ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ

Show
หน้าแรก ปวดท้องในขณะตั้งครรภ์ อาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?

ปวดท้องในขณะตั้งครรภ์ อาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?

คุณแม่

ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ

อาการปวดท้อง หรือปวดบีบ เป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้จะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของสิ่งที่ร้ายแรงกว่าที่ควรต้องให้คุณหมอเป็นผู้วินิจฉัย

อาการปวดแบบใดบ้างที่ไม่เป็นอันตราย?
ไม่มีอะไรที่คุณแม่ต้องกังวลถ้าหากความเจ็บปวดนั้นไม่รุนแรงและหายไปได้เองเมื่อคุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถ นอนพักผ่อน หรือผายลม อาการปวดท้องที่ไม่เป็นอันตรายซึ่งอาจปวดแบบตื้อ ๆ หรือปวดแปลบอาจเกิดจาก:

  • อาการปวดเส้นเอ็น เกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นยืดออกเพื่อรองรับหน้าท้องของคุณแม่ที่กำลังโตขึ้น ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเหมือนเป็นตะคริว เจ็บ เสียดที่ด้านหนึ่งของหน้าท้องส่วนล่าง
  • ท้องผูก
  • มีแก๊สในท้องมากกว่าปกติ

อาการที่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันทีมีอะไรบ้าง?
คุณแม่ควรไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาลทันทีหากมีอาการปวดท้องพร้อมกับอาการดังต่อไปนี้:

  • มีเลือดออก
  • ปวดบีบเกร็งเป็นประจำ
  • มีตกขาวผิดปกติ
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • ปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ
  • อาการปวดนั้นรุนแรง หรือไม่หายไปหลังจากที่คุณแม่พักเป็นเวลา 30 ถึง 60 นาทีแล้ว

ภาวะที่อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องและจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างเร่งด่วนได้แก่:

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก: คือภาวะที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิและมีการฝังตัวนอกมดลูก อาจมีอาการปวดท้อง รวมถึงปวดที่หัวไหล่ และรู้สึกไม่สบายขณะปัสสาวะและอุจจาระ มักจะปรากฏอาการขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 – 12 ของการตั้งครรภ์
  • การแท้งบุตร: มีอาการปวดบีบและมีเลือดออกก่อนสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตรได้
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ: อาการปวดใต้ซี่โครงนั้นสามารถพบได้บ่อยในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในครรภ์โตขึ้น และมดลูกดันขึ้นไปบริเวณใต้ซี่โครง แต่หากมีอาการเจ็บปวดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านขวา ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษได้ (คือมีความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์) และคุณแม่จะต้องได้รับการตรวจในโรงพยาบาล อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาในการมองเห็น และมีอาการบวมที่เท้า มือ และใบหน้าร่วมด้วย
  • คลอดก่อนกำหนด: หากคุณแม่ตั้งครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และมีอาการปวดท้องเป็นประจำ ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะนี่อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด: ภาวะที่รกเริ่มหลุดออกจากผนังมดลูก ซึ่งมักจะทำให้มีเลือดออก และปวดท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ซึ่งไม่เหมือนกับอาการเจ็บครรภ์ทั่ว ๆ ไป และอาจเป็นเหตุฉุกเฉิน เพราะหมายความว่ารกอาจไม่สามารถทำหน้าที่ส่งอาหารและอากาศให้ทารกในครรภ์ได้อย่างสมบูรณ์
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (UTI): การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และสามารถรักษาได้ง่าย โรคนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย และบางครั้งก็รู้สึก เจ็บหรือแสบในขณะปัสสาวะ

MOBILE

อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะเริ่มต้น และการดูแลตัวเองฉบับคุณแม่มือใหม่

✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว

KEY POINTS:


  • อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์แรกจนคลอด จะมีอาการและความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน ช่วงตั้งครรภ์ 1-3 เดือนแรกจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น เต้านมขยายขนาดใหญ่ขึ้น ลานนมสีเข้มขึ้น คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อบวมมีเลือดออกง่าย
  • อาการแพ้ท้องจะเกิดเริ่มเมื่ออายุครรภ์ 5-6 สัปดาห์ จะมีอาการมากที่สุดช่วง 9 สัปดาห์ และจะเริ่มทุเลาลงเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 4 เดือน โดยคุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ โดยเฉพาะหลังตื่นนอน
  • หลังจากการฝากครรภ์แล้ว คุณแม่มือใหม่ควรดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ หลีกเลี่ยงสารเสพติดและแอลกอฮอล์ รับประทานอาหาร 5 หมู่อย่างครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสมและเน้นอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการรับประทานวิตามินเสริมตามที่แพทย์แนะนำ


Table of Contents
อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก
ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก
อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 2-3 เดือน
ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 2-3 เดือน
วิธีดูแลตนเองเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการคนท้อง

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังรอเจ้าตัวน้อยอย่างใจจดใจจ่อ คงมีทั้งความกังวล ตื่นเต้น ดีใจ และหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาการคนท้องคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงแรก โดยเฉพาะท้องครั้งแรกจะสังเกตได้ยากพอสมควร


ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ


อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก

เนื่องจากค่าระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (beta-hCG) ยังมีระดับไม่สูงมาก ทำให้คุณแม่อาจยังไม่มีอาการหรือสังเกตอาการได้ยาก ทำให้คุณแม่หลายท่านอาจไม่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้การตรวจการตั้งครรภ์หลังขาดประจำเดือน 4 สัปดาห์จะช่วยยืนยันการตั้งครรภ์ได้


  • ประจำเดือนขาดหายไป รอบประจำเดือนปกติจะมาทุก 21-35 วัน หากช่วงก่อนหน้านี้ได้มีเพศสัมพันธ์และประจำเดือนไม่มาเกินกำหนด สามารถสันนิษฐานได้ว่ากำลังตั้งครรภ์
  • เลือดออกจากช่องคลอด เมื่อเกิดการปฏิสนธิ จะมีการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก อาจทำให้มีเลือดสีแดงจางๆ หรือสีชมพูออกมาจากช่องคลอดได้เล็กน้อย ปริมาณจะน้อยกว่าประจำเดือนปกติ และสามารถหายไปได้เอง แต่หากมีเลือดออกมาในปริมาณมากกว่านั้น ร่วมกับมีอาการปวดเกร็งท้องด้วย ควรพบแพทย์ทันที
  • เจ็บหรือคัดเต้านม

  • ง่วงนอนหรืออ่อนเพลียง่าย

ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก

ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงของขนาดหน้าท้อง


ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ


อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 2-3 เดือน

อาการแสดงของภาวะตั้งครรภ์จะเริ่มพบมากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้น


  • เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น หัวนมขยายขนาด ลานนมสีเข้มขึ้น
  • อาการคลื่นไส้อาเจียน หรือแพ้ท้อง เป็นภาวะที่เกิดจากระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้น และสามารถหายได้เองเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีอาการแพ้มากถึงขั้นกินอาหารไม่ได้เลย แนะนำเข้าพบแพทยืที่ฝากครรภ์ทันที
  • ความอยากอาหาร เช่น อาหารรสเปรี้ยว
  • ท้องผูก อาหารไม่ย่อยและท้องอืด หลังตั้งครรภ์ฮอร์โมนต่างๆ ภายในร่างกายก็มักเปลี่ยนแปลง รวมถึงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งฮอร์โมนนี้ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้ย่อยยาก ย่อยช้า และมีแก๊สในกระเพาะเพิ่มขึ้นเป็ที่มาของอาการท้องผูกหรือท้องอืด เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงควรพยายามเลือกทานอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น จากการขยายขนาดของมดลูกและระบบไหลเวียนเลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น
  • เจ็บเหงือก เหงือกบวมแดง บางครั้งอาจมีเลือดออกง่ายขึ้น แนะนำดูแลอนามัยในช่องปาก แปรงฟันให้สะอาดทุกวันร่วมกับใช้ไหมขัดฟัน หากมีฟันฝุที่สงสัย แนะนำเข้ารับการตรวจฟันทันที
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย บางคนอาจมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย คุณพ่อและคนรอบข้างต้องพยายามทำความเข้าใจ คอยให้กำลังใจและอยู่เคียงข้าง
  • ปวดหัว เมื่อฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง อาการปวดหัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งจะปวดมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละท่าน รวมถึงความเครียด ความวิตกกังวล ก็มีส่วนให้อาการแย่ลง เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรผ่อนคลายให้มาก พยายามทำจิตใจให้สงบ และทำในสิ่งที่มีความสุข

ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 2-3 เดือน

อาจเริ่มมีหน้าท้องช่วงล่างน้อยๆ แต่จะยังคลำไม่ได้ขนาดมดลูกที่โตขึ้นอย่างชัดเจน เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้นคุณแม่จะเริ่มเห็นการขยายของมดลูกที่ชัดเจนขึ้น


ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ


วิธีดูแลตนเองเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์


  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง ซึ่งการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ของคนท้องไปได้มาก อย่างความเหนื่อยล้า อ่อนแรง อ่อนเพลีย อีกทั้งยังเป็นการช่วยฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นด้วย
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลังจากที่คุณแม่ทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ก็ควรศึกษาข้อมูลเรื่องอาหารประเภทไหนหรือสารอาหารอะไรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและบำรุงทารกตัวน้อยในครรภ์ ทั้งสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหารไอโอดีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม โดยเฉพาะกรดโฟลิก
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์สามารถทำได้เพื่อให้ตัวคุณแม่และทารกในครรภ์แข็งแรง แต่ไม่ควรออกหนักหรือหักโหม เช่น การว่ายน้ำ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความรู้ได้อย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและทารกในครรภ์
  • ดื่มน้ำอยู่เสมอ คุณแม่ควรจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ ซึ่งการดื่มน้ำบ่อยๆ ยังช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายไม่ให้สูงเกินไปอีกด้วย
  • เลิกนำของไม่ดีเข้าสู่ร่างกาย ของไม่ดีที่ว่านี้ ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ และสารเสพติด ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายแก่ตัวคุณแม่แล้วยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย
  • ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยา เพราะตัวยาที่แม่ทานเข้าไปจะส่งผ่านไปยังเด็กในครรภ์ได้ ตัวยาหลายๆ ตัวก็มีขนาดโดสที่แตกต่างกันระหว่างคนท้องและคนทั่วไป


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการคนท้อง


1. คนท้องท้องเสีย สามารถดื่มเกลือแร่ได้ไหม?

หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ท้องเสีย สามารถดื่มเกลือแร่ได้ แต่ต้องเป็นเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salt) ซึ่งเป็นเกลือแร่ทางการแพทย์ ที่ไว้ใช้แทนน้ำสำหรับผู้ที่อาเจียนมากหรือท้องเสียมาก และมีอัตราส่วนของเกลือแร่ต่อร่างกายที่เป็นมาตรฐาน ดูดซึมได้ดี


2. การตกขาวในคนท้องระยะแรกอันตรายหรือไม่?

การตกขาวในคนท้องระยะแรกไม่เป็นอันตราย เพราะเป็นปกติที่บริเวณปากมดลูกและช่องคลอดจะมีการสร้างของเหลว เพื่อหล่อลื่นตรงส่วนของปากช่องคลอด อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ตกขาวมีปริมาณมากกว่าปกติด้วย ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไป ยกเว้นตกขาวมีลักษณะเป็มมูกสีเขียวหรือเหลืองและมีอาการคันร่วมด้วย คุณแม่อาจกำลังติดเชื้อบางอย่างต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที


3. อาการแพ้ท้องเริ่มตอนไหน?

อาการแพ้ท้องส่วนมากจะพบในช่วงสัปดาห์ที่ 5-6 ของการตั้งครรภ์ และจะมีอาการมากที่สุดในช่วง 9 สัปดาห์ และจะเริ่มทุเลาลงเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 4 เดือน


4. อาการเหมือนคนท้องแต่มีประจำเดือนควรทำอย่างไร?

หากรู้สึกว่ามีอาการเหมือนคนท้องแต่ประจำเดือนมาอาจต้องสังเกตให้แน่ใจว่าใช่เลือดประจำเดือนจริงๆ หรือเปล่า เพราะอาจเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูก จะออกมาเพียง 1-2 วัน และมีลักษณะเลือดออกแบบกระปริบกระปรอย มีสีแดงจางๆ หรือชมพูๆ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด


5. คนท้องเจ็บท้องน้อย อันตรายหรือไม่?

อาการเจ็บท้องน้อย ปวดหน่วงๆ หรือมีอาการเจ็บแปลบที่ท้องน้อย เป็นอาการปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมดลูกมีการขยายตัว แต่หากมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรงรวมถึงมีเลือดออกผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจเช็กความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจขึ้นกับการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์คือการไปฝากครรภ์ เพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายหรือความผิดปกติที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่รวมถึงเด็กในครรภ์ และแพทย์จะได้แนะนำการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์ สำคัญที่สุดคือคุณแม่มือใหม่จะต้องสังเกตตัวเองและศึกษาอาการต่างๆ จะได้ใช้ชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง เพราะเมื่อคุณแม่แข็งแรง… คุณลูกก็จะแข็งแรงด้วยเช่นกัน



✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย


ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ




แหล่งข้อมูล


อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะเริ่มต้น และการดูแลตัวเองฉบับคุณแม่มือใหม่

✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว

KEY POINTS:


  • อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์แรกจนคลอด จะมีอาการและความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน ช่วงตั้งครรภ์ 1-3 เดือนแรกจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น เต้านมขยายขนาดใหญ่ขึ้น ลานนมสีเข้มขึ้น คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อบวมมีเลือดออกง่าย
  • อาการแพ้ท้องจะเกิดเริ่มเมื่ออายุครรภ์ 5-6 สัปดาห์ จะมีอาการมากที่สุดช่วง 9 สัปดาห์ และจะเริ่มทุเลาลงเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 4 เดือน โดยคุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ โดยเฉพาะหลังตื่นนอน
  • หลังจากการฝากครรภ์แล้ว คุณแม่มือใหม่ควรดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ หลีกเลี่ยงสารเสพติดและแอลกอฮอล์ รับประทานอาหาร 5 หมู่อย่างครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสมและเน้นอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการรับประทานวิตามินเสริมตามที่แพทย์แนะนำ


Table of Contents
อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก
ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก
อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 2-3 เดือน
ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 2-3 เดือน
วิธีดูแลตนเองเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการคนท้อง

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังรอเจ้าตัวน้อยอย่างใจจดใจจ่อ คงมีทั้งความกังวล ตื่นเต้น ดีใจ และหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาการคนท้องคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงแรก โดยเฉพาะท้องครั้งแรกจะสังเกตได้ยากพอสมควร


ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ


อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก

เนื่องจากค่าระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (beta-hCG) ยังมีระดับไม่สูงมาก ทำให้คุณแม่อาจยังไม่มีอาการหรือสังเกตอาการได้ยาก ทำให้คุณแม่หลายท่านอาจไม่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้การตรวจการตั้งครรภ์หลังขาดประจำเดือน 4 สัปดาห์จะช่วยยืนยันการตั้งครรภ์ได้


  • ประจำเดือนขาดหายไป รอบประจำเดือนปกติจะมาทุก 21-35 วัน หากช่วงก่อนหน้านี้ได้มีเพศสัมพันธ์และประจำเดือนไม่มาเกินกำหนด สามารถสันนิษฐานได้ว่ากำลังตั้งครรภ์
  • เลือดออกจากช่องคลอด เมื่อเกิดการปฏิสนธิ จะมีการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก อาจทำให้มีเลือดสีแดงจางๆ หรือสีชมพูออกมาจากช่องคลอดได้เล็กน้อย ปริมาณจะน้อยกว่าประจำเดือนปกติ และสามารถหายไปได้เอง แต่หากมีเลือดออกมาในปริมาณมากกว่านั้น ร่วมกับมีอาการปวดเกร็งท้องด้วย ควรพบแพทย์ทันที
  • เจ็บหรือคัดเต้านม

  • ง่วงนอนหรืออ่อนเพลียง่าย

ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก

ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงของขนาดหน้าท้อง


ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ


อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 2-3 เดือน

อาการแสดงของภาวะตั้งครรภ์จะเริ่มพบมากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้น


  • เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น หัวนมขยายขนาด ลานนมสีเข้มขึ้น
  • อาการคลื่นไส้อาเจียน หรือแพ้ท้อง เป็นภาวะที่เกิดจากระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้น และสามารถหายได้เองเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีอาการแพ้มากถึงขั้นกินอาหารไม่ได้เลย แนะนำเข้าพบแพทยืที่ฝากครรภ์ทันที
  • ความอยากอาหาร เช่น อาหารรสเปรี้ยว
  • ท้องผูก อาหารไม่ย่อยและท้องอืด หลังตั้งครรภ์ฮอร์โมนต่างๆ ภายในร่างกายก็มักเปลี่ยนแปลง รวมถึงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งฮอร์โมนนี้ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้ย่อยยาก ย่อยช้า และมีแก๊สในกระเพาะเพิ่มขึ้นเป็ที่มาของอาการท้องผูกหรือท้องอืด เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงควรพยายามเลือกทานอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น จากการขยายขนาดของมดลูกและระบบไหลเวียนเลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น
  • เจ็บเหงือก เหงือกบวมแดง บางครั้งอาจมีเลือดออกง่ายขึ้น แนะนำดูแลอนามัยในช่องปาก แปรงฟันให้สะอาดทุกวันร่วมกับใช้ไหมขัดฟัน หากมีฟันฝุที่สงสัย แนะนำเข้ารับการตรวจฟันทันที
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย บางคนอาจมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย คุณพ่อและคนรอบข้างต้องพยายามทำความเข้าใจ คอยให้กำลังใจและอยู่เคียงข้าง
  • ปวดหัว เมื่อฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง อาการปวดหัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งจะปวดมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละท่าน รวมถึงความเครียด ความวิตกกังวล ก็มีส่วนให้อาการแย่ลง เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรผ่อนคลายให้มาก พยายามทำจิตใจให้สงบ และทำในสิ่งที่มีความสุข

ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 2-3 เดือน

อาจเริ่มมีหน้าท้องช่วงล่างน้อยๆ แต่จะยังคลำไม่ได้ขนาดมดลูกที่โตขึ้นอย่างชัดเจน เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้นคุณแม่จะเริ่มเห็นการขยายของมดลูกที่ชัดเจนขึ้น


ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ


วิธีดูแลตนเองเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์


  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง ซึ่งการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ของคนท้องไปได้มาก อย่างความเหนื่อยล้า อ่อนแรง อ่อนเพลีย อีกทั้งยังเป็นการช่วยฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นด้วย
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลังจากที่คุณแม่ทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ก็ควรศึกษาข้อมูลเรื่องอาหารประเภทไหนหรือสารอาหารอะไรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและบำรุงทารกตัวน้อยในครรภ์ ทั้งสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหารไอโอดีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม โดยเฉพาะกรดโฟลิก
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์สามารถทำได้เพื่อให้ตัวคุณแม่และทารกในครรภ์แข็งแรง แต่ไม่ควรออกหนักหรือหักโหม เช่น การว่ายน้ำ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความรู้ได้อย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและทารกในครรภ์
  • ดื่มน้ำอยู่เสมอ คุณแม่ควรจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ ซึ่งการดื่มน้ำบ่อยๆ ยังช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายไม่ให้สูงเกินไปอีกด้วย
  • เลิกนำของไม่ดีเข้าสู่ร่างกาย ของไม่ดีที่ว่านี้ ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ และสารเสพติด ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายแก่ตัวคุณแม่แล้วยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย
  • ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยา เพราะตัวยาที่แม่ทานเข้าไปจะส่งผ่านไปยังเด็กในครรภ์ได้ ตัวยาหลายๆ ตัวก็มีขนาดโดสที่แตกต่างกันระหว่างคนท้องและคนทั่วไป


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการคนท้อง


1. คนท้องท้องเสีย สามารถดื่มเกลือแร่ได้ไหม?

หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ท้องเสีย สามารถดื่มเกลือแร่ได้ แต่ต้องเป็นเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salt) ซึ่งเป็นเกลือแร่ทางการแพทย์ ที่ไว้ใช้แทนน้ำสำหรับผู้ที่อาเจียนมากหรือท้องเสียมาก และมีอัตราส่วนของเกลือแร่ต่อร่างกายที่เป็นมาตรฐาน ดูดซึมได้ดี


2. การตกขาวในคนท้องระยะแรกอันตรายหรือไม่?

การตกขาวในคนท้องระยะแรกไม่เป็นอันตราย เพราะเป็นปกติที่บริเวณปากมดลูกและช่องคลอดจะมีการสร้างของเหลว เพื่อหล่อลื่นตรงส่วนของปากช่องคลอด อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ตกขาวมีปริมาณมากกว่าปกติด้วย ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไป ยกเว้นตกขาวมีลักษณะเป็มมูกสีเขียวหรือเหลืองและมีอาการคันร่วมด้วย คุณแม่อาจกำลังติดเชื้อบางอย่างต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที


3. อาการแพ้ท้องเริ่มตอนไหน?

อาการแพ้ท้องส่วนมากจะพบในช่วงสัปดาห์ที่ 5-6 ของการตั้งครรภ์ และจะมีอาการมากที่สุดในช่วง 9 สัปดาห์ และจะเริ่มทุเลาลงเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 4 เดือน


4. อาการเหมือนคนท้องแต่มีประจำเดือนควรทำอย่างไร?

หากรู้สึกว่ามีอาการเหมือนคนท้องแต่ประจำเดือนมาอาจต้องสังเกตให้แน่ใจว่าใช่เลือดประจำเดือนจริงๆ หรือเปล่า เพราะอาจเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูก จะออกมาเพียง 1-2 วัน และมีลักษณะเลือดออกแบบกระปริบกระปรอย มีสีแดงจางๆ หรือชมพูๆ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด


5. คนท้องเจ็บท้องน้อย อันตรายหรือไม่?

อาการเจ็บท้องน้อย ปวดหน่วงๆ หรือมีอาการเจ็บแปลบที่ท้องน้อย เป็นอาการปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมดลูกมีการขยายตัว แต่หากมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรงรวมถึงมีเลือดออกผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจเช็กความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจขึ้นกับการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์คือการไปฝากครรภ์ เพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายหรือความผิดปกติที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่รวมถึงเด็กในครรภ์ และแพทย์จะได้แนะนำการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์ สำคัญที่สุดคือคุณแม่มือใหม่จะต้องสังเกตตัวเองและศึกษาอาการต่างๆ จะได้ใช้ชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง เพราะเมื่อคุณแม่แข็งแรง… คุณลูกก็จะแข็งแรงด้วยเช่นกัน



✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย


ท้อง 2 เดือน ปวดท้อง จี๊ดๆ




แหล่งข้อมูล