ดอกเบี้ย 25 ต่อปี คิด ยัง ไง

เราเชื่อว่าถ้าเลือกได้ หลายคนคงไม่มีใครอยากจะมี"หนี้"ติดตัว ที่ต้องจ่ายกันทุกสิ้นเดือนหรอก แต่ถ้าไม่มีเงินกู้ ชีวิตมันก็อาจจะไปต่อไม่ได้ เช่น คนประกอบอาชีพค้าขาย ถ้าเงินทุนตัวเองไม่พอ ก็ต้องกู้ยืมมาขยายกิจการ หรือบางคนที่อยากจะซื้อบ้าน ก็จำเป็นต้องกู้เงินเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราจำเป็นต้องสร้างหนี้ สิ่งสำคัญที่พี่ ป้า น้า อา ควรต้องรู้ก่อนเป็นหนี้ 2 อย่างก็คือ

  1. เขาคิดดอกเบี้ยเราแบบไหน

    เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อที่เราจะได้วางแผนการเงินในการจ่ายชำระหนี้ได้ถูกต้อง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการคิดดอกเบี้ยก็จะมี 2 แบบ คือ

    • การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่

      คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยเราจากยอดเงินที่เรากู้ทั้งหมดคงที่ตลอดอายุสัญญา แม้ว่าเราจะผ่อนไปบ้างแล้วดอกเบี้ยก็ไม่ลดลงตามต้นเงินครับ

      ตัวอย่างเช่น กู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ซึ่งดอกเบี้ยทั้งหมดจะอยู่ที่ 2,250 บาท เจ้าหนี้ก็จะเอาไปบวกกับเงินที่กู้ไป รวมเป็นเงิน 17,250 บาท แล้วก็เอามาหาร 12 เดือน ก็จะได้เงินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้ ต่อเดือนๆ ละ 1,437.5 บาท และหากผ่อนไปแล้ว 6 เดือน เกิดโชคดีถูกหวยขึ้นมา อยากรีบเอาเงินมาปิดหนี้ ก็ไม่มีประโยชน์มากนักเพราะก็ต้องจ่ายส่วนที่ขาดไปอีก 6 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ไม่ลด ซึ่งการคิดดอกเบี้ยแบบนี้ส่วนใหญ่จะเจอในการกู้ซื้อรถ หรือการกู้หนี้นอกระบบนั่นเอง

    ดอกเบี้ย 25 ต่อปี คิด ยัง ไง
    • การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

      คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ย ตามยอดหนี้ที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน เช่น กู้มา 15,000 บาท เดือนแรกเขาก็จะคิดดอกเราจากยอดเงิน 15,000 บาท และในเดือนแรกเราผ่อนจ่ายไป 1,500 บาทแล้ว เดือนถัดไปเขาจะเอาเงินต้นที่เหลืออยู่ก็คือ 13,500 บาท มาคิดดอกเบี้ย ซึ่งจะต่างจากแบบแรกที่ถ้ากู้ 15,000 บาท จะผ่อนจ่ายไปกี่เดือนแล้วก็ตามเวลาคิดดอกเบี้ยก็จะคิดจากยอดกู้ 15,000 บาท เห็นไหมว่าดอกเบี้ยแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

      ตัวอย่างเช่น ไปกู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ย ลดต้นลดดอกร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ทางเจ้าหนี้เขาจะคำนวนมาให้เลยว่าเราจะผ่อนเดือนละ 1,360 บาท รวมเป็นเงิน 16,320 บาท ซึ่งรวมแล้วเราจะจ่ายถูกกว่าแบบเงินต้นคงที่และถ้าเรามีเงินก้อน เราก็สามารถเอาเงินก้อนไปโปะได้ ดอกเบี้ยก็จะลดลงอีกด้วย จากยอดที่เราต้องจ่ายทั้งหมด 16,320 บาท อาจจะเหลือแค่ 16,000 บาทก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ดอกเบี้ยลักษณะนี้คือการกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อส่วนบุคคลครับ

    ดอกเบี้ย 25 ต่อปี คิด ยัง ไง
  2. แล้วเราจะเลือกผ่อนสั้นผ่อนยาวดีล่ะถึงเหมาะกับเรา ?

    เรื่องนี้ต้องขอกระซิบบอกหน่อยว่า “ไม่ว่าจะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ หรือการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก แม้ว่าทั้งสองแบบจะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยต่างกัน แต่สิ่งที่เขาให้เรามีสิทธิ์เลือกได้ก็คือ เราจะผ่อนแบบสั้น หรือแบบยาว” หากคุณยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกผ่านแบบไหน!!! เราขอแนะนำแบบกระชับและได้ใจความ ดังนี้

    ถ้าเลือกผ่อนแบบสั้น

    การผ่อนหนี้ในแต่ละเดือนยอดชำระก็จะสูง แต่ก็หมดไวมีภาระผ่อนไม่นาน แถมดอกเบี้ยก็จะน้อยลงไปด้วย ซึ่งถ้าเรารู้ตัวเองว่ามีรายได้ประจำที่แน่นอน เช่น เป็นพนักงานมีเงินเดือน สามารถประเมินรายได้แต่ละเดือนได้ ถ้าดูจากเงินเดือนแล้วสามารถผ่อนระยะสั้นไหว การผ่อนระยะสั้นก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเช่นกัน เพราะหมดหนี้ไว หมดปัญหาหนี้สินกวนใจนั่นเอง

    ถ้าเลือกผ่อนแบบยาว

    ในแต่ละเดือนเราก็จะผ่อนน้อย ผ่อนนาน ผ่อนสบาย แต่ว่าดอกเบี้ยก็เยอะขึ้นตามระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งถ้าเราทำอาชีพค้าขาย หรืองานรับจ้างต่างๆ ที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ รายได้ไม่คงที่ไม่ได้เป็นประจำแน่นอนตลอด การเลือกผ่อนแบบยาวก็ดูเข้าทางมากกว่าการผ่อนแบบสั้น ถึงแม้ว่าดอกเบื้ยจะแพงกว่าก็เถอะ แต่เราก็จะไม่ลำบากต้องไปหาหยิบยืม สร้างหนี้ มาจ่ายหนี้ทบหนี้อีก แต่ถ้าเดือนไหนมีรายได้เข้ามาค่อนข้างเยอะ เราก็ควรกันไว้จ่ายในกรณีฉุกเฉินหากเดือนไหนรายได้เราลดน้อยลง หรือเอาไปโปะยอดเงินต้นถ้าสินเชื่อที่เรากู้เป็นแบบลดต้นลดดอก จะได้หมดหนี้ไวๆ เสียดอกน้อยลง แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายดอกอย่างเดียวก็เอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นดีกว่า

    ดอกเบี้ย 25 ต่อปี คิด ยัง ไง

สุดท้าย และท้ายสุดอยากฝากไว้ว่าถ้าพี่ ป้า น้า อา ทั้งหลาย จำเป็นจะต้องใช้เงินก้อน ต้องกู้ขอสินเชื่อ จนทำให้เกิดการสร้างหนี้เพื่อให้ชีวิตหมุนต่อได้ แต่ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมว่าหนี้ของเรานั้นควรจะผ่อนสั้นหรือยาว ควรเลือกผ่อนในแบบที่เราสามารถจ่ายไหว ไม่เกินกำลังของตัวเอง แต่หากคิดไม่เผื่ออนาคต กลัวเสียดอกเบี้ยเยอะเลยเลือกผ่อนสั้น แต่พอถึงคราวผ่อนจริงๆ ดันผ่อนไม่ไหว อันนี้จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตให้ต้องนอนเอาขาก่ายหน้าผากวันละ 8 ตลบได้ หากไม่อยากเป็นหนี้เกินตัว ก็ต้องวางแผนการเงินอย่างฉลาดและรู้ทันตัวเอง ไม่ว่าเราจะเลือกผ่านแบบไหน ควรสอบถามเงื่อนไขของการชำระและการปิดหนี้ให้แน่ใจก่อนการตัดสินใจ

ดอกเบี้ย 25 ต่อปี คิด ยัง ไง

“ดอกเบี้ยบัตรเครดิต” เป็นอะไรที่มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะคุ้นเคยเพราะจ่ายค่าบัตรเครดิตไม่ตรงเวลา (แต่หลายๆคนก็จ่ายตรงเวลา ซึ่งพี่ทุยสนับสนุนแบบนี้นะ) พี่ทุยเชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนเกิน 80% ต้องมีบัตรเครดิตพกติดกระเป๋าไว้อย่างน้อย 1-2 ใบแน่นอน เพราะเดี๋ยวนี้บัตรเครดิตแข่งกันออกโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้าตามร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ กันเต็มไปหมด ทั้งส่วนลด สะสมแต้ม หรือผ่อน 0% พอเห็นโปรโมชั่นบัตรเครดิตมาล่อตาล่อใจซะขนาดนี้ ก็อดใจไม่ได้ที่จะสมัครเอาไว้ซักใบสองใบ เท่านั้นยังไม่พอ บัตรเครดิตเองก็มีทั้งของแถมของรางวัล มีให้แลกแต้มเยอะแยะลายตายั่วกิเลสไปหมด แล้วใครจะไม่อยากมีบัตรเครดิตถือไว้ซักใบจริงมั้ย

แต่การใช้บัตรเครดิตก็ต้องมาพร้อมกับความมีวินัยเสมอ เราจำเป็นที่จะต้องจ่ายบัตรเครดิตให้ตรงเวลา ถ้าเราเผลอใช้เงินเกินตัว พอถึงรอบวันชำระยอดหนี้บัตรเครดิต แต่ดันมีเงินสดในกระเป๋าไม่พอจ่าย เราก็ต้องกลายเป็น “หนี้” และสิ่งที่ตามมาก็คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต” ที่จะต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แทนที่บัตรเครดิตจะช่วยให้เราได้ส่วนลด ประหยัดรายจ่ายลง กลับกลายเป็นต้องมีรายจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น แทนที่จะประโยชน์กลับกลายเป็นโทษ

แล้วที่น่าตกใจกว่านั้น มีหลายคนมากกกกก ที่ไม่รู้หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคำนวณ “ดอกเบี้ยบัตรเครดิต” เลยทำให้เกิดปัญหาหนี้สะสมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามมา มาถึงตรงนี้หลายคนคงคิดในใจ เข้าเรื่องซะทีเถอะพี่ทุย “ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เค้าคิดกันยังไง ?”

