ท้อง 39 สัปดาห์ ลูก ดิ้นน้อยลง

ท้อง 39 สัปดาห์ ลูก ดิ้นน้อยลง

หลังจากพ้นช่วง “10-12 สัปดาห์แรก”  ของการ “ตั้งครรภ์” ไปแล้ว “คุณแม่ตั้งครรภ์” ต้องคอยหมั่นสังเกตตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่า“ลูกยังดิ้นอยู่หรือไม่” แม้แต่ในระหว่างที่คุณแม่หลับ เพราะนั่นคือสัญญาณว่า ลูกน้อยยังแข็งแรงและปลอดภัยดี  แต่หากรู้สึกว่า “ลูกไม่ดิ้น” คุณแม่ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยกำลังตกอยู่ในอันตราย

เมื่อไหร่…ที่ลูกเริ่มดิ้นได้
ความจริงแล้ว เมื่อมีการตรวจอัลตร้าซาวด์ ก็จะเริ่มเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวไปมาของตัวอ่อนได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6 แล้ว เพียงแต่ตอนนั้นทารกยังตัวเล็กมาก ทำให้คุณแม่ไม่สามารถสังเกตการเคลื่อนไหวนี้ได้ ทำให้โดยปกติแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มสังเกตได้ว่ามีการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในท้อง เมื่อตั้งครรภ์ได้ 16-20 สัปดาห์ แต่หากเป็นท้องแรกอาจจะสังเกตการดิ้นได้ประมาณสัปดาห์ที่ 20 เป็นต้นไป และจะเริ่มดิ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ที่มากขึ้น

ท้อง 39 สัปดาห์ ลูก ดิ้นน้อยลง

ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น…สัญญาณอันตรายของความผิดปกติ

การที่ทารกในท้องดิ้น ก็แปลว่าเขาอยู่ในภาวะแข็งแรงตามปกติ ซึ่งเป็นไปตามช่วงต่างๆ ของอายุครรภ์หลังสัปดาห์ที่ 16-20 เป็นต้นไป แต่หากสังเกตว่าลูกน้อยดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเป็นระยะเวลาติดต่อกันสักพักหนึ่ง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น คุณแม่กำลังมีความเครียดจากการทำงานหรือเรื่องส่วนตัว ทำให้ออกซิเจนและการไหลเวียนของเลือดที่รกลดลงหรือมีไม่เพียงพอ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนจนเสียชีวิตได้

หากรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น…ให้ลองกระตุ้น

ปกติแล้ว คุณหมอจะให้คอยสังเกตลักษณะการดิ้นของทารกน้อยตลอดทั้งวัน ตั้งแต่คุณแม่เริ่มตื่นนอน หลังคุณแม่ทานข้าว หรือทานน้ำเย็นๆ ระหว่างนอนหลับพักผ่อน หรือพลิกตะแคงตัวไปมา ซึ่งหากรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง ให้คุณแม่เริ่มจากลองทานอาหารที่มีรสหวานๆ แล้วรอสัก 2-3 นาที แล้วดูว่าลูกมีตอบสนองด้วยการดิ้นหรือเปล่า หรือในบางรายที่ปกติทารกจะดิ้นเวลาได้ยินเสียงเพลง ก็ให้ลองเปิดเพลงให้ฟัง บางรายอาจใช้วิธีดื่มน้ำเย็นจัดๆ หรือลองกดที่ท้องเบาๆ เปลี่ยนท่าทางการนอนเพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือไม่ เพราะบางครั้งที่ทารกไม่ดิ้นอาจจะกำลังหลับอยู่ ซึ่งในบางวันอาจหลับยาวเป็นพิเศษ วิธีต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นจะเป็นตัวช่วยปลุกลูกให้ตื่นได้ ถ้าสังเกตว่าลูกน้อยดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งภายใน 2 ชั่วโมง ลองทำวิธีต่างๆ นี้อีกครั้ง แต่หากรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น และตัวคุณแม่เองก็เริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด แนะนำให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สุขภาพสตรี อาคาร 1 ชั้น 2

โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร. 02-514-4141 ต่อ 1203-1204

ท้อง 39 สัปดาห์ ลูก ดิ้นน้อยลง

 การเคลื่อนไหวหรือ การดิ้นของทารกเป็นการทำงานร่วมกัน ของระบบประสาทหลายๆระบบ เมื่อทารกในครรภ์มีภาวะการขาดออกซิเจนเกิดขึ้นจากระดับรุนแรงน้อย ไปถึงมาก ทารกจะดิ้นน้อยลง ดังนั้นการเคลื่อนไหวของทารกจึงถือเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ประเมินสุขภาพทารกที่สำคัญในเบื้องต้นได้ และยังเป็นวิธีที่ง่าย ไม่อันตราย ค่าใช้จ่ายน้อยและสมควรทำในสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยแนะนำให้เริ่มนับลูกดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

วิธีนับลูกดิ้นที่นิยมและปฏิบัติง่าย 2 วิธี

วิธีที่ 1   วิธีการนับครบสิบ

   ให้นับลูกดิ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ให้ครบ 10 ครั้ง โดยบันทึกเวลาที่เริ่มนับ และเวลาที่ครบ 10 ครั้ง

   การแปลผล  หากทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ภายใน 12 ชั่วโมง   ถือว่าผิดปกติต้องมาพบ        แพทย์ทันที และต้องได้รับการตรวจวิธีอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์โดย      การประเมินการเต้นหัวใจทารก

วิธีที่ 2  นับหลังอาหาร (Sadovsky)

  ให้นับลูกดิ้นวันละ 3 เวลาหลังอาหารมื้อเช้า กลางวัน เย็น เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง (โดยประมาณ 12 ชั่วโมง  08.00 - 20.00 น.) รวมการดิ้นทั้งสามเวลา

  การแปลผล  ถ้าทารกดิ้นน้อยกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง หากดิ้นน้อยกว่า 4 ครั้งใน 2 ชั่วโมง ต้องมาพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมต่อไป

   คำแนะนำเมื่อสังเกตว่าทารกดิ้นน้อยลง

1.   หากนับลูกดิ้นตามวิธีใดวิธีหนึ่งดังกล่าวแล้ว พบว่าน้อย ให้รีบมาพบแพทย์ทันที ในระหว่างมาโรงพยาบาล มารดาควรงดน้ำและอาหารไว้ก่อน กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินต่อทารกและจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดด่วน จะสามารถทำได้ทันท่วงที

2.   หากได้รับการตรวจจากแพทย์ และตรวจสุขภาพทารกเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นแล้วพบว่าทารกปกติ ก็ยังจำเป็นต้องนับลูกดิ้นต่อไปตลอดการตั้งครรภ์

3.   ฝากครรภ์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

4.   รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

5.  งดดื่มสุรา ,สูบบุหรี่ ,งดอาหารหมักดอง

6.  สตรีตั้งครรภ์ควรระลึกไว้เสมอว่า การตรวจสุขภาพทารกไม่ว่าวิธีใดก็ไม่สามารถประกันได้ว่าสุขภาพทารกดี 100 % อาจพบการตายของทารกในครรภ์ได้ประมาณ 1.9 ต่อ 1,000 ราย ที่เกิดขึ้นใน 1 สัปดาห์ หลังการตรวจสุขภาพ ทารกโดยดูอัตราการเต้นของหัวใจทารกปกติก็ตาม

OBG 14