คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

สมัยที่เราตัวคนเดียวการยื่นภาษีเป็นเรื่องที่มีทางเลือกเพียงหนึ่งเดียว คือ ยื่นด้วยจำนวนรายได้ที่เรามี และหักลดหย่อนตามสัดส่วนต่าง ๆ แต่เมื่อเรามีคนอีกคนกลายเป็นสามี-ภรรยา ทำให้เรามีทางเลือกที่จะจ่ายภาษีในสถานะใหม่ ทางเลือกก็คือ แยกยื่น กับ ยื่นร่วมกัน อย่างไรน่าสนใจกว่ากันลองมาดูกรณีศึกษาต่อไปนี้

กรณีแรก “คู่สมรสมีเงินได้อยู่ในฐานภาษีเดียวกัน หรือรายได้ใกล้เคียงกัน”


ในกรณีนี้แนะนำให้แยกยื่น โดยต่างฝ่ายต่างแยกยื่นเงินได้ในชื่อของตนเอง จะทำให้โดยรวมแล้วทั้งคู่จะเสียภาษีน้อยกว่าการร่วมยื่น เนื่องจากคู่สมรสจะได้รับยกเว้นภาษี 1.5 แสนบาทแรกทั้งคู่ แต่ถ้าหากคิดจะร่วมยื่นกัน จะทำให้เงินรวมรายได้สุทธิสูงมากขึ้น ก็จะไปเข้าในฐานภาษีที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสส่งผลให้เสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นนั่นเอง

Show

กรณีที่สอง “คู่สมรสทั้งสองคนมีรายได้ไม่สูง แต่มีรายการใช้เป็นค่าลดหย่อนได้มาก”


ในกรณีที่คู่สมรสทั้งสองคนมีรายได้ไม่สูง แต่มีรายการใช้เป็นค่าลดหย่อนได้มาก แนะนำให้ยื่นร่วมกัน โดยรวมเงินได้ทุกประเภทเข้าด้วยกัน ทั้งกรณีสามีเป็นผู้ยื่นแบบ หรือภรรยาเป็นผู้ยื่นแบบ

สำหรับกรณีที่สามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีรายได้ไม่สูงนัก แต่มีรายการที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้มาก ถ้าไปแยกยื่นจะทำให้เกิดเหตุการณ์ดังนี้

  • แยกยื่นแล้วรายได้สุทธิถึงเกณฑ์ไม่ต้องเสียภาษี ในกรณีนี้หลายคนอาจคิดว่าก็ดีแล้วที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ความจริงคือเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปตั้งแต่แรกแล้ว ถ้ารายได้เราไม่ถึงเราจะไม่สามารถขอคืนภาษีได้ ในขณะที่ทั้งคู่มีรายการที่ใช้หักลดหย่อนภาษีได้มาก แบบนี้ถ้าแยกยื่นอาจเสียประโยชน์ ควรร่วมยื่นนำรายได้ทั้งสองมารวมกัน และยื่นทีเดียว และนำรายการหักลดหย่อนภาษีได้ไปหักเพื่อขอภาษีในส่วนนี้คืน ไม่เสียสิทธิ์
  • แยกยื่นแล้วต้องเสียภาษีมากกว่าการยื่นร่วม ในกรณีที่รายได้ของคู่สมรสและตัวเราเองมีไม่มาก แต่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี การแยกยื่นเราจะต้องเสียภาษีมากกว่าการยื่นร่วม และรายการที่หักลดหย่อนอาจจะกระจัดกระจาย แบบนี้ควรยื่นร่วมกัน แต่ต้องพิจารณาว่ายื่นร่วมแล้วยังอยู่ในฐานภาษีเดิม และนำรายการลดหย่อนมารวมกันหักลดหย่อนได้อย่างเต็มที่จะดีกว่า

กรณีที่สาม “ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง”


ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง แนะนำยื่นรวมเฉพาะเงินได้ประเภทอื่น แต่ให้แยกยื่นเงินเดือนออกมา โดยกรณีที่คู่สามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง และอาจมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ บ้าง เช่น รายได้จากค่าเช่า รายได้จากเงินปันผลหุ้น ค่าคอมมิชชั่นจากงานเสริม ถ้าคู่สมรสมีฐานภาษีสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง แนะนำให้ฝ่ายที่มีเงินเดือนสูงยื่นแบบเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนในชื่อของตนเอง แล้วนำเงินได้ประเภทอื่นไปยื่นรวมกับคู่สมรสแทน วิธีการนี้จะช่วยให้ฐานภาษีของตนเองลดลง และทำให้โดยรวมแล้วทั้งคู่จะเสียภาษีน้อยกว่าการแยกยื่น

อย่างไรก็ตามการจะเลือกว่าควรยื่นเสียภาษีแบบใดนั้นต้องพิจารณาฐานภาษีเงินได้ของตนเอง และคู่สมรสเป็นหลัก ถ้าการแยกยื่นจะทำให้เราเสียประโยชน์การขอคืนดังกรณีข้างต้น ก็แนะนำให้ยื่นร่วมกันจะดีกว่า แต่หากการยื่นร่วมกันจะทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องจ่ายภาษีมากขึ้น แบบหลังแนะนำให้แยกยื่นจะดีที่สุด

ฐานภาษีใหม่ในปี 2560

สำหรับฐานภาษีใหม่ในปี 2560 มีดังต่อไปนี้

รายได้ อัตราภาษีที่ต้องเสีย
รายได้ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 5
รายได้เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ร้อยละ 10
รายได้เกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 750,000 บาท ร้อยละ 15
รายได้เกิน 750,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ร้อยละ 20
รายได้เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ร้อยละ 25
รายได้เกิน 2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ร้อยละ 30
รายได้เกิน 5,000,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 35

ทั้งนี้ฐานภาษีใหม่จะเริ่มใช้ภายในปี 2560 ดังนั้น เราควรวางแผนการเสียภาษี และมองหาการลงทุนเพื่อนำมาหักลดหย่อนภาษีไว้ล่วงหน้า แม้ฐานภาษีใหม่จะดูต่ำกว่าเก่า แต่จะมีการซอยระดับรายได้ของเราให้ถี่ขึ้น ถ้ารายได้เราโตเร็วก็จะต้องเสียภาษีในฐานใหม่เร็วกว่าที่เราคาดคิด ควรวางแผนแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง ถ้าวางแผนดีนอกจากจะประหยัดภาษีได้แล้ว ยังสบายใจอีกด้วยนะครับ

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

การจ่ายภาษี เป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ที่มีเกณฑ์ต้องยื่นภาษีจะต้องรวบรวมเอกสารจำเป็นให้ถูกต้องและครบถ้วน และนำไปยื่นที่กรมสรรพากร หรือจะใช้ช่องทางออนไลน์โดยการยื่นเอกสารผ่านทางเว็บไซต์หรือในแอปพลิเคชันก็แล้วแต่จะสะดวก และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิลดหย่อนภาษี ปี 2565 มีอะไรบ้าง บทความนี้ FINNOMENA ได้รวบรวมเอาสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในปี พ.ศ. 2565 มาไว้แล้ว หาคำตอบได้ที่นี่ ครบในที่เดียว!

อ่านเพิ่มเติม สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

ความสำคัญของการวางแผนลดหย่อนภาษี

การวางแผนลดหย่อนภาษี เป็นวิธีที่จะทำให้เราได้เงินภาษีคืน และประหยัดเงินในกระเป๋าของตัวเองได้มากขึ้น วิธีลดหย่อนภาษีที่เราเลือกก็ถือเป็นผลประโยชน์กับตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวม การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

ค่าลดหย่อนภาษีที่กฎหมายได้ระบุไว้ เป็นสิ่งที่รัฐเห็นว่าเป็นภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในชีวิต หรือเป็นสิทธิพิเศษที่รัฐต้องการจะสนับสนุน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมบางอย่าง โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใน ทุก ๆ ปี ดังนั้น ประชาชนผู้เสียภาษีจึงควรหมั่นติดตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขในทุกปี เพื่อที่จะได้วางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเซฟงบในกระเป๋าไปได้อีกมาก

