ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะ

 ประกาศกรุงเทพมหานคร

เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะ

----------------------

ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ ๘ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๕ ที่กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

กรุงเทพมหานครในฐานะราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและดูแลรักษาที่สาธารณะ ตามมาตรา ๘๙ () และ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๘ ประกอบกับมาตรา ๑๖(๑๗) และ ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. ๒๕๔๒ และตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.. ๒๕๓๕ จึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะ ฉบับลงวันที่ ๘ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๕

ข้อ ๒ ห้ามมิให้ติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะ เว้นแต่กรณีดังนี้

.๑ เป็นการติดตั้งในบริเวณหรือสถานที่ที่กรุงเทพมหานครกำหนดหรือจัดไว้ให้

.๒ การติดตั้งป้ายบอกทางและป้ายนอกสถานที่

.๓ การติดตั้งป้ายเพื่องานพระราชพิธี รัฐพิธีหรือการต้อนรับราชอาคันตุกะหรือแขกเมืองของ รัฐบาล

.๔ การติดตั้งป้ายสำหรับงานจัดสร้างหรือซ่อมถนน และงานสาธารณูปโภคของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยให้รวมถึงการจัดสร้างหรือซ่อมที่ดำเนินการ โดยผู้รับจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือ

.๕ การติดตั้งป้ายแสดงชื่อหรือสัญลักษณ์ของผู้บริจาคเงินค่าก่อสร้างหรือปรับปรุง

ข้อ ๓ การติดตั้งป้ายโฆษณาตามข้อ ๒ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้

.๑ ต้องเป็นป้ายที่มั่นคงแข็งแรงและไม่มีลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตราย

.๒ ไม่ปิดหรือบังเครื่องหมายหรือสัญญาณที่เกี่ยวกับการจราจร

.๓ ต้องติดตั้งในที่ที่ไม่เป็นอุปสรรคแก่การจราจร

.๔ ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากป้ายหรือ จากการติดตั้งหรือจากการรื้อถอนป้ายนั้น

.๕ ข้อความและภาพที่ใช้ต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม

ข้อ ๔ การติดตั้งป้ายโฆษณาในบริเวณหรือสถานที่ที่กรุงเทพมหานครกำหนดหรือจัดไว้ให้ตามข้อ ๒.๑จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ระยะเวลา และรูปแบบ ดังนี้

.๑ ต้องเป็นป้ายที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ทางการค้า กรณีมีผู้สนับสนุนการจัดทำป้าย จะมีชื่อ หรือสัญลักษณ์ของผู้สนับสนุนได้ไม่เกิน ๑ ใน ๑๐ ส่วนของฝ่าย

.๒ มิให้ติดตั้งในบริเวณดังนี้ เกาะกลางบนถนน ต้นไม้ สะพานลอยคนเดินข้าม และสะพานลอยรถข้าม รวมทั้งส่วนประกอบของสะพาน รั้วและแผงเหล็กริมถนน ป้ายจราจร และสัญญาณไฟจราจร ป้ายประกาศของทางราชการ รั้ว หรือกำแพง หรือผนังอาคารของทางราชการ ศาลาที่พักผู้โดยสาร ถนนโดยรอบพระบรมมหาราชวัง ถนนรอบพระราชวัง

สวนจิตรลดา ลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนินนอก ถนนราชดำเนินกลาง และถนนราชดำเนินใน

.๓ ต้องทำหนังสือเพื่อขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน อนุญาตให้ติดตั้งได้ไม่เกิน ๒๐ วัน และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ต้องจัดเก็บให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยภายในเวลาไม่เกิน ๓ วัน

.๔ ต้องติดตั้งสูงจากพื้นทางเท้าไม่น้อยกว่า ๒.๑ เมตร โดยกรณีวัสดุเป็นโครงไม้หรือแผ่น ฟิวเจอร์บอร์ดต้องมีขนาดป้ายกว้างไม่เกิน ๐.๘ เมตรและสูงไม่เกิน ๑.๒ เมตร กรณีวัสดุเป็นผ้าหรือรูปแบบธงต้องมีขนาดป้ายไม่เกิน ๐.๖ เมตรและสูงไม่เกิน ๑.๒ เมตร

.๕ วิธีการติดตั้งจะต้องไม่กระทำโดยวิธีการทากาว หรือทาแป้งเปียก หรือทา พ่น ระบายสีหรือตอกตะปูเป็นอันขาด ต้องไม่ติดลักษณะแขวนเป็นราว และต้องไม่กระทำการใดๆ ที่เกิดก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นผิวทางเท้า

ข้อ ๕ การติดตั้งป้ายบอกทางบอกสถานที่ ตามข้อ ๒.๒ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก่อน โดยกรุงเทพมหานครจะอนุญาตให้เฉพาะป้ายบอกทางและป้ายบอกสถานที่สำหรับสถานที่ของ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา วัด หรือ ศาสนสถานอื่นเท่านั้น

ป้ายที่ติดตั้งตามข้อนี้ต้องมีขนาดและรูปแบบตามที่กรุงเทพมหานครกำหนด

ข้อ ๖ การติดตั้งป้ายสำหรับงานจัดสร้างหรือซ่อมถนนหรืองานสาธารณูปโภคตามข้อ ๒.๔ ให้ติดตั้งได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานครได้ตกลงไว้กับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าว

ข้อ ๗ การติดตั้งป้ายแสดงชื่อหรือสัญลักษณ์ของผู้บริจาคเงินก่อสร้างหรือปรับปรุงตาม ข้อ ๒.๕ ให้ติดตั้งในบริเวณหรือสถานที่ที่ใช้เงินดังกล่าวก่อสร้างหรือปรับปรุง และต้องติดตั้งในบริเวณหรือที่ที่กรุงเทพมหานครกำหนดโดยมีขนาดและรูปแบบตามที่กรุงเทพมหานครกำหนด

ข้อ ๘ ในกรณีที่สมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในประกาศนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.. ๒๕๔๘

อภิรักษ์ โกษะโยธิน

(นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน)

                                          ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

หมายเหตุ :- ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  ๒๑ ิมิถุนายน ๒๕๔๘