เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ทดลองอ่าน

ความรู้

รีวิวหนังสือดี "เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด"

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ทดลองอ่าน

สวัสดีผู้อ่านทุกท่านค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสุ่บทความรีวิวหนังสือดีน่าอ่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหนังสือ "เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด" กันค่ะ เล่มนี้เราเพิ่งมีโอกาสได้อ่านเมื่อไม่นานมานี้นี่เอง เลยอยากจะนำมารีวิวให้ทุกคนได้ชมกัน แล้วจะชอบเหมือนที่เราชอบแน่นอน! จะเป็นยังไงบ้างไปติดตามกันต่อเลย :-)

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ทดลองอ่าน
( ภาพโดยผู้เขียน )

เริ่มจากหน้าปกก่อน ทั้งเล่มจะมาด้วยสีสันแสบตาจัดจ้านแบบนี้ค่ะ สีส้มแสดเลย! "เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด" เขียนโดย คิมรันโด แปลไทยโดย วิทิยา จันทร์พันธ์ เป็นหนังสือที่ขายดีในเกาหลีเลยด้วยนะ สำหรับส่วนของหน้าปกทำออกมาได้เด่นสะดุดตาดีค่ะ (ส่วนหนึ่งเด่นเพราะสีส้มแสด แสบตามาก) ทำให้น่าเปิดอ่านมาก ๆ เลย

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ทดลองอ่าน
( ภาพโดยผู้เขียน )

หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ life coach ไม่ใช่หนังสือปลุกใจหรือให้กำลังใจวัยรุ่น แต่เป็นหนังสือที่ช่วงให้วัยรุ่นสามารถเข้าใจโลก เข้าใจตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้พวกเขาสามารถเติบโตและค้นหาตัวเองเจอในแบบที่ไม่บอบช้ำมากเกินไป ชี้ให้เห็นแนวคิดของวัยรุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็สอดแทรกให้เห็นแนวคิดที่ถูกต้องตามความเป็นจริงที่มันควรจะเป็นควบคู่ไปด้วย

หนังสือเล่มนี้จะค่อย ๆ หลอมความคิดของเราให้รู้สึกว่าการเป็นวัยรุ่นไม่จำเป็นต้องเจ็บปวดเสมอไป เราไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จพร้อมคนอื่น ไม่จำเป็นต้องทำแบบคนอื่นทำ ทุกคนมีเส้นทางและช่วงเวลาที่เหมาะสมของตัวเอง และหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณค้นหาภาพอนาคตความฝันตัวเองจนเจอค่ะ

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ทดลองอ่าน
( ภาพโดยผู้เขียน )

"เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด"ถูกเขียนด้วยสำนวนที่เข้าใจง่าย แปลไทยได้สละสลวย อ่านเพลิน ไม่เวิ่นเว้อและสั้นกระชับ อ่านง่ายได้ใจความ ก่อนอื่นต้องขอชมคนแปลไทยว่าแปลได้สวยมาก ๆ แปลแบบไม่ติดขัดเลยจนผู้อ่านอย่างเรารู้สึกประทับใจ เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ใช้วิธีถ่ายทอดผ่านการเล่าอย่างง่าย ๆ จากเรื่องราวและความคิดของผู้เขียน มีบางบทที่ยกสถานการณ์จริงขึ้นมาพูดและวิเคราะห์ด้วยค่ะ

ที่ปกด้านหลังมีคำนิยมของผู้เขียนและบุคคลที่มีชื่อเสียงเขียนอยู่ เราสามารถเห็นได้ว่าทุกคนจะตีความหนังสือเล่มนี้ต่างกันออกไป ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครถูกใครผิดเลยนะ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการตีความของแต่ละบุคคล ซึ่งสำหรับเราก็รู้สึกไปอีกแบบหนึ่งเช่นเดียวกัน

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ทดลองอ่าน
( ภาพโดยผู้เขียน )

ความจริงหนังสือเล่มนี้ถูกวางทิ้งไว้ที่ชั้นวางหนังสือในห้องนอนของเรามาพักใหญ่เลย ไม่ได้เปิดอ่านสักที จนถึงช่วงเวลาที่เรียนจบเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้ลองหยิบขึ้นมาอ่านค่ะ อ่านจบแล้วความคิดแรกในหัวคือไม่รู้ว่าวางทิ้งไว้เฉย ๆ ได้ยังไงมาตั้งนาน ส่วนความคิดถัดมารู้สึกว่าช่วงเวลานี้ของเราเหมาะสมแล้วกับการอ่านหนังสือเล่มนี้ เป็นช่วงเวลาที่เพิ่งเรียนจบ และกำลังสับสนในอนาคตตัวเองเหมือนกับวัยรุ่นคนอื่น ๆ จากเดิมที่ใจเราที่เป็นกังวลกับทั้งเรื่องหางานและเรื่องเรียนต่อ ค่อย ๆ สงบลงหลังจากอ่าน "เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด" และรู้สึกอยากเริ่มต้นค้นหาตัวเองในแบบของเราเองอีกครั้ง


หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร ? ส่วนตัวขอแนะนำให้วัยรุ่นอ่านก่อนเลย จะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดเลยล่ะค่ะ ช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป (ช่วงเรียนมหาลัย) กำลังเหมาะเลย หรือจะเป็นช่วงเรียนจบใหม่ ๆ แบบเราก็ได้เหมือนกัน นอกจากนั้น คนอีกกลุ่มที่เราคิดว่าถ้าได้อ่านจะเกิดประโยชน์เช่นเดียวกันก็คือผู้ปกครอง ปัญหา generation gap ยังคงเป็นปัญหาที่เจอได้บ่อยในแต่ละครอบครัว หากผู้ปกครอง หรือ พ่อ-แม่ ได้อ่าน "เพราะเป็นวัยุร่นจึงเจ็บปวด" น่าจะเข้าใจในความคิดวัยรุ่นได้ง่ายขึ้นและลึกซึ้งขึ้น ส่งผลให้สามารถเลือกวิธี support พวกเขาเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องมากขึ้นค่ะ สามารถเพิ่มความเข้าใจในกันและกันได้เนอะ

ส่วนเด็ก ๆ ที่อายุน้อยกว่านั้น ถ้าสนใจอยากอ่านก็อ่านได้เลยนะ การอ่านเป็นสิ่งที่ดีเสมอ และการเตรียมพร้อมรับมือและการทำความเข้าใจใน "ช่วงชีวิตวัยรุ่น" ที่ยังมาไม่ถึงเป็นสิ่งที่ดีมาก อย่างน้อยเราจะเข้าใจโลก เข้าใจสังคมและตัวตนของตัวเองได้ดีกว่าเดิมแน่นอน

เราได้รับพลังจากหนังสือเล่มนี้ และอยากส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับทุกคนที่กำลังเจอความยากลำบากในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือวัยไหนก็ตาม ขอให้คุณพบเจอเส้นทางของคุณ ขอให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีเสมอนะคะ

วันนี้การรีวิวของเราก็จบลงเพียงเท่านี้ หวังว่าทุกคนจะชอบ หากผิดพลาดขออภัยล่วงหน้าด้วยค่ะ ช่วงนี้ดูแลตัวเองดี ๆ และอย่าลืมล้างมือบ่อย ๆ ไว้เจอกันใหม่โอกาสหน้า วันนี้ลาไปก่อน สวัสดีค่ะ :-)

( ภาพปกโดยผู้เขียน )

ความคิดเห็น

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ทดลองอ่าน

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

รีวิวหนังสือ เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด

          ‘ถ้าให้ย้อนกลับไปได้ จะบอกอะไรกับตัวเองตอนวัยรุ่น .....
                วัยรุ่น คือความเจ็บปวด จงเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน’

     

    เป็นหนังสือที่ผมชอบมากที่สุด และทรงอิทธิพลที่สุดเล่มหนึ่ง
สมัยที่ผมได้อ่าน
ครั้งแรก ช่วงกำลังจะจบมหาลัย และมาได้อ่านอีกครั้ง
พราะตาม Podcast ของ
คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ที่หยิบหนังสือเล่มนี้
มาเล่าให้ฟังกันแบบเต็มๆ

        หนังสือ เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด เขียนโดยอาจารย์คิมรันโด
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยที่ประเทศเกาหลี ที่เล่าเรื่องราวชีวิตวัยรุ่น
ของตัวเอง
ตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรีด้านกฎหมายเรียนปริญญาโท
ด้านบริหาร และ
ปริญญาเอกที่อเมริกาจนกระทั่งกลับมาเป็นอาจารย์
ที่มหาวิทยาลัยโซล
ที่ประเทศเกาหลี

          อาชีพอาจารย์ของผู้เขียน ทำให้เขาได้พบเจอกับวัยรุ่นในช่วงเปลี่ยนถ่าย
จากการเป็นเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อยู่เรื่อยๆ
นอกเหนือจากเรื่องราวของตัวเองแล้ว
อาจารย์จึงได้พบเจอวัยรุ่นมากมายที่มีปัญหา และพยายามดิ้นรนต่อสู้
เพื่อเอาชนะปัญหาเหล่านั้น 

          สำหรับหนังสือเล่มนี้อาจารย์คิมรันโด ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหาสำคัญของ
บทเรียนชีวิต
การเป็นวัยรุ่น

          การก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก การรับมือกับความคาดหวัง
ของพ่อแม่ การประคองชีวิตให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ล้มเหลว
การให้กำลังใจตัวเองและการรับผิดชอบชีวิตของตัวเองเป็นครั้งแรก

เรียกได้ว่า เป็นวัยที่ยากลำบากที่สุดวัยหนึ่งเลยก็ว่าได้ และความจริง


อันโหดร้ายคือ ทุกคนต้องเคยผ่านวัยดังกล่าว ต้องอยู่กับคืนวันที่เจ็บปวด
ต้องโอบกอดมัน
เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน และใช้มันเป็นแรงขับเคลื่อนไปสู่ชีวิต
ในวัยผู้ใหญ่ต่อไปให้ได้

          หนังสือแบ่งออกเป็นบทย่อยๆ กว่า 40 บท โดยเป็นบทความสั้นๆจบในตอน
อ่านแล้วเหมือนเป็นได้ทั้งกำลังใจและคำเตือนจากผู้ใหญ่
ผู้เคยอาบน้ำร้อนในวัยรุ่นมาก่อน หลายๆบทที่ผมอ่านก็รู้สึกว่า
ไม่จำเป็นต้องเป็นวัยรุ่น ก็นำบทเรียนไปใช้ต่อได้
หนังสือจึงอ่านได้ทุกเพศทุกวัย
และเหมือนที่คุณรวิศบอกไว้ว่า หยิบมาอ่านแต่ละครั้งก็อาจได้ความรู้สึก
ที่แตกต่างกันออกไป

          แม้หนังสือจะเขียนมาเป็น 10 ปีแล้ว
แต่ผมรู้สึกได้ว่า ความเจ็บปวด หลายๆอย่าง
ที่วัยรุ่นต้องเผชิญนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย
การสอบเข้าที่ยากลำบาก การรับมือกับความคาดหวังจากคนรอบข้าง
ความรู้สึกเคว้งคว้าง
        เมื่อหาตัวเองไม่เจอ ยังเป็นสิ่งที่วัยรุ่นทุกคนต่างพบเจออยู่
หนังสือจึงเหมือนยังใหม่อยู่เสมอ

          ทั้งนี้ ผมจะขอดึงบทเด่นๆ ที่ผมชอบเป็นการส่วนตัว ออกมาเขียนเป็น
6 ข้อที่ได้หลังอ่านหนังสือ เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวดนะครับ 

1) นาฬิกาของเรากี่โมงแล้ว

          น่าจะเป็นเรื่องที่คลาสสิคที่สุดแล้วสำหรับหนังสือเล่มนี้
เพราะว่าวัยรุ่นหลายๆคนที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตทำงาน
มักจะคิดกันอยู่เสมอว่าตัวเองผ่านชีวิต
มาเยอะแล้ว แต่ถ้าคิดตามหลักนาฬิกาชีวิตของอาจารย์คิม
ที่เปรียบเทียบอายุ 80 ปีของชีวิตคนๆหนึ่ง
กับเวลาในหนึ่งวันที่มี 24 ชั่วโมงนั้น 

         เข็มนาฬิกาของคนที่อายุ 24 ปี ซึ่งเป็นวัยรุ่นที่เพิ่งเรียบจบจากมหาลัย
หรือวันเริ่มต้นทำงานก็เพิ่งชี้ที่เวลา 7 โมง 12 นาที ซึ่งเป็นเวลาเช้าตรู่
เป็นเวลาที่ในหนึ่งวันคนเรากำลังออกไปทำงาน ซึ่งเปรียบได้กับวัยรุ่น
ที่เพิ่งเรียนจบมหาลัยก็กำลังก้าวเท้าเข้าสู่โลกของการทำงานในวัย 24 ปีนี้

         พวกเขาจึงมีเวลาเหลืออยู่อีกมากที่จะได้เผชิญโลก ที่จะได้ทำงาน
สร้างคุณค่าให้กับสังคม เปรียบเหมือนเข็มนาฬิกาชีวิตของเขาเพิ่งจะเริ่มต้น
ขึ้นเท่านั้นเอง ในขณะเดียวกัน สำหรับคนที่อายุ 50 ปี เข็มนาฬิกาชิวิต
ก็เพิ่งอยู่ที่ประมาณบ่ายสามโมงเท่านั้น ยังมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทำ
ในสิ่งที่อยากทำอีกมากก่อนพระอาทิตย์จะตกดิน

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องเข็มนาฬิกาชีวิตนี้คือ  
ไม่มีอะไรสายเกินแก้ ไม่มีอะไรมาเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป     
คนเรายังมีเวลาเหลืออีกมากที่จะได้ลงมือทำ ยังมีเวลาเหลืออีกมาก
ที่จะได้ออกไปใช้ชีวิต

2) เราต่างผลิบานในเวลาที่แตกต่างกัน

          เรื่องการรีบใช้ชีวิต รีบประสบความสำเร็จ นับเป็นค่านิยมที่ครอบงำ
สังคมสมัยใหม่และหมู่วัยรุ่นจำนวนมากมายาวนาน
จนเกิดเป็นความกดดัน ความเครียดโดยเฉพาะคนที่ยังรู้สึกว่า
ตัวเองไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนๆในวัยเดียวกัน

          อาจารย์คิมเปรียบเทียบชีวิตในเรื่องช่วงอายุในการประสบความสำเร็จ
กับดอกไม้ที่ผลิบานในแต่ละฤดู
คนที่ประสบความสำเร็จเร็ว ก็คือดอกไม้ที่
ผลิบานในฤดูใบไม้ผลิ อาจเป็นดอกไม้ที่ผลิบานก่อน
          แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าดอกไม้ที่ผลิบานตมมาที่หลังในฤดูอื่นๆ
จะงดงามน้อยไปกว่าดอกไม้ฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้ที่ผลิบานในฤดูร้อน
ฤดูใบไม้ร่วง หรือฤดูหนาว ต่างมีความงดงามเป็นของตัวเอง
และคงจะเป็นการยากที่จะบอกว่าดอกไม้ชนิดไหนงดงามที่สุด

          ชีวิตคนเราก็คงไม่ต่างกัน คนเราต่างผลิบานในช่วงเวลาที่ต่างกัน
บางคนอาจประสบความสำเร็จเร็ว ในขณะที่บางคนอาจต้องรอจังหวะและ
โอกาส ในการเปล่งประกายความสำเร็จที่ตามมาทีหลัง คนที่ต้องรอความสำเร็จ
เป็นเวลานานๆอาจรู้สึกท้อ หรืออิจฉาเหล่าบรรดาคนที่ประสบความเร็วเร็ว
แต่ถ้าเราเข้าใจว่าทุกคนต่างมีเวลาที่ผลิบานเป็นของตัวเองแล้วนั้น
เราคงจะไม่ท้อ และมุ่งหน้าไปตามความปราถนาของเราได้ดีขึ้น

สิ่งสำคัญที่อาจารย์คิมฝากไว้คือ 
           สุดท้ายแล้วชีวิตวัดกันที่งานที่ทำกันเป็นงานสุดท้าย ไม่ใช่งานแรก
            ความสำเร็จของชีวิตวัดกันที่การทำความฝันให้เป็นจริงในที่สุด
ไม่ได้วัดกันที่ใครทำความฝันให้เป็นจริงเร็วกว่าใคร
มีหลายคนที่ต้องรอถึงอายุ 50-60 กว่าจะทำความฝันได้สำเร็จ

          เพราะฉะนั้นจงอย่าท้อ มุ่งหน้าทำตามความราถนาของเราต่อไป
และเตรียมพร้อมรอวันที่เราจะผลิบาน 

3) เราเป็นลูกธนู หรือเรือกระดาษ

         อาจารย์คิมแบ่งนักศึกษาที่เข้ามาพบอาจารย์อยู่บ่อยๆออกเป็น
สองกลุ่มคือกลุ่มลูกธนูกับเรือกระดาษ ในขณะที่กลุ่มแรกมักจะมีเป้าหมาย
ที่ชัดเจน มีแผนการที่เป็นขั้นตอน และใช้ชีวิตด้วยการลงมือทำเพื่อพาตัวเองไป
สู่เป้าหมายอยู่เสมอๆ เหมือนกับลูกธนูที่พุ่งทะยานตรงไปที่เป้า

         กลุ่มที่สองกลับตรงกันข้าม กลุ่มเรือกระดาษเป็นกลุ่มลูกศิษย์
ที่ไม่มีความแน่นอนกับชีวิต ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถโคลงเคลง
ไปมาตามคำแนะนำของคนรอบข้าง เหมือนกับเรือกระดาษที่ล่องลอยไป
ตามกระแสน้ำ
ในขณะที่ลูกศิษย์กลุ่มแรกอาจเป็นคนที่ขยันทำงาน
และลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คำแนะนำที่อาจารย์มักจะเตือนลูกศิษย์
เหล่านี้ไว้คือ ให้ลอง ‘แง้มประตูหัวใจไว้เล็กน้อย สำหรับการเปลี่ยนแปลง
ที่อาจจะเกิดขึ้น’ 

         เพราะถึงเราจะมีแผนการที่ชัดเจน มีแนวทางการลงมือทำที่ดียังไง
ก็ตามแต่สุดท้ายชีวิตมักจะพาเราไปยังจุดที่เราไม่ได้คาดคิดไว้เสมอ
เหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่เราต้องเผชิญระหว่างเส้นทางในการเดินทางออก
ตามหาความฝัน มักจะนำความเปลี่ยนแปลงมาสั่นคลอนความคิดและความฝันเล็กๆของเรา
        เราจึงต้องรู้จักปรับตัวและ เรียนรู้ที่จะเปิดรับโอกาสใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
อย่าเพิ่งปิดประตูหัวใจเพียงเพราะว่าเรามีเป้าหมายและแผนการที่ชัดเจนแล้ว

         ในทางกลับกัน ลูกศิษย์กลุ่มเรือกระดาษ มักมีความโลเล ความไม่มั่นใจ
ในความคิดของตัวเอง ทั้งที่จริงๆแล้วลูกศิษย์กลุ่มนี้อาจมีความคิดมากมาย
อยู่ในหัว พวกเขาอาจคิดเยอะมากจนไม่อาจตัดสินใจเลือกเดินทางไปในทางใดทางหนึ่งได้

อาจารย์คิมจึงให้คำปรึกษาด้วยการรับฟังเสียงในใจของพวกเขา
และทำให้เขาค่อยๆ รู้คำตอบในสิ่งที่พวกเขาต้องการด้วยตัวเอง
สิ่งที่อาจารย์แนะนำจึงเป็นเหมือนการเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์กลุ่มนี้
ค่อยๆทบทวนตัวเอง จนเข้าใจได้ว่าพวกเขาต้องการอะไรจริงๆ

แม้ลูกศิษย์กลุ่มหลังอาจเคลื่อนที่ช้า เมื่อเทียบกับกลุ่มลูกธนู
แต่การลงมือทำไปทีละน้อย แล้วค่อยๆรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น
ก็คงจะช่วยพาให้พวกเขาไปถึงฝั่งฝันได้เหมือนกัน

4) พื้นไม่ได้ลึกอย่างที่คิด

          ว่าด้วยเรื่องของการยอมละทิ้งบางอย่างที่คนเรามักยึดติดไว้นาน
อาจารย์คิมเปรียบเทียบสถานการณ์นี้กับ การที่เรากำลังเกาะเชือกเส้นหนึ่งไว้
แล้วเมื่อมองลงไปข้างล่างก็ไม่เห็นพื้น เราจึงมักจินตาการว่าพื้นข้างล่าง
มันลึกมาก

         แต่ในความเป็นจริงแล้ว พื้นอาจไม่ได้ลึกอย่างที่คิด การปล่อยมือ
ลงมาจากเชือกอาจทำให้เราเจ็บเล็กน้อย ไม่ถึงกับตาย ไม่ถึงกับพิการ
ความมืดที่เรามองไม่เห็นตอนเกาะเชือกก็เปรียบเหมือนความกลัวในใจเรา
ที่คิดว่าถ้าเราไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการนั้น ชีวิตจะต้อพังพินาศไป
แต่หลายๆครั้งการยอมล้มเลิก

การปล่อยมือลงมาแล้วมองหาหนทางใหม่ก็อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

         ตัวอย่างที่อาจารย์คิมยกมาให้ฟังคือ การสอบเนติบัณฑิตที่ประเทศเกาหลี
ซึ่งเป็นการสอบที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาก
รุ่นพี่บางคนที่เรียนจบกฎหมายมาตอนป.ตรี ต่างพยายาม
ใช้เวลาในการสอบเนติบัณฑิตปีแล้วปีเล่า จนผ่านไปเป็น 10 ปี
ก็ยังสอบไม่สำเร็จ หันไปอีกทีน้องที่สอบอยู่ข้างๆ
ก็เกิดในปีนักษัตรเดียวกันแต่คนละรอบแล้ว 
รุ่นพี่ที่เอาแต่สอบเนติบัณฑิต อย่างเอาเป็นเอาตายเป็นทศวรรษนี้
         อาจนำมาซึ่งผลเสียหลายประการ
คือ อายุที่มากขึ้นอาจทำให้พวกเขาเข้าไปทำงานในบริษัทได้ยากขึ้น
และทำให้มีความจำเป็นต้องออกไปเปิดธุรกิจส่วนตัวแทน
ซึ่งเป็นตัวเลือกที่มีความเสี่ยงสูงกว่ามาก

          เมื่อเทียบกับรุ่นพี่บางคนที่ยอมปล่อยมา ตกลงมาเจ็บเล็กน้อย 
แล้วมองหาเส้นทางอื่นที่เหมาะกับตัวเรามากกว่าอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
ตอนตกลงมาเราคงเจ็บ แต่ด้วยความเป็นวัยรุ่น อายุยังน้อย เจ็บไม่นาน
เดี๋ยวก็หาย และพร้อมสยายปีกบินขึ้นไปใหม่

5) แม้วันนี้ลำบากจนอยากตาย แต่อาจมีใครหลายคนปราถนาอยากเป็นเรา แม้เพียงวันเดียว

          หลายคนที่เจอมรสุมชีวิตอาจรู้สึกท้อ จนบางครั้งอาจไม่อยากมีชีวิตอยู่
แต่อาจารย์คิมอยากให้ลองมองออกไปในท้องถนนแห่งผู้คน แล้วคิดซะว่า
อาจมีอีกหลายชีวิตที่อยากจะมาเป็นเรา แม้จะทำได้เพียงแค่วันเดียวก็ตาม

อาจมีอีกหลายชีวิตบนท้องถนนที่มีชีวิตที่ลำบากกว่าเรามาก
อาจมีคนที่เจออุปสรรคที่ต้องต่อสู้ฝ่าฟัน จนอิจฉาในสิ่งที่ตัวเรามี
และปราถนาอย่างแรงกล้าที่อยากจะมาเป็นตัวเรา แค่เพียงวันเดียวก็ยังดี

          เรื่องนี้ให้บทเรียนว่า
ในวันที่รู้สึกท้อ รู้สึกหดหู่
ให้ก้มลงมองคนที่ลำบากกว่า
แล้วจงซาบซึ้งกับชีวิตตัวเองที่ได้เกิดมาแบบนี้
แต่ถ้าวันไหนเราอยากได้ดี ให้เงยหน้ามองคนที่อยู่สูงกว่า
และอย่าทะนงตนจนเกินไป  

6) มหาวิทยาลัย คือเส้นชัย หรือจุดออกตัว 

          หลายๆคนชอบเข้าใจผิดว่า ถ้าเข้ามหาลัยดีๆได้ คือได้กำชัยชนะ
ของเกมชีวิตไปเรียบร้อบแล้ว แต่สำหรับอาจารย์คิมนั้น มหาลัยเป็นเพียงแค่
จุดออกตัวเท่านั้น เป็นเพียงแค่การเริ่มต้นสู่การต่อสู้ครั้งใหม่

          คนที่เรียนจบจากมหาลัยดีๆ ไม่ได้จำเป็นต้องประสบความสำเร็จ
มากกว่าคนที่จบมหาลัยไม่ดีมา
เพียงแค่ได้เปรียบเรื่องจุดออกตัวเล็กน้อย
ถ้าพูดให้ชัดขึ้นคือ ชื่อเสียงของมหาลัยอาจมีความสำคัญตอนสมัครงาน
เข้าทำงานใหม่ แต่หลังจากนั้นคือวัดกันที่ผลงานที่ทำได้ ไม่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษาอีกต่อไป 

          ผู้บริหาร นักธุรกิจ หรือคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมากมาย
ไม่ได้จบจากมหาลัยที่มีชื่อเสียง แต่เป็นเพราะคนกลุ่มนี้กล้าเสี่ยงกับชีวิต
แบบเต็มตัวจึงได้มาซึ่งโอกาส และประสบการณ์อันล้ำค่า 

          มหาวิทยาลัยจึงเป็นเหมือนสถานที่เตรียมความพร้อมให้ออกไป
เผชิญโลกครั้งใหม่ เป็นสถานที่ที่เราจะได้ปลดปล่อยศักยภาพของเรา
และเตรียมมันให้พร้อมที่จะต่อสู้กับโลกความเป็นจริง 

………………………………………………………………………….

✍🏻ผู้เขียน: คิมรันโด

✍🏻ผู้แปล: วิทิยา จันทร์พันธ์

🏠สำนักพิมพ์: springbooks

📚แนวหนังสือ: พัฒนาตัวเอง, จิตวิทยา