ตัวแทนรับพัสดุ kerry รายได้

ส่วน Flash Express ยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาด แต่วันนี้บริษัทสามารถถระดมทุนซีรีส์ D+ และ E ในมูลค่ากิจการระดับยูนิคอร์นตัวแรกของไทย ที่ทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 31,000 ล้านบาท

คำนวณแล้ว มูลค่ากิจการ Kerry Express ตอนนี้จะเป็น 2.4 เท่าของ Flash Express
แล้วผลประกอบการของ 2 บริษัทนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาเจาะลึกให้ฟัง

บริษัท Flash Express
ปี 2561 รายได้ 47 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,123 ล้านบาท ขาดทุน 1,666 ล้านบาท
และจากในบทสัมภาษณ์กับ THE STANDARD คุณคมสันต์ ลี ผู้ก่อตั้ง Flash Express บอกว่า ปี 2563 รายได้บริษัทเติบโต 600% นั่นก็อาจคำนวณรายได้ ปี 2563 ได้ประมาณ 14,900 ล้านบาท

บริษัท Kerry Express
ปี 2561 รายได้ 13,668 ล้านบาท กำไร 1,185 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 19,895 ล้านบาท กำไร 1,329 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 19,010 ล้านบาท กำไร 1,405 ล้านบาท

สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือ
การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Flash 4,464% ในปี 2562 และ 600% ในปี 2563 อย่างไรก็ตามบริษัทก็น่าจะเติบโตพร้อมกับการขาดทุน เพราะบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างเร่งขยายกิจการ

ในขณะเดียวกัน Kerry เป็นธุรกิจที่สามารถทำกำไรระดับพันล้านบาทต่อปี มาอย่างต่อเนื่อง
แต่ในปี 2563 ที่รายได้ของบริษัทก็ลดลง ซึ่งบริษัทระบุว่าเป็นผลมาจากโรคระบาด และการปรับราคาค่าบริการลงเพื่อเจาะตลาดขนส่งแบบประหยัด

ซึ่งจริง ๆ แล้ว การแข่งขันในอุตสาหกรรมที่มากขึ้น ก็น่าจะมีส่วนที่ทำให้รายได้ของ Kerry ไม่เติบโต
และเมื่อดูจากรายได้ด้านบน ก็พอจะเดากันได้ว่าหนึ่งในคู่แข่งคนสำคัญของ Kerry ก็คือ “Flash”

ถ้าเราเป็นนักลงทุน เราจะเลือกอะไร ? ระหว่าง
-การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Flash ที่แลกมาด้วยผลขาดทุน
-หรือ Kerry ที่มีกำไรปีละพันล้านบาท แบรนด์คุ้นหูกว่า แต่เติบโตไม่แรง
เก็บคำตอบไว้ในใจ แล้วมาดูข้อมูลกันต่อ..

ถ้าบอกว่ามีแค่ 2 เจ้านี้ เป็นผู้เล่นคนสำคัญ อยู่ในตลาดขนส่งพัสดุเมืองไทย ก็ไม่น่าจะถูกต้อง
แล้วในตลาดขนส่งพัสดุ มีผู้เล่นที่สำคัญรายไหน อีกบ้าง ?

คำตอบแรกก็คือ ไปรษณีย์ไทย ที่ปี 2563 มีรายได้ 24,211 ล้านบาท กำไร 385 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าไปรษณีย์ไทยก็ยังมีรายได้เป็นอันดับหนึ่งในตลาด แต่กำไรของไปรษณีย์ไทยก็ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ ปี 2561 ไปรษณีย์ไทยเคยมีรายได้มากถึง 29,728 ล้านบาท และกำไร 3,826 ล้านบาท นี่เท่ากับว่า กำไรของไปรษณีย์ไทยหายไป 90% ใน 2 ปี

ในขณะเดียวกัน การเข้ามารุกธุรกิจขนส่งพัสดุของเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
เช่น Lazada และ Shopee ก็ถือเป็นผู้เล่นที่น่ากลัวสำหรับรายอื่น
อย่างในกรณีของ Lazada Express ที่รายงานผลประกอบการปีล่าสุดแล้ว

ปี 2562 รายได้ 4,685 ล้านบาท ขาดทุน 794 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 6,845 ล้านบาท ขาดทุน 1,676 ล้านบาท

ในเมื่อตลาดแข่งขันกันดุเดือดขนาดนี้
ที่สำคัญคือ หลายบริษัทแสดงผลประกอบการที่ขาดทุน
แล้วทำไม Flash Express ถึงเป็นยูนิคอร์นได้ ?

