กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน

กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน

กิจกรรมง่ายๆที่ช่วยให้ลูก พูด อ่าน เขียน ได้ดี

       พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กนั้นเริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิดคือ ทันทีที่คลอดออกมาสู่โลกภายนอกด้วยการส่งเสียงร้องไห้ จนถึงอายุ 6เดือนซึ่งเป็นวัยที่เขาจะสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ด้วยเสียงอ้อแอ้ เอิ๊กอ๊าก เด็กในวัย 9 เดือนถึง 1 ขวบ จะสามารถพูดคำง่ายๆเช่นคำว่า “แม่” ได้ และเด็กในวัย 2 ถึง 3 ขวบจะเรียนรู้เรื่องของภาษาผ่านการได้ยินได้ฟัง คุณพ่อคุณแม่จึงต้องหมั่นพูดคุยกับลูกบ่อยๆหรืออ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง อย่าเข้าใจเอาเองว่าพูดคุยไปลูกก็ฟังไม่รู้เรื่องหรือไม่เข้าใจ เพราะเด็กในวัยนี้จะรู้สึกมีความสุขที่ได้ยินเสียงพูดคุยของคุณพ่อคุณแม่และถือเป็นวัยสำคัญสำหรับการเริ่มต้นในการพัฒนาทางด้านภาษาโดยผ่านทางการฟังและการได้ยิน

              ส่วนเด็กในวัย 4 ถึง 5 ขวบเป็นวัยที่ส่วนใหญ่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้บ้างแล้ว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถพัฒนาการอ่านและการเขียนให้กับลูกได้โดยการหาหนังสือนิทานดีๆให้อ่านหรือหากระดาษเปล่าพร้อมดินสอ สีเมจิก สีไม้ สีเทียน มาให้ลูกใช้ขีดเขียนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกอยากเขียนหนังสือ

              จะเห็นได้ว่าแหล่งเรียนรู้ทางด้านภาษาที่ดีที่สุดซึ่งก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กส่วนใหญ่แล้วมักจะเรียนรู้จากคนที่อยู่ใกล้ตัว เช่นคุณพ่อคุณแม่เป็นสำคัญ เด็กบางคนมีความสามารถในการพูด อ่าน เขียนได้หลายภาษาเพราะคนที่บ้านหรือคนที่อยู่แวดล้อมใช้ภาษาที่แตกต่างกันหลายภาษาในการพูดคุยกับเด็ก จนเด็กสามารถเรียนรู้และซึมซับภาษาต่างๆเหล่านั้นแล้วนำไปใช้ได้อย่างดีแม้จะไม่เคยเรียนเป็นจริงเป็นจังในห้องเรียนเลยก็ตาม

              ตามทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ของดร.โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Dr.Howard Gardner) กล่าวถึงลักษณะของเด็กที่มีความสามารถทางด้านภาษาว่า สามารถใช้ภาษาสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่วและมีทักษะด้านการพูด การอ่านและการเขียนในระดับที่ดี ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกมีความสามารถโดดเด่นทางด้านภาษาแล้ว ก็สามารถส่งเสริมความสามารถทางด้านภาษาของลูกได้โดยผ่านทางตัวอย่างของรูปแบบกิจกรรมง่ายๆที่คุณพ่อคุณแม่หรือใครๆก็สามารถทำได้ ดังนี้

      
       1. ข้อความสื่อรัก
      
       คุณพ่อคุณแม่หากระดาษไว้เขียนข้อความสื่อสารกับลูก เช่นก่อนลูกเข้านอนคุณพ่อคุณแม่อาจจะเขียนข้อความไว้ให้ลูกอ่านว่า “นอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์” เมื่อลูกได้อ่านแล้วนอกจากจะรู้สึกอบอุ่นหัวใจแล้วยังได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่คือคำว่า “ราตรีสวัสดิ์” ด้วย คุณพ่อคุณแม่อาจจะอธิบายคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกันเพิ่มเติม เช่นคำว่า “อรุณสวัสดิ์” ได้อีก และยังสามารถโยงไปสู่คำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ด้วยทั้ง Good night และ Good morning เช่นนี้แล้วลูกก็จะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกเขียนข้อความสื่อรักให้กับคุณพ่อคุณแม่ด้วย ซึ่งบางครั้งลูกอาจจะเขียนถูกบ้างผิดบ้างก็ไม่เป็นไร อย่าไปตำหนิลูกแต่ให้อธิบายสิ่งที่ถูกต้องให้กับเขาเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่ถูกหรืออาจจะให้ลูกเป็นคนอธิบายถึงสิ่งที่เขาเขียนให้เราฟังก็ถือเป็นการฝึกให้เกิดการพัฒนาทางด้านภาษาผ่านทางการพูดได้อีกด้วย เช่นลูกเขียนข้อความว่า “อยากกินไอสะกรีมรสกะทิ” คุณพ่อคุณแม่ก็แก้ไขให้ลูกใช้คำศัพท์ให้ถูกต้องว่า “ไอศกรีม” และให้ลูกอธิบายว่ารสกะทิเป็นอย่างไร กะทิทำมาจากอะไรอย่างนี้เป็นต้น
      
       2. คิกคักข้างหู

      เวลาว่างหรือเวลาใดก็แล้วแต่ที่คุณพ่อคุณแม่ได้อยู่กับลูก ลองพูดข้อความอะไรก็ได้ให้ลูกฟังใกล้ๆหูแล้วให้ลูกพูดข้อความนั้นต่อไปยังคนอื่นโดยให้พูดใกล้หูคนนั้นเช่นกัน เมื่อพูดต่อกันครบทุกคนแล้วให้เฉลยว่าคนแรกพูดว่าอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจากที่ได้พูดต่อกันมาหรือไม่ วิธีการนี้ฝึกพัฒนาการได้หลายอย่างทั้งการได้ยิน ความจำและการใช้ภาษาสื่อสาร เช่น คุณพ่ออยู่ในลำดับแรกพูดสุภาษิตคำพังเพยว่า “ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่” ให้ลูกที่อยู่ลำดับที่สองฟัง แล้วลูกต้องพูดประโยคนี้ต่อไปให้คุณแม่ที่อยู่ลำดับที่สามได้ฟัง บางทีลูกอาจพูดผิดเป็น “ไก่เห็นนมงู งูเห็นนมไก่” คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องช่วยแก้ไขให้ถูกต้องและอธิบายความหมายของสุภาษิตคำพังเพยให้ลูกได้เข้าใจด้วย หรืออาจสลับให้ลูกอยู่ในลำดับแรกได้คิดคำหรือประโยคเอง ก็จะเป็นการช่วยให้เขาได้ฝึกความสามารถทางภาษาได้อย่างมาก กิจกรรมนี้เล่นได้สนุกและมีประโยชน์ ถ้าวันไหนได้เล่นกิจกรรมนี้รับรองว่าจะได้ยินลูกๆหัวเราะชอบใจกันเสียงดังทีเดียว
      
       3. ฝึกพูดและเขียนจากภาพ

     คุณพ่อคุณแม่เตรียมรูปภาพต่างๆไว้ อาจเอามาจากหนังสือหรือเป็นการ์ดรูปภาพตามแต่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นรูปคน รูปสัตว์ รูปต้นไม้ดอกไม้ รูปยานพาหนะ โดยให้นำภาพเหล่านั้นวางคว่ำไว้และให้ลูกเลือกเปิดภาพขึ้นมาทีละหนึ่งภาพ แล้วตอบว่าเป็นภาพอะไร การตอบอาจให้พูดหรือเขียนก็ได้ และอาจให้ตอบทั้งภาษาไทยหรือภาษาอื่น เช่นภาษาอังกฤษก็ได้ แล้วให้เขาพยายามอธิบายถึงลักษณะของสิ่งที่อยู่ในภาพเหล่านั้นว่าเป็นอย่างไร เช่น ลูกเปิดได้ภาพดอกกุหลาบสีแดง ลองให้เขาตอบว่า คำว่า “ดอกกุหลาบ”และคำว่า “สีแดง” ในภาษาอังกฤษสะกดอย่างไร และลองให้เขาอธิบายว่าดอกกุหลาบมีสีอะไรบ้าง มีกลิ่นหอมหรือเหม็น ต้นกุหลาบเป็นอย่างไร มีหนามหรือไม่มี กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามารถในการพูด การเขียนและการอธิบายสิ่งต่างๆตามจินตนาการหรือตามประสบการณ์ที่ลูกได้เคยพบเห็น ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาทางด้านภาษาของเด็กได้ดีแล้วยังช่วยพัฒนาสมองในส่วนของความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย

นอกจากกิจกรรมง่ายๆข้างต้นนี้แล้ว การส่งเสริมพัฒนาทางภาษาของลูกคุณพ่อคุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาในเรื่องภาษาของเด็ก เช่น จัดมุมสบายๆในบ้านให้เป็นมุมอ่านและเขียนหนังสือ โดยมีหนังสือสำหรับเด็ก กระดาษ อุปกรณ์เครื่องเขียน ที่เด็กๆสามารถหยิบนำมาใช้ได้ และที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ควรให้เวลาพูดคุยกับลูก ให้เขาได้พูด ได้เล่า ได้แสดงความคิดเห็นด้วย สิ่งต่างๆเหล่านี้มีอิทธิพลสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้ลูกของเรามีความฉลาดด้านภาษาทั้งการพูด การอ่าน การเขียนและการใช้ภาษาสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

Life & Family / ดร.แพง ชินพงศ์

กิจกรรมรักการอ่านทำอย่างไร

1. นักเรียนฟังครูอ่านหนังสือนิทานหรือหนังสือภาพสาหรับเด็ก 2. ร่วมกันสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับนิทานและตัวละครในนิทาน 3. นักเรียนระบายสีตัวละครหรือภาพง่ายๆ จากนิทานหรือ หนังสือภาพสาหรับเด็ก 4. นาภาพของนักเรียนทุกคนจัดป้ายนิเทศหรือนิทรรศการใน ห้องเรียน เผยแพร่ให้ทุกคนชื่นชม

การอ่านส่งเสริมการคิดอย่างไร

1. เร้าใจให้เกิดความยากอ่านหนังสือ 2.ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือและน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น 3. แนะนำกระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่างๆเกิดความรอบรู้คิดกว้างมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย

เทคนิคการสอนอ่าน มีอะไรบ้าง

วิธีการอ่านอะไรก็เข้าใจและจำได้มากขึ้นด้วยเทคนิค SQ3R.
1. Survey. อ่านบทนั้นผ่านๆก่อน ดูย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย ... .
2. Question. ตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่คุณสงสัยอยู่แล้ว ... .
3. Read. การมีคำถามในใจเวลาอ่าน จะทำให้คุณโฟกัส จับใจความที่สำคัญได้ดีขึ้น ... .
4. Recall. นึกในใจว่าคุณอ่านอะไรไปแล้วบ้าง ... .
5. Review..

ท่านจะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ได้อย่างไรบ้าง

แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 1. เร้าใจให้เกิดความยากอ่านหนังสือ 2. ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือ และน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น 3. แนะนำ กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกิดความรอบรู้ คิดกว้าง และมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย