วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ

นมัสการมาตาปิตุคุณ

 

วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ

ผู้แต่ง    พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ

จุดประสงค์  เพื่อสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา

ารมาตาปิตุคุณ  

     ข้าขอนบชนกคุณ                ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                             ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม                       บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร                      บ คิดยากลำบากกาย                                         
ตรากทนระคนทุกข์                    ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย                    จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ                   ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                         ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด                       จะสนองคุณานันต                                                                                                  แท้บูชไนยอัน                                อุดมเลิศประเสริฐคุณ”                    

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง     ไม่มีพระคุณของผู้ใดจะยิ่งใหญ่เท่ามารดา                                 

วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ
     

ถอดความ     บทกวีนี้ กล่าวนอบน้อมพระคุณของบิดามารดา ผู้ได้เกื้อกูลมาตั้งแต่เล็กจนเติบโต   คอยเฝ้าระวังรักษาประคับ ประคองดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง  แม้จะ ลำบากเท่าไรก็อดทนได้ เลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอม ปกป้องอันตราย จนรอดพ้นอันตราย เติบใหญ่  เป็นตัวเป็นตน เปรียบประคุณของบิดามารดายิ่งกว่าภูเขา  หรือแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนพระคุณ มากล้นนี้ได้ด้วยการบูชาอันวิเศษสมบูรณ์เลิศล้ำ

นมัสการอาจริยคุณ

 

วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ

ผู้แต่ง   พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)

วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ

จุดประสงค์  เพื่อนมัสการและสรรเสริญพระคุณของครู อาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนและให้ความรู้แก่ศิษย์ทั้งหลาย

นมัสการอาจริยคุณ

            อนึ่งข้าคำนับน้อม               ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน                        อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ                   ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน                            ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา                          และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์        ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม-                     หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์                            ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ                            ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน                          จิตน้อมนิยมชม

     ถอดความ   กล่าวแสดงขอความเคารพนอบน้อมต่อครู  ผู้มีความกรุณา  เผื่อแผ่อบรมสั่งสอนศิษย์ทุกสิ่ง   ให้มีความรู้ ทั้งความดี ความชั่ว ชั่วขยายความให้เข้าใจแจ่มแจ้ง มีเมตตากรุณา กรุณาเที่ยงตรง  เคี่ยวเข็ญให้ฉลาดหลักแหลม  ช่วยกำจัดความโง่เขลา ให้มีความเข้าใจแจ่มชัด พระคุณดังกล่าวนี้  ถือว่าเป็นเลิศในสามโลกนี้  ควรระลึกและน้อมใจชื่นชมยกย่อง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง     ครูเป็นผู้ชี้แจง  อบรมสั่งสอนทั้งวิชาความรู้และความดีทางจริยธรรมพระคุณของครูนับว่า สูงสุดจะป็นรองก็เพียงแต่บิดามารดาเท่านั้น

 

วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ
วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ

พระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย  อาจารยางกูร )

          พระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) ( ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๕ – ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๔ ) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า “ แบบเรียนหลวง ” ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่องงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง “ รามเกียรติ์ ” รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๑๐๐ ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง

ตัวอย่างผลงาน

มูลบทบรรพกิจ สังโยคภิธานแปล
วาหนิติ์นิกร วิธีสอนหนังสือไทย
อักษรประโยค มหาสุปัสสีชาดก
สังโยคภิธาน วรรณพฤติคำฉันท์
ไวพจน์พิจารณ์ ฉันท์กล่อมช้าง
พิศาลการันต์ ฉันทวิภาค
อนันตวิภาค ร่ายนำโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
เขมรากษรมาลา ( เป็นแบบหนังสือขอม ) โคลงภาพพระราชพงศาวดาร รูป ๖๕ และ ๘๕
นิติสารสาธก คำนมัสการคุณานุคุณ
ปกีรณำพจนาตถ์ ( คำกลอน ) สยามสาธก วรรณสาทิศ
ไวพจน์ประพันธ์ พรรณพฤกษา
อุไภยพจน์ สัตวาภิธาน

 

วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ

ลักษณะคำประพันธ์ประเภทอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

         ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของร้อยกรองในภาษาไทย โดยแต่งกันเป็นคณะ มี ครุ และ ลหุ และสัมผัส กำหนดเอาไว้ด้วย ฉันท์ในภาษาไทยได้ถ่ายแบบมาจากประเทศอินเดีย ตามตำราที่เขียนถึงวิธีแต่งฉันท์ไว้ เรียกว่า “ คัมภีร์วุตโตทัย ” ซึ่งแต่เดิมฉันท์จะแต่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต

ต่อมา เมื่อเผยแพร่ในประเทศไทย จึงเปลี่ยนแบบมาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติมสัมผัสต่าง ๆ ขึ้นมา แต่ยังคงคณะ ( จำนวนคำ ) และเปลี่ยนลักษณะครุ – ลหุแตกต่างไปเล็กน้อย นอกจากนี้ยังเพิ่มความไพเราะของภาษาไทยลงไปอีกด้วย

“ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ” มีความหมายว่า “ ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์ ”เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด  มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี ๑๑  แต่แตกต่างกันที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์มีข้อบังคับ ครุ และ ลหุ

ตัวอย่างคำประพันธ์

           “ บงเนื้อก็เนื้อเต้น                            พิศเส้นสรีร์รัว

          ทั่วร่างและทั้งตัว                              ก็ระริกระริวไหว

         แลหลังละลามโล-                              หิตโอ้เลอะหลั่งไป

        เพ่งผาดอนาถใจ                              ระกะร่อยเพราะรอยหวาย

                                       จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ –  ชิต บุรทัต

หลักการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม

ความหมาย

            การพินิจ คือ การพิจารณาตรวจตรา พร้อมทั้งวิเคราะห์แยกแยะและประเมินค่าได้ทั้งนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ต่อตนเองแล้ว ยังมีจุดประสงค์เพื่อนำไปแสดงความคิดเห็นและข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย เช่น การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อแนะนำให้บุคคลทั่วไปที่เป็นผู้อ่านได้รู้จักและได้ทราบรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์ต่อใครบ้าง ทางด้านใด ผู้พินิจมีความเห็นว่าอย่างไร คุณค่าในแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์อย่างไรในชีวิตประจำวัน

แนวทางในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม

        การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมมีแนวให้ปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกชนิด ซึ่งผู้พินิจจะต้องดูว่าจะพินิจหนังสือชนิดใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งจะมีแนวในการพินิจที่จะต้องประยุกต์หรือปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานเขียนนั้น ๆ

หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม มีดังนี้

๑.  ความเป็นมา หรือ ประวัติของหนังสือและผู้แต่ง   เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ ได้ดีขึ้น

๒.  ลักษณะคำประพันธ์

๓.  เรื่องย่อ

๔.  เนื้อเรื่อง

        ให้วิเคราะห์เรื่องตามหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการดำเนินเรื่อง การใช้ถ้อยคำสำนวนในเรื่อง ท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดที่สร้างสรรค์  ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น

๕.  แนวคิด จุดมุ่งหมาย

       เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง หรือบางทีก็แฝงเอาไว้ในเรื่อง ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ออกมา

๖.  คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

          ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น ๔ ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ เพื่อความครอบคลุมในทุกประเด็น   ซึ่งผู้พินิจจะต้องไปแยกแยะหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกับลักษณะหนังสือที่จะพินิจนั้น ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป

การพินิจคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

มี ๔ ประเด็นดังนี้

๑.  คุณค่าด้านวรรณศิลป์

         คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากรสของคำที่ผู้แต่งเลือกใช้และรสความที่ให้ความหมายกระทบใจผู้อ่าน

๒.  คุณค่าด้านเนื้อหา

      คือ การให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ให้คุณค่าทางปัญญาและความคิดแก่ผู้อ่าน

๓.  คุณค่าด้านสังคม

          วรรณคดีและวรรณกรรมสะท้อนให้เห็นภาพของสังคมในอดีตและวรรณกรรมที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย

๔.  การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

         เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้ความคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต นำไปเป็นแนวปฏิบัติหรือแก้ปัญหา

 

วิเคราะห์ บท นมัสการ อาจริย คุณ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณให้ข้อคิดอะไรบ้าง

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการ อาจริยคุณ เป็นบทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทร โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่ต้องการสั่งสอนและ ปลูกฝังให้เยาวชนในฐานะที่เป็นลูกและศิษย์มีความ กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ อันได้แก่ บิดา มารดา และครูอาจารย์ เพราะความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

เนื้อหาของบทร้อยกรองนมัสการอาจริยคุณกล่าวถึงอะไร

บทนมัสการอาจริยคุณ กล่าวถึงพระคุณของครูผู้ให้ความรู้และอบรม สั่งสอนให้รู้ผิดชอบชั่วดี ครูเป็นผู้เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ดังนั้น ศิษย์จึงควรระลึกถึงพระคุณของครูด้วยความเคารพ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณมีคุณค่าด้านใด

9.  คุณค่าของบท นมัสการมาตาปิ ตุคุณ และ นมัสการอาจริยคุณ บทนมัสการมาตาปิตุคุณและบทนมัสการอาจาริยคุณ มีคุณค่า ๒ ประการ ได้แก่ คุณค่าด้านเนื้อหา และคุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑. คุณค่าด้านเนื้อหา ได้แก่ การลาดับความชัดเจน และการสอน จริยธรรม ๑.๑ การลาดับความได้ชัดเจน บทนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอา จาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาด ...

คำนมัสการมาตาปิติคุณมีความสำคัญอย่างไร

คำนมัสการมาตาปิตุคุณ มีความสำคัญอย่างไร เป็นการระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา เป็นการระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ เป็นการระลึกถึงพระคุณของพระพุทธศาสนา