คำราชาศัพท์เป็นคำที่ใช้ในภาษาระดับใด

              การใช้ภาษาทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาษาระดับสนทนาหรือระดับกันเอง ผู้ใช้ควรคำนึงถึงมารยาทซึ่งเป็นทั้งการให้เกียรติผู้อื่นและการรักษาเกียรติของตนเอง เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี เป็นผู้มีสมบัติผู้ดี และมีจิตใจดี

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการจัดลำดับชนชั้นในการปกครองอย่างชัดเจน ย้อนกลับไปใน สมัยสุโขทัย เรามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ต่อมาในสมัยอยุธยาก็มีการรับแนวคิดเทวราชาจากขอมและอินเดียมาใช้ในการปกครอง โครงสร้างสังคมแบบมีลำดับขั้นจึงอยู่เคียงคู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน สะท้อนผ่านมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษาที่ผู้คนใช้สื่อสาร รวมถึงการใช้ ‘คำราชาศัพท์’ ซึ่งเป็นการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบุคคลในแต่ละลำดับชั้นของสังคมนี้ด้วย

คำราชาศัพท์เป็นคำที่ใช้ในภาษาระดับใด


คำราชาศัพท์คืออะไร

หากแปลตรงตัว ‘ราชาศัพท์’ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน แต่โดยทั่วไปแล้ว คำราชาศัพท์นั้นหมายถึงคำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่าง ๆ การใช้คำราชาศัพท์จึงเป็นการใช้คำให้เหมาะสมกับลำดับชั้นของบุคคล ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุ และสามัญชน ในส่วนของที่มา คำราชาศัพท์แต่ละคำนั้นมีที่มาที่หลากหลาย ทั้งจากคำไทยดั้งเดิม และคำไทยที่รับมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร โดยคำศัพท์ส่วนใหญ่จะต้องนำมา ปรับแต่ง ใหม่ก่อน จึงจะใช้สื่อสารเป็นคำราชาศัพท์ได้



คำราชาศัพท์ใช้กับใครบ้าง

คำราชาศัพท์จะใช้กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนไปถึงสามัญชน แต่จะมีลำดับขั้นของพระราชวงศ์ลดหลั่นกันลงมา ดังนี้

๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

๒. สมเด็จบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชชนนี, สมเด็จพระยุพราช, สมเด็จพระบรมราชกุมารี

๓. สมเด็จเจ้าฟ้า

๔. พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช

๕. หม่อมเจ้า*

คำราชาศัพท์เป็นคำที่ใช้ในภาษาระดับใด

โดยบทความนี้จะเน้นเฉพาะการใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ โดยจะแบ่งออกเป็น ๓ หัวข้อใหญ่ ๆ ได้แก่

๑. นามราชาศัพท์

๒. กริยาราชาศัพท์

๓. สรรพนามราชาศัพท์

*หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวงจะใช้คำสุภาพเหมือนสามัญชนทั่วไป ไม่ใช้คำราชาศัพท์ในระดับพระราชวงศ์ 

 

 

นามราชาศัพท์

การทำคำนามทั่วไปให้เป็นคำราชาศัพท์จะเติมคำว่า ‘พระ’ เข้าไปเพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์ แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ พระบรม พระราช และ พระ

๑. พระบรม + นามทั่วไป เช่น พระบรมราโชวาท (คำสอนของพระราชา) พระบรมราชวโรกาส (โอกาสจากพระราชา) ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

๒. พระราช + นามทั่วไป เช่น พระราโชวาท (คำสอนของสมเด็จพระราชินี หรือสมเด็จพระบรม) พระราชนิพนธ์ (ผลงานประพันธ์) ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จบรมราชินีนาถ สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี

๓. พระ + นามทั่วไป เช่น พระเนตร (ตา) พระชานุ (เข่า) ใช้กับลำดับพระองค์เจ้าขึ้นไป

ข้อยกเว้น: ลำดับชั้นหม่อมเจ้าไม่ต้องมีคำว่า ‘พระ’ นำหน้าคำนาม สามารถใช้คำว่า เนตร ชานุ ได้เลย

 

 

กริยาราชาศัพท์

การสร้างคำราชาศัพท์ประเภทกริยาราชาศัพท์จะใช้คำว่า ‘ทรง’ และคำว่า ‘เสด็จ’ ซึ่งมีหลักการดังนี้

การใช้คำว่า ‘ทรง’

๑. ทรง + กริยาธรรมดา เช่น ทรงศึกษา ทรงยินดี

๒. ทรง + นามธรรมดา เช่น ทรงม้า (ขี่ม้า) ทรงเปียโน (เล่นเปียโน) ทรงธรรม (ฟังเทศน์)

๓. ทรง + นามราชาศัพท์ เช่น ทรง + พระอักษร (ตัวหนังสือ) = ทรงพระอักษร (อ่าน เรียน เขียนหนังสือ) ทรง + พระดำริ (ความคิด) = ทรงพระดำริ (มีความคิด)

๔. ทรงมี, ทรงเป็น + นามธรรมดา เช่น ทรงมีทุกข์ ทรงเป็นประธาน ทรงเป็นกรรมการ

ข้อยกเว้น: ห้ามใช้ทรง นำหน้ากริยาราชาศัพท์ เช่น โปรด เสวย ประสูติ ตรัส พระราชทาน ยกเว้นคำว่าผนวช ใช้คำว่าทรงผนวชได้

การใช้คำว่าเสด็จ

๑. เสด็จ + กริยาธรรมดา เช่น เสด็จไป เสด็จเข้า เสด็จออก

๒. เสด็จ + นามราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชดำเนิน (เดินทาง)

การใช้คำว่าเสด็จมีข้อควรระวังคือต้องมีคำแสดงจุดหมายต่อท้ายเสมอ เช่น เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ และคำว่า ‘เสด็จพระราชดำเนิน’ เป็นคำที่ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมเท่านั้น



สรรพนามราชาศัพท์

ในการสนทนาที่มีการใช้คำสรรพนามแทนตัว เราต้องเลือกใช้คำสรรพนามแทนตัวบุรุษที่ ๑ และสรรพนามแทนตัวบุรุษที่ ๒ ให้เหมาะสม เช่น

สรรพนามบุรุษที่ ๑ (แทนตนเอง)ใช้กับข้าพระพุทธเจ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระบรม

สมเด็จเจ้าฟ้าเกล้ากระหม่อม (ผู้ชาย)
เกล้ากระหม่อมฉัน (ผู้หญิง)พระองค์เจ้า

 

สรรพนามบุรุษที่ ๒

(แทนพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์)

ใช้กับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จบรมราชินีนาถใต้ฝ่าละอองพระบาทสมเด็จพระบรมใต้ฝ่าพระบาทสมเด็จเจ้าฟ้าฝ่าพระบาทพระองค์เจ้า

 

 

รู้หรือไม่ ?: ทำไมสรรพนามแทนตัวพระเจ้าแผ่นดินจึงเป็น ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’

หลายคนอาจคิดว่า ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’ แปลว่าใต้ฝุ่นเท้า และหมายถึงประชาชนผู้จงรักภักดี แต่จริง ๆ แล้ว ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนตัวพระมหากษัตริย์ ว่าแต่… ทำไมเราถึงแทนตัวเจ้านายผู้สูงศักดิ์ด้วยคำว่าฝุ่นใต้เท้ากันล่ะ ดูไม่สมเหตุสมผลเลยใช่ไหม ในกรณีนี้ สมศักดิ์ พันธ์ศิริได้เสนอข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการใช้คำว่า ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’ ไว้ในคอลัมน์ไขภาษากับวิฬาร์ไว้ว่า 

๑. ไม่พูดกับท่านโดยตรง แต่พูดกับฝุ่นที่อยู่ใต้เท้าของท่านเพื่อแสดงความนอบน้อมอย่างถึงที่สุด หากเราใช้สรรพนามแทนตัวเราว่าผม กระผม ซึ่งมีที่มาจาก  ‘ผม’ อันเป็นส่วนที่สูงที่สุดของร่างกาย แล้วต้องการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ที่อยู่สูงกว่า ในกรณีนี้เราจะไม่เรียกชื่อท่านโดยตรง และแทนตัวท่านด้วยสิ่งที่อยู่ต่ำสุดของท่าน เช่น ใต้เท้า ใต้ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท และใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่ยกตนเสมอท่าน” 

๒. มาจากพุทธประวัติ ในพุทธประวัติตอนหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติในกรุงกบิลพัสดุ์ พระประยูรญาติที่อาวุโสกว่ามีทิฐิมานะ ไม่ยอมแสดงคารวะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์จึงกระทำอภินิหารด้วยการลอยอยู่เหนือศีรษะของพระประยูรญาติ ฝุ่นละอองจากธุลีพระบาทจึงโปรยปรายตกลงมายังพระเศียรของพระประยูรญาติเหล่านั้น และเป็นที่มาของคำว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม” นั่นเอง

นอกจากเนื้อหาที่เรายกมาให้เพื่อน ๆ ได้ศึกษา บทเรียนเรื่องราชาศัพท์ยังมีรายละเอียดอีกเยอะมาก สามารถแยกออกมาเขียนตำราได้อีกเล่มเลยทีเดียว นอกจากนี้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ และการเลื่อนพระยศของพระราชวงศ์ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ เพื่อน ๆ ต้องคอยติดตามข่าวสารให้อัปเดตอยู่เสมอเพื่อการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้อง และถึงจะเป็นหลักภาษาที่เราไม่ได้พบบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่การศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์ก็ทำให้เรารู้เทคนิคการสร้างคำ ได้เห็นคำยืมจากภาษาอื่น ๆ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีของเพื่อน ๆ ด้วย อย่างเช่นบทเรียนวรรณคดีไทยเรื่อง บทพากย์เอราวัณ ก็มีการใช้คำราชาศัพท์อยู่หลายจุดเช่นกัน

คำราชาศัพท์เป็นคำที่ใช้ในภาษาระดับใด


ขอบคุณข้อมูลจาก:
สิริพัชร์ ชัยกิตติภรณ์ (ครูดรีม)

References:

เชื้อทอง, ฤ, & โรจนประภายนต์, ร. (2016). ค่านิยม อุดมการณ์ และรูปแบบการสื่อสารที่แสดงถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทย. NIDA Journal of Language and Communication, 21, 110-143. doi:https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NJLC/article/view/94424/73815

ทองใบ, อ., พันธุ์ประเสริฐ, ม. (2012). ราชาศัพท์. หลักภาษาไทย ม.๔-๕-๖ (pp. 77-86). นนทบุรี: Think Beyond Books.

พันธ์ศิริ, ส. (n.d.). ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท. Retrieved March 25, 2021, from http://blog.bru.ac.th/wp-content/uploads/2020/03/ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2012). ราชาศัพท์. In หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (2nd ed., pp. 58-69). กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.