ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ซื้อขายได้ไหม

ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ซื้อขายได้ไหม

สิทธิที่ดินไม่มีโฉนด
การมีที่ดินสักแปลงหนึ่งก็ถือว่ามีหลักทรัพย์ไว้ในครอบครอง แต่เอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกลับมีหลายแบบ ที่เห็นและรู้จักกันดีก็มีโฉนดที่ดินกับ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. หรือที่เรียกเต็มๆ ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพียงสองอย่างนี้ก็นำเรื่องพิพาทบาดหมางต่อกันไม่น้อยแล้ว

การมีโฉนดที่ดินเอาไว้ย่อมหมายความว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นผู้มี “กรรมสิทธิ์”ในที่ดิน จะโอนจะขายจะนำที่ดินไปทำอะไรก็ได้ตามสิทธิของตน ถ้าจะมีคนมาเถียงว่าคนมีชื่อในโฉนดไม่ใช่ตัวจริงแต่ใส่ชื่อแทนไว้ ก็ต้องไปพิสูจน์กันต่อไปตามกฎหมายว่าใช่หรือไม่ แต่กฎหมายท่านสันนิษฐานไว้ก่อนแล้วว่าเป็นเจ้าของและผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
เมื่อใครเป็นเจ้าของย่อมนำที่ดินไปให้คนอื่นอยู่อาศัย ให้เช่าหรือปลูกสร้างอะไรก็ได้ คนที่เข้ามาอยู่ในที่ดินก็ไม่ได้เป็นเจ้าของ คงมีฐานะเป็น “ผู้ครอบครอง” ที่ดินแปลงนี้โดยอาศัยสิทธิที่เจ้าของเขาให้เท่านั้น ถ้าจะขายที่ดินให้ใคร กฎหมายก็กำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือและไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันที่สำนักงานที่ดิน เพื่อจะได้ลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของคนใหม่ในโฉนดที่ดิน จะไปเขียนไปเปลี่ยนเองไม่ได้
แต่ถ้าไม่ใช่โฉนดที่ดิน เป็นเพียง น.ส.3 คนที่เป็นเจ้าของมีเพียง “สิทธิครอบครอง” เท่านั้น เพราะการได้สิทธิในที่ดินประเภทนี้ก็มาจากการได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินได้โดยไม่ผิดกฎหมาย มีเอกสารออกรับรองให้ไว้เป็นน.ส.3 ฉบับนี้ โดยมีชื่อผู้ครอบครองและทำประโยชน์ระบุเอาไว้ชัดเจน
นึกอยากจะโอนที่ดินไปให้ใครต่อก็ทำได้ไม่หวงห้ามเพราะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิเหมือนกัน ไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินเช่นเดียวกับที่ดินมีโฉนดนั่นแหละ
แม้ว่าสิทธิในที่ดินแทบจะเหมือนกับที่ดินมีโฉนดแค่ไหน ก็ยังไม่เท่ากันอยู่ดีตรงที่กฎหมายแพ่งท่านมีบทบัญญัติเอาไว้ให้การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองเท่านั้น นั่นก็หมายความว่า ถ้าคนที่ครอบครองไม่ต้องการเป็นเจ้าของที่น.ส.3 แปลงนี้แล้ว ก็เพียงให้คนที่อยากจะให้เข้ามาครอบครองไปก็ได้แล้ว
แบบนี้เท่ากับว่าคนที่มีชื่อในน.ส.3 อาจไม่ใช่ผู้ครอบครองก็ได้ เจ้าของคนใหม่ย่อมอ้างย่อมยกเรื่องการส่งมอบการครอบครองมาอ้างความเป็นเจ้าของได้ เพียงแต่อ้างได้เฉพาะในระหว่างเอกชนคนโอนกับรับโอนการครอบครองด้วยกันเท่านั้น เจ้าของคนใหม่จะนำที่ดินแปลงนี้ไปจดทะเบียนจำนองหรือขายฝากที่สำนักงานที่ดินไม่ได้ เพราะชื่อในน.ส.3 ไม่ใช่ชื่อของตน จะมาอ้างกับรัฐว่าเป็นเจ้าของยังไม่ได้ เพราะในเอกสารเป็นคนละชื่อกัน ต้องทำการเปลี่ยนชื่อในน.ส.3 เสียก่อน
แล้วถ้าเจ้าของเดิมเขาเปลี่ยนใจไม่ยอมเปลี่ยนชื่อให้ เจ้าของใหม่ก็ต้องไปดำเนินคดีฟ้องร้องโดยอ้างการครอบครองที่ได้รับโอนมาได้ ซึ่งก็ต้องอาศัยพฤติการณ์และข้อเท็จจริงว่าเจ้าของเก่าได้แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดินไปแล้วหรือไม่ เมื่อได้คำพิพากษามาก็สามารถนำมาให้เจ้าหน้าที่ทำการเปลี่ยนชื่อในน.ส.3 ได้
เมื่อพอทราบอย่างนี้แล้วก็อย่าได้นอนใจ รอให้เกิดเรื่องพิพาทบาดหมางกันขึ้นมา เพราะว่าผลประโยชน์ย่อมทำให้คนเราเปลี๊ยนไปได้ ถ้าจะให้เกิดความแน่นอนและกฎหมายรับรองก็ควรไปทำการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในน.ส.3 เสียให้ถูกต้องพร้อมๆ กับการโอนการครอบครองที่ดินเสียเลย
จากนั้นก็จะได้ทำการขาย จำนองหรือนำที่ดินไปทำอะไรได้อย่างเต็มภาคภูมิ ที่สำคัญเมื่อทางการประกาศให้ไปออกโฉนดที่ดินได้แล้ว ก็ยังทำไม่ได้เพราะถือว่าขาดหลักฐานในการที่จะไปดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ตอนนั้นจะคุยกับเจ้าของเดิมก็อาจยากลำบากแล้ว
สำหรับใครที่มีที่ดินเป็นของตนเองนั้นถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าดีมากๆ แล้ว ครับ แต่หากหลักฐานไม่เอื้อให้ใช้สิทธิในที่ดินได้สมบูรณ์ก็น่าดสยและทำให้เสียสิทธิไปเปล่าๆเพราะปัจจุบันประชากรมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นแต่ที่ดินกับเท่าเดิมหรือจะเริ่มน้อยลงไปทุกทีเพราะอนาคตอาจจะเป็นพื้นน้ำไปเกือบหมด สิทธิของท่านก็พึ่งรักษาไว้ตามกฎหมาย นะครับ

ที่ดิน ภ.บ.ท. 5 คืออะไร ? ซื้อขายได้หรือไม่ ?

        ภ.บ.ท.เป็นแบบแสดงรายการที่ดินที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่จะต้องไปยื่นแบบดังกล่าวเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ประจำปีต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานอันเป็นที่ตั้งขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่ที่ที่ดินตั้งอยู่ เช่น สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ภ.บ.ท. 5 จึงมิใช่เอกสารสิทธิในที่ดินที่ออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายจึงทำได้เพียงการส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่กันเท่านั้น ไม่สามารถไปจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ได้ บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท. 5 อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้ามที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตาม ประมวลกฎหมายที่ดินก็อาจเป็นได้ การซื้อขายที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท. 5 จึงเป็นการเสี่ยงภัยของผู้ซื้อเอง หากประสงค์จะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 ควรให้ผู้ขายยื่นคำขอออกหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อพิสูจน์สิทธิก่อนว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ หากสามารถออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินได้และขอออกเอกสารสิทธิ ในที่ดินตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 เนื้อที่ที่คำนวณได้จากการรังวัดออกเอกสารสิทธิย่อมไม่ตรงกับเนื้อที่ที่ระบุไว้ในหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 ได้เพราะถือว่าเป็นที่ดินที่ไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดิน ไม่เคยมีการรังวัดคำนวณเนื้อที่โดยกรมที่ดินมาก่อนแต่อย่างใด อีกทั้งการรังวัดออกเอกสารสิทธิที่ดินจะใช้วิธีการรังวัดทำแผนที่และคำนวณเนื้อที่โดยใช้หลักวิชาการทางแผนที่ซึ่งจะมี มาตรฐานความละเอียดถูกต้อง การแจ้งเนื้อที่ตามหลักฐาน ภ.บ.ท.จึงเป็นการแจ้งของผู้ทำประโยชน์ในที่ดินโดยประมาณเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ประจำปีเท่านั้น

