เรียน จบ นิติศาสตร์ ทํา งาน อะไร ได้ บ้าง

Posted by SAU TEAM on Apr 2, 2020 2:49:24 PM

เรียน จบ นิติศาสตร์ ทํา งาน อะไร ได้ บ้าง

เรียนรู้เส้นทางสาย นิติศาสตร์ กับ SAU จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

    เมื่อกฎหมายกลายเป็นเรื่องสำคัญ คณะ นิติศาสตร์ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งคณะยอดฮิตที่หลายคนเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากจะสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้แล้ว การเรียนในคณะนี้ยังสร้างโอกาสให้คุณสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายไม่ได้มีเพียงแค่อาชีพทนายความหรือผู้พิพากษาเท่านั้น อีกทั้งยังได้รับค่าตอบแทนที่ดีด้วย แล้วอาชีพน่าสนใจเหล่านั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!

   

เรียนจบคณะนิติศาสตร์ นอกจากจะประกอบอาชีพสายกฎหมายที่มีทั้งงานของภาครัฐและเอกชนแล้ว คุณยังสามารถนำความรู้ด้านกฎหมายไปใช้ในการทำงานในสายงานอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ด้านการเงิน, วิชาการ, สังคมสงเคราะห์ และการเมือง เป็นต้น โดยมีอาชีพที่น่าสนใจ ดังนี้

  • นิติกร ก้าวแรกของคนเรียนจบนิติศาสตร์
        นิติกร ทำหน้าที่ดูแลงานทุกอย่างด้านกฎหมายของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน เขียนโครงการ วางระเบียบ เสนอความเห็น หรืองานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้อาจจะยังไม่ต้องมีใบอนุญาตว่าความหรือตั๋วทนาย ทำให้เป็นอาชีพที่นิยมสำหรับเด็กจบใหม่ ซึ่งค่าตอบแทนที่จะได้เริ่มต้นประมาณ 15,000-18,000 บาท
  • ผู้จัดการและพนักงานฝ่ายบุคคล อีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ
        ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่สำคัญในการสรรหาแะจัดสรรคบุคลากรเข้ามาทำงาน โดยจะต้องบริหารจัดการ พัฒนา และประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยส่วนมากจะได้ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 17,000 บาทขึ้นไป
  • เจ้าหน้าที่สินเชื่อ สายงานด้านการเงินที่คุณก็ทำได้
         เจ้าหน้าที่สินเชื้อ เป็นตำแหน่งงานที่จะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย และกฎระเบียบด้านการเงินต่าง ๆ โดยจะทำหน้าที่ดูแลเรื่องของสภาวะลูกหนี้ทั้งหมด พิจารณาการให้สินเชื่อ และแจกแจงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 15,000-16,000 บาท
  • ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย อีกหนึ่งอาชีพสายกฎหมาย
         ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และแนะนำด้านกฎหมาย เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน การร่างสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป โดยจะเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์การทำงาน
  • ผู้พิพากษา ผู้ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล
         ผู้พิพากษา มีหน้าที่หลักในการควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาล โดยมีอำนาจในการพิพากษาคดีที่ฟ้องร้องกันในศาลให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 50,000 บาทขึ้นไป
  • นักวิชาการและอาจารย์ งานด้านกฎหมายสายวิชาการ
         มีหลายคนเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ต่อยอดความรู้ด้านกฎหมาย เพื่อประกอบอาชีพนักวิชาการและอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งค่าตอบแทนที่ได้เริ่มต้นประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป
  • พนักงานอัยการ อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน
         พนักงานอัยการ มีหน้าที่สำคัญคือ รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนวยความยุติธรรมในสังคม โดยผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะได้รับค่าตอบแทนสูงถึงหลักแสนเลยทีเดียว
  • ทนายความ อาชีพอิสระที่คนเรียนสายกฎหมายทำได้
         ทนายความ มีหน้าที่สำคัญในการผดุงความยุติธรรม โดยรับปรึกษากฎหมาย ให้บริการด้านกฏหมายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านให้คำแนะนำต่อลูกความเกี่ยวกับปัญหาอื่นๆของกฎหมายในแง่ของธุรกิจและส่วนบุคคล รวมทั้งเป็นผู้ใช้กฎหมายดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญาและแพ่ง โดยค่าตอบแทนอาจสูงถึงหลักแสน หากมีประสบการณ์ในการทำงานมามาก อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับงานที่ได้รับด้วย

         นอกจากนี้ ยังมีงานราชการสายยุติธรรมของบรรดากระทรวงต่าง ๆ เช่น เจ้าพนักงานสรรพากร ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ตำรวจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานคุมประพฤติ ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ศุลกากร นายทหารฝ่ายพระธรรมนูญ ปลัดอำเภอ ปลัดเทศบาล ปลัดอบจ. เป็นต้น

         บรรดาอาชีพเหล่านี้ คงจะแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า เรียนจบนิติศาสตร์มีอาชีพรองรับที่แน่นอน และมีสายงานค่อนข้างหลากหลาย เพราะความรู้ด้านกฎหมายสามารถนำต่อยอดในการประกอบอาชีพสายอื่น ๆ ได้มากมาย ดังนั้น คณะนิติศาสตร์จึงเป็นอีกหนึ่งคณะน่าเรียนที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เปิดสอน ซึ่งใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสมัครเรียนได้ที่ www.sau.ac.th/

เรียน จบ นิติศาสตร์ ทํา งาน อะไร ได้ บ้าง

เรียน จบ นิติศาสตร์ ทํา งาน อะไร ได้ บ้าง

Topics: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, SAU, นิติศาสตร์, ทนายความ, นักกฎหมาย

ใครที่กำลังมองหาสาขาวิชาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ น่าจะเป็นอีกหนึ่งสาขาที่หลายคนให้ความสนใจศึกษาต่อ แต่ก็อาจจะสงสัยว่าจบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

เรียน จบ นิติศาสตร์ ทํา งาน อะไร ได้ บ้าง

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนดีกว่าว่าเรียนนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย 4 ปี เรียนอะไรบ้าง การเรียนนิติศาสตร์ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย

ในช่วงปี 1 หลักสูตรแต่ละมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะเน้นการปูพื้นฐานช่วงเทอมแรก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย กฎหมายลักษณะบุคคล เพื่อเป็นการปูทางไว้ต่อยอดในระดับชั้นสูงต่อไป และจะมีวิชาพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนดเอาไว้ให้เรียนด้วย ต่อมาในเทอมสองความเข้มข้นก็จะเริ่มเข้ามา ซึ่งจะมีวิชากฎหมายเพิ่มเข้ามาเยอะพอสมควร หลักๆ จะเป็นกฎหมายแพ่ง และกฎหมายมหาชน แต่ยังมีวิชาพื้นฐานอยู่

ปี 2 วิชากฎหมายเข้ามาแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ยังมีวิชาพื้นฐานของมหาวิทยาลัยอยู่แต่น้อยลง จะได้เริ่มเรียนกฎหมายหลากหลายสาขามากขึ้น เช่น กฎหมายอาญาทั้งภาคทั่วไปและภาคความผิด รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครอง

ปี 3 ในปีนี้หากใครที่ผ่านวิชาพื้นฐานหมดแล้วจะเป็นการศึกษากฎหมายล้วนๆ ลึกขึ้นกว่าเดิม และมีวิชาใหม่เข้ามาเช่น กฎหมายวิธิพิจารณาฯ ส่วนกฎหมายแพ่ง กฎหมายปกครองก็จะเริ่มเข้าเนื้อหาลึกขึ้น วิชากฎหมายเกี่ยวกับศาลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาด้วย ยังไม่หมดแค่นั้นยังมีสาขาวิชาให้เลือกเรียนด้วย เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายธุรกิจ กฎหมายมหาชน หรือกฎหมายระหว่างประเทศ เลือกเรียนได้ตามความต้องการ ในสาขาเลือกเหล่านั้นจะมีกฎหมายต่างๆ มากมายให้เรียน

ปี 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการศึกษา ความเข้มข้นก็ยังคงมีอยู่ แต่จะมีกฎหมายพิเศษต่างๆ มากมายให้เราได้ศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพต่อไป

หากนำวิชากฎหมายแต่ละตัวที่ได้เรียน มาแบ่งก็จะสามารถแบ่งออกได้ตามหมวดหมู่ 4 หมวด หรือเรียนว่ากฎหมาย 4 มุมเมือง ดังนี้

1.กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เป็นกฎหมายที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ตั้งแต่การเกิด ทรัพย์สิน ละเมิด ความสัมพันธ์ในครอบครัว ไปจนถึงตาย และมรดก ซึ่งจะได้ทำการศึกษาทั้งหมด รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท

2. กฎหมายอาญา

เป็นการศึกษาประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 2 พาท คือ 1. ภาคทั่วไป จะเป็นการอธิบายว่าการกระทำใดที่จะมีความรับผิดทางอาญา เหตุยกเว้นโทษต่างๆ และ 2. ภาคความผิด เป็นการเรียนรู้ฐานความผิดต่างๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา ว่าการกระทำใดเป็นความผิดฐานใด

3. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดำเนินคดีทางศาล ศึกษาถึงเขตอำนาจศาล คดีไหนอยู่ศาลไหน ต้องฟ้องที่ศาลใด ใครฟ้องคดีได้บ้าง ในหมวดของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศึกษาว่าใครเป็นผู้เสียหาย ซึ่งจะส่งผลไปถึงการฟ้องคดีในศาล รวมไปถึงการค้น การจับ การสอบสวน การสืบสวน การสืบพยานในศาล และกระบวนการพิจารณาในศาล

ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จะเป็นเรื่องการฟ้องคดีแพ่ง กรณีเกิดข้อพิพาทตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กระบวนการต่างๆ ไปจนถึงการบังคับคดี

บางกฎหมายมีศาลพิเศษขึ้นมาก็จะมีกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีในศาลนั้นๆ แยกออกไปอีกต่างหาก ส่วนศาลทั่วไปก็จะมีกฎหมายเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เพื่อควบคุมว่าคดีใดฟ้องศาลใด ใช้ผู้พิพากษากี่คน ตัดสินอย่างไร

4. กฎหมายอื่นๆ

หลักๆ จะเป็นกฎหมายปกครอง รวมไปถึงรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ ที่สำคัญ ตั้งแต่ทฤษฎีไปจนถึงตัวบทกฎหมาย

จบ “นิติศาสตร์” ทำงานอะไรได้บ้าง

เมื่อเรียนจบคณะนิติศาสตร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีอาชีพมากมายให้เลือกทำ แนวคิดง่ายๆ “ทุกหน่วยงานมีกฎหมายกำกับ” ดังนั้น นักกฎหมายขาดไม่ได้ มาดูดีกว่าว่าทำอาชีพอะไรได้บ้าง

ทนายความ

อาชีพทนายความ คือสายตรงที่เรียนกฎหมายมาทั้งหมดจะได้ใช้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังจะต้องศึกษากฎหมายอื่นๆ เพิ่มเติมอีกด้วย หน้าที่หลักๆ คือทำหน้าที่ว่าความ และดำเนินกระบวนการในศาล การแก้ต่างให้กับจำเลย หรือฟ้องคดีให้กับโจทก์ รวมถึงจัดทำเอกสารทางกฎหมาย สัญญาต่างๆ

การที่จะเป็นทนายความได้จะต้องมีการสอบในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อผ่านการสอบแล้วจะได้รับใบอนุญาตว่าความ โดยสามารถว่าความได้ทั่วประเทศ

ที่ปรึกษากฎหมาย

อาชีพที่ปรึกษากฎหมายนั้นมีให้เห็นอยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมาในชื่ออื่น เช่น นิติกร ซึ่งจะอธิบายต่อไป โดยหน้าที่หลักๆ คือการให้คำปรึกษา แนะนำ ตรวจดูสัญญา เพื่อให้ผู้ว่าจ้างไม่ถูกเอาเปรียบและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้าง

นิติกร

เป็นอาชีพแรกเริ่มของผู้จบการศึกษานิติศาสตร์ที่ยังไม่มีใบอนุญาตว่าความ ซึ่งมีทั้งในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน หน้าที่ส่วนใหญ่จะเหมือนกับที่ปรึกษากฎหมาย และการศึกษา วิเคราะห์ ร่างแผน เขียนโครงการ ร่างระเบียบ เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ภายใต้กฎหมาย

อัยการ

เป็นอาชีพที่นักศึกษานิติศาสตร์หลายคนใฝ่ฝันจะประกอบอาชีพนี้ มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม ฟ้องคดีต่อศาลแทนรัฐ ดำเนินกระบวนการทางศาลเหมือนกับทนายความ แต่เน้นรักษาผลประโยชน์ของรัฐเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะเน้นหนักในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นอาชีพหนึ่งที่มีค่าตอบแทนสูง

การจะสอบอัยการได้นั้นจะต้องสอบผ่านเนติบัณฑิต และมีประสบการณ์ทางกฎหมายตามที่ได้กำหนดเอาไว้

ผู้พิพากษา

ผู้พิพากษา ถือว่าเป็นจุดสูงสุดของการประกอบอาชีพนักกฎหมายเลยก็ว่าได้ โดยทำหน้าที่ตัดสินคดีความต่างๆ ที่มีการฟ้องร้องมายังศาลยุติธรรม การสอบแต่ละครั้งมีคนสอบได้น้อยมาก ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองเพียงอย่างเดียว เพราะหากสอบผ่านยังไงก็ถูกเรียกทำงานอย่างแน่นอน ค่าตอบแทนสูงมาก

อาจารย์

อาชีพอาจารย์เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยม แต่ว่าอาจจะต้องมีการไปศึกษาเพิ่มเติมในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก หลังจากจบปริญญาตรีแล้ว เพราะส่วนใหญ่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป

งานราชการอื่นๆ

งานราชการอื่นๆ ที่คนจบนิติศาสตร์ นั้นสามารถไปต่อได้กว้างขวางมาก ไม่ว่าจะเป็น ปลัดอำเภอ ตำรวจ ทหาร พนักงานคุมประพฤติ เจ้าพนักงานบังคดี หรือในกรมต่างๆ เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร เป็นต้น เรียกได้ว่าอยู่ได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม เลยทีเดียว หากมีการเปิดสอบลองดูคุณสมบัติเรื่องวุฒิการศึกษาก็จะเห็น

งานธนาคาร

งานในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยม สำหรับผู้ที่ชื่นสอบสายงานเอกชน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่สินเชื่อ หากผู้ที่จบนิติศาสตร์จะมีทักษะทางกฎหมายมากกว่าผู้ที่จบจากสายอื่น

เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าคงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยว่า เรียน “นิติศาสตร์” นั้นทำงานอะไรได้บ้าง และเรียนอะไรกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

ได้อะไรจากการเรียนกฎหมาย

ความรู้และทักษะที่ได้จากการเรียนกฎหมาย ทำให้เราสามารถมีการวิเคราะห์สถานการณ์หรือเหตุการณ์ทั้งสองฝ่าย หรือสามารถมองการแก้ไขปัญหาออกเป็นสองด้าน เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดที่ตั้งอยู่บนเหตุผลอย่างมีวิจารณญาณ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการหาเหตุผลของคำตอบ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทักษะทางการสื่อสาร, การแก้ไขปัญหาและการคิดนอกกรอบ ทำให้ ...

คณะนิติศาสตร์ต้องเรียนอะไรบ้าง

เรียนเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายภาษีและวิชาเลือก

จบนิติเป็นอาจารย์ได้ไหม

หลายคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายมากๆ นอกจากทำงานในอาชีพต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว บางคนก็เลือกเป็นครู อาจารย์ได้อีกด้วย หลายคนเลือกที่จะสอนพิเศษให้กับรุ่นน้อง บางคนก็เรียนต่อเพิ่มเติมในระดับที่สูงขึ้น แล้วก็มาสอนประจำอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ได้อีกครับ นอกจากเป็นครู อาจารย์ คนที่เชี่ยวชาญมากๆ ก็ผันตัวเป็นนักวิชาการด้านกฎหมาย ...