ตาราง การ เจริญ เติบโต ของร่างกาย

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น หมายถึง การพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญาในช่วงอายุประมาณ 12-18 ปี โดยผู้หญิงมักจะเจริญเติบโตทางร่างกายเร็วกว่าผู้ชายประมาณ 2 ปี ในขณะที่พัฒนาการด้านสติปัญญานั้นอาจใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ การช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของวัยรุ่นอย่างเหมาะสม ถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้วัยรุ่นเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีการเจริญเติบโตทางร่างกายและทางสติปัญญา ดังนี้

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น ทางร่างกาย

ร่างกายของวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งกล้ามเนื้อและรูปร่าง แต่ผู้หญิงกับผู้ชายอาจมีพัฒนาการทางร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้

วัยรุ่นหญิง ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 8-13 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วระหว่างอายุ 10-14 ปี โดยผู้หญิงจะเริ่มมีการเปลี่ยนทางร่างกายหลายส่วน ได้แก่

  • ความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • หน้าอกเริ่มใหญ่ขึ้นและสะโพกเริ่มมีส่วนเว้าส่วนโค้งมากขึ้น
  • เริ่มมีขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศ โดยปกติจะเริ่มมีขนภายใน 6-12 เดือนหลังจากเต้านมเริ่มขยาย
  • ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก คลิตอริส ช่องคลอด เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก อาจมีประจำเดือนตอนอายุประมาณ 13 ปี

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน การพัฒนาของความสูงอาจเพิ่มขึ้นอีก 1-2 นิ้วและการพัฒนาของความสูงอาจค่อย ๆ ช้าลงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย

วัยรุ่นชาย ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 10-14 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนอายุประมาณ 16 ปี ซึ่งการเจริญเติบโตของเด็กผู้ชายมักช้ากว่าผู้หญิง 2 ปี โดยส่วนใหญ่เมื่อผู้ชายอายุ 16 ปี ร่างกายจะหยุดเติบโตแต่กล้ามเนื้อยังคงพัฒนาต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้ชาย ได้แก่

  • องคชาตและอัณฑะมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เริ่มมีขนรักแร้ หนวด เครา ขนบนใบหน้า และขนที่อวัยวะเพศ
  • เสียงเริ่มแตกหนุ่มและเข้มขึ้น
  • ลูกอัณฑะเริ่มผลิตอสุจิ อาจเริ่มมีฝันเปียก
  • ผู้ชายบางคนอาจมีลูกกระเดือกใหญ่ขึ้นจนมองเห็นได้ชัด

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น ทางสติปัญญา

วัยรุ่นเริ่มมีพัฒนาการและความสามารถทางความคิดอย่างมีระบบ ลึกซึ้งและซับซ้อนมากขึ้น รู้จักการจัดการกับอารมณ์และการแก้ปัญหา ซึ่งช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจที่นำไปสู่การพัฒนาทางปัญญาของวัยรุ่น การเจริญเติบโตของวัยรุ่นทางสติปัญญาแต่ละช่วงวัย มีดังนี้

วัยรุ่นตอนต้น เริ่มมีความคิดที่ซับซ้อนมากขึ้นและรู้จักตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น

  • เริ่มพูดและแลกเปลี่ยนความเห็นในมุมมองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตัวเอง เช่น ควรเข้ากลุ่มกับเพื่อนคนไหนดี ควรเล่นกีฬาชนิดไหนดี ควรสร้างบุคลิกแบบไหนถึงน่าดึงดูด
  • เริ่มแสดงความคิดเห็น แนะนำ โต้ตอบในเรื่องการเรียน
  • เริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมและมาตรฐานทางสังคมมากขึ้น

วัยรุ่นตอนกลาง เริ่มมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องอนาคตมากขึ้น เช่น

  • เริ่มคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกของตัวเองในอนาคต
  • เริ่มคิดและวางแผนการใช้ชีวิต และตั้งเป้าหมายของตัวเองในอนาคต
  • เริ่มคิดถึงการกระทำและผลของการกระทำในระยะยาวมากขึ้น
  • เริ่มคิดถึงการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น

วัยรุ่นตอนปลาย เริ่มมีกระบวนการความคิดที่ซับซ้อน คิดถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและอาจสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น เช่น

