หลอดไฟ 12v ใช้ไฟ 24v ได้ไหม

คงจะเป็นปัญหาสำหรับใครๆหลายคนนะครับ สำหรับมือใหม่ใช้งานระบบโซล่าเซลล์ ที่แผงโซล่าเซลล์ที่นำมาใช้งานมีแรงดันไฟที่สูงกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าดีซีที่นำมาใช้มาก ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าดีซีโดยทั่วไปจะออกแบบมาให้ใช้สำหรับแรงดันไฟ 12V และ 24V หรือ 12-24V ซึ่งผู้อ่านควรศึกษาให้ดีก่อน มิฉะนั้นอาจจะเสียของฟรีๆครับ
สิ่งที่ควรจะต้องทราบก่อนหาเครื่องมือมาใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ คือ
– ประเภทของไฟที่ใช้ คุยแบบบ้านๆเข้าใจง่ายๆ AC ไฟกระสสลับ หรือ ไฟบ้าน  DC ไฟกระแสตรง หรือบางคนก็เรียกไฟแบตเตอรี่ ซึ่งชนิดไฟที่เราต้องเอามาใช้นี้จะต้องเป็นไฟดีซีนะครับ
– แรงดันไฟที่ใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้าดีซีของผู้อ่านใช้แรงดันกี่V ทราบไหมครับ ถ้าไม่าทราบลองดูที่เนมเพลทหรือคู่มือที่มีมาให้ เพราะแรงดันที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์มาควรจะมีแรงดันที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆรับและทำงานได้ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในทันทีหรือระยะยาว
– กระแสที่ใช้ของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ อันนี้ก็ต้องดูที่เนมเพลทหรือคู่มือเช่นกัน
เมื่อทราบแล้ว เราก็จะใช้เครื่องมือที่เรียก คอนเวอร์เตอร์ Converter มาต่อเข้ากับระบบโซล่าเซลล์ อาจะเป็นระบบ 48V หรือ 24V เพื่อแปลงไฟเป็น 12V (อันนี้เป็นการยกตัวอย่างเพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า 12V)
โดยการเลือก คอนเวอร์เตอร์ ที่จะนำมาใช้งาน กับเครื่องใช้ไฟฟ้า มีหลักการเลือกใช้งานดังนี้
1.ต้องเลือกแรงดันต้นให้เหมาะสมกับระบบโซล่าเซลล์ที่ใช้งาน เช่นถ้าแผงต่อระบบชาร์จเข้าแบตเตอรี่ที่ 24V(แบต12Vอนุกรมกัน) เราก็ต้องเลือก คอนเวอร์เตอร์ 24V หรือมี 24V อยู่ใน rang ของเครื่องนั้นๆ
2.ต้องเลือกแรงดันปลายทางหรือให้ตรงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าดีซี เช่นถ้าใช้ แรงดัน 12V ก็ต้องดูที่สเปกเครื่องคอนเวอร์เตอร์ที่ใช้ว่าตรงกันไหม เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย
3.การเลือก คอนเวอร์เตอร์ Converter ต้องเลือกสเปกที่มีกระแสสูงกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกันเสมอ ง่ายๆคือนำผลรวมของกระแสหรือแอมป์ A ที่ใช้ในช่วงเวลาเดียวกันนำมาคำนวณ เพือเลือกคอนเวอร์เตอร์ ที่เหมาะสม แลัวแบบไหนที่เหมาะสมล่ะ?
การเลือกคอนเวอร์เตอร์ที่เหมาะสมก็อยู่ที่ การใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ถ้าเป็นประเภทหลอดไฟ ไม่มีเกี่ยวกับมอเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่มีการกระชาก ก็ควรเผื่อกระแสการใช้งานไว้อย่างน่้อย 20%  แต่เป็นอุปกรณ์ที่มีการกระชากของไฟมากๆเช่นมอเตอร์ ก็ควรเผื่อไว้อย่างน้อย 3 เท่าของกระแสเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เพื่อให้ทั้งคอนเวอร์เตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆมีการใช้งานยาวนานมากขึ้น
อันนี้คือเบื้องต้นเพื่อให้รู้จักและวิธีเลือกใช้ คอนเวอร์เตอร์ Converter ให้เหมาะสมกับระบบหรืองานที่ใช้
คราวหน้าจะมาคุยถึงเรื่องการใช้งาน อย่าลืมติดตามกันนะครับ

ต้องการหา คอนเวอร์เตอร์ Converter เครื่องแปลงไฟจาก 24V เป็น 12V ที่ราคาไม่แพง เชื่อถือได้ ลองดูผู้สนับสนุนของเราได้ที่นี่ครับ
เลือกซื้อ คอนเวอร์เตอร์ Converter แปลงไฟ 24V เป็น 12V DC

LED Strip ภาษาช่างมักนิยมเรียกกันว่า “ไฟเส้น LED“  หรือ “ไฟริบบิ้น” เป็นหลอดไฟ LED ถูกออกแบบและจัดเรียงมาเป็นเส้น คล้ายเส้น ริบบิ้น ใช้สำหรับ เพิ่มสีสัน ปรับโทนสี สร้างมิติการมองเห็นของรูปทรง และใช้ปรับอารมณ์-บรรยากาศของพื้นที่ตกแต่ง มากกว่าใช้ให้แสงสว่างทั้งนี้ไฟเส้น LED นั้นหลักๆที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบไฟฟ้าที่เรารู้จัก คือ ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ AC และ ไฟเส้นระบบไฟฟ้ากระแสตรง DC ทั้งนี้ระบบกระแสตรง DC ยังแบ่งออกได้ตามแรงดันไฟฟ้า โดยที่นิยมผลิตออกมาคือ ระบบไฟฟ้า 12V และ 24V DCโดยบทความนี้ เราจะนำผู้อ่านไปรู้จัก ไฟเส้น LED ในแต่ละแบบ รวมไปถึง ข้อดี-ข้อเสีย และ ข้อควรระวัง และการเลือกใช้ให้เหมาะสม

ความจริงแล้วเม็ดชิป LED ทุกประเภทที่ผลิตขึ้นมาจะทำงานต่อเมื่อป้อนไฟฟ้ากระแสตรง ( DC ) แรงดันต่ำประมาณ (1.5-3V ต่อหลอด) ขึ้นอยู่กับ ชนิดและช่วงสีของหลอดทั้งนี้การจะจ่ายไฟฟ้าไฟฟ้า DC แรงดันต่ำๆ ให้แต่ละหลอดโดยตรงนั้นทำได้ยาก ทั้งในแง่ของการออกแบบและต้นทุนการผลิต ไฟเส้น LED ส่วนใหญ่จึงมีการจัดวงจรแบบ อนุกรมหลอด LED หลายๆ ดวงและใช้ ตัวต้านทาน (Resistor) ช่วยจำกัดกระแส 


ไฟเส้น LED ระบบไฟ AC 220V

ภาพวงจรอนุกรมในหลอด LED เส้น 220V AC

จากภาพด้านบน จะเห็นว่า ในวงจรภายในนั้น ก่อนเข้าวงจรหลอด LED จะต้องต่อผ่านแปลงที่มักเรียกว่า “ตัวจ่ายไฟ” ซึ่งความจริงแล้วคือ ไดโอดที่จัดวงจรไว้เรียงกระแส (rectifier) เพื่อแปลงไฟฟ้าจาก AC เป็นไฟฟ้า DC หลังจากผ่าน “ตัวจ่ายไฟ” แล้วแรงดันที่ออกมาจะเป็นไฟฟ้า DC แรงสูง ซึ่งวงจรเรียงกระแสของ ตัวจ่ายไฟ ส่วนใหญ่จะจัดวงจรในลักษณะ Bridge rectifier ทำให้แรงดันไฟฟ้า DC หลังตัวจ่ายไฟนั้นมีแรงดันปลายยอด (peak) ถึง 310V แต่เมื่อต่อโหลดแล้วอาจจะลดเหลือประมาณ 220V ซึ่งสามารถ *ดูด* และมีอัตรายถึงชีวิตได้

