่อย่างน้อยแม้รถคู่ใจจะอยู่ในมือคนอื่น ก็ทำให้คุณไม่เสียประวัติ และได้เงินก้อนจำนวนหนึ่งมาช่วยเยียวยาและสร้างความหวังเพื่อเริ่มต้นเก็บเงินสร้างอนาคตใหม่ได้อีกครั้ง 

แต่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการขายรถติดไฟไฟแนนซ์ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด ๆ ที่กล่าวไปเบื้องต้นแล้วนั้น คุณต้องอย่าลืมตรวจเช็กสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาการผ่อนชำระค่างวดรถว่าไม่มีชื่อคุณเป็นผู้รับผิดชอบแล้ว มิฉะนั้นหากผู้ซื้อต่อ เกิดเบี้ยวไม่จ่ายค่างวด เราเองจะต้องมานั่งแบกภาระผ่อนรถต่อ โดยไม่มีรถขับ

รถติดไฟแนนซ์ สามารถโอนได้ไหม

สรุปก็คือรถที่ติดไฟแนนซ์อยู่ของคุณสามารถขายได้ และไม่ยากอย่างที่คิด ไม่ควรจะขายรถไปทั้งที่รถยังติดไฟแนนซ์เพราะถือว่าเป็นการกระทำผิดความหมายอาญา และอย่าโอนลอยรถยนต์ ติดไฟแนนซ์ เพราะเสี่ยงต่อทั้งตัวผู้ซื้อและผู้ขาย โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อาจจะเป็นการผ่อนค่างวดรถไปฟรี ๆ โดยที่ยังไม่ได้รับรถมาครอบครอง ต้องแน่ใจว่าสิทธิ์การถือ ...

รถผ่อนอยู่โอนเป็นชื่อคนอื่นได้ไหม

เปลี่ยนชื่อเจ้าของรถยังผ่อนไม่หมดไม่ได้ เพราะอายุของรถยนต์เกินข้อกำหนด ของทางไฟแนนซ์เดิม

รีไฟแนนซ์รถ เปลี่ยนชื่อได้ไหม

การรีไฟแนนซ์รถ เปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อรถยนต์ สามารถเปลี่ยนสัญญาได้ โดยโอนชื่อจากเราเป็นชื่อคนอื่นได้ เช่น โอนให้ญาติพี่น้อง หรือ บุคคลอื่น เป็นต้น เพื่อให้ผู้เช่าซื้อคนใหม่ผ่อนต่อจากเรา เหตุผลส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อ เช่น รถผ่อนต่อไม่ไหว ให้คนอื่นผ่อนต่อ ต้องการขายรถ

ผ่อนรถกี่ปีถึงเปลี่ยนชื่อได้

วิธีเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แทนได้เช่นกัน ส่วนเงื่อนไขในการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ คือรถคันนั้นต้องผ่อนมาแล้วอย่างต่ำ 1 ปีจึงจะสามารถเปลี่ยนสัญญาได้ หรืออาจผ่อนค่างวดไปแล้ว 1 ใน 4 ของมูลค่ารถทั้งหมด ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ ก็คือ ผู้เข้ามารับช่วงผ่อนต่อต้องมีคนค้ำประกัน