จากการทดลองของเมนเดลลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่นที่ 1 แต่มาปรากฏในรุ่นที่ 2 เรียกว่าอะไร

การค้นพบกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

          นักวิทยาศาสตร์ผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับหน่วยที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ได้แก่ เกรเกอร์  โยฮันน์  เมนเดล (Gregor  Johann  Mendel) บาทหลวงชาวออสเตรียซึ่งเป็น นักคณิตศาสตร์ เมื่อประมาณปี ค.ศ.1866 เมนเดลได้ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะที่ปรากฏในรุ่นลูกเป็นผลมาจากการถ่ายทอดหน่วยที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ซึ่งได้จากพ่อและแม่ โดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ในการทดลองเพื่อศึกษาแบบแผนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เมนเดลได้เลือกใช้ถั่วลันเตา (Pisum  sativum) ซึ่งเป็นพืชหาง่าย ปลูกง่าย ขึ้นได้ทั่วไป อายุสั้น มีหลายพันธุ์ และมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนหลายลักษณะ เช่น ลักษณะสีดอก จะมีดอกสีม่วงและสีขาว เป็นต้น เมนเดลได้นำถั่วพันธุ์แท้ต้นสูงและพันธุ์แท้ต้นเตี้ยมาผสมกัน พ่อแม่ที่นำมาผสมกันนี้เรียกว่า รุ่น P (Parent  Generation) แล้วศึกษาลักษณะความสูง ความเตี้ยของลูกรุ่นที่ F1 (The first filial generation) ต่อจากนั้นนำต้นถั่วรุ่นF1 มาผสมกันเอง แล้วศึกษาลักษณะความสูง ความเตี้ยของรุ่นลูกรุ่นที่ F2 หรือเรียกย่อๆ ว่า F2 (The second filial generation) ผลปรากฏดังนี้             

จากการทดลองของเมนเดลลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่นที่ 1 แต่มาปรากฏในรุ่นที่ 2 เรียกว่าอะไร

ภาพต้นถั่วรุ่นต่างๆ ที่ได้จากการผสมพันธุ์

           ผลการทดลองของเมนเดล พบว่า ลูกรุ่นF1 แสดงลักษณะเป็นถั่วเป็นสูงทั้งหมด ไม่ว่าจะใช้ต้นถั่วพันธุ์แท้ ต้นสูงเป็นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ก็ตาม แสดงว่าลักษณะที่แสดงออกในลูกรุ่นF1ทั้งหมด  ส่วนลูกรุ่นF2 จะมีทั้งต้นสูงต้นเตี้ย  แสดงว่าลักษณะต้นเตี้ยสามารถแสดงออกได้ในลูกรุ่นF2 นอกจากนี้ เมนเดลยังได้ศึกษาลักษณะอื่นๆ ของต้นถั่วอีก 7 ลักษณะและได้ผลการทดลองดังนี้

จากการทดลองของเมนเดลลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่นที่ 1 แต่มาปรากฏในรุ่นที่ 2 เรียกว่าอะไร

ภาพ  ลักษณะต้นถั่วลันเตา 7 ลักษณะที่เมนเดลเลือกนำมาใช้ศึกษา

จากการทดลองของเมนเดลลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่นที่ 1 แต่มาปรากฏในรุ่นที่ 2 เรียกว่าอะไร

ภาพ  แสดงตารางข้อมูลส่วนหนึ่งที่ได้จากผลการทดลอง

จากข้อมูลในตาราง พบว่า ในลูกรุ่นF1 ลักษณะที่ปรากฏมีเพียงแบบเดียว  ส่วนในลูกรุ่น F2 ลักษณะที่แสดงออกมามี 2 แบบ จากตารงผลการผสมพันธุ์ในรุ่นพ่อแม่ระหว่างถั่วพันธุ์แท้เมล็ดกลมกับถั่วพันธุ์แท้เมล็ดขรุขระ ได้ลูกรุ่นF1 ที่มีลักษณะเดียวเท่านั้น คือ เมล็ดกลม ไม่มีลักษณะเมล็ดขรุขระปากฎร่วมอยู่เลย แต่ลักษณะทั้งสองจะปรากฏให้เห็นในลูกรุ่นF2 ในอัตราส่วนของเมล็ดกลมต่อเมล็ดขรุขระ เป็น 3:1 เพราะเหตุใดลักษณะของเมล็ดขรุขระจึงไม่ปรากฏในลูกรุ่นF1 แต่ไปปรากฏในลูกรุ่นF2 ทั้งๆที่รุ่นพ่อแม่ (P) มีลักษณะเมล็ดกลม และเมล็ดขรุขระ

          เมนเดลได้อธิบายว่า ลักษณะต่างๆ ของถั่วลันเตาจะต้องมีหน่วยคุมลักษณะซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในยุคต่อมาเรียกว่า ยีน(Gene) ดังนั้นจะต้องมียีนที่ที่ควบคุมลักษณะเมล็ดกลมและยีนที่ควบคุมเมล็ดขรุขระ  และลักษณะเมล็ดกลมที่ปรากฏในลูกรุ่นF1 จัดเป็นลักษณะเด่น(Dominant) และลักษณะเมล็ดขรุขระที่ไม่ปรากฏในลูกรุ่นF1 จัดเป็นลักษณะด้อย(Recessive) ดังนั้นยีนที่ควบคุมลักษณะเมล็ดกลมจัดเป็นยีนเด่น(DominantGene) ยีนที่ควบคุมลักษณะเมล็ดขรุขระ จัดเป็นยีนด้อย(RecessiveGene) ในทางพันธุศาสตร์จะใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เขียนแทนยีนเด่นและตัวพิมพ์เล็กแทนยีนด้อย เช่น ยีน T เขียนแทนยีนที่ควบคุมลักษณะต้นสูง และยีน t เขียนแทนยีนที่ควบคุมลักษณะต้นเตี้ย ซึ่งยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆเหล่านี้จะอยู่ในสภาพที่เป็นคู่ เรียกว่า อัลลีน (Allele) โดยในลูกรุ่นF1 อัลลีนที่แสดงออกมาเป็น อัลลีนลักษณะเด่น (Dominant allele) ส่วนอัลลีนที่แสดงออกมาไม่ได้เป็นอัลลีนลักษณะด้อย(Recessive allele)

          ในการผสมพันธุ์ถั่วลันเตาโดยพิจารณาสีของฝัก ถ้าให้ G เป็นสัญลักษณ์แทนลักษณะฝักสีเขียวที่เป็นอัลลีนลักษณะเด่น gแทนลักษณะฝักสีเหลืองที่ป็นอัลลีนลักษณะด้อย อัลลีนที่อยู่เป็นคู่กันจะเป็นไปได้ 3 แบบ คือ GG Gg และ gg เรียกอัลลีนที่เป็นคู่นี้ว่า จีโนไทป์(Genotype) และลักษณะที่แสดงออกมา เรียกว่า ฟีโนไทป์(Phenotype) ส่วนต้นถั่วที่มีจีโนไทป์ gg จะมีฟีโนไทป์เป็นถั่วฝักสีเหลือง นั่นคือลักษณะด้อย ซึ่งจะแสดงออกมาได้ต้องมีอัลลีนลักษณะด้อย 2 อัลลีน การที่สิ่งมีชีวิตมีอัลลีน 2 อัลลีนเหมือนกัน เช่น GG หรือ gg เรียกว่ามีสภาพเป็นโฮโมไซกัสจีโนไทป์ (Homozygous Genotype) หรือพันธุ์แท้ (Pure line) ส่วนการที่มีอัลลีน 2 อัลลีนต่างกัน เช่น Gg มาคู่กัน สภาพเช่นนี้ เรียกว่า เฮเทโรไซกัสจีโนไทป์ (Hetrozygous genotype) หรือพันทางหรือลูกผสม (Hybrid) ซึ่งผลจากการทดลองศึกษาของเมนเดล ทำให้เขาสรุปออกมาเป็นกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมหรือเรียกว่า กฎของเมนเดลข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว (Law of segregation) กล่างง่าลักษณะของสิ่งมีชวิตนั้นถูกควบคุมโดยยีน (gamete) ยีนที่อยู่ในสภาพคู่นี้จะอยู่ในสภาพเดี่ยวในเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ เช่น อสุจิกับไข่ ลูกที่เกิดขึ้นจะมียีนกลับมาเป็นสภาพคู่อีกเช่นเดิม

ต่อมาเมนเดลได้ทดลองศึกษาลักษณะที่แตกต่างกันของถั่วลันเตา 2 ลักษณะพร้อมๆกัน โดยเป็นการผสมระหว่างพ่อแม่ที่มีลักษณะแตกต่างกัน 2 ลักษณะ (Dihybrid cross) คือพันธุ์แท้เมล็ดกลมสีเหลืองกับพันธุ์แท้เมล็ดขรุขระสีขาว จะได้ลูกรุ่นF1 และลูกรุ่นF2  ซึ่งมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

จากการทดลองของเมนเดลลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่นที่ 1 แต่มาปรากฏในรุ่นที่ 2 เรียกว่าอะไร

ภาพผสมพิจารณาสองลักษณะที่แตกต่างกัน

          ผลจากการทดลองพบว่าลูกผสมรุ่นF1 ทุกต้นจะให้เมล็ดกลม และมีสีเหลือง ลูกผสมรุ่นF2 จะมีลักษณะต่างๆ 4 พวกด้วยกันคือ

          1.เมล็ดกลม   สีเหลือง จำนวน 315 เมล็ด

          2.เมล็ดกลม   สีเขียว  จำนวน 108 เมล็ด

          3.เมล็ดขรุขระ  สีเหลือง  จำนวน 101 เมล็ด

          4.เมล็ดขรุขระ  สีเขียว จำนวน 32 เมล็ด

          จะเห็นว่าจำนวนลูกรุ่นF2 ที่พบในแต่ละพวกคือ 315:108:101:32 จะใกล้เคียงกับอัตราส่วนอย่างต่ำ 9:3:3:1 ซึ่งเป็นอัตราส่วนของการผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียงลักษณะเดียว (Monohybrid cross) หรือ 3:1 สองชุด คูณกันนั่นเองและเมื่อทำการแยกศึกษาทีละลักษณะจะได้รวมผลลัพธ์ของสองลักษณะเข้าด้วยกันโดยวิธีคูณ(เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกัน) จะได้อัตราส่วนของลูกผสม 2 ลักษณะ หรือ 9:3:3:1 นั่นเอง

          เมนเดลได้สรุปผลการทดลองนี้ว่ายีนที่ควบคุมลักษณะเมล็ดและยีนที่ควบคุมสีของเมล็ดเมื่อยีนแต่ละคู่แยกมาอยู่ในสภาพเดี่ยวแล้วยีนมีความเป็นอิสระที่จะไปรวมกันในเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งก็คือกฎข้อที่สองของเมนเดล กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ(Law  of independent assortment) มีใจความว่า ในเซลล์สืบพันธ์ยีนซึ่งอยู่บนโครโมโซมต่างคู่กันมีความเป็นอิสระที่จะมาจับคู่รวมกลุ่มกันใหม่

เพราะเหตุใดลักษณะดอกสีขาวจึงไม่ปรากฏในรุ่น f1

มีฟีโนไทป์ 2 แบบ คือ ดอกสีม่วงและดอกสีขาวในอัตรา ส่วน 3 : 1 แสดงว่าดอกสีขาวเป็นลักษณะด้อย ซึ่งควบคุมด้วยแอลลีลด้อยที่แฝงอยู่ในรุ่น F. 1. แต่จะไม่ปรากฏออกมา เนื่องจากถูกแอลลีลเด่น

ลักษณะที่ปรากฏในรุ่น f1 แตกต่างจากลักษณะที่ปรากฏในรุ่น f2 อย่างไร

6. ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่น F1 มีเพียงลักษณะเดียวเรียกว่า ลักษณะเด่น ( dominant) ส่วนลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F2 และมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไปได้น้อยกว่า เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive) 7. ในรุ่น F2 จะได้ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยปรากฏออกมาเป็นอัตราส่วน เด่น : ด้อย = 3 : 1.

เมนเดลเลือกศึกษาลักษณะของต้นถั่วกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

เกรเกอร์ เมนเดล บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ได้ทำการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตา 7 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะของเมล็ด, สีของเมล็ด, ลักษณะของฝัก, สีของฝัก, บริเวณที่เกิดดอก, สีของดอก และลักษณะความสูง ผลจากการศึกษาดังกล่าว พบว่า มีหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ยีน

การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้อย่างไร

ลักษณะต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นลักษณะทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปโดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ เป็นหน่วยกลางในการถ่ายทอดเมื่อเกิดการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่ของแม่และเซลล์อสุจิของพ่อ