เนื่องด้วยแรงดันไฟฟ้า DC ที่สูงมาก จึงจำเป็นต้องมีการอนุกรมวงจรหลอด LED ภายในไฟเส้นค่อนข้างมาก ไฟเส้น LED ระบบ AC จึงมักมีช่วงตัดที่ยาวกว่า หากในวงจรหลอดใดหลอดหนึ่งขาดจะทำให้ไฟในเส้นดับไปทั้งช่วงตัด และหากตัดไฟเส้นผิดช่วง ที่กำหนดไว้ จะทำให้ช่วงนั้นไม่ติดตั้งช่วง
เนื่องจากตัวจ่ายไฟของ LED ระบบไฟฟ้า AC จะเป็นวงจรเรียงกระแสอย่างง่าย ส่วนใหญ่แล้วมักไม่มีตัวกรอง (capacitor filter) ทำให้ ไฟเส้น LED ชนิดนี้ กระพริบเมื่อใช้กล้องถ่ายวีดีโอในตอนกลางคืน หรือที่เรียกว่า flicker จริงๆแล้ว หลอด LED จะติดและดับตลอดเวลา ด้วยความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับบ้านเราจ่ายอยู่ที่ 50Hz บางครั้ง หรือบางท่าน สามารถสังเกตเห็นการกระพริบด้วยตาเปล่า จึงไม่เหมาะสำหรับงานตกแต่งที่ใช้เป็นฉากถ่ายรูปมากนัก 

ข้อดีของไฟเส้นระบบ AC 220V

  • ราคาถูก ติดตั้งง่าย ไม่ต้องมีหม้อแปลง
  • ต่อพ่วงได้ค่อนข้างไกลในระดับหนึ่ง เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าสูงมาก ทำให้ต่อสายไฟเส้นได้ไกล โดยไม่มีปัญหาหลอดปลายสายหรี่ หรือไฟตก

ข้อเสีย

  • ค่อนข้างอันตรายหากติดตั้งในพื้นที่ที่ใกล้กับการสัมผัสน้ำ เช่น สระน้ำ ป้ายไฟ ไฟตกแต่งนอกอาคาร ถึงแม้ว่าตัวเส้นส่วนใหญ่จะออกแบบมาเป็นลักษณะ สายยางกันน้ำ แต่ช่วงข้อต่อหรือท้ายสาย หากติดตั้งไม่ระมัดระวังพอ อาจะทำให้น้ำเข้าไปลัดวงจร หรือ รั่วได้ หากจำเป็นต้องติดตั้ง ควรมีเบรกเกอร์กันไฟช๊อตและกันไฟดูด (RCBO)
  • มีการกระพริบ หากถ่ายด้วยกล้องวีดีโอ ไม่เหมาะกับการนำไปจัดฉากตกแต่งถ่ายรูป
  • กำลังวัตต์ต่อเมตร ( Watt/Meter ) ค่อนข้างต่ำ ประมาณ ( 6-10 Watt/Meter ) เนื่องจากใช้แรงดันสูง ในทางเทคนิคแล้ว LED เส้นจะใช้ตัวต้านทางช่วยในการจำกัดกระแสให้วงจร ดังนั้นเมื่อเพิ่มวัตต์ให้สูงขึ้นจะ เกินข้อจำกัดเรื่องความร้อนในตัวต้านทาน

ช่วงตัดสายไฟเส้น ค่อนข้างยาว เนื่องจากแรงดันไฟสูงต้องใช้วงจร LED อนุกรมจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร อย่างไรก็ตามผู้ผลิตบางเจ้าพยามแก้ปัญหาในจุดนี้ โดยที่ขณะนี้มีรุ่นใหม่ออกมา สามารถตัดแบ่งได้สั้นลง ประมาณ 10cm (เฉพาะบางรุ่น

