ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

                                        สมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 เหล่าศิลปินได้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ เพราะผลจากสงคราม บางส่วนก็เสียชีวิต บางส่วนก็ถูกกวาดต้อนไปอยู่พม่า ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกในปีชวด พ.ศ. 2311 แล้ว ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ และรวบรวมศิลปินตลอดทั้งบทละครเก่าๆที่กระจัดกระจายไปให้เข้ามาอยู่รวมกัน ตลอดทั้งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลด (เผารูปเทวดา) ตอนพระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท ตอนปล่อยม้าอุปการ มีคณะละครหลวง และเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง เช่น ละครหลวงวิชิตณรงค์ ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล หมื่นโวหารภิรมย์ นอกจากละครไทยแล้วยังมีละครเขมรของหลวงพิพิธวาทีอีกด้วย

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

                                        สมัยกรุงรัตนโกสินทร์การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่

                                        สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงฟื้นฟูรวบรวมสิ่งต่างๆที่สูญเสีย และกระจัดกระจายให้สมบูรณ์ ในรัชสมัยนี้ได้มีการรวบรวมตำราฟ้อนรำขึ้นไว้เป็นหลังฐานสำคัญที่สุดในประวัติการละครไทย มีบทละครที่ปรากฏตามหลักฐานอยู่ เรื่อง คือ บทละครเรื่องอุณรุฑ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ บทละครเรื่องดาหลัง และบทละครเรื่องอิเหนา

                                        สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญรุ่งเรื่องเป็นยุคทองแห่งศิลปะการละคร มีนักปราชญ์ราชกวีที่ปรึกษา 3 ท่าน คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี และสุนทรภู่ มีบทละครในที่เกิดขึ้น ได้แก่ เรื่องอิเหนา ซึ่งวรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครรำ และเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนบทละครนอก ได้แก่ เรื่องไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง และมณีพิชัย

                                        สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ละครหลวงซบเซา เนื่องจากพระองค์ไม่สนับสนุน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกละครหลวงเสีย แต่มิได้ขัดขวางผู้จะจัดแสดงละคร ทำให้เกิดคณะละครของเจ้านาย และขุนนางขึ้นแพร่หลาย หลายคณะ หลายโรง และมีบทละครเกิดขึ้นมากมาย

                                        สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยนี้ได้เริ่มมีการติดต่อกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวยุโรปบ้างแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูละครหลวงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งออกประกาศสำคัญเป็นผลให้การละครไทยขยายตัวอย่างกว้างขวาง ดังมีความโดยย่อ คือ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้คนทั่วไปมีละครชาย และหญิง เพื่อบ้านเมืองจะได้ครึกครื้นขึ้น เป็นเกียรติยศแก่แผ่นดิน แม้จะมีละครหลวง แต่คนที่เคยเล่นละครก็ขอให้เล่นต่อไป ห้ามบังคับผู้คนมาฝึกละคร ถ้าจะมาขอให้มาด้วยความสมัครใจ

                                        สำหรับละครที่มิใช่ของหลวง มีข้อยกเว้นคือ ห้ามใช้รัดเกล้ายอด เครื่องแต่งตัวลงยา และพานทองหีบทองเป็นเครื่องยกบททำขวัญห้ามใช่แตรสังข์ หัวช้างห้ามทำสีเผือก ยกเว้นหัวช้างเอราวัณ มีประกาศกฎหมายภาษีมหรสพ พ.ศ. 2402 เก็บจากเจ้าของคณะละครตามประเภทการแสดง และเรื่องที่แสดง

                                        สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การละครในยุคนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการละครแบบตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู้วงการนาฏศิลปะ ทำให้เกิดบทละครประเภทต่างๆขึ้นมากมาย เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง ละครพูด และลิเก ทรงส่งเสริมการละครโดยเลิกกฏหมายการเก็บอากรามหรสพเมื่อ พ.ศ. 2450 ทำให้กิจการละครเฟื่องฟูขึ้นกลายเป็นอาชีพได้ เจ้าของโรงละครทางฝ่ายเอกชนมีหลายราย นับตั้งแต่เจ้านายมาถึงคนธรรมดา

                                        สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นสมัยที่การละคร และการดนตรีทั้งหลายได้เจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุด นับได้ว่าเป็นยุคทองศิลปะการละครยุคที่ 2 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อบำรุงวิชาการนาฏศิลปะ และการดนตรี และยังทรงเป็นบรมครูของเหล่าศิลปิน ทรงพระราชนิพนธ์บทโขน ละคร ฟ้อนรำ ไว้เป็นจำนวนมาก

                                        สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การเมืองเกิดภาวะคับขัน และเศรษฐกิจของประเทศทรุดโทรม เสนาบดีสภาได้ตกลงประชุมกันเลิกกรมมหรสพ เพื่อให้มีส่วนช่วยกูการเศรษฐกิจของประเทศ และต่อมาจึงกลับฐานะมาเป็นกองขึ้นอีก จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2478 กองมหรสพจึงอยู่ในสังกัดกรมศิลปากร ข้าราชการศิลปินจึงย้ายสังกัดมาอยู่ในกรมศิลปากร ในสมัยนี้มีละครแนวใหม่เกิดขึ้นคือ ละครเพลง หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า “ละครจันทโรภาส” ตลอดทั้งมีละครหลวงวิจิตรวาทการเกิดขึ้น

                                        สมัยรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล  สมัยนี้พันตรีหลวงวิจิตรวาทการ  ได้ให้กำเนิดละครหลวงวิจิตรซึ่งเป็นละครปลุกใจให้รักชาติ และสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาสนใจนาฏศิลป์ไทย ส่งเสริม ทำนุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องนานาอารยประเทศ ทำให้ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงสืบทอดเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อมา

                                        สมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  นาฎศิลป์และการละคร อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล คือ กระทรวงวัฒนธรรม  มีการส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ท่ารำ ชุดใหม่ๆ  และการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ

ละครไทย

                                        ละคร หมายถึง  การแสดงประเภทหนึ่งซึ่งแสดงเรื่องราวความเป็นไปของชีวิตที่ปรากฏในวรรณกรรม  มีศิลปะการแสดงและดนตรีเป็นสื่อสำคัญ ละคร  ตามความหมายนี้หมายถึงละครรำ เพราะว่าเป็นการแสดงออกทางความคิดโดยมุ่งเน้นถึงลักษณะท่าทางอิริยาบถในขณะเคลื่อนไหวตัวในระหว่างการรำ 

                                        ละครไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น  4  ประเภท ดังนี้

                                        1. ละครรำ คือละครที่ใช้ศิลปะการร่ายรำในการดำเนินเรื่อง  แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

                                                                                1.1  ละครรำแบบมาตรฐานดั้งเดิม มี 3 ชนิด คือ

                                                                                                                        -  ละครชาตรี

                                                                                                                        -  ละครนอก

                                                                                                                        -  ละครใน

                                                                                1.2  ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มี 3 ชนิด คือ

                                                                                                                        -  ละครดึกดำบรรพ์

                                                                                                                        -  ละครพันทาง

                                                                                                                        -  ละครเสภา

                                        2. ละครร้อง  คือละครที่ใช้ศิลปะการร้องดำเนินเรื่อง เป็นละครแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก  แบ่งได้เป็น  2  ประเภท คือ

                                                                                2.1  ละครร้องล้วน ๆ

                                                                                2.2  ละครร้องสลับพูด

                                        3. ละครพูด  คือละครที่ใช้ศิลปะการพูดในการดำเนินเรื่อง  เป็นละครแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก  แบ่งได้เป็น 2  ประเภท คือ

                                                                                3.1  ละครพูดล้วน ๆ

                                                                                3.2  ละครพูดสลับรำ

                                        4. ละครสังคีต  เป็นละครที่ใช้ศิลปะการพูดและการร้องดำเนินเรื่องเสมอกัน

                                                                                นอกจากนั้นยังมีการแสดงที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัย รัชกาลที่ 5 อีก 2 อย่างคือ ลิเก และหุ่น ( หุ่นเล็ก , หุ่นกระบอก , หุ่นละครเล็ก)

ละครชาตรี

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

( ละคร เรื่องมโนราห์ )

                                        ละครชาตรี  เป็นรูปแบบละครรำที่เก่าแก่ของไทยที่ได้รับการฟื้นฟูจนถึงทุกวันนี้  เรื่องของละครชาตรีมีกำเนิดมาจากเรื่องมโนราห์ การแสดงโนราเป็นที่นิยมอยู่ทางภาคใต้  ส่วนละครชาตรีมีความนิยมทางภาคกลาง  ซึ่งมักหาดูได้ในงานแก้บน แบบแผนการแสดงโนราชาตรีคล้ายคลึงกับละครของทางมลายูที่เรียกกันว่า “มะโย่ง” แต่ต่างกันที่ภาษาและทำนองดนตรี

                                        ละครโนราชาตรีอาจจะมีผู้นำมาแสดงในภาคกลางตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  แต่ที่มีหลักฐานแน่ชัด คือในสมัยที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปปราบก๊กเจ้านครครั้งหนึ่ง และต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  อีก 2 ครั้ง  ในครั้งหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ชาวภาคใต้ที่อพยพเข้ามาในกรุงเทพ  ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลสนามกระบือ   ได้จัดตั้งคณะละครแสดงกันแพร่หลาย

                                        ละครชาตรี  แต่เดิมผู้แสดงเป็นชายล้วนมีเพียง 3 คนเท่านั้น  ได้แก่  นายโรง  ซึ่งแสดงเป็นตัวพระ อีก2 คน คือ ตัวนาง และตัวจำอวด  ซึ่งแสดงตลก และเป็นตัวเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น ฤาษี  พราน  สัตว์   แต่เดิมนิยมแสดงเพียงไม่กี่เรื่อง  เช่น เรื่องมโนราห์  นายโรงจะแสดงเป็นตัวพระสุธน  ตัวนางเป็นมโนราห์  และตัวจำอวดเป็นพรานบุญ  และอีกเรื่องหนึ่งที่นิยมแสดงไม่แพ้กัน คือ เรื่องพระรถเสน  นายโรงเป็นตัวพระรถ  ตัวนางเป็น เมรี  และตัวจำอวดเป็น ม้าพระรถเสนในสมัยหลังละครชาตรี เพิ่มผู้แสดงให้มากขึ้นและใช้ผู้หญิงร่วมแสดงด้วย

ละครนอก

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

( ละครเรื่องสังข์ทอง)

                                        ละครนอก  มีการดำเนินท้องเรื่องที่รวดเร็ว  กระชับ  สนุก   การแสดงมีชีวิตชีวา  ส่วนมากใช้ผู้ชายแสดง  และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  เข้าใจว่าละครนอกมีวิวัฒนาการมาจากละครชาตรี เพราะมุ่งที่จะให้คนดูเกิดความขบขัน  ผู้แสดงละครนอกแต่เดิมมีผู้แสดงอยู่เพียง 2-3 คน  เช่นเดียวกับละครชาตรี  ละครนอกไม่คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับยศศักดิ์และฐานะของตัวละครแต่อย่างใด  ตัวละครที่เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ก็สามารถโต้ตอบตลกกับเสนากำนัลหรือไพร่พลได้ ละครนอกที่นิยมเล่นได้แก่เรื่อง สังข์ทอง  ไกรทอง  สุวรรณหงส์  พระอภัยมณี  เป็นต้น

ละครใน

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(ละคร เรื่องอิเหนา)

                                        จากรูปแบบของละครนอกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นตัวละครในวัง  ผู้แสดงหญิงล้วน  แบบอย่างละครในนี้ได้สงวนไว้เฉพาะในวังหลวงเท่านั้น  เพราะว่าผู้ชายนั้นจะถูกห้ามให้เข้าไปในพระราชฐานชั้นใน  บริเวณตำหนักของพระมหากษัตริย์  ซึ่งจะประกอบไปด้วยดนตรีที่มีเสียงไพเราะอ่อนหวาน  ใช้บทร้อยกรองได้อย่างวิจิตรบรรจง  ทั้งดนตรีที่นำมาผสมผสานอย่างไพเราะ  รวมทั้งจะมีท่าทางสง่างาม  ไม่มีการสอดแทรกหยาบโลนหรือตลก  และอนุรักษ์วัฒนธรรมและคุณลักษณะที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมา

                                        เรื่องที่ใช้แสดงละครในนั้นมีอยู่ 4 เรื่อง ได้แก่  รามเกียรติ์  อุณรุท  และ อิเหนา   เข้าใจกันว่าละครในสมัยเริ่มแรกเล่นกันแต่เรื่องรามเกียรติ์ และอุณรุทเท่านั้น  เพราะถือว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับนารายณ์อวตาร  ใช้สำหรับเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์  ผู้อื่นจึงไม่สามารถนำไปเล่นได้  ต่อมาละครในไม่ค่อยได้เล่น 2 เรื่องนี้ เหลือแต่โขนและหนังใหญ่ที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์  ส่วนเรื่องดาหลังไม่ค่อยนิยมแสดงนัก  เพราะชื่อตัวละครเรียกยาก  จำยาก  เนื้อเรื่องก็สับสนไม่สนุกสนานเท่าเรื่องอิเหนา  ต่อมาพวกละครนอกและลิเกจึงนำไปแสดงบ้าง  ดังนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์  นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่  ละครในจึงนิยมแสดงอยู่เพียงเรื่องเดียวนาน ๆ จึงจะมีผู้จัดแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุทสักครั้งหนึ่ง

                                        บทละครในเป็นกลอนบทละครที่ผู้แต่งใช้ความประณีตบรรจงในการเลือกเฟ้นถ้อยคำมาร้อยกรองอย่างไพเราะและมีความหมายดี  เพื่ออวดฝีมือในการแต่งแต่งด้วย  ทั้งนี้เนื่องจากละครในเล่นกันอยู่ไม่กี่ตอน  คนดูมักรู้เรื่องดีอยู่แล้ว  ผู้แต่งจึงมุ่งพรรณนาเนื้อความในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน  ดังจะเห็นได้จากบทชมธรรมชาติ ชมพาหนะ  ชมเครื่องแต่งตัว  บทพรรณนาความรู้สึก  ซึ่งปรากฏอยู่ตลอดเรื่อง  บทละครในที่แต่งได้ดีเยี่ยมได้แก่เรื่องนามเกียรติ์และอิเหนา  ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 

                                        การแสดงละครในมุ่งที่ความประณีตสวยงามเป็นหลัก  ทั้งศิลปะการรำที่มีลีลาท่าทางงดงาม  นุ่มนวล  เครื่องแต่งกายสวยประณีต  ดนตรีและเพลงที่ไพเราะ  ผู้ชมละครในไม่มุ่งความสนุกสนานตื่นเต้นเหมือนดูละครนอก  แต่จะมุ่งดูศิลปะการร่ายรำ  ลีลาท่าทางที่ประณีตงดงามและเพลงที่ไพเราะมากกว่าละครในที่นิยมกันมากที่สุด คือ อิเหนา

ละครดึกดำบรรพ์

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(ละคร เรื่องคาวี)

                                        ละครดึกดำบรรพ์ เป็นการแสดงละครแบบหนึ่งในประเภทละครรำเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5เนื่องมาจากในสมัยรัชกาลที่ 5  มีเจ้านายชาวต่างชาติเข้าเข้าเฝ้าอยู่หลายครั้ง จึงโปรดให้มีการละเล่นให้แขกบ้านแขกเมืองได้รับชม  โดยเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน  กุญชร) ได้คิดการแสดงในรูปแบบคอนเสิร์ตโดยเนื้อเรื่องตัดตอนมาจากวรรณคดีไทย  โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงเลือกเพลงและอำนวยการซ้อม  จึงถือว่าการแสดงในครั้งนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของละครดึกดำบรรพ์   ต่อมาภายหลังเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ได้มีโอกาสชมละครโอเปร่า จึงเกิดความชอบใจและนำปรับปรุงให้เข้ากับละครดึกดำบรรพ์ของไทย  ละครดึกดำบรรพ์ที่นิยมเล่นได้แก่เรื่อง สังข์ทอง  คาวี ฯลฯ

                                        การแสดงละครดึกดำบรรพ์แสดงในโรงปิดขนาดเล็ก  ดนตรี ประกอบการแสดง   ใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ดัดแปลงมาจากวงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย  ระนาดเอกไม้นวม  ระนาดทุ้ม(ไม้)  ระนาดเหล็กทุ้ม   ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องหุ่ย  ขลุ่ยเพียงออ  ขลุ่ยอู้  ซออู้  ตะโพน  กลองตะโพน  กลองแขก  และฉิ่ง

ละครพันทาง

                                        ละครพันทาง หมายถึงละครแบบผสม  คือ  การนำเอาลีลาท่าทีของชนต่างชาติเข้ามาปรับปรุงกับท่ารำแบบไทย ๆ  การแสดงละครชนิดนี้แต่เดิมเป็นการริเริ่มของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง  เป็นผู้คิดค้นนำเอาเรื่องของพงศาวดารของชาติต่าง ๆ มาแต่งเป็นบทละครสำหรับแสดง

                                        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  ได้กำหนดชื่อนี้และทรงปรับปรุงให้มีฉากประกอบการแสดงเพื่อให้แลเห็นสมจริงสมเนื้อร้องซึ่งยังปรับปรุงลีลาท่ารำของชนชาติกับท่าทางอิริยาบถของสามัญชนเข้ามาผสมกัน  เพลงร้องประกอบการแสดงนั้นส่วนมากต้นเสียงกับลูกคู่เป็นผู้ร้อง  แต่ก็มีบ้างที่กำหนดให้ตัวละครเป็นผู้ร้อง  ปี่พาทย์ประกอบการแสดงใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม  บทที่ใช้มักเป็นบทที่กล่าวถึงตัวละครที่มีเชื้อชาติต่าง ๆ  เช่น พม่า มอญ  จีน  ลาว  บทที่นิยมนำมาเล่นในปัจจุบันมีเรื่องพระลอและราชาธิราชตอนสมิงพระรามอาสา

                                        ลักษณะการแต่งตัวของละครพันทางจะแต่งตามเชื้อชาติ   และความเป็นจริงของตัวละครในบทนั้น ๆ

สถานที่แสดง

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

                                        ละครผสมสามัคคีของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง แสดงในโรงละครปรินซ์เธียเตอร์    ละครพันทางของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  แสดงที่โรงละครปรีดาลัย   และละครพันทางของกรมศิลปากรแสดงที่โรงละครแห่งชาติ
                                        โรงละครปรินซ์เธียเตอร์  อธิบายลักษณะของโรงละครสรุปได้ว่า  ส่วนสำหรับแสดง ยกพื้นเวทีสูงกว่าที่นั่งของผู้ชม มีฉากยกพื้นฉากเดียวเช่นเดียวกับละครนอก แต่นำเทคนิค เรื่อง แสงสี เสียงมาใช้ด้วย  ส่วนที่นั่งผู้ชมจัดเป็นบ๊อกซ์ อยู่ด้านหน้าเวทีแสดง  ผู้ชมสามารถชมละครได้เพียงด้านเดียว

ละครเสภา

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(ละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน)

                                        ละครเสภา คือละครที่มีลักษณะการแสดงคล้ายละครนอก  รวมทั้งเพลงร้องนำ  ทำนองดนตรี  และการแต่งกายของตัวละคร  แต่มีข้อบังคับอยู่อย่างหนึ่งคือต้องมีขับเสภาแทรกอยู่ด้วยจึงจะเป็นละครเสภา 
                                        ก่อนที่จะเกิดละครเสภาขึ้นนั้น  เข้าใจว่าจะมีการขับเสภาเป็นเรื่องราวก่อน  เรื่องที่นาขับเสภาและนิยมกันอย่างแพร่หลายคือ  เรื่องขุนช้างขุนแผน  การขับเสภาตั้งแต่โบราณนั้นไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดประกอบ  นอกจากกรับที่ผู้ขับขยับประกอบแทรกในทำนองขับของตนเท่านั้น  ครั้นเวลาต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ซึ่งทรงโปรดสดับการขับเสภาได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดวงปี่พาทย์เข้าประกอบเป็นอุปกรณ์ขับเสภา  โดยให้แทรกเพลงร้องส่งให้ปี่พาทย์รับและบรรเลงเพลงหน้าพาทย์เหมือนอย่างการแสดงละครนอก  ตอนใดดำเนินเรื่องก็ขับเสภา  ตอนใดเป็นถ้อยคำรำพันหรือข้อความอื่นที่ควรแก่การร้องส่งก็ร้อง  จะเป็นเพลงช้าปี่หรือโอ้ปี่อย่างละครนอกก็ได้  ตอนใดเป็นบทไปมาหรือรบกัน  ปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลงเชิดประกอบ  ต่อมาได้วิวัฒนาการให้มีผู้แสดงออกมาแสดงตามบทเสภาและบทร้อง  ครั้งแรกก็อาจจะเป็นเพียงตอนใดตอนหนึ่ง  ครั้นต่อมาก็เลยปรับปรุงให้เป็นการแสดงทั้งหมด  และเรียกการแสดงนี้ว่า “เสภา

                                        ละครเสภาที่นิยมเล่นกันมาก คือ ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก ,พระวัยแตกทัพ ,ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา เป็นต้น

ละครร้อง

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

( ละคร เรื่องสาวเครือฟ้า)    

                                        ละครร้องเป็นศิลปะการแสดงแบบใหม่ ที่กำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากละครต่างประเทศ  ต้นกำเนิดละครร้องมาจากการแสดงของชาวมลายู เรียกว่า บังสาวันได้เคยเล่นถวายรัชกาลที่ 5 ทอดพระเนตรครั้งแรกที่เมืองไทรบุรี และต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ โรงที่เล่นอยู่ที่ข้างวังบูรพา  พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแก้ไขปรับปรุงเป็นละครร้องเล่นที่โรงละครปรีดาลัย  คณะละครนี้ต่อมาได้เปลี่ยนเรียกชื่อว่า “ละครหลวงนฤมิตร บางครั้งคนยังนิยมเรียก “ละครปรีดาลัย” อยู่  ต่อมาเกิดคณะละครร้องแบบปรีดาลัยขึ้นมากมาย เช่น คณะปราโมทัย  ปราโมทย์เมือง  ประเทืองไทย  วิไลกรุง  ไฉวเวียง  เสรีสำเริง  บันเทิงไทย  นาครบันเทิง  ได้นิยมกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7  และครั้งหลังสุด คือ โรงละคร         นาคบันเทิงของแม่บุนนาค กับโรงละครเทพบันเทิงของแม่ช้อย

                                        นอกจากนี้ได้กำเนิดละครร้องขึ้นอีกแบบหนึ่ง โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดัดแปลงละครของชาวตะวันตกจากละครอุปรากรที่เรียกว่า “โอเปอเรติก ลิเบรตโต” มาเป็นละครในภาษาไทย และได้รับความนิยมอีกแบบหนึ่ง

                                        ละครร้องจึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                                                                                1.  ละครร้องสลับพูด ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

                                                                                2.  ละครร้องล้วนๆ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6)

                                        ผู้แสดง ละครร้องสลับพูด ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ยกเว้นแต่ตัวตลก หรือจำอวด ใช้ผู้ชายแสดง
                                                     ละครร้องล้วนๆ ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง

                                        การแต่งกาย ละครร้องสลับพูด แต่งตามฐานะของตัวละคร
                                                     ละครร้องล้วนๆ แต่งแบบละครพันทาง หรือตามลักษณะของตัวละครในเรื่อง

                                        เรื่องที่แสดง  ละครร้องสลับพูด แสดงเรื่อง ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน เครือณรงค์ กากี ภารตะ สาวเครือฟ้า        ละครร้องล้วนๆ แสดงเรื่อง สาวิตรี

                                        การแสดง ละครร้องสลับพูด มีทั้งบทร้องและบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ มีลูกคู่คอยร้องรับอยู่ในฉาก ยกเว้นแต่ตอนที่เป็นการเกริ่นเรื่องหรือดำเนินเรื่อง ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องทั้งหมด
                                                          ละครร้องล้วนๆ ตัวละครขับร้องโต้ตอบกัน และเล่าเรื่องเป็นทำนองแทนการพูด ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงล้วนๆ ไม่มีบทพูดแทรก มีเพลงหน้าพาทย์ประกอบอิริยาบถของตัวละคร  จัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง ใช้เทคนิคอุปกรณ์แสงสีเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศให้สมจริง

                                        ดนตรี ละครร้องสลับพูด  บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม หรืออาจใช้วงมโหรีประกอบ ในกรณีที่ใช้แสดงเรื่องเกี่ยวกับชนชาติอื่นๆ
        ละครร้องล้วนๆ  บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม

                                        เพลงร้อง ละครร้องสลับพูด  ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น ในกรณีที่ตัวละครร้องใช้ซออู้คลอตามเบาๆ เรียกว่า ร้องคลอ
           ละครร้องล้วนๆ  ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น ที่มีลำนำทำนองไพเราะ

สถานที่แสดง  ละครร้องสลับพูด และละครร้องล้วนๆ มักแสดงตามโรงละครทั่วไป   

ละครพูด

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(ละครพูดสลับร้อง)

                                        ละครพูดเริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรก เนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  

                                        พ.ศ. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคทองของละครพูด ประชาชนให้ความสนใจต่อละครประเภทนี้มาก เพราะเห็นว่าเป็นของแปลกและแสดงได้ง่าย  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนละครพูดอย่างดียิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดที่ดีเด่นเป็นจำนวนมาก และทรงร่วมในการแสดงด้วยหลายครั้ง ละครพูดแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ คือ

                                        ผู้แสดง    

                                        ละครพูดล้วนๆ ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้ละครพูดสลับลำ ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง เหมือนละครพูดแบบร้อยกรอง

                                        การแต่งกาย    

                                        ละครพูดล้วนๆ  แต่งกายตามสมัยนิยม ตามเนื้อเรื่องโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของตัวละคร 

                                        ละครพูดล้วนๆ เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรืองโพงพางเมื่อ พ.ศ. 2463 เรื่องต่อมาคือ เจ้าข้าสารวัดทั้งสองเรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ละครสังคีต

ละครใดที่เกิดขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(ละครสังคีต  เรื่องหงษ์ทอง)

                                        คำว่า สังคีตหมายถึง การรวมเอาการฟ้อนรำและการละคร พร้อมทั้งดนตรีทางขับร้อง และดนตรีทางเครื่องด้วย  ละครสังคีตหมายถึง ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้
                                        ละครสังคีตเป็นละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆ กัน

                                        ผู้แสดง   ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง
การแต่งกาย  แต่งตามสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามเนื้อเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย

                                        เรื่องที่แสดง  นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า ละครสลับลำเรื่องวิวาห์พระสมุทร ทรงเรียกว่า ละครพูดสลับลำเรื่องมิกาโดและวั่งตี่ ทรงเรียกว่า ละครสังคีต

                                        การแสดง  มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพูดเป็นเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้องและบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน

                                        ดนตรี  บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม

                                        เพลงร้อง  ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น มีลำนำที่ไพเราะ  ละครร้อง