การปรับตัวในยุค new normal

​​​​​​​​​​

เมื่อใคร ๆ ต่างก็พูดถึง New Normal...ทำไมคำคำนี้ ถึงกลายมาเป็นคำฮิตในยุค COVID-19

NEW NORMAL กับการเปลี่ยนแปลง

นับตั้งแต่วิกฤต COVID-19 เข้ามากระทบการใช้ชีวิตของผู้คนจำนวนมาก ส่งผลทำให้พฤติกรรมหลาย ๆ อย่างของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น การซื้อของออนไลน์ ใช้บริการดิลิเวอรีมากขึ้น การใส่ใจดูแลสุขภาพที่มากขึ้นทั้งการใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ อีกทั้งยังได้สร้างมาตรกฐาน เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม เช่น การรักษาระยะห่าง (Social Distancing) หรือ การทำงานจากบ้าน (Work From Home) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองที่ถูกเรียกว่าเป็น New Normal หรือ ความปกติรูปแบบใหม่ ที่หลายคนเริ่มจะคุ้นหูมากขึ้นเรื่อย ๆ 

จะเห็นได้ว่า จาก New Normal ที่เกิดขึ้น ได้สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจ เป็นตัวกระตุ้นผลักดัน ให้ผู้ประกอบการ เกิดการคิดนอกกรอบมากขึ้น จากเดิมอาจจะมีทั้งที่สนใจ หรือ ไม่สนใจในการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะ ไม่ได้ถูกบีบบังคับให้ต้องเปลี่ยน แต่วันนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่บังคับให้ทุกคนต้องคิดใหม่ ทำใหม่ หรือ ฉีกกรอบไปจากเดิม เพื่อพลิกธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ นั่นเป็นเพราะว่า การทำให้รูปแบบเดิมจะไม่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุค COVID-19 ได้

การปรับตัวในยุค new normal

ลูกค้าเปลี่ยน 3 พฤติกรรมมนุษย์ New Normal

New Normal คือ พฤติกรรมกลุ่มที่ถูกบังคับให้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จนทำให้เกิดวิถีชีวิตใหม่ ๆ ในสังคม โดยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค New Normal มีอยู่ 3 พฤติกรรมหลัก ๆ  นั่นคือ อยู่ติดบ้าน , ติด Online Community และ ไม่ยอมติดเชื้อ

  • อยู่ติดบ้าน : ช่วงการระบาดของ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของคนถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบ Home-Based เกือบจะทั้งหมด ทำให้อาณาจักรของผู้บริโภคเวลานี้ จึงไม่ใช้ Outdoor แต่เป็น Indoor ในปัจจุบัน
  • ติด Online Community : การซื้อสินค้าออนไลน์ กลายเป็น New Normal ของผู้บริโภคไปแล้ว และ พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดในการช้อปออนไลน์ คือ ผู้บริโภคติด Online Community โดยช่องทางที่มาแรง คือ Marketplace ที่เปรียบเสมือนสังคมของการแลกเปลี่ยน เหมือนเป็นการซื้อ - ขาย กันเองภายใน Community จึงง่ายต่อการวร้างความไว้วางใจ และ โดยธรรมชาติของสังคม Community จะให้ความรู้สึกสนุก เหมือนได้ซื้อ – ขายกับเพื่อน
  • ไม่ยอดติดเชื้อ : ผู้บริโภคจะใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยผู้คนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เน้นด้านความสะอาด และ สุขอนามัย และ ด้วยสถานการณ์ที่ทำให้คนเกิดความเครียดได้ง่าย เรื่องของสุขภาพจิตจึงเป็นอีกสิ่งที่คนหันมาดูแลเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

​​

การปรับตัวในยุค new normal

องค์กรเปลี่ยน โฉมหน้าการทำงานในโลกยุคใหม่

รูปแบบการทำงานต่อจากนี้จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะ การทำงานจากบ้าน (Work From Home) และ การใช้ออนไลน์เข้ามาช่วยในการสื่อสาร และ การทำงานของคนในองค์กรที่จะมีความคล่องตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การประชุมเสมือน (Virtual Meeting) การทำงานเป็นทีมได้แบบเสมือนจริง โดยที่ไม่ต้องเจอกัน (Virtual Team) หรือ การทำงานแบบ e-Office ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานทุกอย่างผ่านระบบออนไลน์ โดยที่คนไม่ต้องเข้าออฟฟิศ

นอกเหนือจากการประชุมออนไลน์ การหาสถานที่อื่น ๆ ไว้คอยประชุม และ ทำงานจะเข้ามามีบทบาทเช่นกัน เช่น การนัดเจอกันที่ร้านกาแฟ เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ และ พูดคุยกันแบบสบาย ๆ หรือ แม้กระทั่งไปพูดคุยงานกับที่บ้านของผู้บริหาร เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า ยุคนี้ คือ ยุคที่ทุก ๆ ที่สามารถเป็นที่ทำงานได้

ไม่ใช่เพียงแค่รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป การจ้างพนักงานก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น จะไม่ได้มีแบบ Full Time หรือ งานประจำเต็มเวลาเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะมีพนักงานที่รับ และ ส่งงานเป็นชิ้นตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะส่งผลกระทบให้องค์กรมีโครงสร้างเงินเดือนหลายรูปแบบมากขึ้น รวมถึงต้องพิจารณาเรื่องสวัสดิการ และ ค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับ New Normal ที่เกิดขึ้น เช่น สวัสดิการค่าไฟฟ้าที่บ้าน เป็นต้น

เมื่อองค์กรปรับแล้ว พนักงานเองก็ต้องมีการปรับตัวด้วยเช่นกัน โดยพนักงานที่องค์กรต้องการ คือ คนที่มี Multi-Skills สามารถทำงานได้หลากหลาย และ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะ ต่อไปในอนาคตยากที่จะคาดเดาได้ว่า ธุรกิจจะต้องเจอกับความท้าทายอะไรบ้าง ฉะนั้นองค์กรจึงต้องการคนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง และ พร้อมที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา

การปรับตัวในยุค new normal

บริการเปลี่ยน จองคิวล่วงหน้า ความจำเป็นยุค Social Distancing

เมื่อเงื่อนไขทางสังคมต้องมีการรักษาระยะห่างระหว่างกัน (Social Distancing) ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการให้บริการลูกค้าของหลาย ๆ ธุรกิจ เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวรวมกันในสถานที่เดียว ด้วยเหตุนี้ การจองคิวล่วงหน้า จึงกลายเป็นเรื่องที่จำเป็น และ หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจในปัจจุบัน 

การจองคิวล่วงหน้า จะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่เข้าไปแก้ปัญหาของการให้บริการ ซึ่งต่อจากนี้ผู้คนไม่ควรที่จะมีการนั่งรอ แต่ควรไปเข้ารับบริการตามเวลา และไม่ใช่เฉพาะแค่ที่ร้านอาหารเท่านั้น แต่เป็นทุก ๆ ที่ที่จะต้องมีการกำหนดเวลา เข้า – ออก โดยมีการจองเข้าใช้บริการก่อน ซึ่งเรื่องนี้จะกลายเป็นพฤติกรรมใหม่โดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อก่อนระบบการจองคิวล่วงหน้า เป็นเรื่องที่ Nice to Have คือ มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่ว่าปัจจุบัน ระบบจองคิวกลายเป็นเรื่องที่ Must to Have คือ ต้องมี ไม่อย่างนั้นร้าน หรือ ธุรกิจจะมีปัญหาเรื่องการเปิดทำการ และ อาจจะกลายเป็นที่แพร่กระจายไวรัส และ โดนสั่งปิดได้ จึงกลายเป็นเรื่องที่ร้านค้าจะต้องพิจารณาเอาระบบเข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ

การขายเปลี่ยน ขายเองได้ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

หากจะพูดถึงวิธีการขายของเกษตรกร หรือ ชาวสวน แน่นอนว่า “พ่อค้าคนกลาง” ถือเป็นช่องทางหลักที่สำคัญ แต่ในสถานการณ์ที่ความไม่ปกติมาเยือน ทั้งสองฝ่ายต่างต้องแบกภาระที่หนักอึ้งไม่ต่างกัน การลุกขึ้นมาขายเองแบบส่งตรงถึงมือผู้บริโภคโดยไม่ผ่านตัวกลาง จึงเป็นวิธีการขายแบบใหม่ในยุค New Normal

แม้การขายผ่านพ่อค้าคนกลางจะเป็นวิธีที่สะดวก และ ไม่ยุ่งยากสำหรับชาวสวน แต่ในยุคที่ผู้คนเลือกซื้อสินค้ากันอย่างสนั่นออนไลน์แบบนี้ การทำลายกำแพงความคิดด้วยการเปลี่ยนมาสวมบทพ่อค้ามาค้าเสียเอง เป็นสิ่งที่เกษตรกร หรือ ชาวสวนยุคใหม่ไม่ควรมองข้าม แต่ในการขายของออนไลน์โดยเฉพาะของสดอย่างผลไม้ค่อนข้างมีความยาก เนื่องจากระยะเวลา และ วิธีการในการขนส่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายระหว่างทาง จึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าเยอะขึ้นอย่างมาก สิ่งสำคัญ คือ คุณภาพของสินค้าที่ขาย ตัวบรรจุภัณฑ์ และ การจัดส่ง ที่เมื่อถึงมือลูกค้าแล้วจะต้องอยู่ในสภาพที่ดี สินค้ายังคงคุณภาพ ซึ่งการรักษามารตรฐานเช่นนี้จะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอยู่เรื่อย ๆ 

การปรับตัวในยุค new normal
 

ท้ายที่สุดแล้ว New Normal ไม่ใช่อะไรที่เป็นเรื่องใหม่จนเกินคาดหมาย เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องออกจากความเคยชินเดิม ๆ เพราะ ในเมื่อโลกไม่เหมือนเดิมคุณก็ต้องทำในสิ่งที่ต่างออกไป หันกลับมามองตัวเองสักนิด แล้วตอบให้ได้ว่า คุณพร้อมหรือยัง? ที่จะเป็น New SME ในโลกใบใหม่ที่เรียกว่า New Normal

สิ่งใดคือการปรับตัวในสภาวการณ์ New Normal

ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เป็นแนวทางที่หลาย ๆ คนจะต้องปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรม ในช่วงไวรัสตัวนี้ออกมาระบาดแล้วเปลี่ยนชีวิตเราไปอีกนาน ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตไปพร้อมกันทั่วโลก จากที่เราเคยออกจากบ้าน เพื่อไปทำงาน ไปโรงเรียน เราต้องหันมาทำทุกอย่างที่บ้าน หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านไปช้อปปิ้ง หรือแม้กระทั่ง ...

การทํางานแบบ New Normal ใช้หลักใด

การออกแบบด้วยแนวคิดเว้นระยะห่าง พื้นที่ทำงานควรจัดตำแหน่งการนั่งโดยเว้นระยะห่างระหว่างพนักงานอย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อป้องกันการใกล้ชิด โดยปรับมาใช้การ Hot Desk เพิ่มพื้นที่ส่วนกลางเพื่อลดความแออัด ในการประชุมควรปรับขนาดห้องประชุมให้เล็กลง จำกัดจำนวนผู้เข้าประชุม หรือเปลี่ยนมาใช้ Phone Booth เพื่อลดการรวมตัวโดยไม่จำเป็น

การเรียนรู้ในยุค New Normal เป็นอย่างไร

การเรียนรู้ในยุคปกติใหม่เป็นการเรียนรู้ที่มีแพลตฟอร์ม และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีความ พอเพียง และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง โดยผู้สอนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการที่ จะออกแบบการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างสูงสุดในการเรียนรู้ และ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ( ...

ยุค Next Normal คืออะไร

เมื่อ New Normal ไม่เป็น New Normal อีกต่อไป โลกได้เข้าสู่ยุคถัดไปที่เรียกว่า Next Normal หรือ “ความปกติถัดไป” แน่นอนว่าเมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว ก็ไม่มีทางจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม ไปดูกันว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่เกิดขึ้นใน Next Normal มีอะไรบ้าง