ผ่าตัดส่องกล้องใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ไหม

   Lap ovarian cystectomy (ผ่าตัดถุงน้ำ , ซีสรังไข่)   ผ่าตัดส่องกล้อง
   สิทธิต้นสังกัด
   สิทธิประกันสังคม รพ.เจริญกรุงฯ
   สามารถใช้สิทธิได้

   สิทธิบัตรทอง รพ.เจริญกรุงฯ
   ต้องจ่ายส่วนเกิน
   2,000-3,000 บาท

   Lap Myomectomy (ผ่าตัดเนื้องอก)   LAVH (Lap Assisted Vaginal Hysterectomy) ผ่าตัดมดลูก   TLH (Total Lap Hysterectomy) ผ่าตัดมดลูก   NOTES Hysterectomy (ผ่าตัดมดลูกไร้แผล)   Hysteroscope (ส่องกล้องโพรงมดลูก)   Office Hysteroscope (ส่องกล้องโพรงมดลูก แบบ OPD)   Tubal reanastomosis (แก้หมัน)** ไม่สามารถใช้สิทธิได้

การหักเงินประกันสังคม สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ  อาจจะคิดว่า “ไม่จำเป็น” หรืออยากเอาเงินไปทำอย่างอื่นเองคงจะดีกว่า  แต่จริง ๆ  แล้วสิทธิประกันสังคมมี “ข้อดี” อีกมากที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึง หรือยังไม่รู้ว่าการ จ่ายเงินประกันสังคมในทุก ๆ เดือนนั้น  จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ?

ในวันนี้ . . เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน “ประกันสังคม” จะได้รับบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วยมาฝากกันค่ะ

ผ่าตัดส่องกล้องใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ไหม

ในกรณีเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้

  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ การรักษาทั้งอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาทตามระยะเวลาการผ่าตัด
  • กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม (ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลได้จาก สำนักงานประกันสังคม) สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาทต่อปี

14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ดังนี้

1. โรคหรือประสบอันตรายเนื่องจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
2. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันใน 1 ปี
3. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรังยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตนให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
8. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
9. การผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้น
- การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
10. การเปลี่ยนเพศ

11. การผสมเทียม
12. การบริการระหว่างการรักษาตัวแบบพักฟื้น
13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันขุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
14. แว่นตา

โดยเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ : ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3

A: มีอาการปวดท้องหลังจากมีประจำเดือน นอกจากนี้เมื่อคลำท้อง ยังพบว่ามีก้อนบริเวณท้องน้อยอีกด้วย จึงตัดสินใจมาพบแพทย์ค่ะ

Q: คุณหมอมีการแนะนำแนวทางในการรักษาอย่างไร ?

A: คุณหมอวินิจฉัยโดยการทำอัลตร้าซาวด์บริเวณช่องท้องด้านล่างแล้วพบเนื้องอกที่มดลูก จึงทำ CT Scan เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยพบว่ามีก้อนเนื้อขนาดใหญ่อยู่ถึงสองก้อน ขนาด 5 เซนติเมตรและ 10 เซนติเมตร คุณหมอได้สอบถามว่าต้องการที่จะมีบุตรหรือไม่ หากไม่อยากมีบุตรคุณหมอแนะนำให้ตัดมดลูก เพราะว่าก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ทั้งสองข้าง และยังมีก้อนเล็กๆ อีก คุณหมอแจ้งว่าหากไม่เข้ารับการผ่าตัด ก้อนเนื้อจะไปกดที่ลำไส้และไต มีโอกาสไตวายได้ จึงตัดสินใจรักษาด้วยการผ่าตัดเพราะมีอาการเจ็บ ปวดท้อง และรู้สึกได้ว่ามีก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้น

Q: หลังจากเข้ารับการผ่าตัด รู้สึกอย่างไรบ้าง ?

A: เลือกการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องค่ะ ใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียงแค่ 3 วัน ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์หลังเข้ารับการผ่าตัด ก็มีรู้สึกเจ็บเวลาลุกนั่งบ้าง แต่สามารถเดินได้และใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติค่ะ

Q: ความประทับใจที่มีต่อแพทย์เจ้าของไข้

A: คุณหมอวัชรพจน์ให้คำแนะนำดีค่ะ แจ้งว่าถ้าตัดแค่ก้อนเนื้อออก ก้อนเนื้อที่เหลือมีโอกาสโตขึ้นอีก ซึ่งเป็นคำแนะนำที่ดีมาก ทำให้เราเข้าใจ ตัดสินใจได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือทำให้เราเจ็บแค่รอบเดียว หลังจากเข้ารับผ่าตัดคุณหมอมีการนัด follow up เพื่อติดตามอาการตลอด