เลือดไหลออกจากช่องคลอด

อาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด

เลือดไหลออกจากช่องคลอด

เลือดออกจากช่องคลอดอย่างไรที่เรียกว่าผิดปกติ ? 


อาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดเป็นภาวะที่พบบ่อยมากและพบได้ในหลายช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นและความรุนแรงของโรคนั้นๆ โดยทั่วไปมักจะมีความเข้าใจว่า เลือดที่ออกจากช่องคลอดเป็นเลือดประจำเดือนเสมอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ประจำเดือนปกตินั้น คือ น้ำเลือดที่ไหลออกจากโพรงมดลูก ประกอบไปด้วยเลือดและชิ้นเนื้อเล็กๆ ที่ไหลออกเป็นรอบๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยมีระยะห่างของรอบอยู่ในช่วง 21-35 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 28 วัน และ มีระยะเวลามีประจำเดือนไม่เกิน 7 วัน จำนวนเลือดโดยเฉลี่ยต่อรอบ ประมาณ 30 – 40 ซีซี หากท่านมีภาวะเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่เข้ากับลักษณะประจำเดือนปกติดังกล่าวมาข้างต้น ท่านควรรีบปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่เกิดขึ้น และให้การดูแลรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกของโรค เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของท่าน 

อาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดมีสาเหตุจากอะไร ? 


สามารถแบ่งสาเหตุอย่างง่ายๆ ตามตำแหน่งที่มีเลือดออกได้เป็น 2 ประเภท

  • อาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่มีสาเหตุจากภายในโพรงมดลูก เช่น การแท้งบุตร เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ภาวะการทำงานผิดปกติของฮอร์โมน หรือมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น
  • อาการเลือดออกผิดปติจากช่องคลอดจากการตกเลือดที่อวัยวะสืบพันธ์ตองล่าง โดยตำแหน่งที่เป็นสาเหตุของเลือดที่ออกอยู่บริเวณ ปากมดลูก หรือ ช่องคลอด เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้ออักเสบของปากมดลูก หรือ มีแผลฉีกขาดในช่องคลอด เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักมีปัญหาจากการตกเลือดที่มีสาเหตุมาจากภายในโพรงมดลูกมากกว่านอกโพรงมดลูก และมีสาเหตุจากโรคทางกายอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการมีเลือดออกผิดปกติได้ เช่น โรคเลือด โรคตับ โรคไต โรคต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลจะเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาและแนะนำการตรวจต่างๆ ที่เหมาะสมให้แต่ละท่าน 

เลือดไหลออกจากช่องคลอด
เลือดไหลออกจากช่องคลอด

 เมื่อสงสัยว่ามีอาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ? 

  • จดบันทึกวัน เวลา ที่มีเลือดออกผิดปกติ รวมทั้งอาการอื่นที่มีร่วมด้วย
  • ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติ – นรีเวช เพื่อรับการดูแลที่เหมาะสมโดยแพทย์จะซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น รวมทั้งประวัติอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการตรวจร่างกาย , การตรวจภายในและการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก

นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมน การตรวจอัลตร้าซาวน์ การขูดมดลูกเพื่อ นำชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกมาตรวจ หรือการส่องกล้องตรวจภายในโพรงมดลูกหรือภายในช่องท้อง เป็นต้น 

เลือดไหลออกจากช่องคลอด
เลือดไหลออกจากช่องคลอด
เลือดไหลออกจากช่องคลอด

อาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดรักษาอย่างไร ? 

  • การรักษาทั่วไป ได้แก่ การพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ยาบำรุงเลือดในกรณีที่มีภาวะโลหิตจาง หรือการให้เลือดทดแทนถ้าซีดมาก
  • การรักษาด้วยยาฮอร์โมนชนิดรับประทานในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงชนิดและขนาดของยาที่เหมาะสมแก่ท่าน
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การขูดมดลูก หรือ การตัดมดลูก ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ท่านถึงวิธีการที่เหมาะสมในการรักษา

เลือดไหลออกจากช่องคลอด
เลือดไหลออกจากช่องคลอด

เลือดไหลออกจากช่องคลอด

หากมีภาวะเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่เข้ากับลักษณะประจำเดือน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เลือดไหลออกจากช่องคลอด

ความหมาย เลือดออกทางช่องคลอด

Share:

เลือดออกทางช่องคลอด (Vaginal Bleeding) คือภาวะสุขภาพบริเวณช่องคลอดผิดปกติ โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะมีเลือดออกทางช่องคลอดทุกเดือน หรือที่เรียกว่าประจำเดือน แต่ในกรณีที่มีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงที่ไม่มีประจำเดือนนั้นอาจแสดงถึงปัญหาสุขภาพได้

เลือดไหลออกจากช่องคลอด

ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่

  • เลือดออกทางช่องคลอดปกติ (Normal Vaginal Bleeding) เป็นเลือดของประจำเดือน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในแต่ละช่วงรอบเดือน เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงมีรังไข่บริเวณปีกมดลูก รูปร่างคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ในแต่ละช่วงรอบเดือนจะปล่อยไข่ออกมาที่ท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับอสุจิ แต่หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ เยื่อบุมดลูกที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวอ่อนจะสลายออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ ระยะเวลาของรอบเดือนแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน อาจมีประจำเดือนตั้งแต่ 3-10 วัน และเกิดขึ้นทุก 21-35 วัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ อายุ ความเครียด การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และพันธุกรรม
  • เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ (Abnormal Vaginal Bleeding) เกิดขึ้นในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน โดยมีเลือดออกทางช่องคลอดมากหรือน้อยเกินไป หรือเลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดทางช่องคลอดก่อนอายุ 9 ปี เลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ เลือดออกหลังเข้าวัยทอง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุของเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติมีได้หลายอย่าง ผู้ที่มีเลือดออกลักษณะนี้ควรพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจและรักษาต่อไป

อาการเลือดออกทางช่องคลอด

ผู้ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ อาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี ได้แก่ เลือดออกทั้งที่ยังไม่ถึงวัยมีประจำเดือนหรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกในช่วงที่ไม่มีรอบเดือน เลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดและมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาทันที

  • ปวดบริเวณท้องหรืออุ้งเชิงกรานอย่างรุนแรงเฉียบพลัน
  • เลือดออกทางช่องคลอดในปริมาณมากผิดปกติขณะมีประจำเดือน จนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชั่วโมง
  • วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
  • มีไข้
  • อาการเลือดออกทางช่องคลอดแย่ลง หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดนานกว่า 1 สัปดาห์

สาเหตุของเลือดออกทางช่องคลอด

การมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงที่ไม่มีประจำเดือนถือว่าผิดปกติ โดยเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ฮอร์โมนไม่สมดุล เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการทำงานของรอบเดือน หากระดับของฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่สมดุลกันอาจทำให้เลือดออกทางช่องคลอดได้ โดยสาเหตุของความไม่สมดุลนั้นมีหลายอย่าง ได้แก่
    • รังไข่ทำงานผิดปกติ หรือเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)
    • ต่อมไทรอยด์มีปัญหา
    • เริ่มใช้หรือหยุดใช้ยาคุมกำเนิด ผู้ที่เริ่มใช้ยาคุมกำเนิดอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 3 เดือนแรก รวมทั้งอาจมีเลือดออกได้ในกรณีที่รับประทานยาคุมไม่ตรงเวลากันในแต่ละวัน ยาคุมกำเนิดที่ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ได้แก่ ยาคุมแบบเม็ด ห่วงคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาฝัง และยาฉีดคุมกำเนิด
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเป็นเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งควรไปพบแพทย์ทันที ทั้งนี้ การตกเลือดหรือมีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้เกิดจากภาวะแท้งบุตรเสมอไป แต่อาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ท้องนอกมดลูก หรือรกเกาะต่ำ นอกจากนี้ ผู้ที่คลอดบุตรหรือทำแท้งอาจมีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกได้เช่นกัน เนื่องจากมดลูกยังไม่หดรัดตัวหรือเนื้อเยื่อของตัวอ่อนยังค้างอยู่ในมดลูก
  • เนื้องอกในมดลูก เป็นเนื้องอกที่เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติในมดลูก แต่จะไม่กลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง
  • การติดเชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด เนื่องจากภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดการอักเสบและมีเลือดออกได้ โดยสาเหตุของการติดเชื้ออาจมีดังนี้
    • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • การสวนล้างช่องคลอด
    • การมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่
    • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Inflammatory Disease: PID) ก่อให้เกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้อที่มดลูก ท่อนำไข่ หรือรังไข่
  • มะเร็ง เป็นสาเหตุของการมีเลือดออกทางช่องคลอดที่พบได้ไม่บ่อยนัก โดยผู้ป่วยมะเร็งที่อวัยวะบางส่วนของร่างกายอาจส่งผลให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอด เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ เป็นต้น

นอกจากนี้ การมีเลือดออกทางช่องคลอดแบบผิดปกติยังอาจเกิดจากสาเหตุนอกเหนือจากข้างต้น เช่น การสอดสิ่งของเข้าไปภายในช่องคลอด การถูกทารุณกรรมทางเพศ เครียดมากเกินไป หักโหมออกกำลังกาย ป่วยเป็นเบาหวาน ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไทรอยด์ น้ำหนักขึ้นหรือลงผิดปกติ เป็นต้น

การวินิจฉัยเลือดออกทางช่องคลอด

ผู้ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยสาเหตุ โดยแพทย์จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรอบเดือน ลักษณะของการมีเลือดออกทางช่องคลอด รวมทั้งอาการหรือประวัติเจ็บป่วยอื่น ๆ และอาจมีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • ตรวจอุ้งเชิงกราน ผู้ป่วยที่ประจำเดือนมาไม่ปกติจำเป็นต้องตรวจร่างกายและรับการตรวจภายใน โดยเน้นตรวจการทำงานของไทรอยด์ เต้านม และบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยการตรวจอุ้งเชิงกราน จะช่วยวินิจฉัยติ่งเนื้อปากมดลูกหรือความผิดปกติเกี่ยวกับมดลูกและรังไข่ ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องตรวจอัลตราซาวด์บริเวณอุ้งเชิงกรานเพิ่ม
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะเก็บตัวอย่างจากปากมดลูก เพื่อนำไปตรวจหาการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือดูว่ามีมะเร็งปากมดลูกหรือไม่
  • ตรวจการตั้งครรภ์ หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยทองและมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงที่ไม่ได้มีประจำเดือนอาจเข้ารับการตรวจครรภ์
  • ตรวจเม็ดเลือด เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางอันเกิดจากการเสียเลือดมากเกินไปหรือไม่
  • ตรวจเลือด แพทย์อาจเก็บตัวอย่างเลือดผู้ป่วยส่งตรวจ เพื่อดูความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ตับ ไต หรือนำมาใช้วัดระดับฮอร์โมนเพศ

การรักษาเลือดออกทางช่องคลอด

การรักษาภาวะเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ดังนี้

  • ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ผู้ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติอันเกิดจากการทำงานของรังไข่หรือวัยใกล้หมดประจำเดือนจะได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนหรือยาคุมกำเนิดที่มีโปรเจสเตอโรน เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุล กรณีที่ใกล้หมดประจำเดือนจะได้รับฮอร์โมนจนถึงวัยทองเพื่อให้อาการร้อนวูบวาบบรรเทาลง ทั้งนี้ ระหว่างรับประทานยาคุมกำเนิดควรสังเกตตนเองด้วยว่าประจำเดือนมาปกติหรือไม่ และปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดจะได้รับการตรวจจากสูตินรีแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาต่อไป
  • เนื้องอกในมดลูก ผู้ป่วยบางรายที่มีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกในมดลูกอาจต้องผ่าตัดเอามดลูกออก เพื่อควบคุมเลือดไหลออกทางช่องคลอด
  • การติดเชื้อ ผู้ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดอันเกิดจากการติดเชื้อจะได้รับยาปฏิชีวนะ
  • เนื้อร้าย หากเกิดเนื้อร้ายขึ้นที่ผนังมดลูก เบื้องต้นแพทย์จะให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสำหรับลดการเติบโตของเนื้อร้ายดังกล่าว ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม หากแพทย์วินิจฉัยไม่พบสาเหตุของการมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างแน่ชัด ผู้ป่วยจะได้รับยาคุมกำเนิด เพื่อช่วยปรับรอบเดือนและบรรเทาภาวะเลือดออกให้น้อยลง แต่หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผลอาจต้องเข้ารับการขูดมดลูก เพื่อควบคุมเลือดออกมากเกินไปและตรวจหาความผิดปกติของเยื่อบุมดลูกเพิ่มเติม ส่วนในรายที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่น อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเอามดลูกออกไป

ภาวะแทรกซ้อนของเลือดออกทางช่องคลอด

ผู้ที่ประสบภาวะเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติบางรายอาจหายได้เอง อย่างไรก็ตาม ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดอันเกิดจากปัญหาสุขภาพบางอย่างจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์อย่างเหมาะสม เนื่องจากอาการอาจกำเริบและแย่ลงหากปล่อยไว้และไม่ได้รักษา อีกทั้งภาวะเลือดออกทางช่องคลอดที่เกิดจากการติดเชื้อ มะเร็ง หรือปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

การป้องกันเลือดออกทางช่องคลอด

ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติไม่มีวิธีป้องกันที่ครอบคลุม เนื่องจากเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อย่างไรก็ดี สาเหตุบางอย่างอาจมีแนวทางป้องกัน ดังนี้

  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากการมีน้ำหนักตัวมากหรือต่ำเกินไปจะเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติได้
  • ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดควรรับประทานยาตามแนวลูกศรและรับประทานให้ตรงกับเวลาเดิมทุกวัน ส่วนผู้ที่รับฮอร์โมนบำบัดควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกเดือนเช่นกัน
  • ควรออกกำลังกายหรือหาเวลาผ่อนคลายเพื่อลดความเครียด
  • รับประทานยาแก้ปวดที่ไม่มีสเตียรอยด์ เช่น นาพรอกเซน หรือไอบูโพรเฟน และเลี่ยงรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เสี่ยงมีเลือดออกมากขึ้น ที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด