วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว

1. สปลิทเฟสมอเตอร์(Split phase motor)

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสลับชนิดเฟสเดียวแบบสปลิท

เฟสมอเตอร์มีขนาดแรงม้าขนาดตั้งแต่ 1/4 แรงม้า , 1/3 แรงม้า, 1/2

แรงม้าจะมีขนาดไม่เกิน 1 แรงม้าบางทีนิยมเรียกสปลิทเฟสมอเตอร์นี้

ว่า อินดักชั่นมอเตอร์( Induction motor) มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้งาน

มากในตู้เย็น เครื่องสูบน้ าขนาดเล็ก เครื่องซักผ้า เป็นต้น

2. คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor Motor)

คาปาซิเตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟสที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มาก

ต่างกันตรงที่มีคาปาซิสเตอร์เพิ่มขึ้นมาท าให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมี

แรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20 แรงม้าถึง10 แรงม้า

มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มน ้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ตู้เย็น ฯลฯ

     -2.1 คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor ) ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิ

สเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส

และพันจ านวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ )อนุกรมเข้าใน

วงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร

วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว

     -2.2 คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor ) ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาพาซิสเตอร์รัน มอเตอร์เหมือนกับชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มีสวิตช์แรงเหวี่ยง ตัวคาปาซิสเตอร์จะต่ออยู่ในวงจร ตลอดเวลา ท าให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น และโดยที่คาปาซิสเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่ขณะท างานดังนั้นคาปาซิ เตอร์ประเภทน้ ามัน หรือกระดาษฉาบโลหะ

     -2.3 คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )

ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์2 ตัวคือคาปาซิ

สเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิสเตอร์รัน คาปาซิสเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือ

เรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์ส่วนคาปาซิสเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา คาปาซิสเตอร์ทั้งสองจะต่อขนาน

กัน ซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้งสองนั้นมีค่าแตกต่างกัน

3. รีพัลชั่นมอเตอร์(Repulsion Motor)

เป็นมอเตอร์ที่ มีขดลวดโรเตอร์ (Rotor) จะต่อเข้ากับคอมมิวเตเตอร์และมีแปรงถ่านเป็นตัวต่อ

ลัดวงจร จึงท าให้ปรับความเร็วและแรงบิดได้ โดยการปรับต าแหน่งแปรงถ่าน สเตเตอร์( Stator ) จะมี

ขดลวดพันอยู่ในร่องเพียงชุดเดียวเหมือนกับขดรันของสปลิทเฟสมอเตอร์ เรียกว่า ขดลวดเมน (Main

winding) ต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง แรงบิดเริ่มหมุนสูง ความเร็วคงที่ มีขนาด 0.37-7.5 กิโลวัตต์ (10

แรงม้า) ใช้กับงาน ปั๊มคอมเพลสเซอร์ ปั๊มลม ปั๊มน้ าขนาดใหญ่

4. ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal Motor)

เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กมีขนาดก าลังไฟฟ้าตั้งแต่ 1/200 แรงม้าถึง 1/30 แรงม้า น าไปใช้ได้กับ

แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงและใช้ได้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส มอเตอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติ

ที่โดดเด่น คือให้แรงบิดเริ่มหมุนสูง น าไปปรับความเร็วได้ทั้งปรับความเร็วได้ง่ายทั้งวงจรลดแรงดันและ

วงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ นิยมน าไปใช้เป็นตัวขับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องบดและผสม

อาหาร มีดโกนหนวดไฟฟ้า เครื่องนวดไฟฟ้า มอเตอร์จักรเย็บผ้า สว่านไฟฟ้า เป็นต้น

5. เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์ (Shaded Pole Motor) 

เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่สุดมีแรงบิดเริ่มหมุนต่ำมากนำไปใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ๆ เช่น ไดร์เป่าผม พัดลมขนาดเล็ก

เบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ โหลด Load (เช่น มอเตอร์, Generator หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า)

1 เบรกเกอร์สามารถแบ่งตามขนาดเป็น 3 ประเภท

1.1 MCB : Miniature Circuit Breaker (เบรกเกอร์ลูกย่อย) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 A ส่วนใหญ่ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ติดตั้งภายในตู้ Consumer หรือ ตู้ Load Center

1.2 MCCB : Moulded Case Circuit Breaker(โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1600 A

1.3 ACB : Air Circuit Breaker(แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6300 A

วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว
รูปที่ 1 : ประเภทของเบรกเกอร์ทั้ง 3 ประเภทตามขนาด

2 หลักการทำงานของเบรกเกอร์ แบ่งออกเป็น 2 แบบ Thermomagnetic และ Electronic

2.1.Thermomagnetic เบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic ใช้หลักการทำงานทางความร้อน โดยการแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน

วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว
รูปที่2 : ภายในของเบรกเกอร์ Thermomagnetic

2.1.1 เบรกเกอร์แบบ Thermomanetic มีฟังกชั่นการป้องกัน 2 แบบ
  a)  การป้องกันกระแสโหลดเกิน (Overload) หรือที่เรียกว่า Function L ใช้หลักการป้องกันแบบ Bimetal
  b)  การป้องกันกระแสลัดวงจร (Short Circuit) หรือที่เรียกว่า Function I ใช้หลักการป้องกันแบบ Electromagnetic coil

2.1.2 เบรกเกอร์แบบThermomagnetic มีให้เลือก 3 แบบ TMF, TMD และ TMA
  a)  เบรกเกอร์รุ่น TMF ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสที่ใช้งานได้
  b)  เบรกเกอร์รุ่น TMD สามารถปรับตั้งค่ากระแสโหลดเกิน(Overload L)ได้ตั้งแต่ 0.7-1 เท่า
  c)  เบรกเกอร์รุ่น TMA สามารถปรัปตั้งค่าได้ทั้งกระแสโหลดเกิน(Overload L)และกระแสลัดวงจร(Short Circuit I)

วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว
รูปที่ 3 : รูปตัวอย่างของเบรกเกอร์ Thermomagnetic รุ่นที่เป็น TMF ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสที่ใช้งานได้
วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว
รูปที่ 4 : รูปตัวอย่างของเบรกเกอร์Thermomagnetic รุ่นที่เป็น TMD สามารถปรับตั้งค่ากระแสโหลดเกิน(Overload L)ได้ตั้งแต่ 0.7-1 เท่า
วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว
รูปที่ 5 : รูปตัวอย่างของเบรกเกอร์Thermomagnetic รุ่นที่เป็น TMA สามารถปรับตั้งค่าได้ทั้งกระแสโหลดเกิน(Overload L)และกระแสลัดวงจร(Short Circuit I)

2.2.Electronic เบรกเกอร์แบบ Electronic ใช้การวัดค่ากระแสใช้งานจริงด้วย CT และส่งค่าที่วัดได้ไปทำการคำนวนด้วยระบบ Microcontroller

2.2.1 เบรกเกอร์แบบ Electronic มีฟังกชั่นการป้องกันให้เลือกทั้งหมด 4 แบบ
  a)  ฟังก์ชัน L การป้องกันกระแสโลดเกิน Overload
  b)  ฟังก์ชัน S การป้องกันกระแสลัดวงจรแบบหน่วงเวลา Short circuit with delay time
  c)  ฟังก์ชัน I การป้องกันกระแสลัดวงจรแบบทันทีทันใด Instantaneous Trip
  d)  ฟังก์ชัน G ground fault

วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว
รูปที่6 : ฟังกชั่นของเบรกเกอร์ Electronic

ข้อเปรียบเทียบระหว่างเบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic และ เบรกเกอร์แบบ Electronic

3.1 ข้อดีข้อเสีย ของเบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic

3.1.1ข้อดี
  a)  เบรกเกอร์ Thermomagnetic สามารถใช้งานได้ทั้งระบบไฟแบบ AC และ DC
  b)  เบรกเกอร์ Thermomagnetic มีราคาถูกว่าเบรกเกอร์ Electronic

3.1.2 ข้อเสีย
  a)  เนื่องจากเป็นเบรกเกอร์ที่ต้องเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าเป็นความร้อน อุณภูมิภายนอกจึงส่งผลกระทบต่อความแม่นยำในการวัดค่ากระแสของเบรกเกอร์

3.2 ข้อดีข้อเสีย ของเบรกเกอร์แบบ Electronic

3.1.1ข้อดี
  a)  เบรกเกอร์แบบ Electronic สามารถวัดค่ากระแสได้แม่นยำ
  b)  เบรกเกอร์แบบ Electronic มีความสามารถในการตั้งค่าเวลาและกระแสทำงานได้
  c)  เบรกเกอร์แบบ Electronic บางรุ่นสามารถเรียกดูประวัติการทริปของเบรกเกอร์ได้

3.1.2 ข้อเสีย
  a)  เบรกเกอร์แบบ Electronic สามารถใช้ได้กับระบบไฟฟ้า AC เท่านั้น
  b)  เบรกเกอร์ Electronic มีราคาแพงกว่า เบรกเกอร์ Thermomagnetic

วงจรมอเตอร์ 1 เฟส คาปาซิเตอร์ 1 ตัว
รูปที่7 : ตารางเปรียบเทียบระหว่างเบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic และ เบรกเกอร์แบบ Electronicสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าของเบรกเกอร์

สัญลักษณ์ทางไฟฟ้าของเบรกเกอร์คือข้อมูลจำเพาะของเบรกเกอร์แต่ละตัว ที่ผู้ใช้ต้องกำหนดค่าต่างๆให้เหมาะกับสภาพการใช้งาน