ค่า นิยม 12 ประการ พร้อม ความ หมาย

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รัก ไทยรัฐออนไลน์ครั้งนี้คุณครูลิลลี่ขอเริ่มต้นด้วยค่านิยม 12 ประการที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่าฮอตฮิตถึงขนาดมีการเอาไปทำสติกเกอร์ไลน์ สำหรับใช้ในการส่งข้อความทางโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กกันเลยทีเดียว ซึ่งขณะที่คุณครูลิลลี่เขียนต้นฉบับครั้งนี้แว่วว่ามีประชาชนสนใจโหลดเอาสติกเกอร์ดังกล่าวไปใช้แล้วเกือบ 10 ล้านคนเลยทีเดียว แต่เรื่องความโด่งดังของสติกเกอร์ไลน์ค่านิยม 12 ประการคงไม่ใช่สิ่งที่คุณครูลิลลี่จะนำมาพูดถึงในครั้งนี้นะคะ แต่ที่มาในครั้งนี้คือต้องการมาบอกเล่าเรื่องของภาษาไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับเครื่องมือขัดเกลาทางสังคมที่เชื่อว่าเราๆ ท่านๆ น่าจะเคยผ่านหูผ่านตาหรือเคยเรียนกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เราอาจจะคุ้นมากสุดกับคำว่า ค่านิยม แต่จริงๆ ยังมีคำไทยอีกหลายคำที่อยู่ในหมวดหมู่ของการขัดเกลาทางสังคม ตามครูลิลลี่ไปดูกันค่ะ

Show

คำแรกคือคำว่า บรรทัดฐาน คำนี้ คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่สังคมกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกในสังคมยึดถือและปฏิบัติ บรรทัดฐานยังแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ วิถีประชา หรือ วิถีชาวบ้าน อันนี้เป็นแนวทางปฏิบัติของบุคคลในสังคมที่ปฏิบัติอยู่โดยทั่วไปจนเป็นปกติ จนเกิดความเคยชิน ไม่ได้เกิดจากถูกบีบบังคับด้วยกฎหมาย แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติตาม อาจจะถูกตำหนิจากสังคมได้ อันที่สอง คือ จารีต จารีตเป็นระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมต้องถือปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้สึกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด โดยมีศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าสมาชิกในสังคมไม่ปฏิบัติตามจารีต จะถูกคนในสังคมรังเกียจ และได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม เช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ ความซื่อสัตย์ระหว่างคู่สามี ภรรยา เป็นต้น บรรทัดฐานอันสุดท้ายคือ กฎหมาย หมายถึง บทบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารบ้านเมือง ที่กำหนดให้ประชาชนปฏิบัติ และมีบทลงโทษด้วยว่า ถ้าทำผิดกฎหมายแต่ละอย่างจะได้รับโทษสถานใดบ้าง

สังเกตดีๆ บรรทัดฐานจะไล่ระดับความเข้มข้นขึ้นมาเรื่อยๆ นั่นเองค่ะ

แล้วบรรทัดฐานต่างกับค่านิยมอย่างไร ไปดูกันค่ะ คำว่า ค่านิยม หมายถึง แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมยึดถือเป็นเครื่องตัดสินใจและกำหนดการกระทำของตนเอง มีทั้งค่านิยมที่ควรปลูกฝังและค่านิยมที่ไม่ควรปฏิบัติหรือควรยกเลิก แต่ถ้าเป็นคำว่า “ความเชื่อ” อันนั้นจะเน้นไปที่สิ่งที่พูดถึงความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมที่ยึดมั่น และยอมรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ เช่น เชื่อเรื่องผีหรือเทวดา จิตวิญญาณ การระลึกชาติ เชื่อกฎแห่งกรรม เป็นต้น

อ่านไทยรัฐออนไลน์ของคุณครูลิลลี่มาถึงตรงนี้ คงจะพอมองเห็นความแตกต่างของเครื่องมือที่ใช้ขัดเกลาสังคมให้อยู่รวมกันอย่างมีความสุขนะคะ อย่างน้อยพอแยกแยะได้ พอเห็นความแตกต่างหรือพอเข้าใจบ้างก็ยังดี แต่ที่สำคัญที่สุด ปลูกฝังไว้นะคะ ค่านิยม 12 ประการ เพราะนั่นจะทำให้สังคมไทยเราอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขแน่นอนค่ะ สวัสดีค่ะ

การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ ได้แก่
1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10.รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11.มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำหรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา และ
12.คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

เพิ่มคอมเมนต์ใหม่

ชื่อ (จำเป็นต้องระบุ)

อีเมล (จำเป็นต้องระบุ)

เว็บไซต์

ส่งอีเมลเตือนฉันเมื่อมีคอมเมนต์ใหม่

ค่า นิยม 12 ประการ พร้อม ความ หมาย

รีเฟรช

ส่ง

ยกเลิก

JComments

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ค่า นิยม 12 ประการ พร้อม ความ หมาย

ต้าน‘ค่านิยม 12 ประการ’เท่ากับต้านความดี? : สำราญ สมพงษ์รายงาน

                หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ยึดการปกครองบริหารประเทศด้วยมุ่งหวังที่ลดความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม และมีแนวทางต่างๆที่ต้องการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติในจำนวนนั้นมีการกำหนด "ค่านิยม 12 ประการ" ขึ้นมาด้วย ซึ่งก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจะด้วยเหตุผลใดก็ตามทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของแต่ละบุคคลไม่สามารถที่จะไปก้าวล่างสิทธิส่วนบุคคลได้

                "ค่านิยม 12 ประการ" นั้นคือ 1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 8.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10.รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 11.มีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป และ12.คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ตัวเอง

                หากพิจารณาแล้วก็มีเนื้อหาคล้ายๆกับเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่10 อย่างด้วยกัน 1. นับถือศาสนา 2. รักษาธรรมเนียมมั่น 3. เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ 4. วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน 5. ยึดมั่นกตัญญู  6. เป็นผู้รู้รักการงาน 7. ต้องศึกษาให้เชียวชาญ ต้องมานะบากบั่นไม่เกียจไม่คร้าน 8. รู้จักออมประหยัด 9. ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญให้เหมาะกับการสมัยชาติพัฒนา 10. ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษสมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนาจะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

                เมื่อพิจารณาโดยเนื้อหาก็ไม่ได้แต่กต่างกันเท่าใดนักก็สอดคล้องกับหลักคุณธรรมจริยธรรมสำหรับคนดีทั่วๆไป

                หลังจากที่ได้สอบพระถามและบุคคลที่มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนาเพื่อให้วิเคราะห์ว่าค่านิยม 12 ประการตรงตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาข้อใดบ้างสามารถประมวลได้ดังนี้

                1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ตรงกับหลักธรรมว่าด้วย ทิศ 6

                2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม   ตรงกับหลักธรรมว่าด้วย  สัจจะ ทาน ขันติ และอนัตตา  

                3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์  ตรงกับหลักธรรมว่าด้วยธรรมที่เป็นเครื่องหมายของคนดีคือกตัญญูกับกตเวที

                4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตรงกับหลักธรรมว่าด้วยหลักการศึกษาทั่วไปและจัดอยู่ในหัวข้อธรรมในมงคล 38 ประการ

                5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

                6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน  ตรงกับหลักธรรมคือ  มีศีลธรรมก็ตรงตัวอยู่แล้ว มีสัจจะ หลักของทาน มีความเมตตากรุณามุทิตาตามหลักพรหมวิหาร 4 ประการ

                7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   

                8.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

                9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                10.รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

                11.มีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ตรงกับหลักธรรมคือธรรมเป็นโลกบาลคือธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการคือ หิริคือความละอายต่อบาป และโอตตัปปะคือความเกรงกลัวต่อบาป

                และ12.คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ตัวเอง

                แม้นว่าจะมีเสียงต้าน สำหรับ น.ส.นันทิยา สว่างวุฒิธรรม ว่าที่อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวถึงการขับเคลื่อนงาน สวธ. ในปี 2558 ว่า ได้ปรับยุทธศาสตร์การทำงานของ สวธ.ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องการรื้อฟื้นค่านิยมที่ดีงาม 12 ประการของคนไทยให้กลับคืนมา โดยจะดำเนินการ 4 กิจกรรมหลัก คือ 1.โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในมิติวัฒนธรรม โดยคัดเลือกเยาวชนจาก 5 ภูมิภาคมาเข้าค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การผลิตรายการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์รณรงค์ให้คนไทยน้อมนำแนวพระราชดำริมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 2.โครงการเสริมสร้างน้ำใจไมตรีเพื่อความสามัคคีในสังคม ผลิตละครสั้น และสารคดี เกี่ยวกับน้ำใจไมตรีและค่านิยม 12 ประการ เช่น การสร้างน้ำใจด้วยการมอง ยิ้ม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส รู้จักมารยาทในสังคม
      
