มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จัดเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย ซึ่งต่างก็พึ่งพาอาศัยเกื้อหนุน ค้ำจุน ให้สังคมไทยอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน การที่สถาบันศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของสังคมไทยนั้นเพราะพระพุทธ ศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยนับถือมานานแล้ว แม้องค์พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงนับถือพระพุทธศาสนามาทุกพระองค์

นอกจากพระพุทธศาสนาจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทยแล้ว ยังจัดได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทยอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก

1. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้เชื่อมั่นในเหตุและผล ซึ่งความเชื่อดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาที่มีลักษณะ 3 ประการ

1) เชื่อมั่นในความดีงามของมนุษย์

2) เชื่อมั่นในกฎแห่งการกระทำและผลของการกระทำ

3) เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น

2. พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกอบรมตนเอง การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพ ลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้คนได้รู้จักพัฒนาตนเอง ซึ่งถ้าทุกคนสามารถพัฒนาตนได้แล้วก็จะนำไปสู่การพัฒนาชาติไทยได้

3. แนวคิดของพระพุทธศาสนาเป็นการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง วิธีการคิดดังกล่าวเป็นแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาทั้งในตัวบุคคลและในระดับ ชาติ

ศิลปหัตถกรรมไทย ของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต ถือเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตในสังคมระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศชาติ แสดงถึงเอกลักษณ์ บ่งชี้ถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการประดิษฐ์ไว้เป็นมรดกของลูกหลานรุ่นต่อไป

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่มารูป  http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

วรรณกรรมไทย ชาวไทยมีสุนทรียะอยู่ในความคิด มีความสร้างสรรค์อยู่ในสายเลือด เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน วรรณกรรมไทยโบราณ จึงเป็นงานประเภทร้อยกรอง ที่แปรออกเป็นฉันทลักษณ์หลายหลากรูปแบบ ในสมัยอยุธยาวรรณกรรมไทยเจริญสูงสุด สมัยพระนารายณ์มหาราช ถือเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่มารูป  http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

ปฎิมากรรมไทย ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นด้วยความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูปปางต่างๆ หรือตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ของโบสถ์วิหาร

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่มารุป  http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

ผ้าไทย บรรพบุรุษของไทยในอดีต มีความชำนาญในการทอผ้า และสร้างลวดลายบนผืนผ้า ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของชาติขึ้น ลักษณ์ของผ้าไทยจัดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด เนื่องจากลวดลายและเอกลักษณ์ จะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่มารูป  http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

จิตรกรรมไทย เป็นลักษณะภาพ 2 มิติ คือ จัดภาพที่อยู่ใกล้ไว้ตอนล่าง สิ่งที่อยู่ไกลไว้ตอนบน เห็นได้จาก ฝาฝนังตามวัดต่างๆ ภาพเขียน สมุดข่อย เป็นต้น

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่มารูป  http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

มารยาทไทย คนไทยได้รับการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ สืบทอดต่อกันมาในเรื่องธรรมเนียมประเพณี ที่เกี่ยวกับการปฎิบัติระหว่างบุคคล ต่อบุคคลที่สังคมยอมรับ เช่น การทักทายด้วยการกราบไหว้ กริยามารยาทที่เรียบร้อยอ่อนน้อมแบบไทย

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ทีมารูป  http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

ประเพณีไทย กิจกรรมที่คนไทยถือปฎิบัติตามความเชื่อ ถือศรัทธาในศาสนา กฎ ระเบียบ จารีตประเพณีที่ปฎิบัติสืบทอดกันมา หลายชั่วอายุคน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง พิธีมงคลสมรส เป็นต้น

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่มารูป  http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

ภาษาไทย ภาษาเป็นสิ่งแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของคนในชาติ ชาติไทยเรามีภาษาเป็นของตนเองทั้ง ภาษาพูด และภาษาเขียน พ่อขุนรามคำแหง ทรงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษร และตัวเลขไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.1826 ทำให้คนไทยมีภาษาเขียน เป็นภาษาประจำชาติ

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่มารูป  http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

งานประดิษฐ์ดอกไม้สด บรรพบุรุษไทยได้คิดนำกลีบดอกไม้ ใบไม้ ประเภทต่างๆ มาจับ พับ เย็บ ร้อย หรือกรองประดิษฐ์เป็นลักษณะต่างๆ ให้ได้รูปแบบใหม่ที่แปลกไปจากเดิม และงดงามมาก งานประดิษฐ์ดอกไม้ถือเป็นการฝึกสมาธิ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เห็นจิตใจที่งดงาม และละเอียดอ่อนของคนไทย

มรดกทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่มารูป   http://www.baanjomyut.com/library/thai_culture/

อาหารไทย อาหารไทยมีมากมายหลายชนิด แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น และมีอาหารขึ้นชื่อของภาคต่างๆ ส่วนประเภทของหวานมีการประดิษฐ์มากมาย ซึ่งจัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

1) มรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับจากพระพุทธศาสนา

- มรดกทางด้านรูปธรรม เช่น ศาสนสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม

- มรดกทางด้านจิตใจ เช่น หลักธรรมคำสั่งสอน ความเชื่อ และคุณธรรมต่างๆ

2) การนำพระพุทธศาสนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชาติไทย

- พัฒนาด้านกายภาพ และสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวนา 4 (กาย ศีล จิต ปัญญา) ไตรสิกขา (ศิล สมาธิ ปัญญา)

และอริยสัจ 4

- พัฒนาด้านจิตใจ เช่น หลักโอวาท 3 (ละความชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และการบริหารจิตและเจริญปัญญา)

พระพิมพ์ดินเผา  พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง  เป็นแบบเดียวกับพระพิมพ์ดินเผาที่พบในเมืองนครจัมปาศรี เมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และยังเหมือนกับพระพิมพ์ดินเผาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาคใต้ พระพิมพ์บางองค์มีจารึกอยู่ด้านหลัง

มรดกทางวัฒนธรรมจากพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

ในสังคมไทย ในด้านรูปธรรมหลาย ๆ อย่าง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สิ่งก่อสร้าง ทางพระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรม ประติมากรรมต่าง ๆ ล้วนเป็นมรดกที่ได้รับ มาจากพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดความ ประทับใจแก่ผู้พบเห็น และเป็นเอกลักษณ์ไทย ที่ได้ถ่ายทอดความเชื่อและความศรัทธาต่อ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

มรดกทางวัฒนธรรมมีด้านใดบ้าง

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้แบ่ง มรดกทางวัฒนธรรมออกเป็นสองประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้หรือ (Tangible Cultural Heritage) และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือ (Intangible Cultural Heritage) โดยมีสาระส าคัญดังนี้