ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา 6 ข้อ

การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง
สมาธิ หมายถึง ภาวะของจิตที่ตั้งมั่น กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ไม่ฟุ้งซ่านไปหาสิ่งอื่นหรือเรื่องอื่นจากสิ่งที่กำหนด ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งหรืออารมณ์เดียวและจิตตั้งมั่นนั้นจะต้องเป็น กุศล ลักษณะของสมาธิ คือ จิตจะเกิดความสงบ เยือกเย็น สบายใจ มีความผ่อนคลาย เอิบอิ่มใจ ปลอดโปร่ง และมีความสุข
      ในวันหนึ่ง ๆ จิตของเราคิดเรื่องต่าง ๆ มากมาย จิตย่อมจะเหนื่อยล้า หากไม่ได้มีการบำรุงรักษาหรือบริหารจิตของเราให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ จิตจะอ่อนแอ หวั่นไหวต่อเหตุการณ์รอบตัวได้ง่าย เช่น บางคนจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาจนเกินเหตุ เมื่ออยู่ในอาการตกใจ เสียใจ โกรธ ดีใจ หรือเกิดความอยากได้ เพราะจิตใจอ่อนแอ ขุ่นมัว
       การทำจิตใจให้ผ่องใสหรือการฝึกจิต คือ การฝึกจิตให้มีสติสามารถควบคุมจิตใจให้จดจ่อกับสิ่งที่เรากระทำ โดยระลึกอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำอะไรอยู่ ต้องทำอย่างไร พร้อมกับระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือมีสมาธินั่นเอง เป็นการควบคุมจิตใจให้จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะหยุดทำสมาธิ


       1.1วิธีปฏิบัติการบริหารจิต

           1.เลือกสถานที่ที่เหมาะสม เช่น สถานที่ปลอดโปร่งไม่มีเสียงรบกวน
               2
.เลือกเวลาที่เหมาะสม เช่น ตอนเช้า ก่อนนอน เวลาที่ใช้ไม่ควรนานเกินไป
               3
.สมาทานศีล เป็นการแสดงเจตนาเพื่อทำใจให้บริสุทธิ์สะอาด
               4
.นมัสการพระรัตนตรัยและสวดมนต์สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
               5
.ตัดความกังวลต่างๆ ออกไป

          


 ขั้นตอนปฏิบัติ

               1
.นั่งท่าสมาธิ คือ นั่งขัดตะหมาด เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางทับมือซ้าย ตั้งตัวตรง ดำรงสติมั่น
               2
.หลับตาหรือลืมตาก็ได้ อย่างไหนได้ผลดีก็ปฏิบัติอย่างนั้น
               3
.กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก ลมหายใจกระทบตรงไหนก็รู้ชัดเจนให้กำหนดตรงจุดนั้น
               4
.เมื่อลมหายใจ-ออก จะกำหนดภาวนาด้วยหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่บุคคลที่ปฏิบัติ
               5
.ปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนได้เวลาพอควรแก่ร่างกาย จึงออกจากการปฏิบัติ
               6
.แผ่เมตตาให้ตนเองและสรรพสัตว์ทั้งหลายการปฏิบัติระยะแรกๆ จิตอาจฟุ้งซ่าน สงบได้ยาก หรือไม่นาน ต้องใช้ความเพียรพยายาม หมั่นฝึกปฏิบัติบ่อยๆ จิตจึงจะค่อยสงบตามลำดับ ผลที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ จิตใจสงบ เยือกเย็น แจ่มใส เบิกบาน มั่งคง เข้มแข็ง มีพลัง มีความจำดีขึ้น และที่สำคัญ คือ ปัญญาก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วย


            1.2ประโยชน์ของการบริหารจิต

           การบริหารจิตอยู่เป็นประจำย่อมได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

         1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ได้แก่ การทำจิตใจสบาย ไม่มีความวิตกกังวล ความเครียด มีความจำดีขึ้น แม่นยำขึ้น ทำสิ่งต่างๆ ไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อย เพราะมีสติสมบูรณ์ขึ้น การศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การมีจิตเป็นสมาธิ ยังทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิทรวมทั้งมีผลเกื้อกูลต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ชะลอความแก่ ทำให้ดูอ่อนกว่าวัยและรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความดัน โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น


           2.ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ ทำให้บุคลิกภาพเข็มแข็งหนักแน่นมั่นคง สงบเยือกเย็น ไม่ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด มีความสุภาพอ่อนโยนดูสง่ามีราศี องอาจน่าเกรงขาม มีอารมณ์เบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส กระฉับกระเฉงกระปรี้กระเปร่า ไม่เซื่องซึม สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้


           3.ด้านประโยชน์สูงสุด ได้แก่ การบรรลุมรรคและนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ผู้ที่จะบรรลุถึงประโยชน์ระดับนี้ได้นั้นต้องมีจิตที่สงบแน่วแน่มาก คือ ต้องได้สมาธิระดับสูง


          1.3การบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน

        สติปัฏฐาน4 หรือ ฝึกสมาธิโดยใช้สติเป็นตัวนำ เรียกกันโดยทั่วไปว่าสติปัฏฐาน เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถืออย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว
        มีพุทธพจน์ในมหาสูตรปัฏฐานสูตรว่า “...ภิกษุ ทั้งหลายทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัศดงแห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานนี้คือสติปัฏฐาน  4
...”

       สติปัฏฐาน4ประกอบด้วย

 1.กายานุปัสสนาการพิจารณากายหรือตามดูรู้ทันกาย การตั้งสติอยู่ที่กิริยาของกายมีอยู่หลายจุดได้แก่
               1
)อานาปานสติคือการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
               2
)กำหนดอิริยาบถ คือเมื่อยืนเดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ก็รู้ชัดในอาการที่เป็นอยู่นั้น
               3
)สัมปชัญญะ คือสร้างสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในการกระทำหรืออาการเคลื่อนไหวทุกอย่างของกาย เช่น การก้าวเดิน การนุ่งห่มผ้าการกิน การอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น
               4
)ปฏิกูลมนสิการคือการพิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า ซึ่งมีส่วน ประกอบ ที่ไม่สะอาด มากมายมารวมอยู่ด้วยกัน
               5
)นวสีวถิกาคือการมองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆกันโดยระยะเวลา9ระยะตั้งแต่ตายใหม่ๆไปจนถึงกระดูกผุๆ แล้วย้อนมาดูร่างกายของตนก็ต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

           2.เวทนานุปัสสนาเป็นการตั้งสติตามดูรู้ทันเวทนา คือเมื่อเกิดความรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆก็ดีก็ให้รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ขณะนั้น
         3
.จิตตานุปัสสนา เป็นการตั้งสติ ตามดูรู้ทันจิต คือจิตของตนในขณะนั้นเป็นอย่างไร เช่นมีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

          4.ธัมมานุปัสสนาเ ป็นการตั้งสติ การตามดูรู้ทันธรรม ได้แก่

                       1)นิวรณ์ 5 คือ รู้ชัดในกามฉันท์ พยาบาท เฉื่อยชา ฟุ้งซ่าน ลังเล ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ให้รู้ชัดตามที่เป็นไปในขณะนั้น
                  2
) ขันธ์ 5 คือกำหนดรู้ว่าขันธ์ 5แต่ละอย่างๆ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร (ขันธ์ 5ได้แก่ รูป เวทนา สัญญาสังขารและวิญญาณ)
                  3
)อายตนะคือรู้ชัดในอายตนะการสัมผัสของประสาททั้ง5ว่าตาเห็นอะไร หูได้ยินอะไร เป็นสิ่งใดแน่ เป็นต้น
                  4)โพชฌงค์7คือรู้ชัดในขณะนั้นๆว่า สติ ธรรม วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา มีปรากฏอยู่ในใจตนหรือไม่ถ้ายังไม่ปรากฏ จะปรากฏได้อย่างไร ที่ปรากฏแล้ว เจริญบริบูรณ์หรือไม่
                               5
)อริยสัจ คือรู้ชัดในทุกข์ที่เกิด ว่าเกิดจากอะไร มีเหตุอย่างไร และจะดับได้ด้วยมรรคใด
             การพิจารณาสติปัฏฐานทั้ง4ไม่ จำเป็นต้องหลีกหนีออกจากสังคม เพื่อไปนั่งปฏิบัติจำเพาะในกาลเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ควรปฏิบัติในชีวิตประจำเมื่อทุกข์เกิดขึ้น ก็ใช้สติพิจารณาทันที เพราะโดยสาระของสติปัฏฐาน มีจุดที่ควรพิจารณาใช้สติกำกับดูแลทั้งหมดเพียง4จุด คือ

                   1.ร่างกายและพฤติกรรมของมัน (กายานุปัสสนา)
               2
.เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ (เวทนานุปัสสนา)
               3
.ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ (จิตตานุปัสสนา)
               4
.ความนึกคิดไตร่ตรองในธรรม ได้แก่ นิวรณ์ ขันธ์ 5อายตนะ และ อริยสัจ (ธัมมานุปัสสนา)


          การนำวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิต และสังคม

         ผู้ที่ผ่านการบริหารจิตและเจริญปัญญามาเป็นอย่างดีจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีงามขึ้นได้หลายด้าน คือ

            1
.การเรียนรู้
               1
.ทำให้มีสมาธิมั่นคง มีความทรงจำแม่นยำ แจ่มชัด ไม่พร่าไม่เลือนง่าย
               2
.ทำให้จับประเด็นของเรื่องที่เรียนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
               3
.ทำให้เข้าใจเรื่องราวที่ลึกซึ้งได้มากกว่าและดีกว่าคนทั่วไปเช่น เรื่องหนึ่งคนทั่วไปมองเห็นเพียงแง่เดียวแต่คนที่ฝึกจิตมาดีมองเห็นนับได้เป็น ๑๐ นัย
               4
.ทำให้คนลดอหังการ มมังการ เป็นคนใจกว้าง มีความหลงตัวเองน้อยพร้อมที่จะเรียนรู้จากบุคคลอื่นได้ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจะกลายเป็นบุคคลเรียนรู้ได้จากทุกคน จากทุกสิ่งและจากทุกปรารกฏการณ์

  



      2.คุณภาพชีวิต
              1
.คนที่ฝึกจิตแล้ว จิตจะมีลักษณะมีพลัง สงบ แจ่มใส นุ่มนวลควรแก่งาน
              2
.อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
              3
.ได้ญาณทัศน์ คือ ความสามรถพิเศษ เช่น มีฤทธิ์ มีตาทิพย์ หูทิพย์ฯลฯ
              4
.ทำให้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
              5
.ทำให้กำจัดกิเลสอาสวะได้อย่างสิ้นเชิง

        3.สังคม

                 1.เป็นคนมีศีล ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อใครๆ ในสังคมสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข
                        2
.เป็นคนมีสมาธิ ทำให้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นแบบอย่างหรือประจักษ์พยานให้คนในสังคมเห็นว่าคนที่มีสุขภาพจิตดีนั้น ชีวิตจะมีแต่ความราบรื่น สงบเย็น และเป็นสุข
              3
.เป็นคนมีปัญญา ทำให้ทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของสังคมเป็นที่พึ่งของตนได้ เป็นที่พึ่งของสังคมและประเทศชาติได้ร่วมเป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์พัฒนาประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่องค์กรไหน หรือทำงานที่ไหน ก็ทำให้องค์กรนั้นๆมีความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น

         2.การเจริญปัญญาตามหลักโยนิโสมนสิการ

พระพุทธเจ้า ตรัสสอนให้เรารู้จักคิด การรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างรอบด้าน ทำให้เกิดปัญญา จนแตกฉาน เรียกว่า "โยนิโสมนสิการ" โยนิโส แปลว่า ถูกต้องแยบคาย มนสิการ (มะนะสิกาน) การกําหนดไว้ในใจ แปลว่า ทำไว้ในใจ


                โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือการคิดถูกต้องตามความเป็นจริง มีไวพจน์อีก4คำ ที่โยงเข้ากับโยนิโสมนสิการคือ อุบายมนสิการ ปถมนสิการ การณมนสิการ อุปปาทกมนสิการ โดยอาศัยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและคิดเชื่อมโยงตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อไป

1.อุบายมนสิการ เป็น การคิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือ การคิดอย่างมีวิธีหรือถูกวิธี ซึ่งหมายถึง การเข้าถึงความจริง สอดคล้องกับแนวสัจจะ ซึ่งทำให้รู้สภาวลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย

  2.ปถมนสิการ เป็น การคิดถูกทาง ต่อเนื่องเป็นลำดับ หมายถึง ความคิดที่เป็นระเบียบตามหลักเหตุผล ไม่ยุ่งเหยิงสับสน จิตไม่แว็บติดพันในเรื่องนี้ แต่เดี๋ยวกลับเตลิดไปคิดอีกเรื่องหนึ่ง จิตยุ่งเหยิงนี้กระโดดไปมา ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่รวมทั้งความสามารถในการชักความนึกคิดไปสู้แนวทางที่ถูกต้อง

               3
.การณมนสิการ เป็น การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องตามลำดับ

         4
.อุปปาทกมนสิการ การคิดการพิจารณาให้เกิดกุศลธรรม(กรรมดี) เช่น การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น

         ไขความทั้ง4ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งการเกิดในแต่ละครั้ง อาจมีลักษณะครบทั้ง4ข้อ หรือเกิดครบทั้งหมด หรือเขียนลักษณะทั้ง4ข้อนี้สั้นๆ ได้ว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล

          โยนิโสมนสิการ การรู้จักคิดหรือคิดเป็นจึงเป็นทางเกิดปัญญา พระพุทธเจ้าได้แสดงโยนิโสมนสิการไว้10วิธีด้วยกัน ในที่นี้ขอนำมากล่าวเพียง2วิธี คือ การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ และการคิดแบบวิภัชชวาท


            2.1การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ

        การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ คือ แยกพิจารณาเป็นส่วนๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวมหรือระบบ หรือ ผล หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น หรือ ปัญหาที่พบ ว่าองค์ประกอบใดเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลหรือปัญหาการคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบนี้มีความสำคัญมากเพราะถ้าฝึกคิดอยู่เป็นประจำ จะช่วยให้เกิดความชำนาญ ความเข้าใจและสามารถแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี สามรถนำมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาชีวิตได้

      ตัวอย่าง1ก๋วยเตี๋ยวหมู ทำอย่างไร ก๋วยเตี๋ยวหมู ถึงจะอร่อย แล้วขายได้ดี มีกำไร
นำการขายก๋วยเตี๋ยวหมู มาพิจารณา ว่า ก๋วยเตี๋ยวหมูหนึ่งชาม มีต้นทุนเท่าไร แจกแจง ราคา ปริมาณ สิ่งที่ประประกอบเป็น ก๋วยเตี๋ยวหมูหนึ่งชาม ที่จะนำเสนอขาย รวมถึงปริมาณสิ่งของที่จะใส่ลงไปในก๋วยเตี๋ยวหมู จำนวนเท่าไรถึงจะอร่อย รสชาดเป็นอย่างไร ทำให้อร่อยคงไม่ยาก ถ้า ปริมาณขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำเป็นก๋วยเตี๋ยวหมู มีสัดส่วนที่พอดี ถูกใจลูกค้า ก็คงจะขายได้ดี หรือพิจารณาสถานที่ที่ทำการขายด้วย การขายได้ดี นั้น คงไม่ใช่จุดประสงค์หลัก ของการประกอบอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวหมู ถ้าขายถูกมีลูกค้ามาซื้อจนต้องรอคิวเข้าแถว แล้วขายหมดแต่ขาดทุน การประกอบอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวหมู ต้องถูกใจผู้ซื้อและผู้ขายมีกำไร สามารถประกอบกิจการ ให้ดำรงอยู่ได้

        ตัวอย่าง2ทำไมเราจึงสอบตกวิชาพระพุทธศาสนา
นำวิธีการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของเรา มาพิจารณา ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง อาทิ โรงเรียน สภาพแวดล้อม เวลา ตารางสอน ครู ตัวเรา เพื่อน ตำราเรียน สิ่งที่เราได้รับมอบหมายให้ทำ แบบฝึกหัด การบ้าน การสอบ ฯลฯ แล้วส่วนใดที่เราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ให้นำสิ่งนั้นมาพิจารณาหาจุดบกพร่อง ปรับปรุง แก้ไข อุดช่องว่าง ที่จะทำให้เราได้คะแนนน้อยลง หรือมีวิธีการใดอีกที่จะทำให้เราได้คะแนนเพิ่มขึ้น โดยไม่ทำให้ตัวเราและผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน


      2.2 การคิดแบบวิภัชชวาท

        การคิดแบบนี้ประโยชน์มากในการที่จะตัดสินปัญหาอะไร มองปัญหารอบด้าน เป็นสามัญจักษุ ไม่มองปัญหาด้านเดียว พอมีปัญหาอะไรก็จะแยกแยะประเด็นออกไปแล้วค่อยวิเคราะห์ไปทีละประเด็น แล้วก็หาคำตอบให้ได้ว่าประเด็นนั้นควรจะเป็นอย่างไร ประเด็นนี้ควรจะเป็นอย่างไร คือว่าไม่ตัดสินเด็ดขาดลงไป คือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น มันจะมีที่มา สะสมมา ก่อตัวมาเป็นลำดับๆ


        

            การมองปัญหาโดยเฉพาะในสังคม แยกแยะให้ถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คือที่สังคมของเราขาดมากที่จะต้องเพิ่มเติม คือวิธีคิดนะครับ เราสอนให้คนคิดก็จริง แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่เราขาดมากๆก็คือวิธีคิด ว่าคิดอย่างไร ควรคิดอย่างไรเหมือนกับเราบอกให้เด็กกินนม ถ้ามองให้รอบด้านเด็กไม่สามารถกินนมได้ทุกคน เพราะว่ามันไม่มีจะกิน เราสอนได้ เราพูดได้ในโรงเรียน ครูทุกคนก็สอนว่าให้เด็กกินนม แต่ว่าบางโรงไม่มีนมให้กิน แล้วแกจะกินได้อย่างไร เราต้องคิดสาวไปหาต้นเหตุว่า ทำไมเด็กไม่กินนม เพราะฉะนั้น เรื่องวิธีคิดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก




        อย่างกับสังคมทุกวัน แถวบ้านนอกทำไมถึงจน จนเพราะหนึ่งเล่นการพนัน สองดื่มเหล้า สามไม่ได้ทำงาน สี่ก็ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม จนก็จริงแต่ว่าเห็นใครมีอะไร ก็อยากจะมีกับเขาด้วย เห็นบ้านโน้นมีจักรยานยนต์ก็กลัวลูกตัวเองจะน้อยหน้า ซื้อรถจักรยานยนต์มาให้ลูก  เขามีทีวีสีก็ไปซื้อกับเขา เขามีตู้เย็นก็ซื้อ เขามีอะไรก็ซื้อหมด อันนี้คือสาเหตุของความจน ความไม่รู้จักประมาณ มองในแง่ของการคิดแบบวิภัชวาทก็คือ ต้องมองไปที่ต้นเหตุของความจน ถ้าจะเอาเงินไปกองให้เท่าไรมันคงจะไม่พอ

      เหมือนเอาปลาไปแจกมีเท่าไรก็ไม่พอ สู้ให้เขาหาปลากินเองไม่ได้ให้เขาหาปลาให้เป็น วิธีหาปลาทำอย่างไร แล้วเขาก็ช่วยตัวเองได้ เราสอนให้เขาคิดเป็น แต่เราต้องสอนวิธีคิดกับเขาด้วยว่าเรื่องนี้ๆ ควรจะคิดอย่างไร ถ้าคิดอย่างนี้แล้วผลอะไรมันจะเกิดขึ้น


          โยนิโสมนสิการนี้ไม่ใช่ตัวปัญญาโดยตรงนะครับ แต่ว่าเป็นอุปกรณ์ให้เกิดปัญญา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา แล้วทำให้ปัญญาใช้งานได้ดี อย่างในมิลินทปัญหา ท่านเปรียบโยนิโสมนสิการเหมือนกับเอามือรวบกอข้าว แล้วปัญญาเป็นเคียวที่ไปตัดกอข้าวให้ขาด เพราะฉะนั้น โยนิโสมนสิการนี่มีลักษณะรวมเอาข้อมูลต่างๆมา แล้วปัญญาจะเป็นผู้ตัดสินว่าควรจะเอาอย่างไร เพราะฉะนั้นโยนิโสมนสิการไม่ใช่ตัวปัญญาโดยตรง แต่ว่าเป็นตัวเหตุให้เกิดปัญญา ให้ปัญญาทำงาน


ธรรมจากท่านพุทธทาสที่ท่านสรุปเอาไว้ว่า ธรรมะที่ใช้มากที่สุดในชีวิตการปฏิบัติธรรมของท่าน


             “ถ้าคะเนเหมากันก็ไม่พ้นเรื่องที่เป็นธรรมะอยู่แล้ว สติสัมปชัญญะ ใคร่ครวญโดยโยนิโสมนสิการ ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด การเพิ่มพูนความรู้ หรือปัญญาลึกซึ้งมันก็มาจากโยนิโสมนสิการ ไม่ว่าเรื่องบ้าน เรื่องโลก เรื่องธรรมะการรับเข้ามาด้วยวิธีใดก็ตาม ได้ฟังจากผู้อื่น อ่านจากหนังสือหรือจากอะไรก็ตาม ที่เรียกว่า นอกตัวเรามา พอถึงแล้วก็โยนิโสมนสิการว่าให้เป็นความรู้ เป็นสมบัติ พอจะลงมือทำอะไรก็โยนิโสมนสิการในสิ่งที่จะทำให้ดีที่สุด มันก็ผิดพลาดน้อยที่สุด เรียกว่าไม่ค่อยจะผิดพลาดเลย เท่าที่จำได้ในความรู้สึกอะไรที่ควรทำ จะได้ จะมี มันไม่เคยพลาด เพราะเราเป็นคนโยนิโสมนสิการตลอดเวลา

ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญามีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา ๑. ทำให้จิตใจสงบสุขผ่องใสไม่ขุ่นมัว ความจำดีสมองปลอดโปร่ง ๒. เรียนหนังสือได้อย่างมีความสุข สามารถเข้าใจบทเรียนได้ตลอด ๓. รู้จักไตร่ตรองหาเหตุผลให้รอบคอบก่อนที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด ๔. สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

การบริหารจิตมีความสําคัญอย่างไร

การบริหารจิตและการเจริญปัญญา พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการกระทำ ทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการบริหารจิต จึงเป็น การกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา

สมาธิมีความสำคัญและจำเป็นต้อการบริหารจิตและเจริญปัญญาอย่างไร

1. ทำให้กายและจิตผ่องใส มีความสงบ 2. ทำให้จำแม่น เข้าใจได้รวดเร็ว เป็นผลดีตอการศึกษาเล่าเรียน 3. ทำให้มีความหมายเมตตากรุราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สัตว์อื่น 4. ทำให้มีจิตตั้งมั่น มีสติ สมาธิ ปัญญา อยู่กับตัวตลอดเวลา

นักเรียนสามารถนำวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

10 วิธีบริหารจิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยอดเยี่ยม.
ออกกำลังกาย ... .
นอนหลับให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ... .
บริโภคอาหารสุขภาพตามหลักธงโภชนาการ ... .
หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ... .
ฝึกสมาธิ ... .
เจริญสติ-รู้ตัวกับอิริยาบถและกิจกรรมต่าง ๆ ... .
ฝึกใช้ลมหายใจเป็นระฆังแห่งสติ ... .
ฝึกพักใจและสมองเป็นระยะ ๆ ในแต่ละวัน.