แอร์ กับ คอมเพรสเซอร์ คนละ ยี่ห้อ

แอร์ กับ คอมเพรสเซอร์ คนละ ยี่ห้อ

หนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความซับซ้อนในระบบการทำงาน ใช้เวลาในการติดตั้ง งบประมาณ อีกทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจค่อนข้างสูง คงหนีไม่พ้นสิ่งที่เรียนกว่าเครื่องปรับอากาศ หรือ “แอร์” เพราะการซื้อแอร์นั้นมีความหยุบหยิบไม่น้อย เช่น ตัวเลข BTU, ฟีเจอร์ที่มี, อัตราการกินไฟ หรือดีไซน์ของตัวเครื่อง ซึ่งนอกจากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว “อินเวอร์เตอร์” (Inverter) ยังกลายมาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่คนต้องการเลือกซื้อแอร์ในระยะหลังมีการตั้งคำถามถึงเป็นอย่างมาก เพราะหลายคนได้ยินมาว่าแอร์อินเวอร์เตอร์นั้นประหยัดไฟมากกว่า, ทำงานเงียบกว่า ซึ่งบทความนี้จะตอบคำถามชวนสงสัยเหล่านี้ให้คนที่กำลังเล็งแอร์เครื่องใหม่ ได้ทราบข้อมูลของอินเวอร์เตอร์ไว้ใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งแอร์อินเวอร์เตอร์นั้นอาจจะมีข้อดีที่เห็นได้ชัดและตรงกับความต้องการของคุณดังนั้นอย่ามองข้ามบทความนี้ไปหากคุณและคนใกล้ตัวกำลังเล็งแอร์ตัวใหม่ซักเครื่องหนึ่งอยู่

อะไรคือ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ?

อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่ใช้ในแอร์นั้น เป็นกระบวนการแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ไปเป็นกระแสสลับ (AC) เพื่อควบคุมรอบมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ได้อย่างละเอียดกว่าการปรับกระแสไฟฟ้าสลับโดยตรงที่ทำได้เพียงแค่ ตัด/ต่อ การทำงานของมอเตอร์ไม่สามารถปรับได้อย่างละเอียด ซึ่งกระบวนการอินเวอร์เตอร์นั้นสามารถปรับความถี่ Hz ของไฟฟ้าก่อนส่งไปยังคอมเพรสเซอร์ของแอร์จึงสามารถควบคุมความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ได้ยืดหยุ่นมากกว่า

แอร์ กับ คอมเพรสเซอร์ คนละ ยี่ห้อ

ภาพเปรียบเทียบการทำงานระหว่างแอร์ปกติ และแอร์แบบ Inverter

ข้อแตกต่างของแอร์แต่ละแบบ

  • แอร์ที่ “ไม่มี” อินเวอร์เตอร์ คอมเพรสเซอร์จะทำความเย็นให้เย็นกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ประมาณ 3-4 องศา เมื่ออุณหภูมิห้องเย็นกว่าอุณหภูมิที่กำหนด ระบบจะสั่งการตัดไฟคอมเพรสเซอร์ทันที และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ตั้งไว้ ระบบจะสั่งคอมเพรสเซอร์ให้ทำงานอีกครั้งเพื่อลงอุณหภูมิลงอีกครั้งไปเรื่อยๆ
  • แอร์ที่ “มี” อินเวอร์เตอร์ระบบจะเร่งความเร็วมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เมื่อต้องการทำความเย็นตามที่กำหนด และลดรอบมอเตอร์ลงเมื่ออุณหภูมิห้องเย็นกว่าที่กำหนดเล็กน้อย ซึ่งคอมเพรสเซอร์ยังคงทำงานโดยลดรอบลงจนอยู่ในสถานะแทบจะหยุดหมุนเลยก็ว่าได้ และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ตั้งไว้ประมาณ 1-2 องศา คอมเพรสเซอร์จะค่อยเร่งการทำงานมากขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิลง จึงทำให้อุณหภูมิโดยรวมในห้องใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่ผู้ใช้งานตั้งไว้มากกว่าแอร์แบบไม่มีอินเวอร์เตอร์

ตัวอย่าง

หากเราตั้งอุณหภูมิห้องไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส

แอร์ กับ คอมเพรสเซอร์ คนละ ยี่ห้อ

ภาพแสดงตัวอย่างการทำงานที่แตกต่างกันของแอร์ทั้ง 2 ระบบ

  • แอร์ที่ “ไม่มี” อินเวอร์เตอร์ – เริ่มต้นคอมเพรสเซอร์ทำความเย็นของอุณหภูมิห้องไปจนถึงประมาณ 21-22 องศา แล้วตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ทันที จนอุณหภูมิห้องเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 26 – 27 องศา คอมเพรสเซอร์จะกลับมาทำงานอีกครั้งเพื่อให้อุณหภูมิห้องลงต่ำลงไปจนถึงประมาณ 21-22 องศาอีกครั้ง
  • แอร์ที่ “มี” อินเวอร์เตอร์ – เริ่มต้นคอมเพรสเซอร์ทำความเย็นของอุณหภูมิห้องไปจนถึงประมาณ 23-24 องศา แล้วลดรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ลงเพื่อคงอุณหภูมิห้องไว้ และเมื่ออุณหภูมิห้องเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 25 องศา คอมเพรสเซอร์จะค่อยเร่งความเร็วรอบขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้อุณหภูมิห้องกลับมาที่ประมาณ 23-24 องศาอีกครั้ง
  • จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เกิดขึ้นนั้นมีน้อยมากจนแทบไม่รู้สึกเมื่อเลือกใช้งานแอร์ที่มีอินเวอร์เตอร์

ข้อดีและข้อเสีย

  • แอร์ที่ “ไม่มี” อินเวอร์เตอร์
    • ข้อดี :
      • ราคาแอร์ถูกกว่าอย่างชัดเจน
      • ระบบการทำงานภายในที่ซับซ้อนน้อยกว่า
    • ข้อเสีย :
      • มีการกินไฟสูง ยิ่งในช่วงสตาร์ทคอมเพรสเซอร์ จนอาจเกิดอาการไฟกระชาก
      • ทำอุณหภูมิค่อนข้างไม่คงที่ อาจจะเย็นเกินไปหรือร้อนเกินไปบ้างตามจังหวะการทำงานของคอมเพรสเซอร์
  • แอร์ที่ “มี” อินเวอร์เตอร์
    • ข้อดี :
      • รักษาอุณหภูมิได้ค่อนข้างคงที่ ไม่หนาวหรือร้อนไปกว่าที่ตั้งไว้มากนัก
      • ประหยัดไฟ เดินเครื่องเงียบ ไม่เกิดอาการไฟกระชาก
    • ข้อเสีย :
      • ราคาแอร์ที่สูงกว่าแอร์ที่ไม่มีอินเวอร์เตอร์
      • ระบบภายในซับซ้อนกว่า ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงกว่า

แล้วเราควรใช้แอร์แบบใด ?

  • แอร์ที่ “ไม่มี” อินเวอร์เตอร์ เหมาะกับห้องที่ไม่ค่อยใช้งานแอร์บ่อยมากนักเพราะจุดคุ้มทุนของค่าไฟที่ประหยัดลงไปเมื่อเปรียบเทียบกับราคาแอร์ที่ต้องจ่ายเพิ่มแล้วอาจจะไม่คุ้มค่า นิยมใช้งานในสถานที่ที่ต้องการทำความเย็นโดยไม่เน้นความเที่ยงตรงของอุณหภูมิเป็นนัยยะสำคัญ เช่น ห้องนั่งเล่น เป็นต้น
  • แอร์ที่ “มี” อินเวอร์เตอร์ เหมาะสำหรับห้องที่เปิดใช้งานต่อเนื่องหลายชั่วโมง, ห้องที่ต้องการความเงียบ และต้องการรักษาอุณหภูมิห้องอย่างสม่ำเสมอ เช่น ห้องนอน, ห้องทำงาน, หรือห้องอ่านหนังสือ เป็นต้น

แอร์ กับ คอมเพรสเซอร์ คนละ ยี่ห้อ

ภาพเปรียบเทียบแสดงราคาเครื่องกับปริมาณการกินไฟ ระหว่างแอร์แบบปกติ และ แอร์แบบอินเวอร์เตอร์

สรุป

จากที่ได้อธิบายไป จะพบว่าแอร์ที่มีอินเวอร์เตอร์นั้นมีข้อดีอย่างมีนัยยะสำคัญ จะได้เปรียบมากกว่า ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและเสียงที่เงียบ แต่ไม่ได้หมายความว่าสำคัญมากจนคุณต้องเปลี่ยนแอร์เดิมที่ยังใช้งานได้ดีและเพิ่งใช้มาไม่กี่ปีเป็นแบบอินเวอร์เตอร์โดยทันที แอร์ธรรมดานั้นเพียงพอต่อการใช้งานอยู่แล้ว ยิ่งกับผู้ที่ต้องการประหยัดงบประมาณในการซื้อแอร์ใหม่ (เริ่มต้นต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท) แต่คุณอาจจะต้องจ่ายค่าไฟมากกว่าแอร์ที่มีอินเวอร์เตอร์ในระยะยาว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณผู้อ่านเป็นหลัก แต่ผมหวังว่าท่านจะพอเห็นภาพได้บ้าง และเลือกซื้อแอร์ใหม่ได้อย่างสะดวกกระเป๋าตังค์ สบายกายและดีต่อใจ นะครับบ 😀

แอร์ กับ คอมเพรสเซอร์ คนละ ยี่ห้อ

อ้างอิง : 

airconditioner.me.uk

achahome.com 

propakistani.pk

ภาพประกอบบางส่วนจาก daikinindia.com

เรียบเรียงโดย : Surakit Jirasubsakul

ภาพโดย : Mingkwan Ketcharoon

แอร์ กับ คอมเพรสเซอร์ คนละ ยี่ห้อ

5.00 avg. rating (93% score) - 1 vote

Comments

comments