พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ มือ ถือ ของคนในสังคม ไทย ปัจจุบัน

มือถือกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของวัยรุ่น เพราะมือถือก็มีข้อดีอยู่ไม่น้อย เป็นทั้งเครื่องมือสื่อสารที่ย่นทั้งระยะทางและระยะเวลาระหว่างกัน เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านมือถือนั้นสร้างความสะดวกสบายให้กับวัยรุ่นได้อย่างมาก บางครั้งที่มีอุบัติเหตุ หรือต้องการความช่วยเหลือด่วนมือถือก็จะมีประโยชน์มากในช่วงเวลานั้น หรือบางทีมือถือยังทำหน้าที่สร้าง และกระชับความสัมพันธ์ของคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง หรือกลุ่มเพื่อน ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกันมากแต่ก็เชื่อมความสัมพันธ์กันได้ด้วยมือถือ ยิ่งปัจจุบันนี้มือถือมีเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าเดิมมาก ซึ่งนอกจากจะดูหนังฟังเพลงแล้วยังสามารถใช้อินเทอร์เน็ต และยังสามารถเล่นได้เกือบทุกที่ทุกเวลา ยิ่งทำให้การติดต่อสื่อสารง่ายขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตามการใช้โทรศัพท์มือถือให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นต้องคำนึงถึงความจำเป็น ใช้แต่พอเพียงเท่านั้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของมือถือ พฤติกรรมด้านลบจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) พบว่า ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนยุคโลกาภิวัตน์ที่จะขาดไม่ได้ จนกลายเป็นอวัยวะส่วนที่ 33 โดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่นซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ ข้อเสียหากผู้ใช้ นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือใช้ไม่เป็นทำให้เกิดโรคใหม่ๆ ตามมาหลาย โรคที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีผลกระทบ ในเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตคนไทย ได้แก่

1.โรคเห่อตามแฟชั่น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นนิยมเปลี่ยนมือถือตามแฟชั่นเพื่อให้

อินเทรนด์ ดูทันสมัย ไม่ตกรุ่นทัดเทียมเพื่อน ดังนั้นมือถือจึงกลายเป็นเครื่องประดับที่บ่งบอกสถานภาพทางสังคมอีกทางหนึ่ง

2.โรคทรัพย์จาง ซึ่งหลายคนต้องหาเงินเพื่อมาซื้อมือถือรุ่นใหม่ ทั้งนี้บางคนไม่มีเงิน

แต่รสนิยมสูง จึงเกิดสภาวะทรัพย์จางต้องไปกู้ยืมหนี้ยืมสินมาซื้อมือถือ เป็นต้น

3.โรคขาดความอดทนและใจร้อน เนื่องจากคุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือกดปุ๊บต้อง ติดปั๊บ ทำให้หลายคนกลายเป็นคนไม่มีความอดทน แม้แต่เรื่องเล็กๆ เช่น นัดเพื่อนไว้ช้าแค่ 5 นาที ต้องโทรตาม จึงกลายเป็นคนเร่งรีบ ร้อนรน และไม่รอบคอบ

4.โรคขาดกาลเทศะและไร้มารยาท ซึ่งการโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูด ทุกเวลา โดยไม่ดูเวลาหรือกาลเทศะที่ควรโทร บางคนโทรขายประกัน ขายเครื่องกรองน้ำชวนสมัครบัตรเครดิตทั้งๆที่ไม่รู้จักกัน ทำให้ผู้รับสายเกิดความรำคาญใจ

5.โรคขาดมนุษยสัมพันธ์ คนส่วนใหญ่จะใช้มือถือพูดคุยกับญาติสนิท ขาดความใส่ใจ ที่จะสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น หลบมุมโทรไปคุยกับเพื่อนแทนที่จะพูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครองหรือทำกิจกรรมที่ทำให้ความสัมพันธ์ในบ้านห่างเหิน ซึ่งจะเกิดอาการเฉาหรือเหงาหงอย กลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคมมีโลกของตัวเองและเป็นโรคติดโทรศัพท์ในที่สุด

6.โรคไม่จริงใจ เนื่องจากการพูดคุยทางโทรศัพท์ไม่ต้องเห็นหน้าตา ท่าทาง สายตาและ ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทำให้หลายคนสามารถใช้คำหวานหลอกลวง หรือพูดโกหกผู้อื่น หรือนิยมส่ง sms ไปยังอีกฝ่าย ทำเสมือนรักใคร่ ผูกพันหรือห่วงใย

วัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์ วัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์มือถือกับวัยรุ่นในปัจจุบันไม่ใช่เพียงเครื่องมือสื่อสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะเห็นได้ว่าบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต่างๆในตอนนี้ต่างก็แข่งขันกัน ทำลูกเล่นใหม่ๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพราะในยุคที่มีการแข่งขันสูงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับโทรศัพท์มือถือนั้นยิ่งทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น นอกจาก  จะโทรออกหรือรับสายได้แล้วยังสามารถทำอย่างอื่นได้ เช่นถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ ฟังเพลง เล่นเกม รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและรับส่งอีเมล์ ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารที่ไร้พรมแดนจากผลสำรวจของกรุงเทพโพลล์ โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จำนวนทั้งสิ้น 1,700 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2 สรุปผลว่า มีดังนี้