                3.โครงการสืบทอดประเพณี ค่านิยม และความเป็นไทย ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ไทย-อังกฤษ ประชาสัมพันธ์การจัดประเพณีสำคัญของประเทศไทย นำร่องจากการเผยแพร่ประเพณีลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายนนี้ จัดค่ายพัฒนาทักษะภาษาไทย ผลิตสารคดีสั้นชุดเด็กสร้าง “ยิ้ม ไหว้ ขอบคุณ ขอโทษ” เพื่อปลูกฝังมารยาทแก่เด็กไทย กิจกรรมการประกวดดนตรีไทย  และดนตรีพื้นบ้านเพื่อความมั่นคงของชาติเฉลิมพระเกียรติ และ 4.โครงการส่งเสริมเครือข่ายการดำเนินงานทางวัฒนธรรม เช่น การอบรมอาสาสมัครวัฒนธรรม อบรมผู้นำลูกเสือวัฒนธรรม การคัดเลือกสภาวัฒนธรรมดีเด่นประจำปี 2558 กิจกรรมสานรอยยิ้มอิ่มความสุขกับสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

                ดังนั้น หากไม่มีอคติกับตัวบุคคลหรือการเข้ามาของตัวบุคคลแล้ว ค่านิยม 12 ประการนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่สร้างความเสียหายอะไรเป็นการฝึกสมาธิได้อีกทาง และมีแต่ผลดีกับบุคคลที่นำหลักธรรมเหล่านี้ไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นไม่มีข้อไหนที่สนับสนุนให้มีการโกงเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไหว้ขอพร พระเจ้าตาก ที่วัดประจำรัชกาลกรุงธนบุรี วัดอินทารามวรวิหาร

ไหว้พระที่ ‘วัดบรมพุทธาราม’ บนนิวาสถานเดิม ‘สมเด็จพระเพทราชา’

รวม พระพุทธรูป คู่บ้านขวัญเมือง 4 ภาค ไหว้ขอพรเสริมสิริมงคล ปีใหม่

สุเทวฤาษี หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของดอยสุเทพ ตำนานฤาษีผู้ร่วมสร้าง ลำพูน

ค่า นิยม 12 ประการ พร้อม ความ หมาย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Previous

Read More

ไหว้ขอพร พระเจ้าตาก ที่วัดประจำรัชกาลกรุงธนบุรี วัดอินทารามวรวิหาร

Read More

89

ไหว้พระที่ ‘วัดบรมพุทธาราม’ บนนิวาสถานเดิม ‘สมเด็จพระเพทราชา’

Read More

396

รวม พระพุทธรูป คู่บ้านขวัญเมือง 4 ภาค ไหว้ขอพรเสริมสิริมงคล ปีใหม่

Read More

102

สุเทวฤาษี หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของดอยสุเทพ ตำนานฤาษีผู้ร่วมสร้าง ลำพูน

Next
  • 1
  • 2

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ

ค่านิยม 12 ประการ หมายถึงข้อใด

"ค่านิยม 12 ประการ" นั้นคือ 1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 7. ...

คุณธรรม พื้นฐาน 12 ประการมีอะไรบ้าง

โดยต้องสร้างคนในชาติให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ ได้แก่.
1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์.
2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม.
3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์.
4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม.
5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม.

ค่านิยมไทย 12 ประการ ข้อ5 มีว่าอย่างไร

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

ค่านิยมของไทย 4 ประการ ได้แก่ข้อใด

1. การพึ่งพาตนเอง ขยันมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น 2. การประหยัดและอดออม ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนรวมก็ตาม 3. การมีระเบียบและเคารพกฎหมาย ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อควมสงบสุขในสังคม 4. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา คือ การทำความดีละเว้นความชั่ว