3.2 การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

3.2 การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ

หมายถึง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะและวิชาชีพครู โดยมีแผนการพัฒนาตนเอง และดำเนินการพัฒนาตนเองตามแผนอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานความต้องการจำเป็น องค์ความรู้ใหม่ นโยบาย แผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษา หรือระดับเครือข่าย หรือระดับชาติ และแสดงบทบาทในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตรที่มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมายและภารกิจร่วมกัน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และสร้างนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

3.2 การพัฒนาวิชาชีพ

หมายถึง กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู โดยการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษา หรือระดับเครือข่าย หรือระดับชาติ และแสดงบทบาท  ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมายและภารกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และสร้างนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาวิชาชีพมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผล ต่อคุณภาพผู้เรียน

ระดับคุณภาพ (ระดับ 4)
  1. เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
  2. นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
  3. สร้างนวัตกรรมที่ได้จากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
  4. สร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
  5. สร้างวัฒนธรรมทางการเรียนรู้ในสถานศึกษา
  6. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ
  7. เป็นแบบอย่างที่ดี
หลักฐาน ร่องรอย
  1. แฟ้มเอกสาร หลักฐานการพัฒนาวิชาชีพ

Post Views: 11,556

หน้าแรกPA อาชานัย จิตรดี

โดยอาชานัย จิตรดี -กรกฎาคม 29, 2565

0

3.2 การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC

มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และเป็นแบบอย่างที่ดี 

Tags: PA อาชานัย จิตรดี

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า

ความหมายของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมมือร่วมใจ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุนสู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญและความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้

ความสำคัญของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

PLC มีพัฒนาการมาจากกลยุทธ์ระดับองค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเริ่มพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพที่มีหน้างานสำคัญ คือความรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันเป็นสำคัญจากการศึกษาหลายโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาดำเนินการในรูปแบบ PLC พบว่าเกิดผลดีทางวิชาชีพครู และผู้เรียนที่มุ่งพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ           มีผลสรุปใน 2 ประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1 ผลดีต่อครูผู้สอน คือ เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจและเป้าหมาย โดยอาศัยความร่วมมือจากทีมการเรียนรู้

ประเด็นที่ 2 ผลดีต่อผู้เรียน คือ เพิ่มศักยภาพจากการเรียนรู้ตามความสนใจ สามารถลดอัตราการตกซ้ำชั้นและจำนวนชั้นเรียนที่ชะลอการจัดการเรียนรู้ให้น้อยลง

เป้าหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

          - เพื่อสร้างการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

- เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงของครู พัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนเป็น       การทบทวนการปฏิบัติงานของครูที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

- เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันของครูแบบกัลยาณมิตร ร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมมือกันปพัฒนาวิธีการทำงานของครู

กลยุทธ์ในการจัดการและใช้ชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC)

1. การศึกษาปัญหา กำหนดเป้าหมาย อภิปราย สะท้อนผล แลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินการ โดยพิจารณาและสะท้อนผลในประเด็นต่อไปนี้

1.1 หลักการที่สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ

1.2 การเริ่มดำเนินการลงมือปฏิบัติ

1.3 การออกแบบเครื่องมือตรวจสอบหลักฐานของการเรียนรู้
2. การวางแผนด้วยความร่วมมือ (Plan Cooperatively) สมาชิกของกลุ่มกำหนดสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินการ
3. การวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ โดยหาวิธีการที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด

3.1 ทดสอบข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการสอนหลังจากได้มีการจัดเตรียมต้นแบบที่เป็นการวางแผนระยะยาว

3.2 จัดให้มีช่วงเวลาของการชี้แนะ โดยเน้นการนำไปใช้ในชั้นเรียน

3.3 ให้เวลาสำหรับครูที่มีความยุ่งยากในการสังเกตการณ์ปฏิบัติในชั้นเรียนของครูที่สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างประสบผลสำเร็จ

ขั้นตอนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหา

        ระบุปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน/การทำงานของครู ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา

ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

       วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยมีปัจจัยใดเข้ามาเกี่ยวข้อง มีแนวโน้มของปัญหาอย่างไร และมีผลกระทบใดที่จะเกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 ระดมความคิด เพื่อนำเสนอวิธีแก้ปัญหา

ระดมความคิดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาจากประสบการณ์และผลการวิจัยที่สามารถอ้างอิงได้ แล้วนำเสนอผลการระดมความคิด   เมื่อนำเสนอเสร็จสิ้น ดำเนินการอภิปรายสรุปและเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้วิธีแก้ปัญหา

          นำวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการระดมความคิด ไปทดลองใช้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน /ในการทำงาน โดยร่วมกันสังเกต    การสอนและเก็บข้อมูล หรือเก็บข้อมูลจากการทดลองใช้ในการทำงาน

ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลวิธีการแก้ปัญหา

อภิปรายผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้ นำเสนอผลการสังเกตการสอนและเสนอแนะวิธีการปรับปรุงแก้ไข แล้วจึงสรุปผลวิธี การแก้ปัญหาที่ให้ผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน /การทำงาน แล้วทำการแบ่งปันประสบการณ์กับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอื่น

วิธีการและเทคนิคการเรียนรู้ที่สดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนสู่ PLC

1. การออกแบบและจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้มีความหลากหลายตามสภาพผู้เรียนตามความสนใจและศักยภาพของ   ผู้เรียน และเน้นผู้เรียนเป็นรายบุคคล

3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ เช่น โครงงาน Active Learning

4. การกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การตั้งคำถาม

5. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อและเทคโนโลยี

6. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเชื่อมโยงกลุ่มสาระ

7. การประเมินตามสภาพจริง และให้ข้อมูลย้อนกลับและติดตามผล รวมทั้งการช่วยเหลือนักเรียน