เหตุผลที่ Flash Express ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ น่าจะมี 3 เหตุผลหลัก ที่ธุรกิจสตาร์ตอัปอื่นในไทยยังทำไม่ได้

1. ตลาดการขนส่งพัสดุเป็นตลาดที่ใหญ่พอที่จะสร้างรายได้ขนาดใหญ่หลักหมื่นล้านบาท และเป็นตลาดที่กำลังเติบโตสูงล้อไปกับเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่หอมหวาน

ยูนิคอร์นต้องการมูลค่า 3 หมื่นล้านบาท พอบริษัททำรายได้หลักหมื่นล้านบาท ดังนั้นขอแค่เพียงตลาดในประเทศไทยเพียงประเทศเดียวก็ทำให้สตาร์ตอัปที่เป็นผู้นำในตลาดนี้สามารถเป็นยูนิคอร์นได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาการขยายไปต่างประเทศ ซึ่งต่างจากสตาร์ตอัปที่อยู่ในธุรกิจอื่นที่อาจมีขนาดตลาดที่เล็กเกินไปในประเทศไทย

2. Flash Express มีผู้ก่อตั้งคือ คุณคมสันต์ ลี ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าสู้ ปั้นบริษัทใน 4 ปี จากรายได้ไม่เท่าไร กลายเป็นบริษัทที่มีรายได้หลักหมื่นล้านบาท ที่สำคัญคุณคมสันต์เป็นคนพรีเซนต์เก่ง ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนเชื่อและยอมให้เงินลงทุน

ถ้าให้บริษัทขนส่งพัสดุรายอื่น มาระดมทุน ก็อาจจะไม่ได้มูลค่าระดับนี้ เหตุผลง่าย ๆ ก็คือบริษัทนั้นไม่มีคุณคมสันต์ ลี ที่ไม่สามารถโน้มน้าวคนให้เงินทุนได้

3. ประเทศไทยมีบริษัทใหญ่ที่มีเงินทุนเหลือ และต้องการกระจายไปทำธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เช่นในคราวนี้ ก็จะมี OR, Krungsri Finnovate, SCB10X, Durbell ที่เป็นผู้ให้เงินลงทุน ซึ่งแต่ละบริษัท เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ผลิตกำไร หรือ กระแสเงินสด ได้ปีละเป็นหลักหมื่นล้านบาท

การให้เงินทุนเพื่อขยายธุรกิจใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่บริษัทใหญ่ถูกบังคับให้ทำ ในยุคสมัยที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะบริษัทใหญ่ต่างกลัวว่าสักวันหนึ่งตัวเขาเองจะถูกบริษัทหน้าใหม่มาดิสรัปต์

กลับไปที่คำถามของบทความนี้
Flash และ Kerry บริษัทไหนน่าลงทุนมากกว่ากัน ?
แต่ละคนก็คงมีคำตอบแตกต่างกัน เพราะมีไอเดียในการลงทุนแตกต่างกัน
บางคนชอบบริษัทโตเร็วแบบ Flash
บางคนชอบกำไรเน้น ๆ ในตอนนี้แบบ Kerry

แต่คำถามนี้ก็คงช่วยเปิดมุมมองให้กับเราว่าในบางครั้งเราก็คิดอะไรได้เยอะกับข่าวที่เกิดขึ้น

เพราะทุกอย่างในโลกของการลงทุน มันสามารถวัดมูลค่า และนำมาเปรียบเทียบกันได้เสมอ ว่าดีลไหนน่าสนใจมากกว่า ไม่เว้นแม้แต่ดีลของ Kerry ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และทำธุรกิจคล้ายกันกับ Flash ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์

ในการลงทุนทำธุรกิจอะไรสักอย่าง แน่นอนว่าเราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ทิศทางที่มาของรายได้และแนวโน้มในการเติบโตว่าจะคุ้มค่ากับเงินลงทุนหรือไม่ จะมีอนาคตที่จะก้าวไปได้ไกลมากแค่ไหนเป็นสำคัญ ซึ่งก็เช่นกันกับการลงทุนเปิดแฟรนไชส์ควิกเซอร์วิสนั้น ที่หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า ถ้าลงทุนเปิดแฟรนไชส์ Quick Service ร้านส่งพัสดุด่วนสารพัดบริการแล้ว จะมีรายได้ดีแค่ไหน วันนี้ เรามีรายละเอียดมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า ถ้าตัดสินใจลงทุนเปิดแฟรนไชส์ Quick Service แล้วนั้น โอกาสประสบความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

ค่าบริการส่งพัสดุ รายได้ดูที่นับวันจะมีแต่เติบโต

แฟรนไชส์ Quick Service มีบริการหลักที่เป็นหัวใจคือบริการส่งพัสดุด่วน ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ตัดสินใจลงทุนเปิดแฟรนไชส์สามารถสร้างรายได้จากบริการตรงส่วนนี้ได้อย่างมั่นคงก็คือ การที่ Quick Service เป็นพันธมิตรหลักอย่างเป็นทางการกับทั้งไปรษณีย์ไทย และ Kerry Express จึงทำให้สามารถทำกำไรได้จากส่วนลดค่าบริการ ซึ่งลูกค้ายังสามารถส่งพัสดุได้ในเรทราคาปกติทั่วไป เหมือนที่ส่งกับไปรษณีย์ไทยและ Kerry Express โดยรายได้จากบริการไปรษณีย์คร่าวๆ มีรายละเอียดดังนี้

1. ค่าบริการฝากส่งจดหมายและพัสดุ
เมื่อใดก็ตามที่มีลูกค้ามาใช้บริการส่งจดหมายหรือพัสดุ เจ้าของแฟรนไชส์จะได้รายได้ประมาณ 10-50% ของค่าบริการในการส่งไปรษณีย์ต่อครั้ง หรือ ประมาณ 20-300 บาทต่อครั้ง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทและน้ำหนักของพัสดุที่ส่ง ซึ่งหากเราคิดง่ายๆ ว่า พัสดุ 1 กล่อง เราได้รายได้ 30 บาท ถ้า 1 เดือนมีลูกค้าส่งพัสดุกับสาขาเรา 500 กล่อง เท่ากับจะมีรายได้จากตรงส่วนนี้มากถึง 15,000 บาท คือมีพัสดุเฉลี่ยส่งวันละ 17 กล่อง ซึ่งถามว่าเป็นไปได้ไหม ตอบต้องตอบว่าเป็นไปได้ง่ายมากๆ เนื่องจากเวลาแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ส่งพัสดุครั้งหนึ่ง ก็ไม่ต่ำกว่า 5-10 กล่องแล้ว

2. ค่าบริการส่งธนาณัติ
บริการส่งเงินทางไปรษณีย์หรือธนาณัติ ถึงแม้หลายคนอาจจะรู้สึกว่า เดี๋ยวนี้ไม่น่าจะมีใครส่งแบบนี้แล้ว แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ความคิดของเราฝ่ายเดียวเท่านั้น เพราะขนาดสมาร์ทโฟนที่เราเห็นกันเกลื่อนทั่วไป ก็ยังไม่ใช่ทุกคนในประเทศไทยที่ใช้บริการสมาร์ทโฟนได้ ดังนั้น ปัจจุบันบริการส่งธนาณัติก็ยังคงมีลูกค้ามาใช้บริการอยู่เรื่อยๆ ไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ทั้งนี้ ค่าบริการของการส่งธนาณัติอยู่ที่ ครั้งละ 20-65 บาท ถ้าสมมติเฉลี่ยอยู่ที่ 30 บาท และใน 1 เดือนมีคนส่งธนาณัติกับสาขา Quick Service เรา สัก 100 ครั้ง เท่ากับเฉลี่ยวันละ 3 ครั้ง สาขาเราจะมีรายได้จากการส่งธนาณัติเดือนละ 3,000 บาท

3. รายได้จากการขายกล่องพัสดุซองจดหมาย
ที่สาขาของ Quick Service จะเป็นบริการแบบครบวงจรสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการส่งพัสดุ คือเราจะมีจุดบริการจำหน่ายสินค้าจากไปรษณีย์ อาทิ กล่องพัสดุทุกไซส์ ซองจดหมาย เชือกรัดกล่อง เป็นต้น ซึ่งเฉลี่ยกำไรจากการจำหน่ายสินค้าส่วนนี้จะอยู่ที่ 5-30 บาทต่อชิ้น โดยสมมติให้เฉลี่ยได้ชิ้นละ 15 บาท และมีลูกค้ามาใช้บริการ 300 กล่องต่อเดือน เฉลี่ย วันละ 10 กล่อง สาขาเราจะมีรายได้จากการขายสินค้าส่วนนี้เท่ากับ 4,500 บาทต่อเดือน

เมื่อนำประมาณการรายได้จาก 3 บริการในส่วนของการส่งพัสดุมารวมกัน 1 เดือนสาขาจะมีรายได้เท่ากับ 15,000 + 3,000 + 4,500 เป็นเงินทั้งสิ้น 22,500 บาท ซึ่งนี่เป็นเพียงประมาณการรายได้เพียงแค่ช่องทางเดียวจากอีกสารพัดช่องทางรายได้ที่ Quick Service สามารถให้บริการได้ โดยช่องทางรายได้อื่นๆ ที่ Quick Service สามารถสร้างได้ มีดังนี้

ตัวแทนรับพัสดุ kerry รายได้

1. บริการชำระบิลต่างๆ รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-50 บาทต่อบิล แล้วแต่เงื่อนไขของบิลที่ชำระ
2. บริการขาย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ และต่อภาษี รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาทต่อคัน
3. บริการขาย พ.ร.บ. รถยนต์ รถตู้ รถกระบะ รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 150-300 บาทต่อฉบับ
4. บริการต่อภาษีรถยนต์ รายได้เฉลี่ยอยูที่ 100-150 บาทต่อคัน
5. ค่าบริการโอนเงิน รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 25-100 บาทต่อครั้ง
6. ค่าบริการถ่ายเอกสาร เข้าเล่ม เคลือบบัตร รับ-ส่งแฟกซ์ รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 1-30 บาทต่อครั้ง

นอกเหนือจาก 6 บริการดังกล่าวข้างต้น Quick Service ก็ยังสามารถให้บริการอื่นๆ ได้อีกมากมาย แต่ภาพรวมทั้งหมดก็พอทำให้เราเห็นได้แล้วว่า สาขาแฟรนไชส์ของ Quick Service นั้น สามารถมีช่องทางรายได้รวมกันแล้วอยู่ในระดับหลายหมื่นบาทต่อเดือนได้ไม่ยาก

1 สาขา 1 ตำบล อีก 1 เหตุผลของการทำรายได้ที่ยั่งยืน

นอกจากเรื่องช่องทางรายได้ที่ทำได้หลายช่องทางแล้ว บวกรวมกับการเป็นแฟรนไชส์ที่มีบริการที่ตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มในปัจจุบัน การที่ Quick Service คัดกรองการเปิดสาขาให้มีเพียงแค่ 1 สาขา ต่อ 1 ตำบลนั้น ยิ่งทำให้เป็นเครื่องช่วยการันตีได้ว่า ทำเลที่เปิดจะเป็นทำเลที่มีศักยภาพมากพอที่จะทำให้ผู้คนในตำบลพื้นที่นั้นๆ เป็นลูกค้าร้านสาขาของเรา โดยไม่ต้องหวั่นว่าจะมีคู่แข่งอื่น ถึงแม้ว่าในพื้นที่จะมีไปรษณีย์ไทย

แต่ส่วนใหญ่แล้วคนก็จะไม่ค่อยชอบรอต่อคิวอยู่แล้ว จึงทำให้โอกาสในการรับลูกค้าของ Quick Service นั้นมีมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ด้วยการมีบริการ รับห่อพัสดุฟรี ไปรับพัสดุฟรีถึงบ้านสำหรับลูกค้าประจำที่มีการส่งพัสดุคราวละมากๆ จึงยิ่งทำให้ สามารถสร้างเครือข่ายลูกค้าได้ง่าย และดึงดูดให้ผู้คนมาใช้บริการได้มากขึ้น เพราะสะดวกสบาย ครบจบในที่เดียว ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องส่งพัสดุเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกรรมอีกหลายอย่างที่สำคัญในชีวิตประจำวันด้วย

สรุป

ช่องทางรายได้ของแฟรนไชส์ Quick Service ถือได้ว่าถูกสร้างขึ้นมาด้วยความเข้าใจวิถีชีวิตของผู้คน และกระแสการเติบโตของธุรกิจการขนส่งที่โตตามธุรกิจร้านค้าออนไลน์ อีกทั้ง การเปิดให้มีบริการหลายๆ อย่าง ก็ยิ่งทำให้ตัวร้านสามารถที่จะต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจผันผวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ง่าย

นั่นจึงทำให้การลงทุนกับ Quick Service เป็นการลงทุนเพื่อการเติบโตที่มั่นคงระยะยาว และสามารถสร้างเป็นอาชีพที่มั่นคงและสร้างความมั่งคั่งให้กับคนที่มีฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองได้ โดยใช้เงินลงทุนจำนวนไม่มาก แต่มีโอกาสและแนวทางอย่างเป็นระบบสำหรับการสร้างรายได้ การคืนทุน และการมีกำไรจนกระทั่งประสบความสำเร็จ