เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า อันตรายไหม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า อันตรายไหม

ปคบ. จับมือ อย. ขอหมายศาลบุกตรวจยืด "เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า" และผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไล่ยุงปลอมหลังตรวจพบมีการสวมเลข อย.

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่16 ก.ย.ที่กองบังคับการปคบ.นำโดย พล.ต.ต. ณัฐศักดิ์ เขาวนาศัย ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก. 4 บก. ปคบ. พร้อม ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข และรักษาราชการแทนรองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติการ กรณีตรวจยึดเครื่องไล่ยุงไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไล่ยุงชนิดน้ำแบบเติม มูลค่าของกลางกว่า 200,000 บาท 

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ กก. 4 บก. ปคบ.ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า มีบุคคลลักลอบนำเครื่องไถ่ยุงไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ไล่ยุงชนิดน้ำแบบเติมจากต่างประเทศ มาสวมเลข อย. แล้วนำออกจำหน่ายให้กับประชาชน โดยมีการบรรยายสรรพคุณว่าปราศจากสารเคมีอันตรายในการไล่ยุงและออกแบบมาเพื่อใช้กับเด็ก สตรีมีครรภ์ และทุกคนในครอบครัว ซึ่งผลิตภัณฑ์ไล่ยุงชนิดน้ำจัดเป็นวัตถุอันตราย จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนนำ ออกจำหน่าย มิฉะนั้นสารพิษจากยาไล่ยุงอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้นำไปใช้ได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สืบสวนหาแหล่งจำหน่ายยาไล่ยุง

โดยเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อย. ได้นำหมายศาลแขวงสมุทรปราการ ทำการตรวจคันสถานที่เก็บชอง จำนวน 2 จุด ในพื้นที่ ต. บางแก้ว อ. บางพลี จ. สมุทรปราการ
ผลการตรวจค้นพบเครื่องไล่ยุงไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ไล่ยุงชนิดน้ำแบบเติม ยี่ห้อ MOSQUITO GUARD จำนวนกว่า 7,000 กล่อง มูลค่า 200,000 บาท โดยผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่าได้สั่งสินค้าปลอมเข้ามาจากต่างประเทศและแอบอ้างใช้ยี่ห้อนี้จริง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ตรวจยึดของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน 

 ทางด้าน พล.ต.ต. ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก. ปคบ. กล่าวว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ฐาน "มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายปลอม" โดยหากผลการตรวจวิเคราะห์พบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 350,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากตรวจพบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 700,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ได้ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชน ควรเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่นำเชื่อถือ มีตัวตน สามารถตรวจสอบกลับได้กรณีที่สินค้าที่ซื้อไปมีปัญหาในการใช้งาน ฉลากแสดงเป็นภาษาไทยที่มีรายละเอียดที่ครบถ้วนตรงกับข้มูลการอนุญาตของ อย. และแจ้งเตือนไปยังผู้ที่กำลังกระทำความผิด ลักลอบผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใส่ยุงผิดกฎหมายให้หยุดการกระทำดังกล่าวทันที หากตรวจพบจะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด และหากพี่น้องประชาชนพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน บก.ปคบ.1135 หรือเพจ ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค


ส่วนทางด้าน ภญ.สุภัทรา กล่าวว่าผลิตภัณฑ์กำจัดยุงและแมลงส่วนมากจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขอให้ผู้บริโภคเลือกจากสถานที่
ขายที่เป็นหลักแหล่งน่าเชื่อถือ โดยให้ความสำคัญกับการอ่านฉลากและตรวจสอบเลข อย. เพราะมีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้โดยตรง หากสารสำคัญเป็นน้ำมันตะไคร้หอม จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ต้องแสดงเลขที่รับแจ้ง เลยที่รับแจ้ง xx/xxxx  แต่หากสารสำคัญเป็นสารอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันหอมระเหยหรือสมุนไพรบงชนิด หรือสารเคมี รวมถึงสารสกัดจากพืชกลุ่มดอกเบญจมาศ จะจัดเป็นวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียน ต้องแสดงเครื่องหมาย อย. วอส.__ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการได้รับอนุญาตของผลิตภัณฑ์กำจัดยุงและแมลงทางเว็บไซต์ อย. ww.fda.moph.go.th

อย.เตือนใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงระวังเป็นอันตรายต่อเด็ก-ผู้ใช้

เผยแพร่: 2 พ.ค. 2556 14:20   โดย: MGR Online

อย.เผยผลิตภัณฑ์ไล่ยุงไม่สามารถฆ่ายุงได้ ผู้ใช้ต้องระวัง หวั่นอันตรายต่อผู้ใช้และเด็ก แนะปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด อึ้ง! แบบน้ำมันตะไคร้หอมไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีสินค้า ที่เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นจำนวนมาก โดยผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุงแต่ไม่สามารถฆ่ายุงได้ออกฤทธิ์ โดยไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง นิยมใช้ในรูปแบบทา หรือฉีดพ่นผิวหนัง โดยสารสำคัญที่พบบ่อย ได้แก่ ดีท (DEET) และน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีดีท (DEET) เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุงนั้น จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส.โดยในกรอบเครื่องหมายประกอบด้วยอักษรย่อ วอส.(วัตถุอันตรายที่ใช้ในทางสาธารณสุข) ตามด้วย เลขทะเบียนทับปี พ.ศ.บนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน

นพ.ไพศาล กล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่เป็นที่นิยมอีกชนิดหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอม เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง โดยต้องมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์น้ำมันตะไคร้หอมจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแจ้งแล้วจะมีเลขที่รับแจ้งบนฉลากทับปี พ.ศ.โดยไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับเลขที่รับแจ้งจาก อย.แล้วได้ที่ http://www.app1.fda.moph.go.th/consumer/conframe.asp

แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันมิให้ยุงกัดได้ แต่ผู้ใช้ต้องให้ความระมัดระวังในการใช้ด้วยโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีส่วนผสมของสารเคมี ดังนั้นก่อนใช้ควรอ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีใช้และคำแนะนำรวมทั้งคำเตือนบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแป้งหรือโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งหรือโลชั่นทั่วไป ควรทาเมื่อต้องการใช้ป้องกันยุง และต้องระวังมิให้เด็กนำไปทาเล่น ควรทาเมื่อมีความจำเป็นอย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจำ อย่าทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน อาทิ บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณที่เป็นแผล เป็นต้น ภายหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ หากต้องการหยิบจับอาหารควรล้างมือให้สะอาดเสียก่อน นอกจากนี้ ควรเก็บผลิตภัณฑ์ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันตะไคร้หอมควรปิดฝาให้สนิท อย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟ หรือความร้อน ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงทุกครั้งขอให้นึกถึงข้อแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงต่างๆ เหล่านี้ เพื่อมิให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้โดยเฉพาะเด็กเล็ก” รองเลขาธิการ อย.กล่าว