“ดอกเบี้ยบัตรเครดิต” จะเกิดขึ้นเมื่อเราชำระค่าสินค้าและบริการไม่เต็มจำนวน ! ไม่ว่าจะเป็นการชำระขั้นต่ำหรือขาดไปแค่ 1 บาทก็ตาม ซึ่งการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะแยกคำนวณเป็น 2 ส่วน คือ

  1. คิดจาก “ยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด” ตั้งแต่ “วันบันทึกรายการ” ถึง “วันสรุปยอดค่าใช้จ่าย”
  2. คิดจาก “ยอดคงค้าง” ตั้งแต่ “วันที่ชำระขั้นต่ำ” ถึง “วันสรุปยอดเดือนถัดไป”

สมมติ พี่ทุยรูดบัตรเครดิตซื้อหญ้าพรีเมี่ยมเมื่อวันที่ 1 มี.ค. จำนวน 10,000 บาท ธนาคารสรุปยอดค่าใช้จ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน และกำหนดชำระเงินทุกวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ซึ่งธนาคารคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 20% ต่อปี ต่อมาในวันที่ 10 เม.ย. พี่ทุยนำเงินไปจ่ายขั้นต่ำ 10% คือ 1,000 บาท

ในรอบบิลถัดไป 25 เม.ย. พี่ทุยจะถูกคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ดังนี้

  1. ยอดทั้งหมด 10,000 บาท x 20% x 25 วัน / 365 = 136.99 บาท (1 มี.ค. – 25 มี.ค.)
  2. ยอดคงค้าง 9,000 บาท x 20% x 16 วัน / 365 = 78.90 บาท (10 เม.ย. – 25 เม.ย.)

ดังนั้น ยอดเงินที่พี่ทุยถูกเรียกเก็บคือ 9,000 + 136.99 + 78.90 = 9,215.89 บาท

สมมติ ต่อมาวันครบกำหนดชำระ 10 พ.ค. พี่ทุยไถนาได้มีเงินมาจ่ายเต็มจำนวนยอดเรียกเก็บของ 25 เม.ย. คือ 9,215.89 บาท

ในวันครบรอบบิล 25 พ.ค. พี่ทุยยังมียอดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมค้างอีก

9,000 บาท x 20% x 14 วัน / 365 =  69.04 บาท (26 เม.ย. – 10 พ.ค.)

ซึ่งรวมๆแล้วพี่ทุยต้องจ่ายดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทั้งหมด 284.93 บาท เลยจะเห็นได้ว่าการคิดดอกเบี้ยของบัตรเครดิตเรียกได้ว่าเอาทุกเม็ดเลยทีเดียว แล้วถ้าพี่ทุยยังคงจ่ายบัตรเครดิตยอดขั้นต่ำไปเรื่อยๆ พี่ทุยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยของดอกเบี้ยวนไปเรื่อยๆ พอเห็นวิธีการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตแบบนี้แล้ว คงไม่อยากเป็นหนี้บัตรเครดิตกันเลยใช่มั้ยล่ะ

พี่ทุยบอกเสมอว่า ทุกครั้งที่รูดบัตรเครดิต เราต้องมีสติ มั่นใจว่าเงินในกระเป๋าเรามีพอจ่ายตอนนั้นเดี๋ยวนั้น ห้ามไปหวังว่าจะมีเงินก้อนตรงนู้นตรงนี้มา บัตรเครดิตเป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกให้เราไม่ต้องพกเงินสดเท่านั้น ไม่ใช่ที่กู้เงิน ! ห้ามเอาเงินในอนาคตมาใช้ถ้าไม่จำเป็น

พี่ทุยมีทิปส์ง่ายๆให้ไม่รูดบัตรเครดิตเกินตัว คือ ถ้าเรารูดบัตร 1,000 บาท ก็ให้หักเงินสด 1,000 บาทไปใส่ไว้ในบัญชีที่ไม่มี ATM และเอาไว้สำหรับจ่ายยอดบัตรเครดิตอย่างเดียว แต่ถ้ารู้ตัวเองว่าไม่มีวินัย เผลอไม่ได้เป็นรูดปรื๊ดๆ ก็เลิกใช้บัตรเครดิตไปเลยจะดีที่สุด

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile