พระพุทธ ศาสนา สอนให้คนไทยมี เมตตา ตรง กับ วัฒนธรรม ใด

พอรวมที่พระพุทธเจ้าก็ยึดเอาพระธรรมวินัยของพระองค์เป็นหลัก เมื่อเราอยู่กับพระธรรมวินัย พระธรรม พระสงฆ์ ก็มาด้วยทั้งหมด ครบพระรัตนตรัยก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
บทแถมท้าย

บาทหลวงฝรั่งเข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช
ทำไมจึงว่าเมืองไทยใจเสรี ไม่มีที่ไหนเทียมเท่า

            บาทหลวง ฌอง เดอบูร์ ชาวฝรั่งเศสมาเมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เห็นอัธยาศัยไมตรีของคนไทย ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชน ที่แสดงออกต่อพวกตนที่เป็นคนต่างชาติ ต่างศาสนาแล้วจึงได้เขียนจดหมายเหตุไว้ว่า
            "ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะมีประเทศใดในโลกที่มีศาสนา อยู่มากมาย และแต่ละศาสนาสามารถปฏิบัติพิธีกรรมของตน ได้อย่างเสรีเท่ากับประเทศสยาม"
            คำพูดอย่างนี้จะเกิดขึ้นมาได้ต้องอาศัยการกระทบประสบการณ์ใหม่ ที่แปลกแตกต่างจากความรู้สึกนึกคิดของเขามาก และทำให้เกิดความประทับใจ ในทางตรงข้ามอย่างแรง ประสบการณ์ที่แตกต่างที่ทำให้แปลกประหลาด ประทับใจนั้นเกิดขึ้นจากสภาพการนับถือศาสนาในประเทศแถบยุโรป ที่เป็นดินแดนของบาทหลวง ฌอง เดอบูร์ เองในสมัยนั้น
            ชาวยุโรปเคยมีสงครามระดับทวีป ด้วยสงครามศาสนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๐๐ - ๒๒๓๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส สงคราม ๓๐ ปี เป็นสงครามศาสนา แสดงให้เห็นว่า ประเพณีการนับถือศาสนาของชาวตะวันตก เป็นเรื่องของความเชื่อหรือศรัทธาแบบผูกขาด ประกอบด้วย
ความรุนแรงที่ไม่อาจยอมรับซึ่งกันและกัน แต่จะต้องกำจัดกวาดล้างความคิดความเชื่อถืออย่างอื่นไปให้หมด
            หลังจาก มาร์ติน ลูเธอร์ ทำการประท้วง ซึ่งเป็นการละเมิดต่ออำนาจของสันตะปาปา ทำให้เกิดคริสตศาสนาที่เป็นนิกายใหม่ แยกออกไปจากโรมันคาทอลิก เรียกว่านิกายโปรเตสแตนต์ ในประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๐ แล้วนิกายโปรเตสแตนต์ แผ่ขยายออกไป เกิดการขัดแย้งรบราฆ่าฟันกันระหว่างชาวคริสต์ ๒ นิกายนี้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงห้ามมิให้มีการถือปฏิบัติลัทธิศาสนาอื่นใด นอกจากศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๕๘ พระองค์ได้ทรงประกาศว่า พระองค์ได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ จบสิ้นการดำเนินการทุกอย่างหมดไปแล้วจากประเทศฝรั่งเศส
            บันทึกของพ่อค้าฝรั่งเศสเกี่ยวกับการที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จะชวนสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้หันไปเป็นคาทอลิก ที่เขาพูดว่า
            "ถ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ทรงชักชวนแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ก็คงหันเข้าหา ศาสนาโรมันคาทอลิกเป็นแน่..... จะเป็นพระเกียรติยศแก่พระเจ้าหลุยส์สักเพียงไร เพราะในเวลาที่พระองค์ได้ทรงจัดการ ศาสนาในราชอาณาของพระองค์ ยังได้ทรงจัดการทำลายศาสนาอันไม่ดีในแผ่นดินฝ่ายตะวันออก ซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่เจริญที่สุดอยู่แล้ว"
ในอดีตเป็นที่รู้จักกันมาชาวตะวันตกเผยแพร่ศาสนาผนวกกับการล่าเมืองขึ้น
            ตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฝรั่งเศสได้เรียกร้องมากขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๒๘ สยามกับฝรั่งเศสได้ร่างสนธิสัญญา ซึ่งนอกจากให้อภิสิทธิ์ทางการค้ามากมายแก่ฝรั่งเศสแล้ว ก็ยอมให้ฝรั่งเศสเข้ามาตั้งกองพันที่เมืองสงขลาด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ก็ได้ส่งเรือรบ ๖ ลำ พร้อมทหาร ๖๐๐ คน เข้ามาบีบให้สยามยอมรับเงื่อนไขของพระองค์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจำพระทัยยอม ให้กองทหารฝรั่งเศสเข้ามาตั้งประจำเมืองบางกอก ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ครั้งนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตในปี พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชาได้ขับไล่กองทัพ และพ่อค้าฝรั่งเศสออกจากประเทศสยามทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยเหมือนปิดประเทศ ไม่มีความสัมพันธ์กับชาวตะวันตกเป็นเวลานาน
ความเป็นมาเรื่องการกำจัดเบียดเบียนกันทางศาสนาในประเทศตะวันตก
            เป็นช่วงเวลาคร่าว ๆ และเหตุการณ์สำคัญบางอย่างได้ดังนี้
                -  จักรวรรดิ์โรมัน กำจัดกวาดล้างศาสนาคริสต์ พ.ศ. ๖๐๗ - ๘๕๖ (ค.ศ. ๖๔ - ๓๑๓)
                -  ศาสนจักรคริสต์ กำจัดกวาดล้างคนนอกรีตนอกศาสนา พ.ศ. ๙๒๔-๒๓๗๗ (ค.ศ. ๓๙๑ - ๑๘๓๔)
                -  สงครามครูเสด ระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๑๖๓๙ - ๑๘๑๓ (ค.ศ. ๑๐๙๖ - ๑๒๗๐)
                -  ศาลไต่สวนศรัทธา พ.ศ. ๑๗๗๔ - ๒๓๗๗ (ค.ศ. ๑๒๓๑ - ๑๘๓๔)
                -  การกำจัดกวาดล้างระหว่างนิกายคริสตศาสนาในอังกฤษ พ.ศ. ๒๐๙๗ - ๒๒๓๒ (ค.ศ. ๑๕๖๒ - ๑๗๘๙)
                -  สงคราม ๓๐ ปี ระหว่างประเทศที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก กับประเทศที่นับถือนิกายโปเตสแตนต์ พ.ศ. ๒๑๖๑ - ๒๑๙๑ (ค.ศ. ๑๖๑๘ - ๑๖๔๘)
            เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อประโยชน์ทางปัญญา คือให้เกิดความรู้ความเข้าใจ จะได้ปฏิบัติต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง วางตัว วางใจ วางท่าทีในการปฏิบัติได้พอดี
            เรื่องเหล่านี้ชาวตะวันตกก็พยายามให้คนของเขาเรียนรู้เพื่อเข้าใจภูมิหลังแห่งประเทศของตน หรือรู้จักตนเอง รู้ที่ไปที่มา และเหตุปัจจัยของความเจริญความเสื่อม แบบแผนวัฒนธรรมสถาบันของตน จะได้ไม่หลงตัวเอง และสามารถจับจุดที่จะก้าวเดินต่อไปได้ถูกต้อง
            สรุปว่ากฎหมายคณะสงฆ์โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จะต้องเป็นฐานรองรับให้พระธรรมวินัย ปรากฏโดดเด่นขึ้น มาเป็นหลักของพระพุทธศาสนา และเป็นเครื่องกำกับให้พระภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาแล้วได้เจริญงอกงามในศีล สมาธิ ปัญญา ตามหลักไตรสิกขาทำวัดให้เป็นแหล่งเผยแผ่ธรรม ขยายปัญญาสู่ประชาชน สามารถสั่งสอนธรรมนำประชาชนให้พัฒนาชีวิต และสังคมประเทศชาติสู่ความเจริญมั่นคง และประโยชน์สุขที่แท้จริงยั่งยืน...................................................... หมายเหตุ   เก็บความจากหนังสือเรื่อง ภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

| หน้าแรก | ชาติไทย | ศาสนา | พระมหากษัตริย์ | หน้าต่อไป | ย้อนกลับ | บน |

พระพุทธ ศาสนา สอนให้คนไทยมี เมตตา ตรง กับ วัฒนธรรม ใด

คนไทยมีเมตตาตรงกับวัฒนธรรมใด

พระพุทธศาสนาสอนให้เรามีความเมตตา สิ่งนี้ คือ สอนให้เรามีความรักต่อชีวิตมนุษย์ และสัตว์ทั้งปวงสอนให้เราไม่มีการเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นทั้งมนุษย์ และสัตว์ ความเมตตาจึงเป็นหลักธรรมอันหนึ่งของชีวิตคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ เน้นให้เราเกิดความรักระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทำให้สันติสุขบังเกิดขึ้นด้วย

ความเมตตาตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีความหมายตรงกับข้อใด

เมตตา เป็นหลักธรรมที่สำคัญทางพระพุทธศาสนากล่าวคือ ในระดับพื้นฐาน เมตตาเป็นหลักธรรม ในอันที่จะให้คนทั้งหลายเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันไม่ทำลาย ไม่เบียดเบียนกัน ยังคนทั้งหลายให้อยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุขและสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นแก่ชาวโลก ในระดับกลาง เมตตาเป็นคุณธรรมที่ช่วยพัฒนาจิตให้ สะอาดบริสุทธิ์ ลดกิเลส ลดปัญหา ขจัดความ ...

พระพุทธศาสนาส่งเสริมให้คนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร

เมื่อพิจารณาในแง่มุมของพระพุทธศาสนาในฐานะสถาบันหลักหนึ่งในสังคมไทย ที่ได้เข้ามามีบทบาท ต่อการพัฒนาสังคมไทย ก็จะพบว่า ในอดีตพระพุทธศาสนาประสบความส าเร็จในการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับ สังคมไทย จนคนไทยมีลักษณะนิสัยที่เด่นชัด คือ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบสนุกและชอบท าบุญ ซึ่งนับเป็น ความวิเศษอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ...

วัฒนธรรมด้านประเพณีใดเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

๑๙ - พิธีกรรมวันมาฆบูชา ๑๙ - พิธีกรรมวันวิสาขบูชา ๒๑ - พิธีกรรมวันอัฏฐมีบูชา ๒๙ - พิธีกรรมวันอาสาฬหบูชา ๓๐ - พิธีกรรมวันพระหรือวันธรรมสวนะ ๓๔ - พิธีกรรมวันเข้าพรรษา ๔๑ - พิธีกรรมวันออกพรรษา ๔๔ - ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน ๔๘ - ประเพณีตักบาตรเทโว ๔๙ - ประเพณีสลากภัต ๕๐ - ประเพณีทอดกฐิน ๕๑ - ประเพณีทอดผ้าป่า ๕๖ - ประเพณี ...