การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ
ด้วยภัยคุกคามบนโลกออนไลน์และใกล้ตัวของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต ด้วย ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงๆกับตัวคุณ อาจทำให้เกิดข้อมูลสำคัญ หรือสร้างความเสียหายแก่ตัวคุณได้ วันนี้จะแนะนำ บัญญัติ10ประการ รู้รอดปลอดภัย การใช้อุปกรณ์ไอที จากท่านผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยด้านไอที จาก อาจารย์ปริญญา หอมอเนก มาให้คุณได้อ่านและลองปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ
บัญญัติ 10 ประการ รู้รอดปลอดภัย การใช้อุปกรณ์ไอที

1.ตั้งรหัสผ่านในการใช้บัญชีอีเมลให้มีความปลอดภัยเพียงพอ  ตั้งรหัสผ่านไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร ที่คาดเดาได้ยาก แต่จำเองได้ง่าย  และเปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ เช่น ทุก ๆ 3 เดือน

2. ไม่ใช้รหัสผ่านของบัญชีอีเมล เป็นรหัสผ่านในการใช้ Social Media  โปรแกรมสังคมออนไลน์ เช่น Facebook กำหนดให้ใช้ชื่อ E-mail เป็น  ชื่อผู้ใช้ ให้ตั้งรหัสผ่านใหม่ที่ไม่ใช่รหัสเดียวกับรหัสผ่านของบัญชีอีเมล

3.ให้ระวังในการคลิกลิงก์ดาวน์โหลดไฟล์ แม้จะส่งมาจากเพื่อน  ให้ระวังการคลิกลิงก์ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี ไฟล์ รูปภาพ เกม หรือแม้แต่ชื่อเว็บไซต์แบบย่อ หรือ link โฆษณา อาจมีโปรแกรมโทรจันแฝง

4. ดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์จากผู้พัฒนาโดยตรง อย่าดาวน์โหลดผ่านลิงก์หรือโปรแกรมค้นหาข้อมูล (search engine)

5. หลีกเลี่ยง application ที่มีการขออนุญาตมากเกินความจำเป็น เมื่อมีการติดตั้งโปรแกรมในสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ไอที ควรตรวจดูการขออนุญาต (permission) ในการเข้าถึงข้อมูลในเครื่อง

6. แอพฯที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ให้ปิดบัญชีผู้ใช้ หากมีการถอนการติดตั้งโปรแกรม หรือแอพพลิเคชั่นที่ไม่ใช้งาน ควรดำเนินการถอนอย่างถูกต้อง รวมทั้งลบหรือปิดไอดีบัญชีผู้ใช้

7. ซื้ออุปกรณ์ไอที สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต มือสอง ต้องระวัง หากซื้อเครื่องมือสอง ต้องติดตั้งค่าใหม่ เพื่อป้องกันโปรแกรมแฝงต่าง ๆ

8. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อุปกรณ์สื่อสารพกพาต่าง ๆ ให้ติดตั้งโปรแกรมไวรัสคอมพิวเตอร์จากบริษัทผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้

9. ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของไวรัสและภัยอินเทอร์เน็ต  ติดตามบริษัทผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งการเข้าร่วมอบรมและสัมมนาต่าง ๆ

10. ศึกษาเทคนิคการหลอกลวงหรือล้วงข้อมูล ภัยคุกคามปัจจุบันสู่สามัญ โดยอาศัยความโลภและความกลัวของคน   ด้วยการหลอกลวงต้มตุ๋นผ่านกระบวนการทางสังคมที่เรียกว่า Social Engineering โดยให้ติดตามข่าวสารภัยใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก อ.ปริญญา หอมอเนก  ผอ.สถาบันพัฒนาผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายและความปลอดภัยคอมพิวเตอร์  (ACIS Professional Center) และเลขาฯ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตไทย

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

หัวข้อหลัก : การใช้เทคโนโลยี

  • การเลือกใช้เทคโนโลยี
  • การประเมินเทคโนโลยี
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • สรุปเนื้อหาบทเรียน
  • แบบฝึกหัดท้ายบท

การใช้เทคโนโลยี

ระบวนการเทคโนโลยีสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างเป็นระยะ ระบบ โดยอาศัยทรัพยากรและความรู้ต่าง ๆ การทดสอบและประเมินผลชิ้นงานหรือวิธีการสร้าง ทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพตรงตามความต้องการมากขึ้น           นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ การเลือกใช้เทคโนโลยีควรเหมาะสมกับปริมาณการผลิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งการใช้เทคโนโลยีอาจเป็นการใช้ทเคโนโลยีที่เราสร้างขึ้นเอง หรือ เป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว โดยจะเน้นไปที่คุณธรรม และจริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี

การเลือกใช้เทคโนโลยี

   พื้นฐานของเทคโนโลยีแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศ สร้างและพัฒนาขึ้นด้วยความรู้และทักษะของตนเพื่อการดำรงชีวิตซึ่งมีทั้งสร้างสรรค์และขัดแย้ง ดังนั้น การเลือกใช้เทคโนโลยีจึงต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการ ความปลอดภัย ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประเมินอย่างมีวิจารญาณโดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย
การบริโภคผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีของท้องถิ่นไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ จำเป็นต้องแสวงหาจากแหล่งอื่นหรือต่างประเทศเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีแห่งหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกแห่งก็ได้ จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง
เทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น เทคโนโลยีการแพทย์ทำให้มนุษย์สามารถสร้างเด็กในหลอดแก้ว หรือการโคลนนิ่ง (Cloning) ซึ่งส่งผลกระทบต่อศีลธรรมและสังคมของมนุษย์ เป็นต้น

         ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและประเมินเทคโนโลยีอย่างมีวิจารณฐาณ โดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย

นอกจากนี้ การสร้างเทคโนโลยียังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ด้วย โดยนำมาเป็นเกณฑ์ในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆและ การสร้างชิ้นงานก็ต้องอาศัยทักษะพื้นฐานต่าง ๆ เช่น งานไม้ งานโลหะ กาตัด ซึ่งต้องกระทำอย่างระมัดระวัง

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

           ความสามารถในการประเมินผลเทคโนโลยีจะช่วยให้ทราบข้อบกพร่อง และปรับปรุงพัฒนาเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในการใช้ เช่น ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยีในระดับประเทศหรือผู้ประกอบการ         

            ก. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
  ปัจจัยทางการตลาดมีผลต่อการเลือกเทคโนโลยีสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการพิจารณาถึงปริมาณการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีที่เลือกควรให้ตอบแทนทางการลงทุนที่คุ้มค่าในระดับการผลิตที่กำหนดให้สำหรับ
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเทคโนโลยี กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดคุณภาพสูง
ต้องใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีราคาสูง

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

หุ่นยนต์อาซิโม จากการพัฒนาเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์

            ข. ปัจจัยที่เกี่ยวกับการลงทุน
            
  การเลือกเทคโนโลยีมีผลต่อการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการเงินที่ต้องลงทุนและประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ การเลือกเทคโนโลยีจึงแตกต่างกันไปตามป้จจัยทางการเงินของนักลงทุนแต่ละคน

              ค. ปัจจัยทางเทคโนโลยีของโรงงาน
  โรงงานอันเกิดจากเทคโนโลยีนั้น จะต้องมีอายุการใช้งานให้เยาวชน บำรุงรักษาง่าย ผู้ซื้อสามารถรับเทคโนโลยีมาใช้งานต่อไปได้ เมื่อสิ้นสุดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสามารถปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ที่ดียิ่งขึ้น
ลักษณะเทคโนโลยีในการผลิตเป็นชุดหรือต่อเนื่อง มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การบำรุงรักษาโรงงาน คุณภาพและชนิดของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งอัตราการใช้ทรัพยากรที่จำเป็นและมีขีดจำกัดสูง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง การเพิ่มหรือลดอัตราการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ สามารถใช้วัตถุดิบและพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีว่ามีโอกาสทำให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะมีผลต่อคนงานและสาธารณะชนที่อาศัยโดยรอบโรงงาน อิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่ดีมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน การบำรุงรักษาโรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุของโรงงาน ค่าใช้จ่ายในการจัดทำทะเบียนต่าง ๆ
การพิจารณาเลือกเทคโนโลยีควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ให้ถ่องแท้ ไม่ควรละลายค่าใช้จ่ายในการทำทะเบียนต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ประเมินประสิทธิภาพการผลิต การใช้วัตถุดิบและพลังงานของโรงงาน รวมทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วย ข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กิจการล้มเหลวได้

              ง. ความเหมาะสมของเทคโนโลยี
   ประเทศที่มีเทคโนโลยีไม่เพียงพอต่อการผลิตสินค้าหรือไม่สามารถผลิตเทคโนโลยีได้เอง จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศสำหรับประกอบการผลิต ต้องพิจารณาว่าเทคโนโลยีนั้นเหมาะสมกับสภาพของประเทศตนมากน้อยเพียงใด และคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีด้วย เช่นอาจก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน หรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นไม่เต็มที่

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพแสดงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต หรือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับชีวิตมนุษย์

               ในอนาคตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยเตรียมให้มนุษย์มีความพร้อมที่จะเผชิญกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และพบปัญหาอันเกี่ยวกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ข้อที่พึงตระหนัก คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์มิใช่เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากธรรมชาติ หรือทำตนอยู่เหนือธรรมชาติ หากแต่มนุษย์ต้องเรียนรู้เพื่อดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่น สังคม วัฒนธรรมและธรรมชาติ
ดังนั้น เป้าหมายของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติ อีกทั้งเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมอย่างผสมผสานหรือกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ไม่รบกวนและทำลายธรรมชาติ ทุกคนต้องมีจิตสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม สามารถเผชิญอนาคตด้วยตาที่มองการณ์ไกลมีคุณธรรมและสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และยึดสายกลางในการดำรงชีวิต “กินพอดีอยู่พอดี”

                แม้มนุษย์สามารถสร้างเทคโนโลยีได้มากมาย แกต่ก็ไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ทั้งหมด เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ น้ำท่วม ฟ้าผ่า

                การศึกษาด้านเทคโนโลยีควรสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ดังข้อเสนอของเปรื่อง กิจรัตนี ต่อไปนี้

                1. พัฒนานักเรียนให้เข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ วัสดุ กระบวนการและวิธีผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมยุคเทคโนโลยี

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ เครื่องมือ วัสดุ

                2. ให้นักเรียนเรียนรู้และประสบการณ์จากการทำให้โครงงานและกิจกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มพูนปัญญา ทักษะและทัศนะคติ เมื่อเติบใหญ่จะเป็นประชากรที่มีส่วนร่วมพัฒนาสังคมได้อย่างดี

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ โครงงานและกิจกรรมทางเทคโนโลยี


3. ให้นักเรียนมีโอกาสสำรวจปัญหาทางสังคม อันเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยี
4. กระตุ้นนักเรียนตระหนักถึงสาเหตุและผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อธุรกิจอาชีพอุตสาหกรรม และวัฒนธรรมของมนุษย์ทั่วโลก
5. เสริมสร้างให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเทคโนโลยีในอดีต ปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งผลกระทบขอนวัตกรรมต่อชุมชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลก

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ พัฒนาการของเทคโนโลยี


6. ปลูกฝังให้นักเรียนใส่ใจและมีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีในฐานะพลเมืองดี เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
7. ให้นักเรียนมีทักษะเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
8. ให้นักเรียนมีทักษะในระบบเทคนิคทั่วไป (การสื่อสาร การก่อสร้าง การผลิตอุตสาหกรรมและการขนส่ง) เพื่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพหลังจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว
9. ให้นักเรียนเข้าใจเทคนิคและเทคโนโลยี และมีส่วนร่วมพัฒนาสมาชิกในสังคมให้มีความรู้และเข้าใจหลักการของเทคโนโลยี
10. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมในหลักสูตรแบบสหวิทยาการ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิชาหรือศาสตร์อื่นๆ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาผ่านกิจกรรม

