Impact factor และ quartile ม ความสำค ญย งไง

เวลาที่เราใช้ค่าดัชนีชี้วัดการประเมินและจัดอันดับวารสาร อย่างเช่น ค่า Journal Impact Factors จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (JCR) ของบริษัท Thomson หรือค่า SJR จากฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier หรือจากเว็บไซต์ SCImago Journal & Country Rank ก็ตาม เรามักจะพบว่า วารสารบางชื่อ ได้รับการจัดหมวดหมู่ให้ได้หลายสาขาวิชา แถมยังมีการแบ่งกลุ่ม ให้เป็น Q1, Q2, Q3 อีกด้วย … คำว่า Q เหล่านั้นมีความหมายว่าอย่างไร ?

ค่า Q หมายถึง Quartile score ของวารสารในแต่ละสาขาวิชา (subject categories)

  • Q1 = top position (the highest 25% of data หรือวารสารที่มีอันดับตั้งแต่ 75th-99th percentile เป็น กลุ่มวารสารที่ดีที่สุดในสาขานี้)
  • Q2 = middle-high position (อยู่ระหว่าง top 50% และ top 25% หรือวารสารที่มีอันดับตั้งแต่ 50th-74th percentile)
  • Q3 = middle-low position (อยู่ระหว่าง top 75% และ top 50% หรือวารสารที่มีอันดับตั้งแต่ 25th-49th percentile)
  • Q4 = bottom position (bottom 25% หรือวารสารที่มีอันดับตั้งแต่ 0th-24th percentile)

Impact factor และ quartile ม ความสำค ญย งไง

ตัวอย่างเช่น ค่า Impact factor ปี 2009 ของวารสาร ACM TRANSACTIONS ON SENSOR NETWORKS = 1.938 อยู่ในอันดับที่ 32 จากวารสารทั้งหมด 116 ชื่อ ของสาขา COMPUTER SCIENCE, INFORMATION SYSTEMS แสดงว่าอยู่ใน Q2 Quartile คำอธิบายคือ 116 ถ้าหารด้วย 4 จะเท่ากับ 29 แสดงว่า วารสารในอันดับที่ 1-29 จะจัดเป็นวารสารในกลุ่ม Q1 และวารสารในอันดับที่ 30-58 จะจัดเป็นวารสารในกลุ่ม Q2 วารสารในอันดับที่ 59-87 จะจัดเป็นวารสารในกลุ่ม Q3 และวารสารในอันดับที่ 88-116 จะจัดเป็นวารสารในกลุ่ม Q4)

ในขณะเดียวกัน จะอยู่ในอันดับที่ 11 จากวารสารทั้งหมด 76 ชื่อ ในสาขา TELECOMMUNICATIONS แสดงว่าอยู่ใน Q1 Quartile (คำอธิบายคือ 76 ถ้าหารด้วย 4 จะเท่ากับ 19 แสดงว่า วารสารในอันดับที่ 1-19 จะจัดเป็นวารสารในกลุ่ม Q1)

ส่วน SJR ก็มีการแบ่งกลุ่มวารสารตาม SJR indicator Quartiles ด้วยวิธีการคำนวณแบบนี้เช่นกัน คือ Q1, Q2, Q3 และ Q4 ต่อไป นักวิจัยอาจจะต้องแสดงค่า Journal Impact Factor และค่า SJR ของวารสารที่ท่านตีพิมพ์ พร้อมกับระบุว่าเป็นวารสารใน Q ใด ในสาขาวิชานั้นๆ เพราะได้ข่าวว่า สกอ. จะใช้ค่า IF, SJR, Q ฯลฯ ในการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเร็วๆนี้ด้วย

เรามักจะได้ยินคำว่า Impact Factor อยู่บ่อยครั้ง ในฐานะเป็น เกณฑ์หรือดัชนีชี้วัดคุณภาพของวารสาร ซึ่งนิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะสำหรับงานวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการแพทย์

แต่ที่จริงแล้ว การประเมินนักวิจัยหรือผลงานวิจัย มักใช้เกณฑ์ในการพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน เช่น

  • มีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นๆ พิจารณาเนื้อหาของบทความ
  • พิจารณาจากปริมาณหรือจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์
  • ลำดับความสำคัญในฐานะผู้แต่งบทความว่าเป็น First, Last หรือ Corresponding Author
  • จำนวนครั้งที่บทความดังกล่าวได้รับการอ้างอิงโดยบทความอื่น (Citation Frequency) แต่ทั้งนี้ต้องไม่นับการอ้างอิงตนเอง (Self-cited)
  • พิจารณาว่าเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีระบบผู้ประเมินอิสระ (Peer Review) และปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลสากลต่างๆ หรือไม่
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากวารสารดังกล่าวปรากฏในฐานข้อมูลสากล ISI ด้วย จะทำให้สามารถตรวจสอบและจัดอันดับความสำคัญโดยพิจารณาจากค่า Impact Factor ของวารสารนั้นได้

