การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในภาคธุรกิจ

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในภาคธุรกิจ

Show

รศ.ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร เป็นกรรมการสถาบันมั่นพัฒนา และอาจารย์หลักสูตรการจัดการ มหาบัณฑิตสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) หลักสูตรนานาชาติ วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ถูกคัดเลือกให้รับรางวัล "Outstanding Leadership Award" หรือ "รางวัลผู้นำดีเด่น" ซึ่งรางวัลนี้มอบให้แก่ผู้นำที่มีผลงานโดดเด่น ในการอุทิศตนถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาคมโลก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ: ข้อเท็จจริงจากงานวิจัย

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในภาคธุรกิจ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ: ข้อเท็จจริงจากงานวิจัย

เมื่อปีพุทธศักราช 2517 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไว้ และได้รับความสนใจมากขึ้นหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปีพุทธศักราช 2540 และ 2542 จึงทรงได้พระราชทานคำจำกัดความ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ให้กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและให้กับประชาชนทั่วไปนำไปใช้เพื่อการดำเนินชีวิต

อย่างไรก็ตาม "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในภาคเกษตรกรรมและชนบทของประเทศ การนำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้น ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะประชาชนไม่ทราบว่าจะนำมาใช้ประกอบกับการบริหารองค์กรธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างไร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนเชื่อว่าการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารองค์กรธุรกิจนั้น จะทำให้องค์กรธุรกิจของตนไม่มีความสามารถในการแข่งขันได้

คำถามกว้าง ๆ ของชุดโครงการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจคือ องค์กรธุรกิจตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะอย่างไร สามารถทำให้องค์กรธุรกิจสมดุลและยั่งยืนได้จริงหรือไม่ หากทำได้จริงจะทำอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรธุรกิจที่มีการบริหารจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถสร้างประโยชน์สุขได้หรือไม่อย่างไร คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามในเชิงวิจัยที่นำไปสู่โครงการวิจัยต่าง ๆ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้จาก

หนังสือ "ยั่งยืนจากประโยชน์สุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง"​

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ "ยั่งยืนจากประโยชน์สุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง"
โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภาคธุรกิจ

1. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร

แนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับภาคเกษตรโดยเฉพาะ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เกษตรสามารพึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพิงจากภายนอก ซึ่งนอกจากจะทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้ด้วยอาหารที่เพียงพอต่อการยังชีพแล้ว ยังมีผลผลิตเหลือออกไปขายจนสร้างรายได้งอกเงยให้แก่เกษตรกรตลอดปีได้ด้วย

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในภาคธุรกิจ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 เป็นการจัดการบริหารที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เนื่องมาจากเกษตรมักประสบปัญหาในการเพาะปลูกโดยเฉพาะเรื่องการขาดแคลนน้ำ “น้ำ” จึงถือว่าเป็น “หัวใจ” ของทฤษฎีใหม่ โดยมีการบริหารจัดการที่ดินและน้ำออกเป็นอัตราส่วน 30 : 30 : 10

ตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคเกษตร

- ความพอประมาณ : ปลูกข้าวเพื่อกินเหลือจึงขายกลุ่มแม่บ้านผลิตสินค้าเพื่อสร้างรายได้เสริม กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทำใช้เองภายในชุมชน เลี้ยงไหม

- ความมีเหตุผล : การจัดงานต่าง ๆ เช่น งานเลี้ยงแต่งงาน งานบุญต่าง ๆ ควรมีการทำบัญชีรายรับ –รายจ่าย

- ความมีภูมิคุ้มกัน : ปลูกพืชเสริมหลังเก็บเกี่ยว เลี้ยงสัตว์หลายชนิด มีกลุ่มออมทรัพย์ จัดร้านค้าชุมชน มียุ้งฉางข้าวส่วนรวม กองทุนสวัสดิการชุมชน

- เงื่อนไขความรู้ : มีแกนนำชุมชนผลัดเปลี่ยนไปดูงานและกระจายความรู้ให้คนในชุมชน

- เงื่อนไขคุณธรรม : จัดกิจกรรมสำหรับคุณธรรมของคนในพื้นที่ ยึดมั่นในประเพณีที่ดีงาม

2. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน อุตสาหกรรม การค้าและบริการ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับและทุกสาขาอาชีพโดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกัน คือ เน้นการปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม อาทิ ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมไม่ควรขยายการลงทุนหรือเพิ่มการผลิตที่เกินตัว และนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นหรือภายนอกมากเกินไปจนขาดความสมดุลในระยะยาว แต่ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังอย่างเป็นขั้นตอน มีการกระจายความเสี่ยงและสร้างเครือข่ายธุรกิจเพื่อร่วมมือกันในกิจกรรมต่าง ๆ

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในภาคธุรกิจ

ตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน

ความพอประมาณ

-พอประมาณในด้านการผลิตไม่ผลิตสินค้ามากเกินไป ไม่ผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง หาวิธีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

- พอประมาณในการรับทรัพยากรบุคคล การบริหารค่าจ้างและสวัสดิการ

-จัดโครงการ “โรงงานสีเขียว” เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนข้างเคียง

ความมีเหตุผล

ทั้งนี้เรื่องของการสรรหาบุคคลที่มีทั้ง “คุณภาพและคุณธรรม” ความมีเหตุผลในการบริหารจัดการงาน จัดสวัสดิการให้เหมาะสมกับประโยชน์และความจำเป็นของพนักงานส่วนใหญ่ มีเหตุผลในการผลิตเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อสังคม

การมีภูมิคุ้มกัน

มีเงินออมเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนหรือเป็นการสะสมทุน เพื่อไปลงทุนเพิ่มเติมหากเห็นว่าเหมาะสมและไม่ได้เป็นภาระมากเกินไป สรรหาหรือคัดเลือกคนเก่งและคนดีให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในงาน ส่งเสริมกำลังใจและสวัสดิการให้แก่พนักงาน

เงื่อนไขความรู้คู่คุณธรรม

มีการจัดอบรมทั้งแนวคิด เทคนิควิธีในการบริหาร การบริการ งานการตลาด ให้แก่พนักงาน บุคลากรต่าง ๆ นอกจากนี้อาจยังมีโครงการอบรมคุณธรรมโครงการวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้พนักงานและบุคลากรมีการพัฒนาด้านจิตใจและคุณธรรม

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจทำอย่างไร

การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการด าเนินธุรกิจ หมายถึง การด าเนินธุรกิจโดยการน า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแผนการท างาน กระบวนการท างาน การก าหนดเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ขององค์กรรวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยต้องมีความสอดคล้องกันคือ ธุรกิจต้องมี ภูมิคุ้มกันที่ดี การมีเหตุผลในทุกขั้นตอนและ ...

ประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยพื้นฐานก็คือ การพึ่งตนเอง เป็นหลัก การทำอะไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ ระมัดระวัง พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล และการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ

ภาคธุรกิจเอกชนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง

ภาคธุรกิจเอกชนที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ธุรกิจของตนดำเนินงานได้อย่างมีเหตุผล รู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้ตนเอง รวมทั้งพนักงานมีความรู้ และยึดมั่นในคุณธรรมได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจน จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีเครื่องป้องกันผลกระทบจากภาวะความเสี่ยงภัยจากการดำเนินธุรกิจได้อย่าง ...

การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรมีความสำคัญอย่างไร

แนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับภาคเกษตรโดยเฉพาะ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เกษตรสามารพึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพิงจากภายนอก ซึ่งนอกจากจะทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้ด้วยอาหารที่เพียงพอต่อการยังชีพแล้ว ยังมีผลผลิตเหลือออกไปขายจนสร้างรายได้งอกเงยให้แก่เกษตรกรตลอดปีได้ด้วย