เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ

กองสวัสดิการสังคม

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้ รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน
  2. รัฐต้องสงเคราะห์ คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้

ดูแลไม่ทอดทิ้งทุกส่วนสิ่งเราจัดหา เพราะคนในสังคมมิได้มีความเท่าเทียมกันเสมอไป ทั้งทางด้านฐานะความเป็นอยู่ และสภาพความพร้อมทางด้านร่างกาย ดังนั้นกองสวัสดิการสังคมจึงถือเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบกับภาวะดังกล่าว ด้วยการจัดสรรเงินงบประมาณพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ คนชรา คนด้อยโอกาส คนยากจน ที่อยู่ในพื้นที่ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

 

เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง ได้เริ่มดำเนินงานตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 โดยการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ แก่พี่น้องประชาชนทีมีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบ ซึ่งมีผลความก้าวหน้า อย่างต่อเนื่องสำหรับในปี พ.ศ. 2550 กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาดำเนินการ

 

งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบชุมชนงานสังคมสงเคราะห์
งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและคนชรา

 
เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 เอกสารแนบการขอรับเบี้ยยังชีพ (ผู้สูงอายุ) ดังนี้

กรณีขอเพิ่มใหม่
  1. แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน
  2. แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน
  3. หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
  4. ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
  5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ
  6. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
  7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 กรณีแทนผู้ขาดคุณสมบัติ
  1. แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน
  2. แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน
  3. หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
  4. ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
  5. ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
  6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ
  7. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
  8. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
  9. สำเนา ใบมรณบัตรผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีเสียชีวิต)/ สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีย้ายที่อยู่)
เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 เอกสารแนบการขอรับเบี้ยยังชีพ (ผู้พิการ) ดังนี้

กรณีขอเพิ่มใหม่
  1. แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน
  2. แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน
  3. หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
  4. ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
  5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ
  6. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
  7. สำเนาสมุดพกคนพิการ
  8. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
  9. รูปถ่ายเต็มตัว
เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 กรณีแทนผู้ขาดคุณสมบัติ
  1. แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน
  2. แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน
  3. หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
  4. ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
  5. ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
  6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ
  7. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
  8. สำเนาสมุดพกคนพิการ
  9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
  10. สำเนา ใบมรณบัตรผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีเสียชีวิต)/ สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีย้ายที่อยู่)
เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 เกร็ดชวนรู้

"ผู้สูงอายุ"หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย (เบี้ยยังชีพคนละ 500 บาท/เดือน)
"คนพิการ" หมายความว่า คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534         
(เบี้ยยังชีพคนละ 500 บาท/ เดือน)
"ผู้ป่วยเอดส์" หมายความว่า ผู้ป่วยเอดส์ที่แพทย์ได้รับรองและทำการวินิจฉัยแล้ว (เบี้ยยังชีพคนละ 500 บาท/ เดือน)

เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
  1. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง
  2. มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
  3. ในกรณีที่ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ มีคุณสมบัติเบื้องต้นเหมือนกัน ให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากกว่าหรือผู้มีปัญหาซ้ำซ้อน หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ยากต่อการเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นผู้ได้รับการพิจารณาก่อน
เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 สวัสดิการสำหรับคนพิการ

รัฐธรรมนูญไทยพุทธศักราช 2540 เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า คนพิการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเสรีภาพ   และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป    รัฐบาลจะต้องสงเคราะห์และพัฒนาให้ คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ โดยคนพิการมีสิทธิได้รับ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ความเชื่อมั่นในความสามารถของคนพิการ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของตัวคนพิการเองครอบ ครัว ชุมชนและสังคม เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

    
เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 ข้อปฏิบัติและสวัสดิการที่สำคัญสำหรับคนพิการ มีดังนี้
  1. การจดทะเบียนคนพิการ

คนพิการที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534จะต้อง จดทะเบียนคนพิการที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวสำหรับคนพิการ ตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ถนนกรุงเกษม สะพานขาว เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2659-6170-1  สำหรับต่างจังหวัดจดทะเบียนที่สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน

  • เอกสารรับรองความพิการ โดยแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าวใน
กรณีผู้เยาว์ใช้สูติบัตร พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด
  • ทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวสำหรับคนพิการ นอกจากให้บริการในการจดทะเบียนคนพิการแล้ว ยังให้บริการอื่นๆ อีก ได้แก่ บริการข้อมูลและให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องต่างๆ เช่นสิทธิประโยชน์คนพิการตามกฎหมายการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนพิการ บริการจัดหางานให้คนพิการ บริการกู้ยืมเงิน กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเพื่อประกอบอาชีพและการสงเคราะห์ช่วยเหลือ คนพิการ เช่น เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ เครื่องอุปโภค บริโภค เงินเบี้ยยังชีพคนพิการ รถเข็นนั่งสำหรับคน พิการ รถสามล้อชนิดโยกสำหรับคนพิการ

 
  1. การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

คนพิการสามารถรับบริการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพหรือใช้บัตรทอง 30 บาท ส่วนกายอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยคนพิการใช้สิทธิขอรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถานพยาบาลที่บริการ และหากสถานพยาบาลไม่มีบริการ กายอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยคนพิการให้ใช้สิทธิขอรับได้ทีศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติกระทรวง สาธารณ สุข จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2591-3748

 
  1. การศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา

คนพิการมีสิทธิเรียนหนังสือ โดยที่รัฐจะต้องจัดให้คนพิการ ทุกคนอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพโดยติดต่อที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด สำนักงาน เขตพื้นที่ การศึกษาตามภูมิลำเนาที่อยู่   หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ โทรศัพท์ 0-2282-5820 และ 0-2280-4966

 
  1. การฝึกอาชีพ

บริการฝึกอาชีพโดยศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ 8 แห่ง ทั่วประเทศ ติดต่อที่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โทรศัพท์ 0-2659-6260

  • บริการฝึกอาชีพโดยสถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือทั่วประเทศของกระทรวงแรงงานที่แต่ละจังหวัด ติดต่อที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0-2247-6600 และ 0-2248-3313
 
  1. บริการจัดหางาน

ริการจัดหางานสำหรับคนพิการและสถานประกอบการ รวมทั้งการส่งเสริมการ ประกอบอาชีพ ติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศและกรมการจัดหางานกระ ทรวงแรงงาน โทรศัพท์ 0-2247-9423 และ 0-2245-2085

 
  1. เงินกู้เพื่อการประกอบอาชีพและเงินทุนอุดหนุน

คนพิการและผู้ปกครองสามารถกู้เงินเพื่อประกอบ อาชีพอิสระ รายละไม่เกิน 20,000 บาท(กำลังแก้ไขระเบียบเพื่อขยายเป็น 40,000 บาท)กำหนด ชำระ คืน 5 ปี และปลอดดอกเบี้ย

 
  1. สวัสดิการอื่นๆ
  • เงินสงเคราะห์ครอบครัวในกรณียากจน ขัดสน และอยู่ในสภาวะยากลำบาก ติดต่อได้ที สำนัก ี่งาน พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด หรือกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โทรศัพท์ 0-2659-6101-10
  • เบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาท สำหรับคนพิการระดับรุนแรงจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและ ประกอบอาชีพการงานได้ ติดต่อได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
  • การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์พลศึกษาประจำจังหวัดของการกีฬาแห่งประเทศไทย วิทยาลัยพลศึกษา หรือสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ส่วนกลางติดต่อที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โทรศัพท์ 0-2214-0120 , 0-2216-7390
  1. ติดต่อสอบถามทั่วไป
  • สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โทรศัพท์ 0-2644-7991-4
  • สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2243-6828
  • มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย โทรศัพท์ 0-2281-9280
  •  องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง ส่วนสวัสดิการสังคม โทรศัพท์ 0-2443-7370-1
 
เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ
 

เงินสงเคราะห์คนพิการได้เท่าไร

1. เบี้ยความพิการคนพิการทุกคนที่มีสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการมีสิทธิลงทะเบียนขอรับ “เบี้ยความพิการ” คนละ 500 บาท/เดือนได้ ซึ่งแต่เดิม เฉพาะคนพิการที่ไม่มีรายได้เท่านั้น จึงจะมี สิทธิได้รับ “เบี้ยยังฃีพ” เดือนละ 500 บาท นอกจากนั้น คนพิการที่สูงอายุ หรืออายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

เบี้ยคนพิการ200เข้าวันไหน

เงินผู้พิการ 200 บาท เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ววันนี้ 22 ส.ค. ใครได้บ้างดูคลิปเลย #สตางค์ทันข่าว

พิการแบบไหนถึงได้เบี้ยคนพิการ

๑. คนพิการทางการเห็น ๒. คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ๓. คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ๔. คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก ๕. คนพิการสติปัญญา ๖. คนพิการทางการเรียนรู้ บัตรประจําตัวคนพิการ

เช็คเงินคนพิการยังไง

คำตอบ: http://ecard.dep.go.th/person_info/ สามารถเข้าไปสมัครและตรวจสอบได้ตามหน้าลิงค์ได้เลยค่ะ หรือจะสอบถามไปยังหน่วยงานศูนย์บริการคนพิการได้ทุกจังหวัดค่ะ