  • เริ่มให้ความสนใจในการเรียนต่อ และตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคต
  • แสดงความคิดเห็นและโต้ตอบเมื่อไม่เห็นด้วยในสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวคิดของตนเอง
  • เริ่มมีแนวคิดและให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวมากขึ้น เช่น การเมือง กฎหมาย ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางเพศ

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น มีวิธีส่งเสริมได้อย่างไรบ้าง

การส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและทางสติปัญญาของวัยรุ่น สามารถทำได้ดังนี้

  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วัยรุ่นควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง/วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ วัยรุ่นควรรับประทานอาหารที่หลากหลายทั้งผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีน และอาหารไขมันต่ำ ไม่ควรรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดบ่อยเกินไป
  • การออกกำลังกาย วัยรุ่นควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 60 นาที เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและการเจริญเติบโตที่ดี อาจเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ว่ายน้ำ เตะฟุตบอล เต้น
  • ส่งเสริมให้วัยรุ่นแบ่งปันความคิดเห็นกับผู้ใหญ่ ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อ ประเด็น และเหตุการณ์ปัจจุบันที่หลากหลาย และแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ตัดสิน เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นมีอิสระทางความคิด และฝึกใช้เหตุและผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว
  • ส่งเสริมและช่วยวัยรุ่นในการกำหนดเป้าหมายของตนเองในอนาคต เช่น การเรียนต่อ การทำงาน หากวัยรุ่นทำสิ่งใดผิดพลาด อาจช่วยสอน ตักเตือน และหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ทำผิดพลาดซ้ำ
  • ชมเชยและยกย่องวัยรุ่นที่ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างรอบคอบ หรือทำสิ่งที่ดีต่อตนเองและสังคม เช่น การทำความดี การช่วยเหลือผู้อื่น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตาราง การ เจริญ เติบโต ของร่างกาย

     การศึกษาถึงความเจริญ ความเสื่อม หรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เรียกว่า พัฒนาการนั้นมีความสำคัญมาก และเป็นพื้นฐานต่อไปในการศึกษาถึงความเจริญและความเสื่อมทางความคิดด้วย สำหรับช่วงชีวิตที่เรียกว่า ผู้ใหญ่ เป็นช่วงชีวิตที่ถือว่ามีความสำคัญซับซ้อนและยาวนานมาก มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้น ซึ่งต้องการการปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นได้ชัดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จึงแบ่งวัยผู้ใหญ่ออกเป็น 3 ระยะอย่างคร่าว ๆ โดยพิจารณาจากบทบาทภารกิจเชิงพัฒนาการตามที่สังคมยอมรับ ตามแนวของ Havighurst ดังนี้คือ

                1. วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยฉกรรจ์ (Early Adulthood) อายุ 18  35 ปี

                2. วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน (Middle Adulthood) อายุ 35  60 ปี

                3. วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา (Late Adulthood) อายุ 60 ปีขึ้นไป

วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุ 18  35 ปี)

                เนื่องจากวัยเด็กกับวัยรุ่นเป็นระยะของความงอกงาม มีการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจมาก มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจอยู่ตลอดเวลา พอถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นก็จะเป็นระยะที่บุคคลเจริญเติบโตเต็มที่ บรรลุวุฒิภาวะโดยสมบูรณ์ ดังนั้นบุคคลวัยนี้จะเริ่มมีพฤติกรรมที่แน่นอนขึ้น การเปลี่ยนแปลงจะมีน้อย

                         การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีดังนี้

                1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ความเจริญเติบโตทางกายสมบูรณ์และพัฒนาเต็มที่ ประสิทธิภาพและความสามารถของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสูงสุด รวมทั้งความสามารถทางด้านการสืบพันธุ์เต็มที่

                 ประสิทธิภาพทางร่างกายจะมีสูงสุดในช่วงอายุประมาณ2030ปีหลังจากนั้นความสามารถต่าง ๆ ก็จะลดลงอย่างช้า ๆ และจะทรงตัวในอายุ 40- 45 ปี แล้วจึงลดลงต่ออีก

                ความสามารถและความแข็งแรงของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายจะมีมากที่สุดในช่วงอายุ 20  30 ปี อัตราการตอบสนองสูงสุดในช่วงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นก็เริ่มลดลง

                2. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ผู้ใหญ่ตอนต้นจะมีอารมณ์และความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าระยะวัยรุ่น แต่ความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงมากไม่คงที่ และต้องประสบกับความตึงเครียดทางอารมณ์ในเรื่องต่าง ๆ เพราะเป็นวัยทีมีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น

                3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมแบะการงาน วัยนี้เป็นวัยแห่งการเริ่มสร้างหลักฐานในชีวิต โดยประกอบอาชีพการงาน มีคู่ครอง มีบุตร ฯลฯ ต้องปรับตัวหลายอย่าง เช่น ปรับตัวให้เมาหสมกับงานอาชีพ ชีวิตคู่ เป็นต้น

                4. การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา วัยนี้จะมีประสิทธิภาพทางสมองพัฒนาเต็มที่และคงอยู่สูงสุดไปจนถึงวัยกลางคน จากการวิจัยของ ธอร์นไดค์ ได้ผลว่าระยะเวลาที่บุคคลเรียนรู้ได้ดีที่สุด คือ อายุระหว่าง 20  25 ปี

                                     ลักษณะทั่วไปของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

                1. เป็นวัยของการบรรลุวุฒิภาวะ วัยเด็กกับวัยรุ่นเป็นระยะของความงอกงามมีการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างรวดเร็ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย  และจิตใจอยู่เรื่อย ๆ และ จะเจริญเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยบุคคลจะบรรลุวุฒิภาวะทั้งทางกาย และจิตใจ ดังนั้นพอถึงวัยผู้ใหญ่ บุคคลจะเริ่มมีพฤติกรรมที่แน่นอนขึ้น

                2. เป็นวัยแห่งปัญญา วัยผู้ใหญ่ตอนต้นนี้จะพบกับปัญหาชีวิตแบบใหม่ และถูกคาดหวัง เป็นผู้มีความพร้อมที่จะเริ่มชีวิต เผชิญปัญหาต่าง ๆ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดการที่จะประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมใหม่ และการที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยพึ่งพาผู้อื่นเหมือเมื่อยังอยู่ในวัยเด็กหรือวัยรุ่น การที่จะประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมใหม่และการที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ได้น่าพอใจหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจต่อสถานการณ์ชีวิตของตนเองช่วงนี้ด้วย ซึ่งต้องอาศัยเวลาที่ปรับตัวอยู่พอสมควร

                3. เป็นวัยแห่งการสำรวจ เนื่องจากเป็นวัยที่การพัฒนาการทางกายและจิตใจเริ่มสมบูรณ์เต็มที่ เริ่มต้นชีวิตอย่างผู้ใหญ่ แบบชีวิตเริ่มแรกจะยังไม่เข้ารูปเข้ารอย จึงต้องเรียนรู้และปรับตัวไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะใกล้สิ้นสุดวัยผู้ใหญ่ตอนต้นบุคคลจะรู้จักตัวเองดีขึ้น จะทราบแนวทางและจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตที่แน่นอนของตน

                4.  เป็นวัยแห่งการมีความตึงเครียดทางอารมณ์ เพราะช่วงชีวิตวัยนี้ต้องพบกับการแก้ปัญหาและตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ หลายอย่างเช่น การเลือกอาชีพ การเลือกคู่ครอง หรือความพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้

                5. เป็นวัยแห่งการเริ่มสร้างหลักฐานของชีวิต หรือเป็นวัยแห่งการทำงาน โดยเริ่มลงมือประกอบอาชีพเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตของตน และเป็นการวางรากฐานในการแต่งงานเพื่อชีวิตครอบครัวต่อไป

                6. เป็นวัยของช่วงเวลาสืบเชื้อสายวงศ์ตระกูล เป็นวัยที่ขู่ชีวิตแต่งงานมีครอบครัวและมีบทบาทเป็นพ่อแม่ อบรมเลี้ยงลูก ทัศนคติของผู้เป็นพ่อแม่ที่ดีต่อการอบรมเลี้ยงดูลูก จะมีบทบาทต่อสวัสดีภาพและการพัฒนาของชีวิตใหม่

                       ภารกิจเชิงพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

1. การเลือกหาคู่ครอง

                ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นจะมองหาคู่ครองและในการเลือกคู่ครองนั้น สมัยก่อนพ่อแม่ทำ หน้าที่เลือกให้ ซึ่งส่วนใหญ่เลือกมาจากคนใกล้เคียงกันที่พ่อแม่คุ้นเคยด้วย ทำให้คู้สมรสรู้จักเนื้อแท้ของคู่ของตน แต่ในปัจจุบันการเลือกคู่ครองอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเด่นเฉพาะตัว เมื่ออยู่ในหมู่เพศตรงข้าม การได้คบหาสมาคมกับเพศตรงข้าม ถ้าถูกใจกัน ความคิดคล้าย ๆ กัน ฐานะทางบ้านหรือเหมือนกันก็สามารถแต่งงานกันได้ อยู่ที่ความพอใจของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย พ่อแม่มีบทบาทน้อยมากในการเลือกคู่ครอง

2. การเรียนรู้ที่จะอยู่กับคู่ครองเป็นสามีภรรยากันตลอดไป

                การปรับตัวหรือเตรียมตัวเข้าสู่ชีวิตสมรสมีครอบครัวนั้น ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะต้องรู้จักกันนาน เพื่อจะศึกษาหรือรู้นิสัยใจคอที่แท้จริงซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะตกลงแต่งงานกัน และเมื่อแต่งงานแล้วก็ต้องรู้จักทำตนให้เป็นสามีหรือภรรยาที่ดี รู้บทบาทหน้าที่ของตน เพื่อให้ชีวิตสมรสมีความสุข

3. เริ่มต้นชีวิตครอบครัว

                เมื่อทากรสมรสกันแล้ว ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายก็มีบทบาทใหม่ คือ เป็นสามีภรรยากัน ช่วยกันทำมาหากินเพื่อสร้างครอบครัวให้มั่นคง โดยสามีต้องมีบทบาทเป็นผู้นำครอบครัว ปกป้องและต่อสู่เมื่อมีอันตรายมาถึงครอบครัว ภรรยาก็ต้องมีหน้าที่เป็นแม่บ้านและแม่ที่ดีของลูก

4. ภาระหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูลูก

                สามีภรรยาต้องทำหน้าที่ของพ่อแม่ที่ดี อบรมเลี้ยงดูลูกจนกว่าจะช่วยตนเองได้ นอกจากนี้การอบรมเลี้ยงดูลูกยังขึ้นอยู่กับฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวด้วย ในสังคมปัจจุบันแม่บ้าน ต้องออกไปทำงาน จึงต้องจ้างคนเลี้ยงดูลูก ความวิตกกังวลในเรื่องต่าง ๆ จึงเพิ่มมากด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพ่อต้องสะสมเงินเพื่อเตรียมรับสถานการณ์สำคัญ เช่น เพื่อการศึกษาของลูก หรือเตรียมไว้ในยามเจ็บป่วย

5. การแสวงหาที่พัก รวมทั้งการมีบ้าน                                                                     

ตาราง การ เจริญ เติบโต ของร่างกาย

                ผู้ใหญ่ตอนต้นอาจเช่าบ้านอาศัยผู้อื่นอยู่ หรือมีบ้านเป็นของตนเอง ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของครอบครัวด้วย ดังนั้นหลักในการเลือกหาบ้านที่พักอาศัย ควรพิจารณาดังนี้

-                   เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจ

-                   สะดวกในการประกอบอาชีพ

-                   เหมาะสมกับรสนิยมของทางครอบครัว

-                   สะดวกในการศึกษาของบุตร

-                   สะดวกและปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

-                   สามารถรับสภาวะโครงการอนาคตของครอบครัว

6. การเริ่มต้นที่จะมีอาชีพที่แน่นอน

                ผู้ใหญ่ในตอนต้นส่วนมากจะมีอาชีพที่แน่นอนแล้ว เพราะจะต้องวางรากฐานของอนาคต ทั้งเป็นวัยที่ต้องรับผิดชอบ เลี้ยงดูพ่อแม่ และเมื่อแต่งงานแล้วต้องมีภาระเลี้ยงดูครอบครัวอีก จัดได้ว่าวัยนี้เป็นวัยแห่งการทำงาน

                ในบรรดาภารกิจเชิงพัฒนาการของผู้ใหญ่วัยตอนต้นนี้ ภาระที่เกี่ยวข้องกับอาชีพและครอบครัวจะมีมากที่สุด สำคัญที่สุด และยากที่จะดำเนินการให้ลุล่วงไปโดยง่ายสำหรับคนวัยนี้ เนื่องจากเป็นประสบการณ์ใหม่ ปัญหาการปรับตัวจึงมีมาก

   วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง วัยกลางคน (อายุ 35  60 ปี)           

