โปรแกรม Adobe Flash CS6 มี ความ สามารถ ใน ด้าน ใด ต่อ ไป นี้

โปรแกรม Adobe Flash CS6 มี ความ สามารถ ใน ด้าน ใด ต่อ ไป นี้


          เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด เนื่องจากเป็นกราฟิกแบบเวกเตอร์ (Vector), สามารถเล่นเสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้, สามารถสร้างงานให้โต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive Multimedia) มีฟังก์ชั่นสำหรับการเขียนโปรแกรม (Action Script) และยังทำงานในลักษณะ CGI โดยเชื่อมต่อกับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา PHP, JSP, ASP, ASP.NET, C/C++, C#, C#.NET, VB, VB.NET, JAVA และอื่นๆ โดยเฉพาะข้อดีของโปรแกรม Flash คือ ความสามารถในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก มีผลทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้หลากหลาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf,eps, ai, dxf, bmp, jpg, gif, png เป็นต้น

          โปรแกรม Flash เริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี พ.ศ. 2539 จนถึง ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเว็บ ทำให้การนำเสนอทำได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้น โปรแกรม Flash ยังสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้ทำงานต่างๆ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และทำงานได้กับหลายๆ แฟลตฟอร์ม (Platform)

ซึ่งงาน Flash จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบออนไลน์ และแบบออฟไลน์

งาน Flash แบบออนไลน์

  • Web Banner งานป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์ที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องมีขนาดเล็กและยังมี Graphic ที่สวยงาม

  • Web Animation ส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่เคยใช้เป็นภาพนิ่ง สามารถสื่อสาร และดึงดูดความสนใจได้มากขึ้นด้วย Flash

  • Web Introduction การใช้ภาพเคลื่อนไหวอธิบายบุคลิก ตัวตนของเว็บไซต์เป็นอีกอย่างที่ Flash ทำได้ดีและได้รับความนิยมอย่างสูง

  • Flash Website Flash สามารถใช้ทำเว็บไซต์ทั้งกระบวนการได้ด้วย ไม่จำกัดแค่เพียง Animation และเนื้อหาอย่างเดียว หากยังการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล และการสร้าง Application ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวอีกด้วย งาน Flash แบบออฟไลน์

    งาน Flash แบบออฟไลน์

  • Product Introduction งานเปิดตัวสินค้า งาน Event งานคอนเสิร์ต งานแต่งงาน ที่จะต้องมีการนำเสนอความน่าสนใจของสินค้า หรือกิจกรรมต่างๆ

  • Presentation, CD Interactive การสร้างงานแบบ Presentation ก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับ flash อีกทั้งยังมีประโยชน์ในเรื่องความยืดหยุ่นของการเขียนโปรแกรม จึงเปิดโอกาสให้สร้างงาน Interactive แบบจินตนาการกว้างไกล โดยไม่ยึดติดอยู่ในโครงร่างตายตัวเหมือนกับ PowerPoint อีกต่อไป

    หน้าต่างของโปรแกรม

โปรแกรม Adobe Flash CS6 มี ความ สามารถ ใน ด้าน ใด ต่อ ไป นี้


โปรแกรม Adobe Flash CS6 มี ความ สามารถ ใน ด้าน ใด ต่อ ไป นี้

Menu Bar Menu Bar คือ เมนูที่ใช้แสดงชุดคำสั่งทั้งหมดโปรแกรม Flash โดยคลิกเลือกเมนูคำสั่ง จะปรากฏคำสั่งย่อยให้เลือกตามต้องการ

Timeline       เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกำหนดการเคลื่อนไหวของภาพวาดต่างๆ โดยภายใน Timeline ยังประกอบไปด้วยตารางเล็ก ๆ และมีแถบบอกจำนวนเฟรม (Frame) ด้านบน รวมทั้งมีเส้นสีแดงที่เรียกว่า “Playhead” ที่ใช้สำหรับบอกตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังทำงานอยู่ ณ ที่ใด

นอกจากนี้ยังมีส่วนของปุ่มแสดงเฟรมย้อนหลังที่เรียกว่า Onion Skin อยู่ที่ด้านล่าง ของ Timeline

Layer เลเยอร์เปรียบเสมือนแผ่นใสที่สามารถวาดภาพ หรือวางอ็อบเจ็กต์ลงไป เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งเลเยอร์แต่ละแผ่นจะแยกเป็นอิสระต่อกัน สามารถเปลี่ยนตำแหน่งการซ้อนทับกันของแต่ละเลเยอร์ได้ โดยจะมีผลให้ภาพที่อยู่ในเลเยอร์บน Stage เปลี่ยนตำแหน่งการซ้อนทับกันด้วย

หน้าต่าง Controller

          เมื่อสร้างเสร็จแล้ว หรือเมื่อต้องการทดสอบผลงานและภาพเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น จะทำการคลิกปุ่มบนหน้าต่าง Controller นี้ จะแสดงผลเหมือนกับการกด <Alt+Enter> ที่แป้นคีย์บอร์ด

โปรแกรม Adobe Flash CS6 มี ความ สามารถ ใน ด้าน ใด ต่อ ไป นี้

หน้าต่างไลบรารี (Library Panel)           เมื่อสร้างชิ้นงานขึ้นมาแล้วทำการแปลงเป็นซิมโบล หรือการนำภาพจากข้างนอกโปรแกรมเข้า มาใน Flash ภาพเหล่านั้นจะบรรจุอยู่ในหน้าต่างไลบรารีนี้ และสามารถเรียกหน้าต่างอย่างรวดเร็วด้วยคีย์ลัด <Ctrl+L>

โปรแกรม Adobe Flash CS6 มี ความ สามารถ ใน ด้าน ใด ต่อ ไป นี้

กล่องเครื่องมือ (Toolbox)          Toolbox คือ กล่องที่ใช้สำหรับบรรจุเครื่องมือวาดภาพต่างๆ เช่น เครื่องมือสร้างรูปสี่เหลี่ยม เครื่องมือสร้างข้อความ เป็นต้น ซึ่งภายใน Toolbox จะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ Tool , View , Colors และ Option

หน้าต่าง Properties

          ปรับเอฟเฟ็กต์สีใช้สำหรับปรับแต่งสีสัน และปรับเปลี่ยนเครื่องมือวาดรูปต่างๆ หรือตรวจสอบคุณสมบัติของรูปภาพจะสะดวกมากหากเปิดหน้าต่าง Properties ขึ้นมาด้วยคีย์ลัด<Ctrl+F3>

โปรแกรม Adobe Flash CS6 มี ความ สามารถ ใน ด้าน ใด ต่อ ไป นี้

หน้าต่าง Action Script

หน้าต่างที่บรรจุชุดคำสั่งที่จะจัดการกับการแสดงของรูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นกับเรื่องราวทั้งหมดหรือบางส่วน นอกจากนี้หน้าต่าง Actions ยังสามารถตรวจสอบการทำงานของโค้ดต่างๆ ในไฟล์งานได้

รายละเอียดบนจอภาพ Document Properties ประกอบด้วย

  1. Dimension     กำหนดขนาดความกว้าง และความสูงของ Stage ปกติโปรแกรมจะกำหนดค่าเริ่มต้นขนาด Stage เท่ากับ 550 x 400 Pixel สามารถกำหนดขนาดของ Stage ได้เล็กที่สุด 1×1 Pixel และ ใหญ่ที่สุด 2880 x 2880 Pixel

  2. * ปุ่ม Printer ขนาดของ Stage เท่ากับขนาดกระดาษปกติที่เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้

  3. * ปุ่ม Default ขนาดของ Stage เท่ากับค่าเริ่มต้น คือ 550 x 400 Pixel

  4.  * ปุ่ม Contents ขนาดของ Stage เท่ากับรายละเอียดที่แสดงในไฟล์เอกสาร


    รูปแบบไฟล์เอกสาร Flash

    1)—Flash Movie (*.fla)เป็นการบันทึกข้อมูลในเอกสารเพื่อเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ธรรมดาของโปรแกรม Flash ซึ่งผู้ใช้สามารถเปิดไฟล์เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม หรือทดสอบการแสดงได้ตามต้องการไฟล์ลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่ และไม่สามารถนำไปแสดงได้จริง เป็นเหมือนไฟล์ต้นฉบับ

    2)Flash Player หรือ Shockwave Flash (*.swf)เป็นการบันทึกไฟล์เพื่อนำไปใช้งานจริงบน Web Browser ซึ่งไฟล์จะมีขนาดเล็ก แต่ผู้ใช้จะไม่สามารถแก้ไขไฟล์ในลักษณะนี้ได้


เอกสารอ้างอิง

สุศิวกัญญา ปรางสร. 2560. Adobe Flash. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :

https://www.classstart.org/member#!/classes/25596/materials/70053. 4 กันยายน 2560.

2559. “โปรแกรม Flash”[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา http://www.kroojan.com/flash/content/flash-

intro.html (3 กันยายน 60).

Adobe Flash เป็นโปรแกรมประยุกต์ในด้านใด

อะโดบี แฟลช (อังกฤษ: Adobe Flash) (ในชื่อเดิม ช็อกเวฟแฟลช - Shockwave Flash และ แมโครมีเดียแฟลช - Macromedia Flash) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนสื่อมัลติมีเดียที่เอาไว้ใช้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับ Flash ซึ่งตัว Flash Player พัฒนาและเผยแพร่โดย อะโดบีซิสเต็มส์ (เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท ฟิวเจอร์แวร์ ตอนหลังเปลี่ยนเป็น แมโคร ...

โปรแกรม Flash สามารถทําอะไรได้บ้าง

Adobe Flash เป็นโปรแกรมสาหรับสร้างภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และมัลติมีเดียบนเว็บ เรียกไฟล์ภาพเคลื่อนไหว และมัลติมีเดียที่สร้างจาก Flash ว่า “มูฟวี่ (movie)”ที่เราสามารถนา Flash มาใช้สร้างงานได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ

โปรแกรม Adobe Flash CS6 มีส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรมอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6..
1. Menu Bar (เมนูบาร์) เป็นส่วนสำหรับแสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม.
2. Stage (สเตจ) เป็นส่วนที่เรากำหนดขอบเขตขนาดของการทำงาน เป็นพื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า “เวที” เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะแสดงเฉพาะวัตถุบน Stage นี้เท่านั้น.

จุดด้อยของในโปรแกรม Adobe Flash CS6 คือข้อใด

การใช้แฟลชจำเป็นต้อง Install โปรแกรมลงเครื่อง ซึ่งอาจมีปัญหาสำหรับบางบริษัทที่ไม่อนุญาตให้พนักงานลงโปรแกรมในคอมพิวเตอร์บริษัท การเล่นภาพหรือวิดีโอด้วย Flash MX ยังไม่สามารถให้คุณภาพได้ดีเท่ากับปกติ