พุทธศาสนสุภาษิต จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ สอดคล้องกับข้อใด

พุทธศาสนสุภาษิต จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ สอดคล้องกับข้อใด
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต

๑๑๗ . จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.
ม . มู. ๑๒/ ๖๔.

๑๑๘ . จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้.
ม . มู. ๑๒/ ๖๔.

๑๑๙ . จิตฺเตน นียติ โลโก.
โลกอันจิตย่อมนำไป .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๔.

๑๒๐ . จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ.
การฝึกจิตเป็นความดี .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๙.

๑๒๑. จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๙.

๑๒๒ . จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๙.

๑๒๓ . วิหญฺ ตี จิตฺตวสานุวตฺตี.
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมลำบาก.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๙๐.

๑๒๔ . จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ.
คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง .
ที . มหา. ๑๐/ ๒๘๘.

๑๒๕ . สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ
พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน .
นัย - องฺ. ทสก. ๒๔/ ๑๐๐.

๑๒๖ . เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข.
พึงรักษาจิตของตน . เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๑.

๑๒๗ . สจิตฺตมนุรกฺขถ.
จงตามรักษาจิตของตน.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๘.

๑๒๘ . จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี.
ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๙.

๑๒๙ . ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๐.

พุทธศาสนสุภาษิต จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ สอดคล้องกับข้อใด

อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ.
เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

อปฺปมาณํ หิตํ จิตฺตํ ปริปุณฺณํ สุภาวิตํ
ยํ ปมาณํ กตํ กมฺมํ น ตํ ตตฺราวสิสฺสติ.
จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว เป็นจิตหาประมาณมิได้,
กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น.
( อรกโพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๕๙.

อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา
กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ.
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์,
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว.
( สารีปุตฺต) ขุ. ปฏฺ. ๓๑/ ๒๕๐.

อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา
กาโยปิ อนิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อนิญฺชิตํ.
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว,
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว.
( สารีปุตฺต) ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๕๐.

ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร.

โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน,
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำเขาให้เสียหายยิ่งกว่านั้น.
( พุทฺธํ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.
ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง
มีถ้ำ( คือกาย) เป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผู้ของมารได้.
ให้ตรงได้ เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙, ๒๐.

ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺเญ วาปิจ  าตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.
มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้,
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

 ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ.
คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
ให้ตรงได้ เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฺฐี สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ.
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด ,
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๖.

โย จ สทฺทปฺปริตฺตาสี วเน วาตมิโต ยถา
ลหุจิตฺโตติ ตํ อาหุ นาสฺส สมฺปชฺชเต วตํ.
ผู้ใด มักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า,
ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา, พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ.
( อญฺญตฺรภิกฺขุ) สํ. ส. ๑๕/ ๒๙๖.

 วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺกโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว.
จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร
ย่อมดิ้นรน เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

สญฺญาย วิปรีเยสา จิตฺตนฺเต ปริฑยฺหติ
นิมิตฺตํ ปริวชฺเชหิ สุภํ ราคูปสญฺหิตํ.
จิตของท่านย่อมเดือดร้อน เพราะเข้าใจผิด,
ท่านจงเว้นเครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก.
( อานนฺท) สํ. ส. ๑๕/ ๒๗๗.

เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ
เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา.
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด,
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๕.

พุทธศาสนสุภาษิต จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ สอดคล้องกับข้อใด

อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว
มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา.
บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้
ไม่พึงยับยั้งอยู่.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู.
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป,
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๔.

ตณฺหาธิปนฺนา วตฺตสีลพทฺธา ลูขํ ตปํ วสฺสสตํ จรนฺตา
จิตฺตญฺจ เนสํ น สมฺมา วิมุตฺตํ หีนตฺตรูปา น ปารงฺคมา เต.
ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะ
อันเศร้าหมองตั้งร้อยปี, จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้.
เขามีตนเลว จะถึงฝั่งไม่ได้.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๔๐

 ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่
เป็นความดี, ( เพราะว่า ) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี.
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา.
( นทีเทวตา ) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/ ๑๒๐.

ภิกฺขุ สิยา ฌายิ วิมุตฺตจิตฺโต อากงฺเข เว หทยสฺสานุปตฺตึ
โลกสฺส  ตฺวา อุทยพฺพยญฺจ สุเจตโส อนิสฺสิโต ตทานิสํโส.
ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่ง
โลกแล้ว มีใจดี ไม่ถูกกิเลสอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์
พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้.
( เทวปุตฺต ) สํ. ส. ๑๔/ ๗๓.

 โย อลีเนน จิตฺเตน อลีนมนโส นโร
ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา
ปาปุเณ อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ.
คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๑๘.

สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก
ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่,
( เพราะว่า ) จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.