การประเมินผลเทคโนโลยี
            
 การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีใด ๆ ผู้ใช้ต้องศึกษาผลดีและผลเสียของเทคโนโลยีนั้น ๆ และพิจารณาว่า ผลเสียที่จะเกิดขึ้นสามารถควบคุมหรือป้องกันได้ หากประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้นคุ้มค่าและมากกว่าผลเสีย จึงตัดสินใจนำมาใช้ประโยชน์ได้
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้เทคโนโลยี

           1. ค่านิยมที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี

         2. ผลของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม ประชากรในสังคม สถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ

3. ผลกระทบเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ

นอกจากคำนึงถึงผลกระทบของเทคโนโลยีแล้ว การเลือกใช้ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมกับสังคม ดังต่อไปนี้

1. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชุมชน

2. ระบบนิเวศของชุมชน

3. ความสิ้นเปลืองทรัพยากรของท้องถิ่น หากนำเทคโนโลยีมาใช้

4. ความต้องการและความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีของชุมชน

5. เทคโนโลยีต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม ศีลธรรมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer)
เทคโนโลยีเป็นแนวคิดการสร้างหรือวิธีการจัดการจัดหาสิ่งของที่มนุษย์ต้องการใช้ในการดำรงชีวิตเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย เริ่มตั้งแต่อย่างง่ายแล้วพัฒนาปรับปรุง และวิวัฒนาการจนก้าวหน้าตามความรู้ของแต่ละชุมชน และถูกถ่ายทอดจากชนรุ่งหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง หรือ จากชุมชนหนึ่งไปยังอีกชุมชนหนึ่ง ทำให้ความรู้เหล่านี้กระจายไป และเกิดการคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ เพื่อสนองต่อความต้องการมนุษย์กว้างขวางยิ่งขึ้น ลักษณะดังกล่าวเรียกว่า “การถ่ายทอดเทคโนโลยี” หรือ การได้มาซึ่งความรู้ทางด้านเทคโนโลยี (Technology Know-How) สำหรับการผลิตสินค้าและบริการด้วย

              ระดับของการถ่ยทอดเทคโนโลยี
การถ่ายทอดเทคโนโลยี อาจแบ่งได้ 4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 เป็นการโยกย้ายทางภูมิศาสตร์ของเทคโนโลยี
เช่น การเคลื่อนย้ายโรงงานและเครื่องจักรจากภูมิศาสตร์หนึ่งไปยังอีกภูมิศาสตร์หนึ่ง ความหมายเช่นนี้ ผู้ขายเทคโนโลยีและนักวิชาการในประเทศพัฒนาแล้วนิยมใช้กันมาก ต่อมาเห็นว่า ความหมายนี้ไม่ยังครอบคลุม และควรเรียกการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับนี้ว่า “การนำเข้าเทคโนโลยี”

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ การนำเข้าเครื่องจักรจากนอกประเทศ

              ระดับที่ 2 การถ่ายทอดเทคโนโลยีเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อผู้รับสามารถดำเนินการผลิตบำรุงรักษาแกละเปลี่ยนแผนการผลิต โดยมิต้องอาศัยผู้ให้อีกต่อไป

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ ผู้รับการถ่ายทอด นำเทคโนโลยีไปใช้

              ระดับที่ 3 เป็นระยะที่เทคโนโลยีซึ่งได้รับจากระดับที่ 2 ส่งผ่านหรือกระจาย (diffuse) ความรู้ดังกล่าวภายในสังคม อาจเป็นการกระจายโดยไม่เจตนาของผู้รับและผู้ให้ก็ได้

              ระดับที่ 4 การถ่ายทอดในระยะนี้จะสมบูรณ์ เมื่อผู้รับเทคโนโลยีทั้งโดยตรงและทางอ้อม สามารถสร้างเทคโนโลยีชนิดหนึ่งขึ้นได้ใหม่ โดยไม่ต้องอาศัยผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งสามารถดัดแปลง แก้ไขเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น

              อย่างไรก็ดี การถ่ายทอดเทคโนโลยีทั่วไป หมายถึง การเคลื่อนย้ายวิทยาการหรือความรู้ความสามารถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง อีกนัยหนึ่ง คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างประเทศ( Technology Transfer) ในระยะหลังให้ความสำคัญการถ่ายทอดเทคโนโลยีภายในประเทศ และภายในองค์การด้วย

             สาเหตุการถ่ายทอดเทคโนโลยี


สาเหตุการถ่ายทอดเทคโนโลียีระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ
ก. ผู้ซื้อต้องการใช้เทคโนโลยีนั้น
ข. ไม่มีเทคโนโลยีในประเทศนั้น
ค. ผู้ซื้อเชื่อว่าเทคโนโลยีในประเทศมีราคาสูงกว่าต่างประเทศ   

            ก. ผู้ซื้อต้องการใช้เทคโนโลยีนั้น
      ผู้ซื้อมีความเขื่อว่า จะได้รับประโยชน์และบรรลุวัตถุประสงค์ โดยการนำเข้าเทคโนโลยี จากต่างประเทศ แต่เทคโนโลยีนั้นต้องสอดคล้องกับนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของรัฐและเอกชน โดยเอกชนต้องให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวมากกว่าราคาของเทคโนโลยี

             ข. ไม่มีเทคโนโลยีในประเทศนั้น
     เนื่องจากค่านิยมที่เขื่อว่าสินค้าจากต่างประเทศดีกว่าสินค้าภายในประเทศ ทำให้การผลิตภายในประเทศต้องตอบสนองความต้องการของตลาด และการเลียนแบบของผู้บริโภค การดำรงชีวิตจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้รับมีความรู้ไม่เพียงพอที่จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น เป็นเหตุให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศต่อไป

             ค. ผู้ซื้อเชื่อว่าเทคโนโลยีในประเทศมีราคาสูงกว่าต่างประเทศ   
 เพื่อให้การลงทุนการผลิตมีมูลค่าต่ำลง ทำให้ผู้ซื้อเทคโนโลยีบางรายเชื่อว่า เทคโนโลยีบรรษัทข้ามชาติมีราคาต่ำกว่า และหากคำนึงถึงระดับการพัฒนาเทคโนโลยีด้วย ทำให้ผู้ซื้อยินดีรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ บริษัทร่วมทุนนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

             นอกจากเงื่อนไขดังกล่าว การถ่ายทอดเทคโนโลยีอาจเกิดจากการเป็นบริษัทร่วมทุน ซึ่งผู้ร่วมทุนในประเทศถูกบังคับกรนำเข้าเทคโนโลยีอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

             การได้มาซึ่งเทคโนโลยี

              การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นการตกลงทางการค้าระหว่างผู้จัดส่งและผู้รับ ซึ่งการได้มาซึ่งเทคโนโลยี มี 5 แนวทางด้วยกัน ดังนี้

            1) การกระจายอย่างเสรีในรูปของข้อมูลข่าวสาร
        การถ่ายทอดเทคโนโลยีลักษณะนี้ เกี่ยวกับความรู้เรื่องการประดิษฐ์ หรือวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการ มักเป็นเทคโนโลยีแบบง่าย ๆ และไม่ซับซ้อน แหล่งข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ หนังสือ วีดิทัศน์ รายการโทรทัศน์ การกระจายเทคโนโลยีแบบนี้อาจนำไปใช้ได้ แต่ไม่ตรงกับความมุ่งหมาย

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านทางอินเทอร์เน็ต

              2) การกระจายผลิตภัณฑ์
 ผลิตภัณฑ์บางชนิดจำเป็นต้องมีคู่มือประกอบการใช้ เช่น เครื่องตัดหญ้า คอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตจะให้คู่มือการใช้พร้อมกับวิธีการบำรุงรักษา เมื่อเครื่องเสียต้องนำไปให้ช่างซ่อม ช่างจึงมีโอกาสศึกษาวิธีการต่าง ๆ ทำให้ช่างเรียนรู้ส่วนประกอบของเครื่อง และสามารถผลิตเครื่องใหม่ได้ ถ้าหากช่างเกิดความชำนาญ รอบรู้แสดงว่ามีการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากับผลิตภัณฑ์

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มาผลิตภัณฑ์

          3) การกระจายไปด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้สนับสนุนอื่น
       ส่วนใหญ่รัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้ว จะเสนอเทคโนโลยีกับประเทศที่กำลังพัฒนาด้านสุขภาพ การเกษตร และกระบวนการการผลิตอาหาร แต่ไม่เสนอกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรมที่ทันสมัย

4) การกระจายไปกับสัญญาทางการค้ากับส่วนประกอบทางเทคโนโลยี
  สัญญาหรือข้อตกลงที่เขียนเป็นชุดเพื่อใช้ควบคุมงาน เช่น ข้อตกลงทางวิศวกรรมโยธา ข้อตกลงการซื้อเครื่องจักร เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและอื่น ๆ มักมีข้อบังคับให้วิศวกรเป็นที่ปรึกษาโครงการ แต่การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้รับถึงขึ้นเกิดความขำนาญและรอบรู้มีน้อยมาก

            5) การกระจายไปทางสัญญาการได้มาซึ่งเทคโนโลยีเพื่อการค้า
 การถ่ายเทคโนโลยีกระทำโดยผ่านสัญญา โดยครอบคลุมถึงระบบเอกสาร การฝึกอบรม และความช่วยเหลือทางเทคนิค

       ขั้นตอนของกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีดังนี้

            ก. การวิเคราะห์และวางแผน
  การถ่ายทอดเทคโนโลยีมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยี(ผู้รับ) ผู้มีเทคโนโลยี(ผู้ให้) และตัวเทคโนโลยี ผู้รับเทคโนโลยีต้องพิจารณาจุดอ่อนของตนและพร้อมจะรับเทคโนโลยีนั้นหรือไม่ ต้องวิเคราะห์ข้อได้เปรียบเสียเปรียบและวิเคราะห์เชิงเทคนิคด้วย

             ข. การเสาะแสวงหาเทคโนโลยี
    วิธีการค้นหาเทคโนโลยีสามารถทำได้หลายทาง เช่น การค้นหาอย่างไม่เป็นทางการ งานจัดแสดงสินค้า สื่อหรือสิ่งพิมพ์ ปรึกษา ตัวแทนระหว่างประเทศ ค้นหาจากการบริการข้อมูลของรัฐบาลและผู้แข่งขัน

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

ภาพ เทคโนโลยีบางส่วนได้จากการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ

             ค.การประเมินเทคโนโลยี
  ผู้รับเทคโนโลยีต้องประเมินด้วยการวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยใช้คำถามต่าง ๆ เช่น ประเทศต้องการเทคโนโลยีนั้นหรือไม่ ใช้ได้หรือไม่ สิ่งสุดท้ายของการประเมิน คือ การตัดสินใจจัดหาเทคโนโลยีในที่สุด

          ง. การต่อรองเงื่อนไขในสัญญา
    เมื่อผู้รับเทคโนโลยีตัดสินใจรับเทคโนโลยีจากผู้ขาย ก่อนตกลงทำสัญญามักมีการเจรจาต่อรองเงื่อนไข เพื่อให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

          จ. การเขียนสัญญาอย่างเป็นทางการ
การเขียนสัญญาอย่างเป็นทางการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการรับเทคโนโลยีจากผู้ให้โดยการทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีสำหรับการค้า

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5 ข้อ

การเลือกใช้เทคโนโลยี ในระดับประเทศหรือผู้ประกอบการ ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ
  • ปัจจัยทางด้านการลงทุน
  • ปัจจัยทางเทคโนโลยีโรงงาน
  • ความเหมาะสมของเทคโนโลยี

การประเมินเทคโนโลยี  มีหลักเกณฑ์ที่แบบควรปฏิบัติดังนี้

  •  
  •  
  •  
  •