เปลี่ยนยาคุม มีอะไร กัน เลย ได้ ไหม

Home > “ยาฝังคุมกำเนิด” เรื่องควรรู้และผลข้างเคียงที่ต้องระวัง!

แพทย์หญิงกัลยรัตน์ โอภาสวานิช
สูตินรีแพทย์


การคุมกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การคุมกำเนิดแบบถาวร และการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ซึ่ง แต่ละวิธีนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละบุคคล ความต้องการในการมีบุตร ระยะเวลาในความต้องการคุมกำเนิด ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น

วิธีการคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง เลือกคุมกำเนิดแบบไหนดี?

ยาฝังคุมกำเนิด หรือ การฝังยาคุม เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยการฝังหลอดบรรจุฮอร์โมนเล็กๆ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ออกฤทธิ์นานโดยออกฤทธิ์ได้นาน 3-5 ปี ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์การตั้งครรภ์ได้ตามกำหนดเวลาที่ฝังยา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยยาฝังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงมาก โดยมีโอกาสล้มเหลวที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่เกิน 0.05-0.1%

ขั้นตอนในการฝังยาคุมนั้นไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาในการฝังประมาณ 3-10 นาที โดยฝังแท่งยาใต้ชั้นผิวหนัง บริเวณใต้ท้องแขนด้านใน ในปัจจุบันมีทั้งแบบ 1 แท่ง และ 2 แท่ง โดยควรเริ่มฝังยาภายใน 7 วันแรกของการมีรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด

กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ คือ หลังจากตัวยาอออกฤทธิ์จะไปยับยั้งการตกไข่ ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้น ส่งผลให้เชื้ออสุจิเคลื่อนผ่านเข้าไปในโพรงมดลูกได้ยากขึ้น และยังทำให้โพรงมดลูกบางไม่เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน หากต้องการยุติการคุมกำเนิดหรือเปลี่ยนไปใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น สามารถนำแท่งยาคุมออกเมื่อใดก็ได้ และสามารถมีบุตรได้เมื่อร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ โดยจะมีการตกไข่กลับมาภายใน 3 สัปดาห์

นอกจากนี้ สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ โดยไม่ต้องหยุดการคุมกำเนิดหรือถอดยาออก

ผลข้างเคียงที่อาจพบหากคุมกำเนิดด้วยวิธียาฝังคุมกำเนิด

  • มีเลือดประจำเดือนมาผิดปกติโดยเฉพาะช่วงแรก แต่ต่อมาประจำเดือนจะค่อยๆ น้อยลงและจะหายไปโดยไม่มีอีกเลยตลอดช่วงที่ฝังยา
  • บางรายอาจมีประจำเดือนมาบ่อยและมานานขึ้น (พบได้น้อยมาก)
  • ปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือนบ้างในช่วง 2-3 เดือนแรก
  • ในระยะแรกอาจมีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด
  • บริเวณที่ฝังแท่งยาอาจเกิดการอักเสบ หรือมีรอยแผลเป็นได้
  • อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า
  • มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม
  • เวียนศีรษะ
  • บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่ม
  • เกิดฝ้า สิว
  • ช่องคลอดอักเสบและแห้ง
  • อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
  • หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จะมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ

*ข้อควรระวัง เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะบางประเภท จะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง
(ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคตับที่รุนแรง และโรคหลอดเลือดดำอุดตัน)

เปลี่ยนยาคุม มีอะไร กัน เลย ได้ ไหม

เปลี่ยนยาคุมแล้วประจําเดือนมาสองครั้งต่อเดือนผิดปกติหรือไม่

หมอ มีความเป็นไปได้เพราะการเปลี่ยนยาคุมฮอร์โมนอาจไม่เท่ากัน ควรใจเย็นๆ กินยาคุมอย่างสม่ำเสมอ แล้วสังเกตในแผงที่ 2 แผงที่ 3 ประจำเดือนยังคงมา 2 ครั้งต่อเดือนหรือไม่

ข้อมูล โดย รศ.ร.อ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ ร.น.อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล

TAGS

  • กินยาคุมกำเนิด ประจำเดือนมาสองครั้ง ยาคุมกำเนิด เปลี่ยนยาคุมกำเนิด

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

คลังความรู้

เปลี่ยนยาคุม มีอะไร กัน เลย ได้ ไหม

  • 26 พฤศจิกายน 2020

เปลี่ยนความเชื่อเรื่องเพศสัมพันธ์แบบผิดๆ

ยังคงมีวัยรุ่นจำนวนมากที่ได้รับความรู้ ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ จนนำไปสู่การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม รั้วรอบครอบครัว ได้สรุปเนื้อหาจากรายการรั้วรอบครอบคร…

เปลี่ยนยาคุม มีอะไร กัน เลย ได้ ไหม

  • 28 ตุลาคม 2021

อ้วนเป็นโรค SLE กินยาคุมกำเนิด ประจำเดือนไม่มา เพราะอะไร

อ้วนเป็นโรค SLE กินยาคุมกำเนิด 5 ปี ประจำเดือนไม่มา เพราะน้ำหนักกับโรคประจําตัวใช่หรือไม่ หมอ ภาวะน้ำหนักเกินมีโอกาสทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจทำให้เกิดภาวะถุง…

บทความแนะนำ

เปลี่ยนยาคุม มีอะไร กัน เลย ได้ ไหม

ยาฝังคุมกำเนิดดีอย่างไร

  • 13 กรกฎาคม 2021
  • | คุมกำเนิด, ฝังยาคุมกำเนิด, ยาคุมฝังกำเนิด, เพศ, แนะนำ

เปลี่ยนยาคุม มีอะไร กัน เลย ได้ ไหม

หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

  • 8 กรกฎาคม 2021
  • | วัคซีน, วัคซีนโควิด19, เพศสัมพันธ์, แนะนำ, โควิด19

เปลี่ยนยาคุม มีอะไร กัน เลย ได้ ไหม

Social Link

Facebook-f Line Youtube

เปลี่ยนยาคุมกินต่อเลยได้ไหม

เปลี่ยนเป็นยาคุมชนิดเม็ดฮอร์โมนยี่ห้ออื่น หากกำลังรับประทานยาที่เป็นเม็ดฮอร์โมนของยี่ห้อเดิมอยู่ แต่มีความจำเป้นต้องเปลี่ยนเป็นยี่ห้ออื่น สามารถหยุดยาและเริ่มรับประทานเม็ดแรกของยาคุมยี่ห้อใหม่ต่อได้ในวันถัดไป โดยประจำเดือนครั้งต่อไปจะมาเมื่อกินยายี่ห้อใหม่จนหมดแผง

เปลี่ยนยาคุมจะเป็นอะไรไหม

แม้ว่าการเปลี่ยนเวลารับประทานยาจะแทบไม่มีผลกระทบต่อการคุมกำเนิดใดใด แต่หากเปลี่ยนบ่อยๆเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เลือดออกกะปริดกะปรอยหรือนำไปสู่การตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

ทำไมเปลี่ยนยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา

อาการประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่สม่ำเสมอนั้นเป็นสิ่งที่พบได้ค่อนข้างบ่อย ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่สม่ำเสมอนั้น มีหลายอย่าง เช่น ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ (ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน) พบได้ในภาวะ การใช้ยาคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง การรับประทานยาหรืออาหารบางชนิดที่อาจมีฮอร์โมนเพศหญิงผสมอยู่ ความผิด ...

กินยาคุมหมดแผงแล้วฉีดยาคุมต่อเลยได้ไหม

สวัสดีค่ะ คุณ toonamr, หากได้เริ่มทานยาคุมกำเนิดภายในไม่เกิน 5 วันนับตั้งแต่มีประจำเดือนมา และยังไม่ได้มีเพศสัมพันธ์นับตั้งแต่มีประจำเดือนมา สามารถที่จะไปรับการฉีดยาคุมกำเนิดได้ทันที และเมื่อไปฉีดยาแล้ว ก็ควรหยุดทานยาคุมกำเนิดในวันนั้น และหลังจากนั้นก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้