ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงาน

การสอนแบบโครงงาน ( Project )

ความหมาย

โครงงาน  (Project)  หมายถึง  การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่นักเรียนเป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำ ปรึกษา และดูแลของครู/อาจารย์ที่ปรึกษา  โดยอาจใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยในการศึกษา เพื่อให้การศึกษา ค้นคว้า นั้นบรรลุผลตามวัตถุประสงค์  นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า คิดวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  เรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านกระบวนการวางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินผล นำเสนอผลงาน  (วัฒนา  ก้อนเชื้อรัตน์. 2547 ;  วิชาการ, กรม.  2544 : 28-31)
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้เด็กเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง  เด็กจะได้เรียนรู้  วิธีการแก้ปัญหารู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  รู้จักการวางแผนในการทำงาน  ฝึกการคิดวิเคราะห์ และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง

โครงงานแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1    โครงงานประเภทสำรวจ
– ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาเหมือนโครงงานประเภททดลอง
– ผู้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ  เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2    โครงงานประเภทการทดลอง
–  เป็นโครงงานที่ออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรหนึ่งที่มีผลต่อตัวแปรหนึ่ง  โดยควบคุมตัวแปรอื่นๆที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา
– ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานนี้จะประกอบด้วย  การกำหนดปัญหา  ตั้งสมมุติฐาน  การออกแบบการทดลอง  การดำเนินการทดลอง  การรวบรวมข้อมูล  การแปลผล และสรุปผล
3   โครงงานประเภทการพัฒนาหรือประดิษฐ์คิดค้น
-เป็นโครงงานที่ประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือ  เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่างๆ
4   โครงงานประเภทการสร้างหรืออธิบายทฤษฏี
– เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหลักการหรือแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร  สมการหรือคำอธิบาย  อาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม  อาจเป็นของใหม่หรือยังไม่มีใครคิดมาก่อน
– ต้องมีความรู้พื้นบานเรื่องนั้นเป็นอย่างดี
– มักเป็นโครงงานคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น โครงงานเรื่องการอธิบาย     อวกาศแนวใหม่   โครงงานเรื่องทฤษฎีของจำนวนเฉพาะ  เป็นต้น

รูปแบบการจัดทำโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. คณะทำงาน
3. ที่ปรึกษา
4. แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ
5. วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย
6. ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
7. แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี)
8. วัสดุ  อุปกรณ์
9. งบประมาณ
10. ระยะเวลาการดำเนินงาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ขั้นตอนของการทำโครงงาน  มีดังนี้
1)      คิดและเลือกปัญหาที่จะศึกษา  : นักเรียนจะต้องเป็นผู้กำหนดปัญหา แนวคิดและวิธีการที่จะใช้แก้ปัญหา
2)      วางแผนในการทำงาน  ประกอบด้วย
1. การกำหนดปัญหาและขอบเขตของการศึกษา
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ แนวคิด วิธีการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา  สมมติฐาน และนิยามเชิงปฏิบัติการ
3. การวางแผนรวบรวมข้อมูล  และการค้นคว้าเพิ่มเติม
4. กำหนดวิธีดำเนินงาน ได้แก่ แนวทางการศึกษา ค้นคว้า วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้  การออกแบบการทดลอง  การควบคุมตัวแปร  การสำรวจและรวบรวมข้อมูล  การประดิษฐ์คิดค้น  การวิเคราะห์ข้อมูล  การกำหนดระยะเวลาในการทำงาน แต่ละขั้นตอน
3)      ลงมือทำโครงงาน : นักเรียนจะต้องปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในข้อ 2  และถ้ามีปัญหาให้ขอคำแนะนำ ปรึกษา ครูหรืออาจารย์ที่ปรึกษา
4)      การเขียนรายงาน :  นักเรียนจะต้องเสนอผลงานการศึกษา ค้นคว้า  เป็นเอกสาร      อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ  และทราบถึงปัญหา  วิธีการ และผลสรุปที่ได้จากการศึกษา พร้อมอภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป

แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน มี 2 แนวทาง ดังนี้

1. การจัดกิจกรรมตามความสนใจ

เป็น การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาโครงงานจากสิ่งที่สนใจอยากรู้ที่มี อยู่ในชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อมในสังคม หรือจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ยังต้องการคำตอบ ข้อสรุป ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ในบทเรียนของหลักสูตร มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1  ตรวจสอบ วิเคราะห์ พิจารณา รวบรวมความสนใจแก่ผู้เรียน
2  กำหนดประเด็นปัญหา/หัวข้อเรื่อง
3  กำหนดวัตถุประสงค์
4  ตั้งสมมติฐาน
5  กำหนดวิธีการศึกษาและแหล่งความรู้
6  กำหนดเค้าโครงของโครงงาน
7  ตรวจสอบสมมติฐาน
8  สรุปผลการศึกษาและการนำไปใช้
9  เขียนรายงานเชิงวิจัยง่ายๆ
10  จัดแสดงผลงาน

2.  การจัดกิจกรรมตามสาระการเรียนรู้

เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดเนื้อหาสาระตามที่หลักสูตรกำหนด ผู้เรียนเลือกทำ
โครงงานตามสาระการเรียนรู้ จากหน่วยเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียน นำมาเป็นหัวข้อโครงงาน มีขั้นตอนที่
ผู้สอนดำเนินการดังต่อไปนี้
1  เริ่มจากศึกษาเอกสารหลักสูตร คู่มือครู
2  วิเคราะห์หลักสูตร
3  วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อแยกเนื้อหา จุดประสงค์ และกิจกรรมให้เด่นชัด
4  จัดทำกำหนดการสอน
5  เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
6  ผลิตสื่อ จัดหาแหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
7  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
7.1 แจ้งจุดประสงค์ เนื้อหาของหลักสูตรให้ผู้เรียนทราบ
7.2 กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในขอบเขตของเนื้อหาและจุดประสงค์ในหลักสูตร
7.3 จัดกลุ่มผู้เรียนตามความสนใจ
7.4 ผู้สอนใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น
ทำไมผู้เรียนจึงสนใจอยากเรียนเรื่องนี้ (แนวคิด/แรงดลใจ)
ผู้เรียนสนใจเกี่ยวกับอะไรบ้าง (กำหนดเนื้อหา)
ผู้เรียนอยากเรียนรู้เรื่องนี้เพื่ออะไร (กำหนดจุด ประสงค์)
ผู้เรียนจะทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้ (กำหนดวิธีศึกษา/กิจกรรม)
ผู้เรียนจะใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการศึกษาครั้งนี้ (กำหนดสื่ออุปกรณ์)
ผู้เรียนจะไปศึกษาที่ใดบ้าง (กำหนดแหล่งความรู้ แหล่งข้อมูล)
ผลที่ผู้เรียนคาดว่าจะได้รับคืออะไรบ้าง (สรุปความรู้/สมมติฐาน)
ผู้เรียนจะทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าผลงานของผู้เรียนดีหรือไม่ดีอย่างไร จะให้ใครเป็นผู้ประเมิน (กำหนดการวัดและประเมินผล)
ผู้เรียนจะเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างไร (นำเสนอผลงาน รายงาน)
7.5  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาตามที่ตกลงกันไว้ (จากคำถามที่ผู้สอนซักถาม) ภายใต้กรอบเวลาในแต่ละครั้ง ถ้ายังไม่สำเร็จให้ศึกษาต่อในคาบต่อไป
7.6 ผู้เรียนทุกคนต้องสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยการเรียนของผู้เรียนและสามารถนำเสนอความรู้ที่ได้แก่เพื่อนๆ และผู้สอนได้
7.7 ผู้เรียนเขียนรายงานเชิงวิจัยแบบง่ายๆ และแสดงแผงโครงงาน
8  ผู้สอนจัดแหล่งความรู้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
9  ผู้สอนเขียนบันทึกผลการเรียนรู้

วิธีการทำโครงงาน
1. ประชุมปรึกษาหารือ  เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน  จากสิ่งต่อไปนี้
– การสังเกต หรือตามที่สงสัย
– ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
– จากปัญหาใกล้ตัว  หรือการเล่น
– คำบอกเล่าของผู้ใหญ่  หรือผู้รู้
2. เขียนหลักการ  เหตุผล  ที่มาของโครงงาน
3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. กำหนดวิธีการศึกษา เช่น  การสำรวจ  การทดลอง  เป็นต้น
5. นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. สรุปผลการศึกษา   โดยการอภิปรายกลุ่ม
7. ปรับปรุงชื่อโครงงาน  ให้ครอบคลุม  น่าสนใจ

การประเมินผลการทำโครงงาน
ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม  โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
1. ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา

วัฒนา  ก้อนเชื้อรัตน์.  ทบทวนแนวการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา.  นครราชสีมา :สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นครราชสีมา เขต 1, 2547.

ทิศนา  แขมมณี. (2547). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

การเรียนรู้แบบโครงงานมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

1. เพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพด้านการคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา และการคิดขั้นสูง 3. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนและทำงานร่วมกัน ได้ฝึกภาวะผู้นำ และผู้ตาม 4. เพื่อจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการดำรงชีวิต

โครงงาน คือ อะไร มี ประโยชน์ อย่างไร

โครงงาน เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

โครงงานมีความสำคัญกับนักเรียนอย่างไร

1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ได้ท าการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ 2. เพื่อรู้จักการวางแผนท างานอย่างเป็นระบบ 3. เพื่อฝึกการเป็นผู้น าและผู้ตามที่ดี 4. เพื่อฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง ได้รับประสบการณ์ตรง 5. เพื่อพัฒนาและได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 6. เพื่อศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการท างาน ...

ความสําคัญของโครงงานคืออะไร

โครงงานเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้ค าตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงาน ตามแผนที่วางไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคาตอบในเรื่องนั้นๆ