ไฟเส้น LED ระบบไฟ DC 12V

หลอดไฟ 12v ใช้ไฟ 24v ได้ไหม

จากภาพด้านบนจะเห็นกว่า ก่อนต่อเข้าไฟเส้นนั้นจะต้องมี หม้อแปลงสวิทชิ่ง (Switching Power Supply) เพื่อแปลงไฟฟ้าจากไฟบ้าน (AC 220V) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC 12V) ก่อนเพื่อเข้าวงจรหลอด LED โดยปรกติแล้วแต่ละวงจรย่อยของไฟเส้นจะใช้เม็ดหลอด LED (chip) ประมาณ 3 หลอดพร้อมกับตัวต้านทานเพื่อจำกัดกระแสให้หลอด LED และจะขนานวงจรนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งการใช้ไฟฟ้า DC ในการเลี้ยงวงจรหลอด จะเป็นไฟนิ่งเรียบตลอดเวลาไม่มีความถี่ช่วงติดดับของระดับไฟฟ้าเข้ามารบกวน ทำให้หลอดมีความสว่างต่อเนื่องแม้ถ่ายด้วยกล้องวีดีโอก็จะไม่มีการกระพริบ (flicker) เกิดขึ้น และวงจร LED 12V นั้นใช้หลอดอนุกรมกันน้อยดวงทำให้ระยะตัดนั้นสั้นกว่าแบบอื่นๆมาก สามารถตัดแต่งเหมาะกับงานตกแต่งภายในที่ต้องการระยะตัดสั้นๆ และต่อพ่วงไม่ยาวมาก เนื่องจากด้วยข้อจำกัดทางไฟฟ้า ที่แรงดันไฟฟ้าต่ำ เมื่อต่อยาวๆ จะทำให้ไฟปลายสายหรี่ และแสงหลอดดรอปลงเรื่อยๆ

ข้อดีของไฟเส้นระบบ DC 12V

  • ระยะตัดสั้น ( ประมาณ 5-7cm ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงานที่ผลิต ) เหมาะกับงานตกแต่งที่ต้องตัดถี่ๆ
  • ไม่มีการกระพริบของหลอด เมื่อถ่ายด้วยกล้องวีดีโอ (flicker free)
  • แรงดันต่ำ ไฟไม่ดูด (หากไม่มีการรั่วจากหม้อแปลง ควรใช้หม้อแปลงที่มีมาตรฐาน)
  • ได้กำลังวัตต่อเมตร (Watt/Meter) สูง เหมาะกับงานที่ต้องการความสว่างมาก

ข้อเสีย

  • ต้องใช้หม้อแปลง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น 
  • มักพบปัญหา หม้อแปลงเสียบ่อย กรณีใช้หม้อแปลงคุณภาพต่ำ
  • หม้อแปลงคุณภาพต่ำ อาจจะมีสร้างสัญญาณ harmonic ออกมารบกวน สร้างผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆได้ กรณีใช้งานในห้างใหญ่ จึงจำเป็นต้องใช้หม้อแปลงที่ผ่านมาตรฐานเท่านนั้น
  • ต่อพ่วงกันยาวๆ ไม่ได้ ปลายสายแรงดันจะตก ทำให้หลอดไฟหรี่ลงเรื่อยๆ ไม่เหมาะกับงานต่อพ่วงยาว (เกิน 5 เมตร)


ไฟเส้น LED ระบบไฟ DC 24V


หลอดไฟ 12v ใช้ไฟ 24v ได้ไหม

จากภาพด้านบนจะเห็นกว่า วงจรคล้ายกับไฟเส้น 12V เพียงแค่เพิ่มจำนวนหลอดต่อวงจรย่อย และขนานกันไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงส่งผลให้ระยะตัดยาวขึ้น (ประมาณ 2 เท่าของไฟเส้น 12V) แต่เนื่องด้วยแรงดันไฟฟ้าที่สูงกกว่าเท่าตัวทำให้ไฟเส้นระบบ 24V DC สามารถต่อพ่วงได้ไกลกว่า และเนื่องจากเป็นไฟฟ้าระบบ DC ต้องใช้หม้อแปลง และยังคงไม่มีการกระพริบของหลอด

ข้อดีของไฟเส้นระบบ DC 24V

  • ระยะตัดสั้น แต่ยังยาวกกว่าระบบ 12V ( ประมาณ 10-15cm ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงานที่ผลิต ) 
  • ไม่มีการกระพริบของหลอด เมื่อถ่ายด้วยกล้องวีดีโอ (flicker free)

  • แรงดันต่ำ ไฟไม่ดูด (หากไม่มีการรั่วจากหม้อแปลง ควรใช้หม้อแปลงที่มีมาตรฐาน)

  • ประสิทธิ์ภาพสูงกว่าระบบ 12V (ที่ความสว่างเท่ากัน จะประหยัดไฟกว่า)

  • ได้กำลังวัตต่อเมตร (Watt/Meter) สูง เหมาะกับงานที่ต้องการความสว่างมาก


ข้อเสีย

  • ต้องใช้หม้อแปลง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
  • มักพบปัญหา หม้อแปลงเสียบ่อย กรณีใช้หม้อแปลงคุณภาพต่ำ และสัญญาณ harmonic
  • ระยะตัดยาวกว่าระบบ 12V เหมาะกับงานตกแต่งระดับกลาง
  • มีให้แบบเลือกในตลาดน้อยกว่า ระบบ 12V

ภาพตัวอย่างจุดตัดของไฟเส้น LED ระบบ 12V

หลอดไฟ 12v ใช้ไฟ 24v ได้ไหม

คำถามที่พบบ่อยและข้อควรระวัง

Q: ไฟเส้น LED ระบบ DC สามารถต่อเข้ากับ AC ได้หรือไม่

 A: ไม่ได้ จำทำให้หลอดไฟเส้น ขาดทันที และอาจะเกิดการลัดวงจรหรือความเสียหายอื่นเกิดขึ้น จึงควรตรวจสอบแรงดันไฟของ ไฟเส้นก่อนต่อใช้งาน

Q: ไฟเส้น LED ระบบ DC 12V สามารถต่อเข้ากับ หม้อแปลง 24V ได้หรือไม่

A: ไม่ได้จะทำให้ไฟเส้นขาด-ชำรุด-เสียหาย ทันที ไฟเส้นต้องตรงกับแรงดันของหม้อแปลงเท่านั้น ส่วนไฟเส้น 24V หากต่อเข้ากับไฟเส้น 12V จะไม่ติด หรือติดแบบหรี่อ่อนมากๆ

Q: ไฟเส้นระบบ AC 220V สามารถต่อตรงกับไฟบ้านได้โดยตรงหรือไม่

A: ไม่ได้ เนื่องจากหลอด LED จริงแล้วทำงานด้วย ไฟฟ้า DC จำเป็นที่จะต้องต่อตัวจ่ายไฟ ก่อนเพื่อใช้งาน

Q: ไฟเส้นระบบ AC ไม่มีขั้ว ต่อทางไหนก็ได้ใช่หรือไม่

A: ไม่ใช่ เมื่อผ่านตัวจ่ายแล้วจะมีการแปลงให้เป็นไฟระบบ DC แรงดันสูงอย่างง่าย ไม่ควรต่อกลับด้าน ส่วนใหญ่ต่อกลับด้านได้ แต่หลอดไม่ติด และส่วใหญ่ไม่เสียหาย ** ยกเว้น บางรุ่นเช่น กลุ่ม RGB ระบบ AC อาจสร้างความเสียหายได้ จึงไม่ควรต่อกลับขั้วดีที่สุด และศึกษาคู่มือก่อนใช้งาน