        คำถาม-คำตอบที่ควรรู้

ถาม   1. อยากทราบว่า ภ.ท.บ. 5 นี้สามารถเปลี่ยนเป็น ส.ค.หรือ น.ส.ได้หรือไม่

        2. เปลี่ยนได้หรือไม่ได้เพราะอะไร ถ้าเปลี่ยนได้ควรทำอย่างไร?

ตอบ ภ.บ.ท. 5 เป็นแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น ที่ดินบริเวณดังกล่าวจึงเป็นที่ดินมือเปล่า ไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ และ จะสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่นั้น ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สงวนหวงห้ามมิให้ออกเอกสารสิทธิหรือไม่ อย่างไร?

ถาม   อยากทราบเรื่องการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.กับซื้อที่ดินที่มีใบ ภ.บ.ท.การทำสัญญาซื้อขายต้องทำ 2 ฉบับ หรือรวมกันได้ แล้วมีแบบฟอร์มในการซื้อขาย ดังกล่าวหรือไม่?

ตอบ สัญญาซื้อขายที่ดิน เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้น คุณต้องทำความตกลงกันเอง อย่างไรก็ตาม น.ส. 3 เป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ ภ.บ.ท. 5 มิใช่เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายจึงทำได้เพียงการส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่กัน ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ไม่สามารถไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ได้

ถาม   ซื้อที่ดินเพื่อปลูกยางพารา แต่ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์อะไรเลย มีเพียงใบเสียภาษีดอกหญ้า แต่มีการทำสัญญาซื้อขายที่บ้านกำนันมีพยานหลายคน ที่แปลงนี้ขายต่อมาหลายทอดแล้ว จึงกังวลว่าภายในอนาคตมีจะมีปัญหาตามมา และสามารถฟ้องศาลได้หรือไม่ และเวลาที่ขายก็ไม่ได้มีการวัด เพียงแต่ตกลงกันด้วยวาจาเท่านั้น

ตอบ ที่ดินมีเพียงใบเสียภาษียอนหลัง เป็นเพียงแบบชำระภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินอาจเป็นที่หวงห้าม ที่สาธารณะประโยชน์หรือที่ปีหรือเป็นที่ ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิ์ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินที่มีเพียงแบบเสียภาษีบำรุงท้องที่จึงเป็นการเสียงของผู้ซื้อเองควรให้เจ้าของขอออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อน

ถาม   ภ.บ.ท. คืออะไร แล้วสามารถซื้อที่ดินที่มีใบ ภ.บ.ท.ได้หรือไม่ ?
ตอบ ภ.บ.ท.เป็นเพียงแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีท้องที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท.อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดินและที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้าม ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินก็อาจเป็นได้ การซื้อขายที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท.จึงเป็นการเสี่ยงภัยของผู้ซื้อ หากท่านจะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท.ให้ยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อพิสูจน์สิทธิก่อนว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนำ ภ.บ.ท.ไปออกโฉนดที่ดิน ขอให้สอบถามที่สำนักงานที่ดินทุกแห่ง

ถาม   ใบ ภ.บ.ท. 5 นำมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ ?

ตอบ ภ.บ.ท. 5 สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบในการขอออกโฉนดที่ดินได้ หากที่ดินดังกล่าวมิได้เป็นที่สงวนหวงห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน ภ.บ.ท.เป็นเพียงแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีท้องที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท.อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดินและที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้าม ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินก็อาจเป็นได้ การซื้อขายที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท.จึงเป็นการเสี่ยงภัยของผู้ซื้อ หากท่านจะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท.ให้ยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อพิสูจน์สิทธิก่อนว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนำ ภ.บ.ท.ไปออกโฉนดที่ดิน ขอให้สอบถามที่สำนักงานที่ดินทุกแห่ง

ที่มา : กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer