เฉลย กิจกรรม ท้าย บท พลเมืองดิจิทัล

1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity) ความสามารถในการสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริง

2. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น

3. ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) ความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้อง และข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาดีและข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้

4. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ความสามารถในการบริหารเวลาในการใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกภายนอก

5. ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management) ความสามารถในการรับรู้ และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างชาญฉลาด

6. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล ว่าจะหลงเหลือร่อยรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจพลลัพธ์ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ

7. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management) ความสามารถในการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการโจมตีทางออนไลน์ได้

8. ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) ความสามารถในการเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์

1. ข้อใดคือคุณลักษณะเบื้องต้นของพลเมืองดิจิทัล 1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ 2. มีทักษะและความรู้ที่หลากหลายในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์และช่องทางการสื่อสารประเภทต่าง ๆ 3. มีทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน 4. ถูกทุกข้อ 2. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizens) ได้ถูกต้องที่สุด 1. เป็นพลเมืองที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ 2. เป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กำกับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน 3. เป็นพลเมืองที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์และช่องทางการสื่อสารประเภทต่าง ๆ 4. เป็นพลเมืองใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน 3. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ การเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizens) น้อยที่สุด 1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. การใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ 3. การใช้อุปกรณ์สื่อสารและช่องทางการสื่อสารประเภทต่าง ๆ 4. การใช้อินเทอร์เน็ตในการดำรงชีวิตประจำวัน 4. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับมิติความเป็นพลเมืองดิจิทัล 1. มิติการรักษาอัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคล 2. มิติของกิจกรรมทางธุรกิจ 3. มิติทักษะและความสามารถในสภาพแวดล้อมดิจิทัล 4. มิติจริยธรรมทางดิจิทัล 5. ข้อใดไม่นับว่าเป็น แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ บนเว็บไซต์ 1. Website 2. Cloud Computing 3. Data Mining 4. E-mail 6. พลเมืองดิจิทัลจะต้องมีความรับผิดชอบด้านใดบ้าง 1. ความรับผิดชอบต่อผลประโยชน์ตนเอง 2. ความรับผิดชอบต่อรายได้ที่พึงได้รับ 3. ความรับผิดชอบต่อชุมชน 4. ถูกทุกข้อ 7. ข้อมูลส่วนตัวประเภทใดต่อไปนี้ที่เราต้องคิดก่อนที่จะแชร์ในโลกออนไลน์ 1. ชื่อ-นามสกุลจริง 2. อาหารที่น้องหมาที่บ้านชอบ 3. กีฬาที่ชอบเล่น 4. หนังสือที่ชอบอ่าน 8. ระดับความเป็นส่วนตัว (privacy) ทางดิจิทัล ขึ้นอยู่กับข้อใด 1. ขึ้นอยู่กับสถานที่ 2. ขึ้นอยู่กับเวลาที่เผยแพร่ข้อมูล 3. ขึ้นอยู่กับเเต่ละบุคคลเเละบริบทด้านสังคมเเละวัฒนธรรม 4. ขึ้นอยู่กับการเดินทางโดยการใช้ GPS นำทาง 9. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบความฉลาดทางดิจิทัล 1. อัตลักษณ์ทางดิจิทัล 2. การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล 3. การสื่อสารในโลกดิจิทัล 4. เปิดกว้างการใช้งานโดยไม่มีเงื่อนไข 10. คุณสมบัติของพลเมืองดิจิทัลคืออะไร 1. ลำเลียงโดยลำกับในที่ซึ่งสัญลักษณ์ 2. เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์และช่องทางการสื่อสารต่างๆ 3. ดิจิทัลทั้งหมดมีไม่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากวิธีการสื่อสารแบบอะนาล็อก 4. กำหนดจุดเริ่มต้นของลำดับ 11. ไวรัสคอมพิวเตอร์ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคม 1. เกิดความไม่เสมอภาค 2. เพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อม 3. เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล 4. เพิ่มจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 12. ข้อใดถือว่าเป็นภัยแฝงออนไลน์ 1. ปาลินใช้เวลาว่างเล่นโซเชียล จนทำให้สอบไม่ผ่าน 2. มุตาขายของออนไลน์ 3. สาลีส่งงานอาจารย์ทางเมล์ 4. นาเดียแจ้งข่าวสารให้เพื่อนโดยใช้ Facebook 13. เราควรทำอย่างไร หากมีคนที่ไม่รู้จักส่งข้อความมาต่อว่าทางออนไลน์ 1. ส่งต่อให้เพื่อนดู เพราะตลกดี 2. ตอบโต้กลับ 3. รายงานให้ผู้บริการทราบ (เช่น เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์) จากนั้นก็บล็อกคนนั้น และบอกผู้ใหญ่ที่น้องไว้ใจให้ทราบ 4. ลบข้อความน้ำ แต่ไม่บอกใคร 14. ข้อใดไม่ใช่ จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ 1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 2. ความเป็นเจ้าของ (Information Property) 3. ข้อมูลที่ได้รับอนุญาต (Data Allow) 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) 15. เมื่อเพื่อนแชร์ข้อมูลมา เราควรทำอย่างไร 1. Like และแชร์ต่อ โดยไม่ต้องอ่าน 2. เชื่อถือและปฏิบัติตาม 3. พิจารณาความน่าเชื่อถือและถูกต้องของข้อมูล 4. แสดงความชื่นชมเพื่อที่นำข้อมมูลมาแชร์ 16. ข้อใด ไม่เป็น การกระทำผิดกฎหมาย 1. ส่งอีเมล ลูกโซ่ โดยปกปิดที่มา 20 คน 2. โพสต์ข้อความด่าหรือจงใจกล่าวหาใส่ร้ายผู้อื่น 3. แอบนำ ID และ Password ของเพื่อนไปใช้โดยไม่ได้อนุญาต 4. ชี้นำสังคมให้เกิดค่านิยมในการข่มขืน โดยสร้างหนังให้พระเอกข่มขืนนางเอก 17. ผู้ใดเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษ 1. จำคุกไม่เกิน5ปี ปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. จำคุกไม่เกิน2ปี ปรับไม่เกิน40,000บาท 3. จำคุกไม่เกิน1ปี หรือปรับไม่เกิน2หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 4. จำคุกไม่เกิน3ปี หรือปรับไม่เกิน2แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 18. ออฟฟิต ซินโดรม เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงกับคน  กลุ่มใด ที่สุด 1. กลุ่มคนทำงานออฟฟิต    2. กลุ่มนักศึกษา 3. กลุ่มผู้ใช้แรงงาน             4. กลุ่มนักธุรกิจ 19. ควรนั่งทำงานอย่างไรเพื่อลดอาการปวดเมื่อย 1. ไม่นั่งหลังค่อม 2. ยืดส้นยืดสายทุก 30 นาที 3. ปรับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสม 4. ถูกทุกข้อ 20. การรักษาอาการออฟฟิตซินโดรม ที่ดีที่สุด คือข้อใด 1. การกินยาลดปวด                      2. การทำกายภาพบำบัด 3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน         4. การฝังเข็ม 21. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์) คืออะไร 1. คือกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำความผิดบนคอมพิวเตอร์ 2. คือกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำความผิดบนคอมพิวเตอร์ 3. คือกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 4. คือกฎหมายที่ว่าด้วยการปราบปรามทุจริต คอร์รัปชั่น 22. การตัดต่อหรือดัดแปลงภาพ ต้องระวางโทษตามข้อใด 1. จำคุก 2 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท 2. จำคุก 3 ปี เเละปรับไม่เกิน 200,000 บาท 3. จำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. จำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 23. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2560 ในปัจจุบันกระทรวงใดทำหน้าที่รักษาการพ.ร.บ.ฉบับนี้ 1. กระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคม 2. กระทรวงการต่างประเทศ 3. กระทรวงการคมนาคมเเห่งชาติ 4. กระทรวงการคลัง 24. ความเสี่ยงสูงที่จะเป็นออฟฟิต ซินโดรม คือข้อใด 1. นั่งทำงานหน้าคอม มากกว่า 6 ชม./วัน                               2. ระหว่างทำงานมักจะปวดเมื่อยต้นคอ ไหล่ 3. ตาพร่ามัว อ่านหน้าจอไม่ชัด 4. ถูกทุกข้อ 25. การป้องกันการเกิดออฟฟิตซินโดรม ที่ควรทำทุกๆ 20 นาที คือข้อใด 1. พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ 2. ยืดเหยีดกล้ามเนื้อ และแขน 3. ลุกออกไปเดินเล่น             4. นอนพักผ่อน