2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” บนเงื่อนไข “ความรู้” และ “คุณธรรม”

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

บทสรุป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง
ห่วง 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ห่วง 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
ห่วง 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข
1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไข คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ส่วนคำถามที่ว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ คืออะไร

                

2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ
3 ห่วง ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน
2 เงื่อนไข มีคุณธรรม นำความรู้
(เงื่อนไขความรู้ 3 ร รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง)
(เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ)
สมดุล 4 มิติ
เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม (กิจ ล้อม สัง วัฒนธรรม)

หลักความพอดี 5 ประการ หลักเหตุผล 5 ประการ หลักภูมิคุ้มกัน 2 หลัก
จิตใจ ประหยัด ลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ภูมิปัญญา
รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง
สังคม ประกอบอาชีพสุจริต
ทรัพยากร เลิกแก่งแย่งผลประโยชน์
เทคโนโลยี ไม่หยุดนิ่งในการแก้ปัญหาความทุกข์ยากในชีวิต ภูมิธรรม
ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทนและแบ่งปัน
เศรษฐกิจ ปฏิบัติตนลดละเลิก อบายมุข

เป้าหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พึ่งตนเองได้ระดับหนึ่ง อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุข อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากระดับ
ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ (ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม)
ลำดับขั้นตอนการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับหลักธรรม สัปปุริสธรรม 7
1.(ความพอประมาณ)
มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ
อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน
2. (ความมีเหตุผล)
ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ
อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล
3.(การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว)
กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท ชุมชน
ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อัญเชิญมาครั้งแรกใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9
วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ตรงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
การสร้างภูมิคุ้มกัน
ข้อใดเรียงลำดับ หลักการสร้างภูมิคุ้มกันกับเกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ชั้น
จัดการตน – รวมกลุ่ม – เครือข่าย
หลักสมดุลของปรัชญาเศรษฐกิจข้อใดสำคัญที่สุดในวิสัยทัศน์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1
เศรษฐกิจ
ตาม ROAD MAP พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของ สพฐ. ควรจัดให้มีการสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาสำหรับชั้นใดโดยเฉพาะ ม.1-3

“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ

2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ

๐ เปิดกระบวนการ 5 ขั้นตอน ที่จะช่วยให้การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้น
๐ การถอดรหัสแนวปฏิบัติใหม่ที่ใช้ system thinking มาอธิบายได้อย่างเป็นระบบ
๐ จำเพียงแค่ “2-3-4” โมเดลนี้จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างเห็นผล

“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้ให้คนไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.2540 จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้ว แม้ว่าจะเป็นที่ “รับรู้” อย่างกว้างขวาง แต่ “ความเข้าใจ” และ “การนำไปใช้” อย่างถูกต้อง ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงสำหรับคนไทยอาจจะยังไม่มากพอ

ดังนั้น การศึกษาถึงแก่นที่มาของ “ปรัชญาพอเพียง” หรือ “หลักการพอเพียง” เพื่อนำมาถอดรหัสจนได้เป็นแนวปฏิบัติใหม่และเรียบเรียงไว้ในหนังสือ “Sufficiency Thinking” ในบทที่ชื่อว่า “The Sufficiency Economy Philosophy Process” โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์พัฒนา และพุทธศาสตร์ และ Dr. Harald Bergsteiner ศาสตราจารย์เกียรติคุณ the Australian Catholic University และผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันเพื่อผู้นำความยั่งยืน จึงไม่เพียงเป็นประโยชน์กับชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้และยกย่องในหลวงรัชกาลที่ 9 เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์กับคนไทยให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

แนวปฏิบัติใหม่ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy model หรือ SEP model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก “Virtues and attributes” (คุณธรรมและคุณลักษณะ) ตามระบบการคิด (system thinking) นั่นคือ คนซึ่งเป็นปัจจัยเข้าสู่กระบวนการ (input) เป็นการพูดถึงการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลางคือเริ่มต้นที่คุณลักษณะของคนเป็นสำคัญในการพัฒนาทุกเรื่อง ที่ต้องการ “คุณภาพของคน” ตามหลักพอเพียงกำหนดด้วยสองเงื่อนไขคือ “คุณธรรมกับความรู้”

ทั้งนี้ “คุณธรรม” มีสองส่วนคือ ส่วนแรก “Enduring virtues” เป็นคุณลักษณะของตัวเรา ซึ่งมาจากการบ่มเพาะในครอบครัว ความเชื่อที่ฝังมาในจิตสำนึกของเรา เป็นคุณงามความดีที่อยู่ในตัวเรา กับส่วนที่สอง “Share virtues” หรือ “ethics” (จริยธรรม) เป็นคุณลักษณะของกลุ่ม เป็นสิ่งที่ต้องตกลงร่วมกัน เป็นความเชื่อร่วมกัน เป็นคุณงามความดีของกลุ่ม เช่น corporate ethic ยึดถือการไม่ขายสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริยธรรมขององค์กรเกิดจากผู้บริหารและพนักงานบริษัทยึดมั่นในแนวทางนี้ เป็นต้น

ในขั้นแรกนี้จึงเริ่มด้วยคำถามว่า “Who we are” เมื่อเริ่มด้วยคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา จึงต้องเริ่มต้นว่าเราเป็นคนอย่างไร เพื่อให้ทบทวนตัวเองเพราะแต่ละคนอาจจะมีความเชื่อส่วนบุคคลต่างกัน และมีสังคมที่ล้อมเราอยู่ไม่ให้เราทำ ไม่ว่าจะเชื่ออย่างนั้นหรือไม่ก็ตามไม่ว่ากัน เช่น ethic ในสังคมไทยจะตอบแทนผู้มีพระคุณ ขณะที่ virtue คนไทยมีสัมมาคารวะและนอบน้อมถ่อมตน
2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ

ขั้นตอนที่สอง “Adding knowledge” (การเพิ่มเติมความรู้) ซึ่งมีสองส่วนคือ “Personal knowledge” กับ “Shared knowledge“ การแยกให้เห็นเพื่อบอกว่าคนต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะความรู้ที่มีอยู่ในตัวเราอาจจะยังไม่พอ ยังมีความรู้ที่แบ่งปันกันอยู่ในสังคมให้ไปศึกษาหามาได้ ในขั้นตอนนี้จึงต้องถามตัวเราว่า “What we know”

ดังนั้น เมื่อแต่ละคนมีคุณธรรม (virtue) กับจริยธรรม (ethic) ในสังคมที่มีอยู่ และมี personal knowledge ที่สามารถนำมาใช้ได้แล้วกับ shared knowledge ที่ไปแสวงหามาใส่ตัวแล้ว เมื่อมีทั้งสองอย่างนี้แล้ว เขาพร้อมทำงานตัดสินใจแล้ว เป็นคนที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาได้แล้ว นี่คือ input เป็น quality foundations เงื่อนไขคุณภาพของคนก่อนที่จะทำงาน

แต่เดิมการนำหลักการหรือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้ความสำคัญเท่ากันทั้ง “ความรู้” และ“คุณธรรม” โดยมักจะพูดว่า “ความรู้คู่คุณธรรม” แต่โมเดลใหม่นี้ให้ความสำคัญกับ “คุณธรรม” มาก่อน เพราะถ้าไม่มีคุณธรรมอาจจะสรรหาความรู้ที่ไม่ดีมาใช้ จึงใช้คำว่า “คุณธรรมกำกับความรู้” ซึ่งเป็นคำที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงใช้ หมายถึง “ต้องมีและใช้คุณธรรมกำกับความรู้”

สำหรับกิจกรรมธุรกิจก็นำไปใช้ได้เช่นกัน เมื่อสัมภาษณ์หรือเลือกคนเข้าทำงานก็ต้องเลือกจากคนที่มีความเชื่อหรืออุดมการณ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายบริษัทก่อน เพื่อให้มีหลักยึดไปในทางเดียวกัน แล้วจึงมองเรื่องความสามารถว่ามีมากเพียงพอที่บริษัทต้องการหรือไม่ เมื่อนำไปใช้แบบนี้จะทำให้เลือกคนได้ดีขึ้น
2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ

ขั้นตอนที่สาม “Adding wise attitudes and influences” (ทัศนคติที่ดี) ประกอบด้วย 3 หลักการ (Sufficiency mindset) ที่เราคุ้นเคย คือ “พอประมาณ- มีเหตุผล- มีภูมิคุ้มกัน” คือ หลักในการตัดสินใจและปฏิบัติ ซึ่งจุดสำคัญคือต้องใช้ทั้งสามหลักการนี้ “พร้อมกัน” เสมอ เช่น การสั่งซื้อยา ต้องคิดว่าควรซื้อในจำนวนที่พอเหมาะพอดี โดยมีเหตุผลที่อธิบายได้ และต้องมีการตรวจสอบยาที่มาส่งว่าครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่

หรือแม้แต่คนจัดซื้อยาต้องมีคุณธรรมและความรู้เรื่องการจัดซื้อยา แล้วจึงมาใช้สามหลักการพร้อมกันเสมอ ห้ามขาดอันใดอันหนึ่ง จึงประสบความสำเร็จในการสั่งซื้อยา และเป็นการจัดซื้อยาตามหลักการพอเพียง

สำหรับ Internal influences-External influences เพราะคนเราจะตัดสินใจอะไรไม่ใช่เราอยากทำอะไร แต่ต้องพอเหมาะพอดีกับปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอกที่กำกับอยู่ ยกตัวอย่างเรื่องเดิมคือการจัดซื้อยา ในส่วนของ Internal influences เช่น ตัวเรามีข้อจำกัดเรื่องความรู้เกี่ยวกับยาหรือไม่ ฯลฯ หรือบริษัทมีงบประมาณที่กำหนดให้เท่านี้ External influences บางครั้งยาชนิดนี้ขาดตลาดหาซื้อไม่ได้ ใช้ยาอื่นแทนได้หรือไม่

หมายความว่า “ทั้งสามหลักการมีทั้งสองปัจจัยนี้เกี่ยวข้องที่ต้องคำนึงถึงตลอด” ดังนั้น ในขั้นตอน กรอบแนวคิดพอเพียง ( Sufficiency mindset ) ที่บอกว่าเป็นทางสายกลางและตั้งคำถามว่า How we decide (ตัดสินใจอย่างไร) เพราะ Sufficiency mindsetคือตัวกำกับการตัดสินใจของเรา เป็นหลักคิดพอเพียง

เมื่อใช้โมเดลนี้ตามพระองค์ท่านเราจะเป็นคน “คิดก่อนทำ” เสมอ ไม่ใช่ทำไปคิดไป คือคิดให้ “รอบคอบ” ก่อนทำ เป็นสิ่งที่เราเรียนรู้จากพระองค์ท่าน เพราะมีพระราชดำรัสหลายครั้งที่บอกไว้ว่า การทำไปคิดไปหรือทำก่อนคิด หากเกิดข้อผิดพลาดในบางเรื่องกลับมาแก้ไขไม่ได้แล้ว

เพื่อไม่ให้สันสนและติดกับมิติทางเศรษฐกิจ เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อปี 2540 ในช่วงเวลานั้นประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง จึงมีคำว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งแท้จริงคือ “หลักคิดพอเพียงหรือปรัชญาพอเพียง” ที่มีความครอบคลุม สามารถนำไปใช้ได้กับทุกเรื่องไม่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ เพราะในปี 2542 ทรงรับสั่งว่า “คิดอย่างพอเพียง พูดอย่างพอเพียง ปฏิบัติอย่างพอเพียง” ทรงก้าวข้ามเรื่องเศรษฐกิจมาแล้ว
2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ

ขั้นตอนที่สี่ “Adding work principles and practices” นอกเหนือจาก “หลักพอเพียง” คือสามหลักการดังกล่าว ยังมี“หลักการทรงงาน” เพื่อจะบอกว่าเราควรจะประพฤติอย่างไร จึงเป็นคำถามว่า How we behave ซึ่งมีมากมายหลายเรื่อง เช่น ทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ฯลฯ เราจึงนำ “หลักปฏิบัติ” นี้มาใช้กับ “วิธีคิด” ดังนั้น “ทางสายกลาง” คือ การใช้สามหลักการพอเพียงร่วมกับหลักการทรงงาน นั่นเอง

“ทางสายกลาง” คือทั้งหมด มีการคิด มีการตัดสินใจและมีการปฏิบัติแล้ว ผ่าน system thinking การใช้ระบบความคิด คือ input และ process มาถึงขั้นตอนที่ห้า Outputs and outcomes สำหรับ output ต้องวัดได้ ขณะที่ outcome บางครั้งเกิดขึ้นแต่วัดไม่ได้ เช่น การสอนการปลูกผักให้กับเด็กในโรงเรียน output คือ เด็กได้ผักซึ่งวัดจำนวนได้ ส่วน outcome คือเด็กได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกัน วัดไม่ได้แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้น

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งไว้เมื่อปี 2542 ว่า “การจะพัฒนาอย่างพอเพียงต้อง “สมดุล” และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้านคือ วัตถุหรือเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม” หมายถึง output ที่สามารถวัดผลได้ ซึ่งนอกจากเศรษฐกิจจะดี มีวัตถุให้พอกินพอใช้เป็นขั้นพื้นฐาน สังคมอยู่เป็นสุข และสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ ยังต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากเหง้าและทำชี้ชัดความเป็นแต่ละชนชาติจึงจะทำให้เกิดความยั่งยืนที่แท้จริง และเมื่อมีการนำเสนอให้ชาวยุโรปได้เข้าใจในเรื่องนี้อย่างแท้จริง ทำให้ได้รับการชื่นชมและยอมรับอย่างมาก

องค์การความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ได้ริเริ่มโครงการหาตัวชี้วัดที่กว้างกว่าจีดีพีวัดความก้าวหน้าของประเทศต่างๆ โดยจะวัดด้วย 3 มิติคือ profit people (โดยนำเรื่องวัฒนธรรมไว้ในส่วนนี้) และ planet คือการวัดความยั่งยืนด้วยการวัดว่า เมื่อประเทศพัฒนาไปแล้วทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนทางสิ่งแวดล้อม ยังเหลืออยู่หรือไม่ เพราะทุนวัดป็นเรื่องที่วัดได้
2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ

ในส่วนผลลัพธ์ ( outcome) ของโมเดลนี้คือ Well-being Sustainability การอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน แต่คนจะมีผลลัพธ์แบบนี้ได้ ต้องมี 3 ส่วนประกอบ ส่วนแรกมี self-reliance “พึ่งตนเอง” ได้ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือผลของการทำทุกอย่างแล้วจึงจะพึ่งตนเองได้ ซึ่งต้องมีความรู้ มีวิธีคิด มีทักษะในการตัดสินใจและการปฏิบัติ ส่วนที่สอง Immunity “มีภูมิคุ้มกัน” และส่วนที่สาม reliance “มีความสามารถต้านทานต่อแรงกระทบ”

ทั้งหมดนี้ไม่มีคำว่า “ยั่งยืน” (sustainability) แต่ทั้งหมดนี้อธิบายกลไกของความยั่งยืน เพราะเมื่อ “พึ่งตนเองได้” เช่น ประเทศชาติเกิดวิกฤต แต่ชาวนายังอยู่ได้เพราะพึ่งตนเองได้ หรือ “มีภูมิคุ้มกัน” เช่น ไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาดเป็นความรอบคอบไม่ประมาทในเรื่องของสุขภาพทำให้ไม่เจ็บป่วย หรือ “มีความสามารถต้านทานต่อแรงกระทบ” เช่น การสร้างบ้านโดยออกแบบให้รับมือกับภัยพิบัติภาวะน้ำท่วมและแผ่นดินไหว ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะพ้นภัย

การนำโมเดลแนวปฏิบัติตามปรัชญาพอเพียงหรือหลักการพอเพียงใช้วิธีการจดจำง่ายๆ ได้ว่า “โมเดล 2-3-4” ซึ่งมาจาก 2เงื่อนไขคือ “คุณธรรมกำกับความรู้” 3หลักการพร้อมกันคือ “พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน” และ4มิติสมดุลคือ “เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม” เพื่อไปสู่ผลลัพธ์คือ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในท้ายที่สุด



  • ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา
  • การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • เศรษฐกิจพอเพียง

3ห่วง 2เงื่อนไข และ4มิติ มีอะไรบ้าง

3 ห่วง ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน 2 เงื่อนไข มีคุณธรรม นำความรู้ (เงื่อนไขความรู้ 3 ร รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง) (เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ)

หลัก 2 3 4 คืออะไร

การนำโมเดลแนวปฏิบัติตามปรัชญาพอเพียงหรือหลักการพอเพียงใช้วิธีการจดจำง่ายๆ ได้ว่า “โมเดล 2-3-4” ซึ่งมาจาก 2เงื่อนไขคือ “คุณธรรมกำกับความรู้” 3หลักการพร้อมกันคือ “พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน” และ4มิติสมดุลคือ “เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม” เพื่อไปสู่ผลลัพธ์คือ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในท้ายที่สุด

แนวคิด 4 มิติ ประกอบด้วย อะไร บ้าง

เมื่อตัดสินใจบน 3 หลักการข้างต้นแล้ว ก็จะท าให้เกิดความสมดุลและมั่นคงในชีวิต 4 มิติ ได้แก่เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทาให้ชีวิตมีความสุขอย่างยั่งยืน

เงื่อนไขคุณธรรมมีอะไรบ้าง

2 เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านจิตใจ คุณธรรม ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น 2) ด้านการกระทำ เน้น ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทนความเพียร “ท่านจะต้องสุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชนและสุจริต ต่อหน้าที่ ...