ประเภทค่าลดหย่อนภาษี

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ประกอบด้วย

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องถามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารหลักฐานที่ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
    • กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง
    • กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
    • กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน กล่าวคือ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท (และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม) โดยบิดามารดาจะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้ ต้องมีการระบุลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการเลี้ยงดู (ลย.03) ว่าบุตรคนใดจะเป็นฝ่ายเลี้ยงดูบิดา/มารดา
  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดามารดา – บุตร – คู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน ตัวอย่างเช่น คู่สมรสไม่มีรายได้และเป็นผู้พิการ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท (ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท และค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท)

2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ประกอบด้วย

  • เงินประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 7,200 บาท (จากปกติ 9,000 บาท) เนื่องจากปี พ.ศ. 2565 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคม (จำนวนเงินประกันสังคมที่ลดหย่อนได้สูงสุดเป็นข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากมีประกาศปรับลดส่งเงินสมทบอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง)
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนค่าเบี้ยประกันของคู่สมรสได้สูงสุด 10,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชนิดต่าง ๆ และสิทธิประโยชน์ทางการลดหย่อนภาษีได้ที่ สรุป ซื้อประกันแบบไหน ได้ลดหย่อนภาษี? สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขที่ต้องรู้

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน RMF ได้ที่ “RMF” คืออะไร? ทบทวนเงื่อนไขพร้อมกองทุนแนะนำ!
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้สิทธิประโยชน์สำหรับลดหย่อนภาษี 5 ปี – สามารถอ่านเรื่องกองทุนรวม SSF เพิ่มเติมได้ที่ คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2565
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สำหรับผู้ที่ลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

*** สำหรับกลุ่มค่าลดหย่อนประกันชีวิตและการลงทุนในการวางแผนเกษียณ ได้แก่ กองทุน RMF กองทุน SSF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ***

3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ประกอบด้วย

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งมาจากมาตรา 70 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้บริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองสามารถนำจำนวนเงินบริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีหรือรายจ่ายเพื่อการบริจาคตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ที่ บริจาคอะไร ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า !

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ประกอบด้วย

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

5. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ประกอบด้วย

  • โครงการช้อปดีมีคืน 2565 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่จ่ายจริง โดยสินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP สินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) และจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี

สถานที่สำหรับการยื่นภาษี

  • ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  • ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th
  • ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรเป็นอันดับแรก จึงจะสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชันได้

กรณียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้พิการ และมีบัตรประจำตัวคนพิการว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น
  • กรณีเป็นผู้สูงอายุ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น
  • กรณีมีเครดิตภาษีเงินปันผล สำหรับคนที่ลงทุนในหุ้น สามารถใช้ยกเว้นภาษีได้ตามสัดส่วนที่ได้รับจากเงินปันผล

และทั้งหมดนี้ก็คือ รายการลดหย่อนภาษีสำหรับปี พ.ศ. 2565 ที่ทาง FINNOMENA ได้รวบรวมเอาไว้ให้ การวางแผนเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีก็เป็นการวางแผนทางการเงินอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในหมวดหมู่ของภาษี และเพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ หรือการลงทุนเพื่อผลตอบแทนในอนาคต การวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุมและเป็นระบบมากขึ้น และไม่ได้ส่งผลในเรื่องของการเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังส่งผลต่อการวางแผนชีวิตของตัวเราเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การลงทุนเพื่อวัยเกษียณ การออมเพื่ออนาคต การซื้อที่อยู่อาศัย เป็นต้น ดังนั้น หากยิ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองมากขึ้นเท่านั้น

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

FINNOMENA Admin

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ผู้เขียน

คู่สมรสมีรายได้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

FINNOMENA

FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง