จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป

6.1.1 วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

        สินค้าคงเหลือในที่นี้  หมายถึง  สินค้าคงเหลือของกิจการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อสินค้ามาเพื่อขายหรือธุรกิจที่ซื้อมาขายไป หากธุรกิจประสบปัญหาสินค้าคงเหลือมากในปีใดก็ตาม จะไปมีผลกระทบต่อการคำนวณต้นทุนขายและกำไรสุทธิของกิจการด้วย  ถ้าการตีราคาสินค้าคงเหลือผิดพลาดรายงานทางการเงินก็จะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงทั้งหมด  สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว กิจการต้องวางระบบควบคุมดูแล  ป้องกันการทุจริต  การสูญหายทั้งจากบุคคลภายในและลูกค้าภายนอก ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าให้เหมาะสมกับลักษณะและประเภทของสินค้าสำหรับวิธีการทางบัญชีที่นิยมกันโดยทั่วไปมี 2 วิธีคือ

                    1. วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory System) วิธีนี้นิยมใช้กับกิจการที่ทำการซื้อขายสินค้าที่มีจำนวนมากและมีราคาหรือมูลค่าไม่สูงนักเพราะการบันทึกบัญชีแบบนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อมีการซื้อขายในระหว่างงวด แต่จะให้ความสำคัญกับการตรวจนับสินค้าคงเหลือในวันสิ้นงวดเท่านั้น กิจการที่นิยมบันทึกบัญชีแบบนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายเสื้อผ้า

                     2.  วิธีการบันทึกบัญชีแบบตรวจนับสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Systemวิธีนี้จะมีการบันทึกบัญชีทุกครั้งที่ทำการซื้อและขายสินค้า โดยจะมีทะเบียนคุมสินค้าทุกประเภทที่จำหน่าย  ทำให้สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าจากบัญชีเหล่านั้น กิจการที่นิยมใช้การบันทึกบัญชีแบบนี้เป็นกิจการที่มีสินค้าจำหน่ายไม่ และสินค้าที่ต้นทุนต่อหน่วยราคาค่องข้างสูง มีความจำเป็นต้องควบคุมและตรวจสอบอย่างละเอียด เช่น กิจการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร รถยนต์ เป็นต้น

                     ในวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2 จะอธิบายโดยใช้หลักการบันทึกบัญชีตามระบบ  Periodic Inventory System  ฉะนั้นสินค้าในวันสิ้นงวดต้องทำการตรวจนับสินค้าคงเหลือและตีราคาสินค้า ซึ่งจะนำไปคำนวณต้นทุนขายและกำไรขาดทุนประจำงวด การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนเป็นวิธีที่นิยมเนื่องจากมีหลักฐานในการซื้อขายอย่างชัดเจน การตีราคาด้วยราคาทุน มีหลายวิธีดังนี้

1.     วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน (First in, First out Method=FIFO)

2.     วิธีถัวเฉลี่ยต่อหน่วย (Simple Average Method)

3.     วิธีถัวเฉลี่ยของราคาทั้งสิ้น (Weighted Average Method) หรือถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

4.    วิธีที่ซื้อจริง (Specific Identification)  หรือวิธีเจาะจง

ตัวอย่างที่ 2

 ร้านเจาะใจมีรายการสินค้าระหว่างงวดดังนี้

สินค้าต้นปียกมา                         350       หน่วย    ราคาหน่วยละ           25       บาท

ซื้อสินค้าครั้งที่ 1 จำนวน             300      หน่วย     ราคาหน่วยละ           27       บาท

ซื้อสินค้าครั้งที่ 2 จำนวน             200      หน่วย     ราคาหน่วยละ           24       บาท

ซื้อสินค้าครั้งที่ 3 จำนวน             400      หน่วย     ราคาหน่วยละ           26       บาท

สิ้นปีสินค้าคงเหลือ                      480      หน่วย

1. วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First in, First out = FIFO)  แนวคิดวิธีนี้คือ การขายสินค้าจะขายสินค้าที่ซื้อมาก่อนไปก่อน  โดยเฉพาะสินค้าตามสมัยนิยม ถ้าเก็บไว้นานเกินไปสินค้าจะล้าสมัยหรือเสื่อมสภาพ ดังนั้นสินค้าคงเหลือจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาในครั้งหลัง  ตามตัวอย่างสินค้าคงเหลือ 480 หน่วย จะตีราคาดังนี้

สินค้าที่ซื้อครั้งที่ 3 จำนวน  400 หน่วย      @26 บาท เป็นเงิน 10,400 บาท

สินค้าที่ซื้อครั้งที่ 2 จำนวน     

80

หน่วย      @24 บาท เป็นเงิน    

1,920

บาท

รวมสินค้าคงเหลือ จำนวน   

480 

หน่วย                         เป็นเงิน

12,320

บาท

สินค้าคงเหลือปลายปี          480 หน่วย                         เป็นเงิน 12,320 บาท

2. วิธีถัวเฉลี่ยหน่วยหรือถัวเฉลี่ยอย่างง่าย(Simple Average Methodแนวคิดวิธีนี้ถือว่าสินค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันกันควรมีมูลค่าหรือราคาเท่ากัน  ดังนั้นต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าจึงควรมีราคาเท่ากันด้วย  วิธีการคำนวณจะนำราคาสินค้าต่อหน่วยทั้งหมดนั้นมาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวนครั้งทั้งหมดที่ซื้อมาจะได้ราคาถัวเฉลี่ยต่อหน่วยของสินค้าคงเหลือ  ดังนี้

ราคาถัวเฉลี่ยต่อหน่วย      =  25+27+24+26     =  25.50 บาท

                                                           4

สินค้าคงเหลือปลายปี   480 หน่วย = 480 X 25.50 = 12,240 บาท

3.  วิธีถัวเฉลี่ยของราคาทั้งสิ้นหรือถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก(Weighted  Average  Method)  แนวคิดวิธีนี้จะลดปัญหาความบกพร่องของวิธีถัวเฉลี่ยต่อหน่วยเนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงปริมาณของสินค้าคงเหลือ  จึงนำราคาและปริมาณของสินค้าคงเหลือทั้งหมดมาคูณกันก่อนแล้วนำมาบวกกัน และหารด้วยจำนวนหน่วยทั้งหมดที่ซื้อจะได้ราคาถัวเฉลี่ยของราคาทั้งสิ้น  ดังนี้

สินค้าต้นปีมีจำนวน              350   หน่วย  @25 บาท   เป็นเงิน     8,750   บาท        

ซื้อสินค้าครั้งที่ 1   จำนวน    300   หน่วย  @27 บาท   เป็นเงิน     8,100   บาท        

ซื้อสินค้าครั้งที่ 2   จำนวน    200   หน่วย  @24 บาท   เป็นเงิน    4,800   บาท

ซื้อสินค้าครั้งที่ 3   จำนวน    

400

   หน่วย  @26 บาท   เป็นเงิน   

10,400

 บาท

รวมสินค้า                            

1,250

  หน่วย                      เป็นเงิน   

32,050

  บาท

         ราคาต้นทุนต่อหน่วย =  32,050  = 25.64 บาท                                                                                                                                                                                                                                               1,250

       สินค้าคงเหลือปลายปี   480 หน่วย =  480 X 25.64  =  12,307.20 บาท

4. วิธีตีราคาที่ซื้อจริงหรือวิธีเฉพาะเจาะจง (Specific Identification) แนวคิดวิธีนี้จะระบุราคาของสินค้าที่ซื้อมาจริงและที่ขายไปจริงทั้งหมด เหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันมาก ราคาต่อหน่วยสูง กิจการค้าต้องทราบราคาสินค้าคงเหลือที่แท้จริงจึงเรียกว่าวิธี ราคาเจาะจง  เช่น ถ้าสินค้าคงเหลือจากการซื้อครั้งที่ 1 จำนวน 200 หน่วย  คงเหลือจากการซื้อครั้งที่ 2  จำนวน 200 หน่วย และคงเหลือจากการซื้อครั้งที่ 3 จำนวน 80 หน่วย จะคำนวณ ดังนี้