ค่า Impact Factor จึงอาจเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ช่วยในการเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร สามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับห้องสมุด ในการคัดเลือกและบอกรับวารสาร ใช้สำหรับนักวิจัยในการคัดเลือกวารสารที่เหมาะสมเพื่อการตีพิมพ์ รวมทั้งใช้ประเมินคุณภาพด้านการวิจัยของสถาบันการศึกษา โดยพิจารณาจากคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์โดยบรรดานักวิจัยภายในสถาบันนั้นๆ ได้อีกด้วย

ค่า Impact Factor คืออะไร ?

Impact Factor หรือ Journal Impact Factor หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ย ที่บทความของวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิง ในแต่ละปี (A measure of the frequency with which the "average article" in a journal has been cited in a particular year or period)

ค่า Impact Factor จึงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ช่วยในการเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร อาจนำมาใช้ประโยชน์สำหรับห้องสมุด ในการคัดเลือกและบอกรับวารสาร ใช้สำหรับนักวิจัยในการคัดเลือกวารสารที่เหมาะสมเพื่อการตีพิมพ์ รวมทั้งใช้ประเมินคุณภาพด้านการวิจัยของสถาบันการศึกษา โดยพิจารณาจากคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์โดยบรรดานักวิจัยภายในสถาบันนั้นๆ ได้อีกด้วย

ค่า Impact Factor ตรวจสอบได้จากไหน ?

ในราวเดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี บริษัท Clarivate Analytics หรือเดิมคือ ISI (Institute of Scientific Information) จะผลิตฐานข้อมูลที่มีชื่อว่า Journal Citation Reports (JCR) ซึ่งจัดทำอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 50 ปี สมัยก่อนจัดทำในลักษณะสิ่งพิมพ์ช่วยค้น และในรูปแบบ CD-ROM ปัจจุบันอยู่ในรูปแบบ Web Edition โดยครอบคลุมวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ระดับนานาชาติ จากทั่วโลก

ฐานข้อมูล JCR ปีล่าสุด คือปี 2016 ประกอบด้วย Science Edition และ Social Science Edition ครอบคลุมวารสารจำนวน 12,090 ชื่อ ให้บริการเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี 2017

วิธีคำนวณค่า Impact Factor

มีหลักเกณฑ์อย่างง่ายๆ ดังนี้ ตัวอย่างเช่น วารสาร NATURE ซึ่งมีค่า Impact Factor ในปี 2016 = 40.137 (สูงเป็นอันดับ 10) คำนวณได้จาก จำนวนครั้งโดยเฉลี่ย ที่บทความของวารสาร NATURE ซึ่งตีพิมพ์ภายในระยะเวลา 2 ปีย้อนหลัง (ปี 2014+2015) ได้รับการอ้างอิงภายในปีปัจจุบัน (ปี 2016)

วารสาร : NATURE ค่า Impact Factor : 40.137 คำนวณจาก จำนวนครั้งที่ถูกอ้างอิงภายในปี 2016 ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร NATURE ปี 2015 = 32,360 ครั้ง ปี 2014 = 38,401 ครั้ง ปี 2014+2015 = 70,761 ครั้ง จำนวนบทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสาร NATURE ปี 2015 = 901 บทความ ปี 2014 = 862 บทความ ปี 2014+2015 = 1,763 บทความ การคำนวณ : จำนวนครั้งที่ถูกอ้างอิงในปี 2016 / จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในปี 2014-2015 \= 70,761 / 1,763 = 40.137

ค่า Impact Factor และอันดับของวารสารมักมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการอ้างอิงในแต่ละปี พบว่า วารสาร Nature มีค่า Impact Factor สูงขึ้นในปี 2016 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2015 (ค่า Impact Factor = 38.138) แต่สูงเป็นอันดับ 10 ในขณะที่ปี 2015 สูงเป็นอันดับ 9 ของวารสารทั้งหมดในฐานข้อมูล JCR

Citation Frequency กับ Impact Factor แตกต่างกันอย่างไร ?

Citation Frequency หมายถึงจำนวนครั้งที่บทความแต่ละบทความได้รับการอ้างอิง ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับคุณภาพของนักวิจัย แสดงให้เห็นว่าบทความหรือผลงานของนักวิจัยท่านนั้น ได้ถูกนำไปใช้หรืออ้างอิงถึงมากน้อยเพียงใด ค่า Citation Frequency สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลของ ISI ที่มีชื่อว่า Web of Science - Science Citation Index Expanded ซึ่งสกอ.บอกรับ ตั้งแต่ปี 1999-ปัจจุบัน ที่เว็บไซต์ http://isiknowledge.com/wos

ส่วน Impact Factor เป็นค่าเฉลี่ยที่บทความใดก็ตามที่ตีพิมพ์ลงในวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิง ดังนั้น ค่า Impact Factor จึงไม่ได้แสดงถึงคุณภาพของบทความวิจัย หรือคุณภาพของนักวิจัยท่านนั้นโดยตรง แต่จะใช้ประกอบการพิจารณาคุณภาพของวารสารนั้น และมีผลทางอ้อม กับคุณภาพของนักวิจัยผู้ส่งบทความไปตีพิมพ์ อย่างไรก็ตาม วารสารที่สามารถตรวจสอบค่า Impact Factor ได้ จะต้องเป็นวารสารสาขาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลสากล ISI ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8,000 กว่าชื่อเท่านั้น

วารสารไทย กับค่า Impact Factor

ปัจจุบัน มีวารสารจำนวน 8 ชื่อที่ปรากฏในฐานข้อมูลของ Web of Science และสามารถตรวจสอบค่า Journal Impact Factor ได้ ประกอบด้วย Asian Biomedicine (Impact Factor 2016 = 0.148) Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology (Impact Factor 2016 = 1.011) Buffalo Bulletin (Impact Factor 2016 = 0.104) Chiang Mai Journal of Science (Impact Factor 2016 = 0.437) Maejo International Journal of Science and Technology (Impact Factor 2016 = 0.312) ScienceAsia (Impact Factor 2016 = 0.343) Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health (Impact Factor 2016 = 0.655) Thai Journal of Veterinary Medicine (Impact Factor 2016 = 0.209)

อย่างไรก็ตาม อาจมีบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารไทยหลายชื่อ ที่ได้รับการอ้างอิงจากวารสารต่างประเทศ และสามารถตรวจสอบจำนวนครั้งของการอ้างอิงได้ โดยการสืบค้นจาก Cited Reference Search ของฐานข้อมูล Web of Science เช่น วารสาร J Med Assoc Thailand, Songklanakarin J Sci เป็นต้น แต่วารสารเหล่านั้น ไม่มีค่า Impact Factor และนอกจากนั้น วารสารไทยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีโอกาสได้รับการอ้างอิงจากวารสารระดับนานาชาติมากนัก หากไม่เป็นวารสารระดับนานาชาติที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลระดับสากล

ค่า Impact Factor เรียงตามกลุ่มสาขาวิชา

ฐานข้อมูล JCR ได้จัดแบ่งหมวดหมู่ของวารสารทั้งหมด ออกเป็นสาขาวิชาต่างๆ จำนวน 234 สาขาวิชา โดยดูจากเนื้อหาของบทความ บางวารสารอาจจัดอยู่หลายสาขาก็ได้ การเปรียบเทียบค่า Impact Factor ของวารสาร หรือการจัดอันดับ (Journal Ranking) ควรเปรียบเทียบภายในสาขาวิชาเดียวกัน เนื่องจากธรรมชาติของแต่ละสาขาวิชาไม่เหมือนกัน สาขาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และชีวภาพ โดยเฉพาะ Molecular Biology จะมีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และมีการอ้างอิงบทความกันเร็วมาก ดังนั้นวารสารเหล่านี้จึงมีค่า Impact Factor ค่อนข้างสูง ในขณะที่วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือ วิศวกรรมศาสตร์ ส่วนใหญ่จะมีค่า Impact Factor ที่ต่ำกว่า วารสารแต่ละสาขาวิชาจึงไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน แต่ควรเปรียบเทียบเฉพาะในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น Catogories : Parasitology (36 titles)

