ประวัติผู้แต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์

   
ประวัติผู้แต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์
 
ประวัติผู้แต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์

ที่มา : http://patcharutka.wordpress.com/รามเกียรต์ฉบับต่างๆของ/

               รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย  โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือ มหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ  เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ  จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู

               สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ของไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

               พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่นโดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอนๆ  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์  โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์"

ประวัติ

               ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์น่าจะมาจากเรื่องรามายณะ ของอินเดีย ซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำอารยธรรมและศาสนาเข้ามาเผยแพร่ด้วย ทำให้เรื่องรามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี  และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้น  จนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายๆ ชาติ เช่น ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น

โครงเรื่อง

               เหตุเกิดเมื่อนนทกไปเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์มีสิบหน้ายี่สิบมือตามคำพระนารายณ์ก่อนนั้น  เมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว  ได้ไปขอพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดา และตนไปตามสังหารนนทกในชาติหน้า หลังจากนั้นทหารเอกทั้งห้าจึงเกิดตามกันไป ได้แก่ หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวรไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะ สุครีพเกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคตเป็นลูกของพาลีที่เป็นพี่ของสุครีพ  ชมพูพานเกิดจากการชุบเลี้ยงของพระอินทร์ นิลพัทเป็นลูกของพระกาฬ  ฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฑ์ได้เกิดศึกชิงนางสีดา  จนไพร่พลฝ่ายยักษ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก  และสุดท้ายทศกัณฑ์เองก็ถูกพระรามฆ่าตายเช่นเดียวกัน

ตัวละครหลัก

          ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้

ฝ่ายพระราม (มเหศรพงศ์ และ วานรพงศ์)

         -พระราม

         -พระลักษมณ์

         -พระพรต

         -พระสัตรุด

         -สีดา

         -หนุมาน

         -พาลี

         -สุครีพ

         -ชมพูพาน

         -องคต

         -มัจฉานุ

         -พิเภก

ฝ่ายทศกัณฐ์ และพันธมิตร (อสุรพงศ์)

         -ทศกัณฐ์

         -กุมภกรรณ

         -ไมยราพ

         -อินทรชิต

         -รามสูร

         -ท้าวลัสเตียน

         -ทรพา

         -ทรพี

         -นางมณโฑ

         -นางสำมนักขา

         -นางเบญกาย

         -นางสุพรรณมัจฉา

รามเกียรติ์ฉบับต่างๆ ของไทย

               วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย  มีหลักฐานเก่าที่สุดคือราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้

          - รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน เนื่องเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชา ถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

          - รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่ "พระรามประชุมพล" จนถึง "องคตสื่อสาร" น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา

          - รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี ระบบ "วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก" ตรงกับ พ.ศ. 2323 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาล มีด้วยกัน 4 ตอน ได้แก่

ตอน 1 ตอนพระมงกุฎ
ตอน 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
ตอน 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
ตอน 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย

                    - รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1
                    - รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
                    - รามเกียรติ์คำพากย์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
                    - รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 4
                    - รามเกียรติ์คำพากย์และบทเจรจา พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงค้นคว้าหาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้นมา และยังทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์สำหรับใช้แสดงโขนขึ้นอีก 6 ชุด คือ  ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ  ซึ่งบทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ทรงดำเนินเรื่องตามคัมภีร์รามายณะ  โดยมีพระราชประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงโขน  จึงมีบทพากย์และเจรจาอยู่ตามความเหมาะสมของการแสดง

ประวัติผู้แต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์

   
ประวัติผู้แต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์