การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน (40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน) ซึ่งในแต่ละไตรมาสก็จะมีความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ที่แตกต่างกัน

การนับอายุครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยแบ่งการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้เป็นการเจริญเติบโตทางโครงสร้าง และพัฒนาการเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย

ในระหว่างการตั้งครรภ์สิ่งที่สำคัญที่คุณแม่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกๆ คือ การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และสภาพจิตใจที่สมบูรณ์ เพื่อที่จะส่งผลไปยังทารกในครรภ์ให้สุขภาพดีและแข็งแรง

คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 (อายุครรภ์ 1-3 เดือน)
ในช่วงไตรมาสแรก 3 เดือนแรก คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด เหนื่อย เพลีย จนอยากนอนพักมากๆ เต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น คัดเจ็บเต้านม น้ำหนักตัวคงที่ หรือเพิ่ม 1-3 กก. (ในรายที่ไม่แพ้ท้อง) และจะมีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะรับประทานอาหารไม่ได้ ทำให้ทารกในครรภ์อาจจะไม่ได้รับสารอาหารบำรุงสมองอย่างเพียงพอคุณแม่จะเกิดภาวะขาดสมดุลของเกลือแร่และวิตามิน

การเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกในช่วงไตรมาสแรก
อายุครรภ์ เดือนที่ 1
จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน แน่นและอืดท้อง คัดเต้านม อารมณ์จะผันผวนเหมือนก่อนมีประจำเดือน บางท่านอาจจะมีอาการเลือดออกเล็กน้อยเนื่องจากตัวอ่อนฝังตัวอาการต่างๆ

อายุครรภ์ เดือนที่ 2
เป็นระยะสำคัญที่สุดเนื่องจาก จะมีการเจริญเติบโตเร็วมาก ดังนั้นไม่ว่าการติดเชื้อไวรัส ยาที่รับประทาน หรือสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต หากเด็กได้รับช่วงนี้ จะเกิดความพิการได้ เริ่มมีการสร้าง แขน ขา ตา ในช่วงสัปดาห์ที่ 7-8 จะเริ่มสร้างนิ้วมือ อาจจะได้ยินเสียงหัวใจเด็กเมื่อตรวจด้วย Ultrasound

อายุครรภ์ เดือนที่ 3
ทารกวัยนี้จะมีอวัยวะครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขน ขา ศีรษะ อ้าปากและหุบปากได้ นิ้วเริ่มมีเล็บ แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเนื่องจากเด็กยังมีขนาดเล็ก แขนและมือจะมียาวกว่าขา ศีรษะเด็กจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัวหัวใจจะมี 4 ห้อง หัวใจจะเต้น 120-160 ครั้ง ไตเริ่มขับของเสียสู่กระเพาะปัสสาวะ และถูกนำออกโดยสายสะดือ เด็กในระยะนี้จะมีความยาว 4 นิ้ว

คำแนะนำ
- อาหาร ควรรับประทานอาหารปริมาณปกติเท่าก่อนตั้งครรภ์ เท่าที่คุณแม่จะสามารถรับประทานได้ หากมีอาการแพ้ท้อง จนไม่สามารถทานอาหารได้ ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ และย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้
- การฝากครรภ์ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้คุณแม่และทารก ได้รับการดูแล 9 เดือน แพทย์จะให้คำแนะนำ ป้องกัน ช่วยวินิจฉัยโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์
- การฉีดวัคซีน ไม่นิยมฉีดในขณะตั้งครรภ์ ยกเว้นมีความจำเป็นควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน จะฉีดวัคซีนบาดทะยัก 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ในไตรมาสที่ 1-2
- เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ไม่มีข้อห้ามในการมีเพศสัมพันธ์ ยกเว้นในกรณีที่คุณแม่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยมีประวัติการแท้งบุตรมาแล้วหลายครั้ง หรือมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในไตรมาสแรก และในรายที่มีประวัติเคยคลอดบุตรก่อนกำหนด ควรงดเมื่อตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย

คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน)
ในร่างกายของลูกน้อยจะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3-4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดี แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป

การเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกไตรมาส 2
อายุครรภ์ เดือนที่ 4
ทารกช่วงนี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อวัยวะทำงานได้เต็มที่ เด็กเริ่มมีลายนิ้วมือ กล้ามเนื้อจะแข็งแรงมากขึ้น ตับจะเริ่มสร้างเม็ดเลือดแดง ถุงน้ำดีเริ่มสร้างน้ำดี ฟันน้ำนมเริ่มโตใต้เหงือก ผม ขนคิ้ว ขนตายาวขึ้น เด็กจะมีการตื่นและนอนเป็นเวลา คุณแม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เด็กดูดนิ้วมือเป็น เด็กระยะนี้จะยาว 10-12 นิ้วหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม

อายุครรภ์ เดือนที่ 5
การตั้งครรภ์เดือนที่ 5 นั้นเมื่อคุณแม่ไปพบแพทย์จะตรวจเหมือนกับเดือนที่ 4 อย่าลืมจดปัญหาเพื่อไปปรึกษากับแพทย์ อาการของผู้ป่วยจะคล้ายกับเดือนที่ 4 แต่จะมีอาการมากขึ้น เช่นการเคลื่อนไหวของเด็กเพิ่มขึ้น ตกขาวเพิ่มขึ้น ปวดท้องน้อยเนื่องจากเอ็นที่ท้องตึงขึ้น ท้องผูก ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ขาเป็นตะคริว เส้นเลือดขอด ริดสีดวงทวาร ปวดหลัง ผิวจะมีสีคล้ำขึ้น

อายุครรภ์ เดือนที่ 6
เมื่อไปตรวจตามนัดแพทย์จะตรวจเช่นเดียวกับเดือนที่ 4 อาการต่างๆที่เกิดจะเหมือนกับเดือนที่ 5 แต่จะเคลื่อนไหวมากขึ้นแข็งแรงมากขึ้น

แนะนำ
- อาหาร อาการแพ้ท้องมักจะหายไป จะเริ่มทานอาหารได้ปกติ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ธาตุเหล็ก มีในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ลูกและแคลเซียมซึ่งช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลูก ซึ่งมีในนมเป็นส่วนใหญ่ ไม่ควรทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ไม่ควรได้รับมากเกินไป เพราะในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายไม่ต้องการอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเพิ่มขึ้น ต้องการเฉพาะโปรตีนเพิ่มขึ้น
- ออกกำลังกาย เป็นประโยชน์ต่อแม่ตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ระบบย่อย อาหารทำงานได้ดี ท้องไม่ผูก นอนหลับสบาย และก็ควรออกกำลังกายที่ไม่หักโหม
- ท่านอน จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้ ท่านอนควรตะแคงซ้าย,ขวา หรือหงาย สลับกัน เพื่อลดจุดกดทับของร่างกาย โดยอาจมีหมอนรองรับขาให้สูงขึ้น เพื่อลดอาการบวมของขาที่เกิดจากกิจกรรมในระหว่างวัน
- การตรวจเต้านม เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้นมมารดาในระยะหลังคลอด ลักษณะหัวนมที่แบนหรือบุ๋มลงไป ลานนมแข็งตึงไม่นุ่ม จะทำให้เด็กดูดไม่ได้ การตรวจด้วยตัวเองโดยการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ทาบไปบนผิวหนังตรงรอยต่อระหว่างฐานของหัวนม กับหัวนม แล้วบีบเข้าหากัน ถ้าหัวนมสั้นหรือบุ๋มมากไปจนเด็กดูดไม่ได้ หัวนมจะยุบลงไประหว่างนิ้วมือทั้งสอง

คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน)
คุณแม่ใกล้คลอดท้องจะใหญ่มาก หายใจลำบาก มีอาการบวม ลุกนั่งลำบากและเหนื่อยง่าย ผู้หญิงท้องแก่แต่ละคนมีลักษณะหน้าท้องไม่เหมือนกัน แตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างจึงนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ระยะนี้คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องของความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น อาการเป็นตะคริว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก หรือปัญหาภาวะน้ำคร่ำ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจครรภ์ก่อนคลอดบ่อยขึ้น

การเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกไตรมาส 3
อายุครรภ์ เดือนที่ 7
คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ท้องที่โตมากขึ้นทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น เพราะมดลูกที่โตจะมาดันกระบังลมทำให้หายใจได้สั้นๆเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว นอนหลับไม่ได้เต็มที่จากการที่ทารกในครรภ์จะตื่น และจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที

อายุครรภ์ เดือนที่ 8
เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 8 ทารกยังคงเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วกระดูกแข็งแรงขึ้น ผิวจะเจริญเหมือนคนปกติ สมองพัฒนาเต็มที่ เส้นประสาททำงานได้เต็มที่ ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน เด็กจะรับแสง เสียง และความเจ็บปวด ถ้าเป็นเด็กชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงถุงอัณฑะ เด็กช่วงนี้จะยาว 16-18 นิ้วหนักประมาณ 2 กิโลกรัม

อายุครรภ์ เดือนที่ 9
การตั้งครรภ์เดือนที่ 9 สมองทารกจะเจริญเติบโตเร็วมากค่ะ ตัวเด็กจะเจริญอย่างรวดเร็วพร้อมที่จะคลอด ทารกมีการกลับลงพร้อมคลอด ภูมิคุ้มกันจากแม่จะเข้าสู่ลูก เด็กจะเคลื่อนไหวมากขึ้น ปอดแข็งแรงมาก เด็กจะยาวประมาณ 20 นิ้ว หนัก 2.5-4 กิโลกรัมช่วงอายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์เด็กสามารถคลอดได้ตลอดเวลา ระยะนี้คุณแม่ จะรู้สึกอึดอัดเพราะเด็กตัวโต และดันกระเพาะและกำบังลมทำให้แน่นท้องหายใจตื้นและเร็วอาจมีอาการจุกเสียดหน้าอก และท้องผูก

คำแนะนำ
- อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา ผักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานทั้งก้างได้ด้วย นมพร่องมันเนย
- การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ เช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
- การดูแลเต้านม ในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนมและลานนม ดังนั้นในการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
- ภาวะฉุกเฉิน หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล อาการท้องแข็ง หรือเจ็บครรภ์ ทุก 5-10 นาที มีมูกเลือด หรือเลือดสดๆออกทางช่องคลอด มีน้ำเดิน (น้ำใสๆ คล้ายปัสสาวะราด) ลูกดิ้นน้อยลง หรือปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ บวม เป็นต้น

ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตนอย่างไร

การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ 1. การรับประทานอาหาร คุณแม่จะรับประทานอาหารได้ดีขึ้น เมื่ออาการแพ้ท้องหายไป ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผัก ผลไม้ ไม่ควรรับประทานอาหารพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ขนมหวาน ไขมันมาเกินไป ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารดิบ ๆ สุก ๆ ของหมักดอง ผงชูรส ชา กาแฟ เหล้า และบุหรี่

ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในขณะตั้งครรภ์

1. ห้ามสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ... .
2. ห้ามเครียด ... .
3. ห้ามรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ... .
4. ห้ามดื่มนมมากกว่าวันละ 1 แก้ว ... .
5. ห้ามทานยาพร่ำเพรื่อ ... .
6. ห้ามออกกำลังกายรุนแรง ... .
7. ห้ามยืนและนอนเป็นเวลานาน ... .
8. ห้ามลดน้ำหนัก.

GPAL ย่อมาจากอะไร

2. ระบบ GPAL : G=Gravida : จ้านวนครังของการตังครรภ์ P=Para : จ้านวนครังของการคลอด A=Abortion : จ้านวนครังของการแท้ง L=Living : จ้านวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ Ex : G.

การตั้งครรภ์คืออะไร

การตั้งครรภ์ (Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิแล้วได้ตัวอ่อน เกิดขึ้นมา ในการตั้งครรภ์ปกติ ตัวอ่อนจะไปฝังอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก และตัวอ่อนที่มีเพียงเซลล์เดียว จะแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่าง ๆ จนเจริญเติบโตเป็นทารก ซึ่งผู้หญิงโดยทั่วไปที่มีประจำเดือน ปกติและมาสม่ำเสมอทุกๆ 28-30 วัน จะมีอายุ ...