Rank Full Journal Title Total Cites Journal Impact Factor 1 Cell Host & Microbe 13,089 14.946 2 PLoS Pathogens 37,598 6.608 3 TRENDS IN PARASITOLOGY 5,669 6.333 4 International Journal for Parasitology-Drugs and Drug Resistance 585 4.809 5 Advances in Parasitology 1,928 4.255 6 PLoS Neglected Tropical Diseases 17,558 3.834 7 INTERNATIONAL JOURNAL FOR PARASITOLOGY 9,557 3.730 8 Ticks and Tick-Borne Diseases 1,755 3.230 9 Parasites & Vectors 7,940 3.035 10 MALARIA JOURNAL 11,068 2.715 11 PARASITOLOGY 9,255 2.620 12 MEMORIAS DO INSTITUTO OSWALDO CRUZ 6,172 2.605 13 Parasite 1,221 2.545 14 MOLECULAR AND BIOCHEMICAL PARASITOLOGY 6,069 2.536 15 PARASITE IMMUNOLOGY 2,717 2.493 16 VETERINARY PARASITOLOGY 15,071 2.356 17 PARASITOLOGY RESEARCH 11,649 2.329 18 ACTA TROPICA 6,670 2.218 19 PARASITOLOGY INTERNATIONAL 2,212 1.744 20 EXPERIMENTAL PARASITOLOGY 5,385 1.724 21 Pathogens and Global Health 440 1.695 22 JOURNAL OF HELMINTHOLOGY 1,654 1.420 23 JOURNAL OF PARASITOLOGY 7,884 1.326 24 Journal of Arthropod-Borne Diseases 151 1.218 25 JOURNAL OF VECTOR BORNE DISEASES 671 1.190 26 SYSTEMATIC PARASITOLOGY 1,392 1.181 27 Revista da Sociedade Brasileira de Medicina Tropical 2,206 1.161 28 ACTA PARASITOLOGICA 1,106 1.160 29 REVISTA BRASILEIRA DE PARASITOLOGIA VETERINARIA 866 1.139 30 FOLIA PARASITOLOGICA 1,223 1.082 31 KOREAN JOURNAL OF PARASITOLOGY 1,183 0.889 32 Iranian Journal of Parasitology 504 0.758 33 TROPICAL BIOMEDICINE 818 0.719 34 COMPARATIVE PARASITOLOGY 348 0.659 35 HELMINTHOLOGIA 455 0.472 36 Boletin de Malariologia y Salud Ambiental 57 0.136

ค่า Impact Factor ใช้ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยได้จริงหรือ ?

การประเมินคุณภาพนักวิจัยหรือผลงานวิจัย อาจไม่สามารถตัดสินได้ด้วยเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ค่า Impact Factor ของวารสารที่ตีพิมพ์เป็นเพียงหนึ่งในจำนวนดัชนีชี้วัดเท่านั้น และควรพิจารณาเกณฑ์อื่นควบคู่ไปด้วย เช่น จำนวนครั้งที่แต่ละบทความได้รับการอ้างอิงจากบทความอื่น (Citation Frequency) โดยสืบค้นจากฐานข้อมูล ISI Web of Science - Science Citation Index Expanded จะเห็นได้ว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัล Nobel หรือผู้มีชื่อเสียงระดับโลก ล้วนมีผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงมาก (Highly-cited) และปรากฎอยู่ใน ISI highlycited.com ซึ่งในฐานข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูลของ Highly Cited Researchers จำนวนกว่า 250 ราย นอกจากนี้ สำหรับประเทศไทยเองก็ได้มีการพิจารณารางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สกว. (TRF Research Publication Award) หรือ รางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) โดยรวมสูงสุด เป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา

ในวงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มักมีนักวิจัยจากทั่วโลกเขียนบทความอภิปรายและโต้แย้งการนำค่า Impact Factor มาใช้ตัดสินคุณภาพผลงานวิจัยกันอยู่เสมอ แต่พึงระลึกอยู่เสมอว่าทุกเกณฑ์ล้วนมีข้อดี-ข้อจำกัดด้วยกันทั้งสิ้น และการแปรผลอาจไม่ไปด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง ไม่ได้หมายความว่าบทความของเราจะได้รับการอ้างอิงสูงไปด้วย ในทางกลับกัน บทความอาจได้รับการอ้างอิงสูงแม้ว่าจะตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor ต่ำกว่าก็เป็นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำค่า Impact Factor และ Citation Frequency มาใช้อย่างระมัดระวัง

เนื่องจากในปัจจุบัน บทความวารสารส่วนใหญ่ มีรูปแบบเป็นบทความอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมด ดังนั้นจึงสามารถเชื่อมโยง (link) ระหว่างบทความที่ถูกอ้าง และบทความที่นำไปอ้างได้โดยง่าย เราอาจตรวจสอบจำนวนครั้งของการอ้างอิงบทความได้จากฐานข้อมูลอื่นๆ ได้ด้วย นอกเหนือจาก Web of Science เช่นฐานข้อมูล ScienceDirect, HighWire Press, SciFinder, Scopus, Google Scholar เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดของ ISI ก็ยังคงได้รับความนิยม และจัดว่าเป็นมาตรฐานสากลสำหรับการประเมินคุณภาพของผลงานวิทยาศาสตร์ที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 40 ปี ตราบจนถึงปัจจุบัน.

As long as citation analysis continues to be used for scientific evaluation, this debate seems sure to continue - and you can cite us on that. - David Adam. Nature 415, 726 - 729 (14 February 2002)