 สินค้าซื้อครั้งที่ 1  จำนวน  200  หน่วย  @ 27  บาท  เป็นเงิน 5,400 บาท                                                                                                                                                     สินค้าซื้อครั้งที่ 2  จำนวน  200  หน่วย  @ 24  บาท เป็นเงิน 4,800 บาท                                                                                                                                                   สินค้าซื้อครั้งที่ 3  จำนวน    80  หน่วย  @ 26  บาท  เป็นเงิน 2,080 บาท                                                                                                                                                     รวมสินค้าคงเหลือ              480 หน่วย            เป็นเงินทั้งสิ้น 12,280 บาท

การคำนวณต้นทุนขาย (Cost  of  Goods  Sold)

             ต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold) เป็นราคาทุนของสินค้าที่มีการจำหน่ายออกไปซึ่งเกี่ยวข้องกับบัญชีสินค้าคงเหลือต้นปี บวกกับซื้อสุทธิระหว่างปีและหักสินค้าคงเหลือปลายปี ซึ่งอาจนำมาแสดงในรูปแบบงบต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold Statement)

             ซื้อสุทธิ (Net Purchases)  หมายถึง  ต้นทุนของสินค้าที่กิจการซื้อมาเพื่อขายในงวดบัญชีและจะเพิ่มขึ้นถ้ากิจการจ่ายค่าขนส่งเข้าและลดลงถ้ากิจการส่งคืนสินค้าที่ชำรุดและได้รับส่วนลดรับจากการชำระหนี้ หรือ ซื้อสุทธิ  =   ซื้อระหว่างงวด + ค่าขนส่งเข้า - ส่งคืนสินค้า ส่วนลดรับ

สินค้าคงเหลือต้นปี                                                     XX

สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย                                                    XX

หัก  สินค้าคงเหลือปลายปี

XX

ต้นทุนขาย                                                                  XX

หรือ

สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย                                                  XXX

หัก  สินค้าคงเหลือปลายปี

 XX

ตัวอย่างที่ 3

ร้านวีรกิจแสงดยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X6 ดังนี้

สินค้าคงเหลือต้นปี                                                 22,000

ซื้อสินค้าระหว่างปี                                                   34,000

ตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายปีได้                          18,000

จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป

6.1.2 การปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้า (Closing  entry)

เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีกิจการจะทำรายการปิดบัญชีเพื่อหาผลการดำเนินงานของกิจการ วิธีการปิดบัญชีคือการทำให้บัญชีรายได้และค่าใช้จ่าย ซึ่งถือเป็นบัญชีชั่วคราวหมดไปหรือมียอดคงเหลือเป็นศูนย์ โดยจะปิดบัญชีผ่านสมุดรายวันทั่วไปเข้าบัญชีกำไรขาดทุน ส่วนบัญชีสินค้าคงเหลือต้นปีและสินค้าคงเหลือปลายปีให้ปิดบัญชีไปบัญชีต่นทุนขาย สรุปการปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายและบัญชีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนขาย ดังนี้

ขั้นที่ 1 ปิดบัญชีขายสินค้าและรายได้ต่างๆ เข้าบัญชีกำไรขาดทุน

เดบิต   ขายสินค้า.........................................XX
             รายได้อื่นๆ........................................XX

เครดิต  กำไรขาดทุน.....................................XX

ขั้นที่ 2 บัญชีสินค้าคงเหลือต้นปี ซื้อสินค้าและค่าขนส่งเข้า ปิดเข้าบัญชีต้นทุนขาย

เดบิต   ต้นทุนขาย.............................XX

เครดิต  สินค้าต้นปี.....................................XX

    ซื้อสินค้า.........................................XX
    ค่าขนส่งเข้า....................................XX

ขั้นที่ 3 บันทึกสินค้าคงเหลือปลายปี ปิดบัญชีส่งคืนและส่วนลดรับเข้าบัญชีต้นทุนขาย

เดบิต   สินค้าปลายปี...........................XX

   ส่งคืนสินค้า..............................XX
   ส่วนลดรับ................................XX

เครดิต  ต้นทุนขาย.....................................XX

ขั้นที่ 4 ปิดบัญชีต้นทุนขาย (ขั้นที่ 1 - ขั้นที่ 2) รับคืน ส่วนลดจ่าย และค่าใช้จ่ายต่างๆ เข้าบัญชีกำไรขาดทุน

เดบิต   กำไรขาดทุน.........................................XX

เครดิต  ต้นทุนขาย.....................................XX
              รับคืนสินค้า....................................XX
              ส่วนลดจ่าย.....................................XX
              ค่าน้ำ ค่าไฟ....................................XX
              ค่าเบี้ยประกัน.................................XX
              ค่าโฆษณา......................................XX

ขั้นที่ 5 ปิดบัญชีกำไรขาดทุน (กำไรสุทธิ หรือ ขาดทุนสุทธิ) เข้าบัญชีทุน


เดบิต   กำไรขาดทุน........................................XX

เครดิต  ทุน..................................................XX

หรือ


เดบิต   ทุน.......................................................XX
เครดิต  กำไรขาดทุน.....................................XX

ขั้นที่ 6 ปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวเข้าบัญชีทุน

เดบิต   ทุน.......................................................XX

เครดิต  ถอนใช้ส่วนตัว.....................................XX

ตัวอย่างที่ 4 การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป

จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป

จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป



การหายอดคงเหลือยกไป (Balancing  the  Accounts)

การหายอดคงเหลือยกไปจะจัดทำขึ้นเมื่อบันทึกรายการปิดบัญชี สำหรับบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ จะมียอดคงเหลือยกไปในงวดบัญชีหน้า วิธีการหายอดยกไปจะทำโดยการหายอดรวมในบัญชียกประเภทด้านเดบิตและด้สนเครดิตของบัญชีแยกประเภทแต่ละบัญชีแล้วหาผลต่างระหว่างด้านเดบิตและด้านเครดิต จากนั้นให้เขียนผลต่างนี้ไว้เป็นยอดยกไปทางด้านที่มีจำนวนเงินน้อยกว่า แล้วรวมยอดทั้ง 2 ด้านให้เท่ากัน หลังจากนั้นนำยอดยกไปมาเป็นยอดยกมาทางด้านที่มากกว่าเพื่อนำไปเปิดบัญชีในงวดบัญชีใหม่ต่อไป โดยเขียนปี พ.ศ. ของวดบัญชีใหม่และเขียนเดือนวันที่ 1 ของเดือนแรกไว้ด้วย ดังตัวอย่าง

จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป

จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป


งบทดลองหลังปิดบัญชี

                เมื่อกิจการปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายไปบัญชีกำไรขาดทุนในสมุดรายวันทั่วไปและผ่านไปบัญชีแยกประเภท และปิดบัญชีกำไรขาดทุนไปบัญชีทุนแล้วหายอดคงเหลือยกไปยกมาในบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการควรจัดทำงบทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการปิดบัญชี เราเรียกว่า  "งบทดลองหลัง    รายการปิดบัญชี"  ในงบทดลองหลังรายการปิดบัญชีจะมีเฉพาะบัญชีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเท่านั้น

ตัวอย่างงบทดลองหลังปิดบัญชี


จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป

จงอธิบายการบันทึกสินค้าคงคลังคงเหลือยกมาต้นงวดโดยสังเขป