               บุคคลวัยนี้จะบรรลุถึงจุดยอดแห่งความเข้มแข็งทางกายและ ความมีพลังทางเศรษฐกิจ และความมีหน้าตาทางสังคมและจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายและจิตใจไปในทางเสื่อมลง รวมทั้งความสามารถทางเพศด้วย ในระยะแรก ๆ การเปลี่ยนแปลงจะยังเห็นได้ชัด เพราะเป็นไปทีละน้อยและช้ามากแต่จะเริ่มเสื่อมลงเห็นได้ชัดเมื่อเข้าสู่ตอนปลายของวัยนี้ คือ เริ่มเข้าสู่วัยชรา วัยนี้จะเป็นระยะที่บุคคลเริ่มประเมินผลการดำเนินชีวิตในอดีตเป็นต้นมาว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวเพียงใด

                         การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัยกลางคน มีดังนี้

                1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเคลื่อนไหวทางด้านกล้ามเนื้อทำงานช้าลง และกำลังเริ่มน้อยลง เหนื่อยง่าย ประสาทสัมผัสต่าง  ๆ รับรู้ช้า สายตาเริ่มสั้นหรือยาว รูปร่างเปลี่ยนแปลง ผมเริ่มหงอก ความต้องการทางเพศลดลง ผู้หญิงอายุประมาณ 45-60 ปี ประจำเดือนจะหมด วัยนี้โรคภัยไข้เจ็บเริ่มรบกวน เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อทำให้ไม่มีแรง เกิดความเฉื่อยชา

                2. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เนื่องจากบุคคลวัยนี้มีความกังวลใจในด้าน สุขภาพที่เปลี่ยนไป และยังเป็นห่วงการงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน จึงทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีมากกว่าผู้ชาย และเรื่องที่คนในวัยกลางคนวิตกกังวลมากก็คือ ความยุ่งยากของชีวิตสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัว

                3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม และการงาน คนที่อยู่ในวัยกลางคน มักจะประสบความสำเร็จในด้านอาชีพ หรือมีการโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่สูงขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับตัวทั้งในด้านส่วนตัว ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน คนในวัยกลางคนนี้จะมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานสูงกว่าคนหนุ่มสาว

                4. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา ความจำเป็นเกี่ยวกับตัวเลขและการคิดคำนวณค่อย ๆ ลดลง แต่ความสามารถทางสมองด้านอื่น ๆ ยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การจำจำนวนคำศัพท์ และจากผลการค้นคว้า พบว่าผลงานของผู้ที่มีความสามารถพิเศษระยะอายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่มีผลงานมากที่สุด และผลงานจะลดลงเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป

ลักษณะทั่วไปของผู้ใหญ่วัยกลางคน

                1. วัยกลางคน จัดเป็นระยะของทางสองแพร่ง ที่บุคคลจะก้าวไปสู่ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของชีวิตตามที่จุดมุ่งหมายที่ตนตั้งขึ้นในสมัยวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นความต้องการของคนวัยนี้จึงมักมีศูนย์กลางอยู่ที่ความคิดเกี่ยวกับตนเองว่าได้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

                2. วัยกลางคน เป็นช่วงเวลาที่น่าประหวั่นพรั่นใจมากที่สุดระยะหนึ่ง รองจากวัยชรา เพราะเป็นวัยที่คนส่วนมากไม่ค่อยยอมรับว่าตนเองเข้าสู่วัยนี้แล้ว เกิดความกลัวในสิ่งต่าง ๆ เช่น ผู้หญิงกลัวจะหมดความสามรถในการมีบุตร หมดความสวยงาม ความมีเสน่ห์ กลัวสามีนอกใจ ส่วนผู้ชายจะกลัวความเสื่อมถอยทางพลังกายและพลังเพศ จึงพยายามแสดงออกให้คนอื่นเห็นว่าตนยังมีความหนุ่มแน่นอยู่

                3. วัยกลางคน เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นช่วงเวลาที่จะมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ตลอดจนลักษณะพฤติกรรมและบทบาทต่าง ๆ ที่เคยมี เขาจุถูกคาดหวังให้คิดและทำต่างจากที่เคยคิดและเคยทำเมื่อยังอายุน้อยกว่า

                4. วัยกลางคน เป็นช่วงเวลาแห่งการปรับตัวใหม่เพื่อให้เข้ากับบทบาทที่เปลี่ยนไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และด้านอื่น ๆ เมื่อบทบาทเปลี่ยนแปลงของการดำเนินชีวิตบางอย่างก็เปลี่ยนด้วย ช่วงวัยนี้จึงมีสถิติการเจ็บป่วยทางจิตสูงมากทั้งชายและหญิง

                                  ภารกิจเชิงพัฒนาการของผู้ใหญ่วัยกลางคน

1. การได้รับความสำเร็จในฐานะเป็นพลเมืองดีหรือการมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น มีชื่อเสียงมากขึ้นผู้ใหญ่ในวัยนี้ส่วนใหญ่จะมีงานทำที่มั่นคง มีความสำเร็จในหน้าที่การงานเป็นที่เชื่อถือของคนอายุน้อยกว่า ช่วยส่งเสริมบุคคลที่อายุน้อยกว่าให้มีหน้าที่การงานดีขึ้น แบ่งงาให้หนุ่มสาวรับผิดชอบมากขึ้น เป็นวัยที่ควรทำงานด้วยความไม่ตึงเครียดเป็นพลเมืองดี และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมมากขึ้น

2. มีหลักฐานที่มั่นคงและปรับปรุงรักษาสถานภาพด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีให้เหมาะสมวัยกลางคนนี้จะมีความมั่นคงสูงทั้งในอาชีพและการเงิน ทำให้ครอบครัวเป็นปึกแผ่น มีประสบการณ์ชีวิตที่สะสมไว้มากมาย มีชื่อเสียงในสังคม หน้าที่การงานไม่ว่าเรื่องส่วนตัวและธุรกิจ จะมั่นคงพร้อมทุกอย่างทั้งครอบครัว เช่น มีบ้าน เครื่องประดับ หรือมีเงินสะสมพอที่จะดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข

3. มีการใช้เวลาว่างและกิจรรมนันทนาการที่เหมาะสม กับวัยและความสนใจเนื่องจากฐานะมั่นคง ลูกโตหมดแล้ว มีเวลาว่างเป็นของตัวเองมากพอที่จะมีงานอดิเรก หรือทำกิจกรรมอะไรต่าง ๆ ยามว่างได้ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้ใหญ่วัยนี่ทำจึงมักเป็นกิจกรรมเบา ๆ เช่น ปลูกต้นไม้ ฟังดนตรี ฟังเทศน์ สะสมของต่าง ๆ เป็นต้น 

4. มีความยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพวะการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจผู้ใหญ่ในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เห็นได้ชัดขึ้น เช่น สายตายาว ผิวหนังเริ่มเหี่ยว ผมเปลี่ยนสีจากสีดำเป็นสีขาว บางคนศีรษะล้าน การกระทำอะไรต่าง ๆ ก็ช้าลง ผู้หญิงจะหมดประจำเดือน รังไข่หยุดทำงาน ไม่สามารถมีบุตรต่อไป เป็นต้น

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยชรา

ตาราง การ เจริญ เติบโต ของร่างกาย

วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย วัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป)

                วัยชราหรือวัยผู้สูงอายุเป็นช่วงสุดท้ายของวัยผู้ใหญ่ เริ่มประมาณอายุ 60 ปีขึ้นไปจนถึงสิ้นชีวิต ทั้งนี้ความชราจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการชราภาพเร็ว อายุสั้น หรืออายุยืนเป็นต้น วัยนี้จะมีร่างกายและจิตใจเสื่อมลงอย่างรวดเร็วแต่แนวโน้มของคนในปัจจุบันนี้ จะมีอายุยืนยาวกว่าสมัยก่อน เพราะวิทยาการต่าง ๆ โดยเฉพาะการแพทย์เจริญก้าวหน้ามาก ช่วยส่งเสริมป้องกันรักษาชีวิตมนุษย์ให้ยืนยาว เป็นที่น่าสังเกตว่า ในบรรดาคนชราทั่ว  ๆ ไปมีจำนวนผู้หญิงมากว่าผู้ชาย แม้ว่าอัตราส่วนระหว่างเพศเมื่อเกิดนั้นจะเป็นชายมากว่าหญิง หรือถ้ามีทารกเกิดเป็นเพศหญิง 100 คน ก็จะมีเพศชาย 106 คน ชายมีจำนวนมากกว่าหญิงเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปจนอายุ 30 ปี แต่เมื่ออายุมากขึ้นกว่านี้ ชายจะตายมากกว่าหญิง ดังนั้นผู้หญิงจึงมีอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย

                                การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัยชรา

1. การเปลี่ยนแปลงทางกายและประสาทสัมผัส ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนวัยชราจะเป็นไปในลักษณะเสื่อมโทรม ลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความชราภาพที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ

                - ผิวหนังจะแห้งหยาบ

                - ฟันในวัยชราจะร่อยหรอไปหมด

                - ดวงตาจะฝ้าฝาง

                - ผมจะบางและหงอก

ลักษณะทั่วไปของวัยชรา

1. วัยชราเป็นวัยแห่งการรำลึกถึงความหลัง และประเมินผลความสำเร็จหรือความล้มเหลวของชีวิต เนื่องจากขู่วัยสุดท้ายของชีวิต และภาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและบุคคลอื่นค่อย ๆ หมดไป เวลาว่างส่วนใหญ่จึงนึกถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความทุกข์และความสุข

2. วัยชราเป็นวัยแห่งความสุขสมหวัง สำหรับบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติตามภารกิจเชิงพัฒนาการที่ผ่านมาแต่ละวัย พอเข้าสู่วัยชราก็จะปรับตัวได้ง่าย คนชราจึงมีอิสระและความสุข

3. วัยชราเป็นวัยแห่งความทุกข์ ความสิ้นหวังและหดหู่ ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลใดผ่านภารกิจเชิงพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่มาด้วยความยากลำบากหรือประสบความล้มเหลวจะทำให้มีผลสืบเนื่องต่อไปเมื่อเข้าถึงวัยชรา ทำให้มีปัญหาและปรับตัวไม่ได้ ชีวิตในช่วงสุดท้ายก็จะไม่มีความสุข

4. วัยชราเป็นวัยแห่งความเสื่อมโทรม ความสามารถทุกด้านน้อยลง มีแต่ความเจ็บไข้สุขภาพไม่ดี ลักษณะความเสื่อมโทรมของผู้ใหญ่วัยชรา สรุปเป็น 3 ด้านดังนี้

                                1. ความเสื่อมในสังขาร ทำให้เฉื่อยชาไม่กระฉับกระเฉง ร่างกายอ่อนแอ ปรับตัวกับสภาพดินฟ้าอากาศได้ยาก ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย

                                2. ความเสื่อมทางจิตใจ ซึ่งรวมถึงความเสื่อมของสติปัญญา อารมณ์ เพราะคนในวัยชราจะเสื่อมมากทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย ขี้หลงขี้ลืม ต้องการให้คนมาเอาใจใส่เหมือนเมื่อยังเป็นวัยเด็ก

                                3. ความเสื่อมถอยทางสังคมและการงาน ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางกาย และทางจิตใจ ทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภารกิจประจำวัน ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในสังคมทำได้ยากขึ้น เช่น การตัดสินใจที่จะทำอะไรของผู้ใหญ่วัยนี้จะช้า ไม่มั่นใจและไม่แน่นอน

                                       ภารกิจเชิงพัฒนาการของผู้ใหญ่วัยชรา

                วัยชราหรือวัยผู้ใหญ่สูงอายุ จัดเป็นวัยสุดท้ายของชีวิต วัยชราเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงทางด้านพัฒนาการทุกด้าน มีปัญหาต้องยอมรับและรู้จักปรับตัว มีระเบียบแบบแผน มีชีวิตที่เป็นสุขและสิ้นหวัง มีจุดมุ่งหมายในชีวิต และมีความต้องการเช่นเดียวกับคนในวัยอื่น ๆ ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่ในวัยตอนต้นและวัยกลางคนจะมีช่วงชีวิตที่สดชื่น น่าชื่นชมและสดใสกว่าวัยชรา ซึ่งมักจะนำความผิดหวังเศร้าใจมาสู่คนชรา โดยทั่วไปเรากำหนดให้อายุ 60 ปี เป็นเส้นแบ่งระหว่างวัยกลางคนกับวัยชรา แต่การตัดสินจากอายุตามปฏิทินว่าใครเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้วเป็นเกณฑ์ที่ไม่แน่นอน เพราะการเข้าสู่ภาวะชราภาพนั้น แตกต่างไปในแต่ละบุคคล เนื่องจาอัตราความเสื่อมถอยทางร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนแก่เร็ว แต่บางคนอาจจะแก่ช้าก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว และวัยกลางคน เพราะความชราคือผลของการพัฒนาการที่ต่อเนื่องกันในชีวิตของบุคคลนั่นเอง