การประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา หมายถึง

การตัดสินใจ คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกหลายๆทางเลือก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด และไม่มีความเสียหายผิดพลาดหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  

การตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับทุกคนในองค์กรในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการหรือเครื่องมือหรือใครมาแก้ไขปัญหานั้น 

ปัญหาที่ทำให้การตัดสินใจของคนในองค์กรไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

1)  ขาดกระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

2) ไม่มีการให้ความรู้ทักษะและแนวทางในการตัดสินใจกับพนักงานอย่างจริงจัง  ในการแก้ปัญหาแบบต่างๆ เช่น ถ้าเจอปัญหาเกี่ยวกับระบบ ต้องทำตามกระบวนการ หรือการพิจารณาตาม criteria หรือปัจจัยต่างๆในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น

3) ไม่มีการให้อำนาจการตัดสินใจกับพนักงาน  ต้องรอหัวหน้าหรือผู้นำเพียงอย่างเดียว  เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจึงไม่สามารถจัดการได้

4) การกลัวการตัดสินใจ   หากองค์กรไหนที่มีบทลงโทษพนักงานอย่างรุนแรงในการทำความผิดพลาด โดยไม่มีการกำหนดเกณฑ์การตัดสินใจนั้น จะทำให้พนักงานกลัวการตัดสินใจ เช่น กลัวถูกตัดเงิน พักงาน ไล่ออก เป็นต้น  เหตุการณ์แบบนี้จะทำให้พนักงานไม่กล้าคิด กล้าทำในสิ่งใหม่ๆ ที่นอกเหนือไปจากหน้าที่ของตัวเอง และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกันที่ทำให้เวลาผู้บริหารต้องการเปลี่ยนแปลงองค์กร เป็นไปได้ยาก

5) ขาดการสื่อสารระหว่างคนทำงานหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการตัดสินใจนั้น  ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่รอบด้าน ส่งผลต่อการตัดสินใจที่อาจจะมีผลดีต่อฝ่ายหนึ่ง แต่ส่งผลกระทบที่ไม่ดีกับฝ่ายอื่นๆ

6) การตัดสินใจขึ้นอยู่กับคนๆเดียว   พบในองค์กรเล็กๆ หรือในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในองค์กร ที่การตัดสินใจทุกอย่างต้องรอเจ้าของบริษัทหรือผู้บริหารเพียงคนเดียวเท่านั้น

ดังนั้นทักษะการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจนั้นเป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญในการทำงานของพนังงานทุกคนในองค์กรในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจได้อย่างท่วงทัน รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง

การตัดสินใจที่ดีนั้น มีขั้นตอนการตัดสินใจ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 

1.กำหนดขอบเขต/ความสำคัญของการตัดสินใจ (Identity of Decision making)

ผู้ที่ต้องตัดสินใจต้องสามารถรู้และระบุได้ว่า อะไรคือเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่อยากได้จากการตัดสินใจครั้งนี้

2. รวบรวมทางเลือกที่มีทั้งหมดออกมา (list the Option)

เพื่อหาว่ามีทางเลือกอะไรที่จะเป็นไปได้และเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพที่สุด

3. ศึกษาและกำหนดขอบเขตของแต่ละทางเลือก (Rating the Option)

ศึกษาแต่ละทางเลือกในการตัดสินใจ ว่ามีประโยชน์ ( Benefit) ข้อดี ข้อเสีย (Advantage, Disadvantage) ความเสี่ยง (Risk) เป็นต้น  อะไรบ้าง 

4. ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best solution) 

ตัดสินใจเลือกทางเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ณ ตอนนั้นตามทางเลือกที่ได้ศึกษามาที่ทำให้องค์ได้ประโยชน์สูงสุด  บางครั้งหากมีทางเลือกที่ดีพอๆกัน ผู้ทำการตัดสินใจอาจจะต้องใช้วิจารณญาณด้วย (intuition) ในการตัดสินใจด้วย

5. ประเมินการตัดสินใจ (Evaluate the decision)

หลังจากการตัดสินใจไปแล้วในแต่ละครั้ง ให้ประเมินผลการตัดสินใจในนั้นด้วย เพื่อเรียนรู้ และนำมาเป็นบทเรียนในการตัดสินใจในครั้งต่อๆไป

 อ.เก๋หวังว่า บทความสั้นๆนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจนะคะ 

...................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

การประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา หมายถึง

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer  และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI กว่า 15  ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail :

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)

การประเมินทางเลือกในขั้นตอนการแก้ปัญหาหมายถึงอะไร

การประเมินทางเลือก การประเมินทางเลือกที่ได้จะเป็นขั้นสุดท้าย ที่จะนำไปสู่ทางแก้ปัญหา ได้แก่ การประเมินในด้านของ จุดประสงค์ต่างๆ (Multiple Goals) ที่มีหลากหลายด้าน และประเมินในแง่ของความอ่อนไหวของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องต่างๆเปลี่ยนแปลงไป (Sensitivity Analysis)

การประเมินผลทางเลือกคืออะไร

การประเมินทางเลือก หมายถึง ภายหลังจากที่ผู้บริโภคได้รับข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า มาพอสมควรแก่การตัดสินใจแล้วผู้บริโภคก็จะเริ่มประเมินทางเลือก ผู้บริโภคจะพยายามที่จะสนอง ความต้องการ และจะมองหาประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้าหรือบริการนั้นๆ

การตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหามีกี่วิธี

5 ขั้นตอนการตัดสินใจที่ดี (Decision Making) โดยศศิมา สุขสว่าง.
กำหนดขอบเขต/ความสำคัญของการตัดสินใจ (Identity of Decision making) ... .
รวบรวมทางเลือกที่มีทั้งหมดออกมา (list the Option) ... .
ศึกษาและกำหนดขอบเขตของแต่ละทางเลือก (Rating the Option) ... .
ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best solution).

การตัดสินใจมีความหมายว่าอย่างไร

ปฏิบัติหรือการเลือกทางดำเนินการที่เห็นว่าดีที่สุดทางใดทางหนึ่ง จากทางเลือกหลาย ๆ ทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ หรือการวินิจฉัยสั่งการ คือการชั่งใจไตร่ตรอง และตัดสินใจเลือกทาง ดำเนินงานที่เห็นว่าดีที่สุดทางใดทางหนึ่งจากหลาย ๆ ทางเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ ตามที่ต้องการ